ดะไซ โอซามุ (Dazai Osamu)

โดย ชลิตา โจดรัมย์

ดะไซ โอซามุ หนึ่งในนักเขียนนวนิยายชั้นแนวหน้าของญี่ปุ่นในศตวรรษที่ 20  เป็นสมาชิกคนหนึ่งของครอบครัวที่ร่ำรวยและมีอิทธิพล ดะไซ เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนรุ่นใหม่ ทั้งยังมีพรสวรรค์ที่มีจินตนาการอันอุดมสมบูรณ์ ผลงานที่ได้ความนิยมมากที่สุด เช่น ชาโย (斜陽) หรือในฉบับภาษาไทยคือ อาทิตย์สิ้นแสง และ นินเก็น ชิชาคุ (人間失格) หรือในฉบับภาษาไทยคือ สูญสิ้นความเป็นคน ถือได้ว่าเป็นงานคลาสสิคในยุคปัจจุบันของญี่ปุ่น

ดะไซ โอซามุ (Dazai Osamu) เกิดวันที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 1909 และเสียวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ.1948 เป็นนักประพันธ์ชาวญี่ปุ่น เป็นลูกคนที่แปดของเศรษฐี ในเมืองคานางิ จังหวัดอะโอะโมริ เขาได้ใช้ชีวิตในคฤหาสน์ทสึชิมะ ถึงแม้ว่าจะมาจากจุดเริ่มต้นที่ต่ำต้อย แต่อำนาจครอบครัว ทสึชิมา ก็ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและกลายเป็นที่เคารพทั่วทั้งภูมิภาค พ่อของดะไซ ทสึชิมะ เก็นเอมอน ได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองและ ได้รับการเสนอให้เป็นสมาชิกสภาขุนนางญี่ปุ่น  และทำให้พ่อของดะไซ ไม่ได้ใกล้ชิดกับดะไซในช่วงวัยเด็ก และแม่ของเขา ทาเนะ นั้นป่วยเรื้อรัง หลังจากให้กำเนิดเด็กถึง11คน ทสึชิมะ (ดะไซ)จึงถูกเลี้ยงโดยคนรับใช้ของครอบครัวเป็นส่วนใหญ่

ที่มา: https://en.wikipedia.org/wiki/Osamu_Dazai
ในปี ค.ศ. 1923 ทสึชิมะ (ดะไซ) ได้เข้าโรงเรียน มัธยมปลาย อะโอะโมริ และเข้าเรียนแผนกวรรณคดี ของมหาวิทยาลัย ฮิโรซากิ ในปีค.ศ. 1927 เขาเริ่มมีความสนใจในวัฒนธรรมเอะโดะและเริ่มศึกษาเรื่องกิดะยู ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงแบบดั้งเดิมรูปแบบหนึ่ง ราวๆปี ค.ศ. 1928 ทสึชิมะ(ดะไซ)ได้เรียบเรียงงานของนักศึกษาและเขียนงานของเขา เช่น อะวาเระ กะ (哀蚊) และเขายังได้ตีพิมพ์นิตยสารชื่อ ไซโบ บุนเกะอิ กับเพื่อนๆ ต่อมาได้กลายเป็นพนักงานของทีมหนังสือพิมพ์ของมหาวิทยาลัย  ความสำเร็จของเขาในการเขียนได้หยุดชะงักไป เมื่อไอดอลของเขา อะคุตะกะวะ ริวโนะสุเกะ ผู้เป็นนักเขียน ได้ฆ่าตัวตายในปีค.ศ. 1927

ทสึชิมะ (ดะไซ) เริ่มละเลยการเรียนของเขาและใช้เบี้ยเลี้ยงส่วนใหญ่ไปกับกับเสื้อผ้า เครื่องดื่ม โสเภณีและขลุกอยู่กับลัทธิมาร์กซ์ซึ่งในขณะนั้นถูกระงับอย่างหนักโดยรัฐบาล บ่อยครั้งที่เขาแสดงความรู้สึกผิดในงานเขียนของเขาเกี่ยวกับการที่ได้เกิดมาในชั้นทางสังคมที่ไม่เหมาะสม ในคืนวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1929 ทสึชิมะ (ดะไซ) ได้พยายามฆ่าตัวตายครั้งแรก แต่รอดชีวิตและสามารถที่จะเรียนจบต่อในปีต่อมา

ในปี ค.ศ. 1930 ทสึชิมะ (ดะไซ)ได้เข้าศึกษาในแผนกวรรณคดีฝรั่งเศสของมหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพีเรียลและได้หยุดเรียนอีกครั้ง ในเดือนตุลาคมเขาได้หนีไปกับเกอิชาที่ชื่อว่า โอยะมะ ฮัทสึโอะ (小山初代) และถูกขับไล่ออกจากครอบครัว หลังจากการโดนขับไล่ ทสึชิมะ (ดะไซ) พยายามฆ่าตัวตายด้วยการกระโดดน้ำในชายหาดใน คะมะคุระ กับผู้หญิงอีกคน ซึ่งเป็นบาร์โฮสเทส ชื่อ ทะนะเบะ ชิเมะโกะ ชิเมะโกะ เสียชีวิต แต่ ทสึชิมะ (ดะไซ) ได้รับการช่วยเหลือโดยเรือประมง

เขาถูกตั้งข้อหาสมรู้ร่วมคิดในการตายของเธอ ในขณะที่เขาช็อคจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ครอบครัวของทสึชิมะ (ดะไซ) ได้เข้าแทรกแซงเพื่อหยุดการสืบสวนของตำรวจ เขาได้รับเงินเบี้ยเลี้ยงคืนและเขาได้รับการปล่อยตัวจากข้อหา ในเดือนธันวาคม  ทสึชิมะ (ดะไซ) พักฟื้นตัวขึ้นที่  อิคะริกะเซกิ และแต่งงานกับ ฮัทสึโยะที่นั่น

ไม่นานหลังจากนั้น  ทสึชิมะ (ดะไซ)  ถูกจับในข้อหามีส่วนเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น และเมื่อพี่ชายของเขารู้เรื่องนี้ ได้ตัดเบี้ยเลี้ยงของเขาอีกครั้ง  แต่ให้สัญญาว่าให้เบี้ยเลี้ยงอีกครั้งถ้าเขาสัญญาว่าจะตั้งใจเรียนจนจบการศึกษาและสาบานว่าจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับพรรคอีก ทสึชิมะ (ดะไซ)รับเอาข้อเสนอนี้

ทสึชิมะ (ดะไซ) รักษาสัญญาของเขา เขาได้รับความช่วยเหลือจากนักเขียน มาสึจิ อิบุเสะ ผู้ซึ่งใช้คอนเน็คชั่นของตัวเองให้ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์และช่วยสร้างชื่อเสียงให้กับดะไซ

เขาใช้นามปากกา ดะไซ โอซามุ เป็นครั้งแรก ในเรื่องสั้น เรื่อง เรชฉะ (列車) โดยลองเขียนรูปแบบ อัตชีวประวัติ มุมมองบุคคลที่หนึ่ง ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นเอกลักษณ์ของเขา แต่ในปี ค.ศ. 1935 ก็เริ่มชัดเจนว่า ดะไซ จะไม่จบการศึกษาและไม่ได้งานของหนังสือพิมพ์โตเกียวเช่นกัน เขาจึงตั้งใจพยายามจะแขวนคอตัวเองในวันที่ 19 มีนาคม ค.ศ.1935 แต่ก็ล้มเหลวอีกครั้ง

ไม่เกินสามสัปดาห์หลังจากที่เขาพยายามฆ่าตัวตายถึงสามครั้ง ดะไซ มีอาการไส้ติ่งอักเสบฉับพลันและเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ในช่วงเวลานั้นเขาเริ่มติดยา ซึ่งเป็นยาแก้ปวดที่ใช้มอร์ฟีน หลังจากต่อสู้กับการติดยาเสพติดเป็นเวลาหนึ่งปี ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1936 เขาถูกนำตัวไปที่สถาบันจิต ถูกขังอยู่ในห้องและถูกบังคับให้เลิกยาแบบหักดิบ การรักษากินเวลานานกว่าหนึ่งเดือน ในช่วงเวลาเดียวกันที่ภรรยาของ ดะไซ ฮัทสึโยะ ก็ถูกล่วงประเวณีโดยเพื่อนสนิทของเขา เซ็นชิโร โคะดะเตะ

เมื่อดะไซรู้เรื่องนี้ขึ้น จึงพยายามฆ่าตัวตายพร้อมกับภรรยาของเขา ทั้งสองคนกินยานอนหลับ แต่ไม่มีใครตาย เขาจึงหย่ากับเธอ เขาแต่งงานใหม่กับครูโรงเรียนมัธยมต้นชื่อ อิชิฮาระ มิจิโกะ ลูกสาวคนแรกของพวกเขาคือ โซโนะโกะ เกิดเมื่อ มิถุนายน 1941

ในยุค 30 และยุค 40 ดะไซ เขียนนวนิยายและเรื่องสั้นที่อัตชีวประวัติในธรรมชาติเรื่องแรกของเขา เกียวฟุคุคิ  (魚服記)  เนื้อเรื่องเกี่ยวกับจินตนาการที่น่าสยดสยองที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าตัวตาย เรื่องราวอื่น ๆ ที่เขียนขึ้นในช่วงเวลานี้ ได้แก่ โดเคะ โนะ ฮะนะ (道化の花),  เกียกโค(逆行), เคียวเก็น โนะ คามิ (狂言の神)  นวนิยายรูปแบบจดหมาย เคียวโค โนะ ฮารุ (虚構の春)

ญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามในมหาสมุทรแปซิฟิกในเดือนธันวาคม แต่ ดะไซ ได้รับการยกเว้นการเป็นทหารเพราะเขาได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรค บ้านของเขาถูกเผาสองครั้งในการโจมตีทางอากาศของอเมริกา แต่ครอบครัวของ ดะไซ หลบหนีโดยไม่ได้รับบาดเจ็บ หลังจากนั้นภรรยาก็ให้กำเนิดลูกชาย มาซากิ ในปี ค.ศ. 1944 และลูกสาวชื่อ ซาโตโกะ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นนักเขียนชื่อดัง นามแฝง ทสึชิมะ ยูโกะ ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1947

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ดะไซประสบความสำเร็จกับนวนิยายเรื่อง ชาโยและ นินเก็น ชิชาคุ นิยายทั้งสองเล่มทำให้เขาได้รับชื่อเสียงมหาศาล  เดือนกรกฎาคมปี ค.ศ 1947 เขาได้เริ่มเขียนงานที่ดังที่สุด คือ ชาโย ที่แสดงถึงความเสื่อมโทรมของชนชั้นสูงของญี่ปุ่นหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง งานเขียนนี้ใช้บันทึกประจำวันของ  โอตะ ชิซุโอะ โอตะเป็นหนึ่งในแฟนหนังสือของดะไซ และได้พบกับเขาเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ 1941 เธอให้กำเนิดลูกของเขา ชื่อฮารุโกะ ในปีค.ศ 1947

ดะไซ ได้พบกับ ยะมะซะกิ โทมิเอะ ช่างเสริมสวยและแม่หม้าย หลังจากนั้น ดะไซ ละทิ้งภรรยาและลูก ๆ และย้ายไปอยู่กับโทมิเอะ  เขาเริ่มเขียนนิยายกึ่งอัตชีวประวัติของเขา นินเก็น ชิชากุ ในโรงแรมที่เขาย้ายไปอยู่กับ โทมิเอะ และอยู่ที่นั่นจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม จนเขียนนิยายเสร็จ

ในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ 1948 เขาเขียนนวนิยายเรื่องสั้น ที่มีกำหนดจะตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ อาซาฮี ชิมบุน ซึ่งมีชื่อว่า Goodbye แต่ก็เขียนไม่จบ จนเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 1948 ดะไซ และ โทมิเอะ ได้จมน้ำเสียชีวิตในคลอง ทามากาวะ ใกล้กับบ้านของเขา ร่างกายของพวกเขาถูกค้นพบในวันที่ 19 มิถุนายนซึ่งใกล้เคียงกับวันเกิดปีที่ 39 ของเขา หลุมฝังศพของเขาอยู่ที่วัด เซ็นรินจิ ในเมือง มิทากะ

หนังสือของเขานำมาซึ่งการตระหนักถึงหัวข้อที่สำคัญๆ เช่นธรรมชาติของมนุษย์ ความเจ็บป่วยทางจิต ความสัมพันธ์ทางสังคมและสงครามญี่ปุ่น  และงานส่วนมากของเขาแสดงให้เห็น จิตสำนึกของความเป็นจริงทางสังคมในช่วงเวลาที่ความยากลำบากทางเศรษฐกิจ ด้วยการเขียนนิยายแบบกึ่งอัตชีวประวัติของดะไซ จึงทำให้ผู้อ่านหลายๆ คนหลงใหล และยังคงได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวางในประเทศญี่ปุ่นจนถึงปัจจุบัน


อ้างอิง

Keene, Donald. Modern Japanese Literature From 1868 to Present Day. New York: Grove  Press, 1994. Print.

Rimer, J. Tomas Modern Japanese Fiction and Its Traditions: An Introduction. New Jersey: Princeton University Press, 1978. Print.

Ueda, Makoto. Modern Japanese Writers and the Nature of Literature. California: Stanford University Press, 1976. Print.

Osamu Dazai. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2560, จาก : https://en.wikipedia.org/wiki/Osamu_Dazai

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น