โดย กิตติยา พากเพียร
ในประวัติศาสตร์อันยาวนานหลายพันปีของจีน มีบุคคลสำคัญที่ถูกจารึกไว้ในเอกสารประวัติศาสตร์ประเภทต่างๆ มากมายนับพันคน ในบรรดารายชื่อนั้นก็มีผู้หญิงอยู่ด้วย และผู้หญิงที่มีชื่อมีเสียงมากที่สุดทั้งสี่นาง ได้แก่ ไซซี หวางเจาจวิน เตียวเสี้ยน และหยังกุ้ยเฟย แม้ว่าเตียวเสี้ยนนั้นจะมีบทบาทเด่นในแง่ของการเมือง แต่ทว่าเตียวเสี้ยนนั้น เป็นเพียงนางในวรรณกรรมที่ “หลอกว้านจง” เป็นผู้ประพันธ์ขึ้นเท่านั้น หาได้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ไม่
เตียวเสี้ยน หรือภาษาจีนเรียกว่า 貂蝉 (เตียวฉาน) ซึ่งเป็นตัวละครที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง “สามก๊ก” ซึ่งประพันธ์โดย หลอกว้านจง นักประพันธ์ชาวจีนในสมัยราชวงศ์หมิง โดยกล่าวว่าเตียวเสี้ยนเป็นผู้หญิงที่มีรูปโฉมงดงามและมีสติปัญญาที่เฉลียวฉลาด อีกทั้งยังมีความสามารถด้านการฟ้อนรำ นางจึงได้รับขนานนามว่า จันทร์หลบโฉมสุดา หรือในภาษาจีนเรียกว่า 闭月(ปี้เย่ว) มีความหมายว่า ความงามที่ทำให้แม้แต่ดวงจันทร์ยังต้องหลบเลี่ยงให้
เตียวเสี้ยน อยู่ในยุคปลายราชวงศ์ฮั่น สมัยสามก๊ก เมื่อตอนเด็กๆ นางมีฐานะยากจน นางจึงพยายามช่วยแม่หารายได้เพื่อเลี้ยงชีพด้วยการทอเสื่อขาย ต่อมาแม่ได้ฝากฝังนางให้มาอยู่ในจวนของอ๋องอุ่น(ขุนนางผู้ใหญ่ในพระเจ้าเหี้ยนเต้) จนกระทั่งนางได้เข้ามาเป็นนางรำในจวน และเนื่องด้วยนางมีรูปโฉมที่งดงาม มีความสารถในการฟ้อนรำเป็นเลิศและมีสติปัญญาที่เฉลียวฉลาด อ๋องอุ่นจึงเมตตารับเป็นบุตรบุญธรรมและรักเสมือนเป็นลูกของตน
ครั้นหนึ่งอ๋องอุ่นเห็นว่า ตั้งโต๊ะ(ขุนนางกังฉิน) คิดกำเริบเสิบสานล้มราชวงศ์ฮั่นตะวันออกแล้วยกตนขึ้นมาเป็นฮ่องเต้ ซึ่งอ๋องอุ่นเกรงว่าราชวงศ์ฮั่นที่มีระยะเวลายาวนานร้อยกว่าปีจะต้องมาล่มสลายลงเพราะ “ตั้งโต๊ะ” เพียงคนเดียว จึงได้คิดแผนกำจัดตั้งโต๊ะด้วย”แผนอุบายหญิงงาม” ขึ้นมา โดยใช้เตียวเสี้ยนเป็นตัวล่อ ให้ตั้งโต๊ะ ลิโป้ บาดหมางกัน
อ๋องอุ่นเริ่มแผนการโดยเชิญลิโป้มายังจวนของตน และแนะนำเตียวเสี้ยนให้กับลิโป้ ซึ่งลิโป้เห็นเตียวเสี้ยนก็ตกหลุมรักในทันใดและได้สู่ขอเตียวเสี้ยนแต่งงานในทันที ซึ่งอ๋องอุ่นรับปากว่าจะส่งนางให้ในภายหลัง วันต่อมาอ๋องอุ่นก็ได้เชิญตั้งโต๊ะมาที่จวน โดยจัดงานเลี้ยงขึ้นมาและส่งเตียวเสี้ยนออกมาร่ายรำ เมื่อตั้งโต๊ะได้พบกับนางก็หลงเสน่ห์ในทันที อ๋องอุ่นจึงเอ่ยปากยกให้ ซึ่งแน่นอนว่าจอมตัณหาอย่างตั้งโต๊ะย่อมไม่ปฏิเสธ และพานางกลับเข้าวังไป วันต่อมาเมื่อลิโป้จะมาขอเตียวเสี้ยนที่จวน กลับพบว่าตั้งโต๊ะได้เอานางไปแล้ว ซึ่งอ๋องอุ่นได้บอกกับลิโป้ว่า ตั้งโต๊ะได้ขอนางไปก่อนและจะยกให้เป็นลิโป้ภายหลังเพื่อที่จะได้ถูกธรรมเนียม
ลิโป้จึงกลับเข้าวัง แต่พบว่าเตียวเสี้ยนอยู่ที่ห้องนอนของตั้งโต๊ะ ทำให้ลิโป้ได้แต่เก็บความแค้นไว้ในอก
นับแต่นั้นมาเวลาที่เตียวเสี้ยนอยู่กับตั้งโต๊ะเพียงลำพังนางก็จะใช้มารยายั่วยวนให้ตั้งโต๊ะหลงใหล แต่หากว่ามีลิโป้อยู่ด้วยนางจะพยายามแอบส่งสายตาให้กับลิโป้ บางครั้งที่นางอยู่กับลิโป้เพียงลำพัง นางก็จะบอกลิโป้ว่าตั้งโต๊ะใช้กำลังข่มขู่นางซึ่งนางไม่อาจปฏิเสธได้ นั่นจึงทำให้ตั้งโต๊ะแอบสงสัยว่านางกับลิโป้เป็นชู้กัน นางจึงบอกกับตั้งโต๊ะว่า ลิโป้หาทางที่จะลวนลามนางต่างๆนาๆ และนางขู่ว่าจะฆ่าตัวตายหากตั้งโต๊ะไม่เชื่อนาง เมื่อตั้งโต๊ะเข้าไปห้ามนางไว้นางก็จะโผเข้ากอดและร้องไห้ที่ตัวของตั้งโต๊ะ จึงทำให้แผนขั้นที่สองนี้ลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งเป็นเหตุทำให้ลิโป้และตั้งโต๊ะต่างก็ไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน
เมื่ออ๋องอุ่นได้ทราบข่าวจากข้างนอกจึงได้ดำเนินการขึ้นสุดท้าย ด้วยการยุให้ลิโป้สังหารตั้งโต๊ะ โดยอ้างว่าเพื่อแย่งนางกลับมาและเป็นการทำเพื่อราษฎร ซึ่งจะทำให้ชื่อของลิโป้นั้นกลายเป็นที่สรรเสริญ ในที่สุดคำยุยงของอ๋องอุ่นก็ทำให้ลิโป้สังหารตั้งโต๊ะได้สำเร็จ หลังจากนั้นก็เอาเตียวเสี้ยนมาเป็นเมียของตนและเข้าควบคุมในเมืองหลวง แต่ไม่กี่วันต่อมากองทัพของลิฉุยและกุยกี (ลูกสมุนของตั้งโต๊ะ) ที่อยู่นอกเมืองได้นำทัพเข้ามาล้างแค้นให้ตั้งโต๊ะ ทหารของลิโป้มีน้อยกว่าจึงไม่อาจต้านทานได้และในความวุ่นวายนั้น อ๋องอุ่นและครอบครัวได้ถูกทหารของลิฉุยและกุยกีสังหารล้างโคตร ส่วนลิโป้นั้นหนีไปได้ หลังจากที่เตียวเสี้ยนได้ยินว่าอ๋องอุ่นตายแล้ว ก็รู้สึกเสียใจและคิดว่าเมื่อตั้งโต๊ะตายแล้ว อ๋องอุ่นต้องมาตายตามไปด้วย ความตั้งใจเสียสละของตนก็สูญเปล่า จึงตัดสินจะปลิดชีวิตของตน พลันนึกขึ้นได้ว่าศพของอ๋องอุ่นยังไม่มีใครเอาไปฝัง จึงรีบหาศพของอ๋องอุ่นและนำไปฝังไว้บนเนินเขาใกล้วัดฮกซิว หลังจากที่เตียวเสี้ยนได้ทำตามที่ตนตั้งใจไว้ นางจึงตัดสินใจออกบวชเป็นชีอยู่ที่วัดฮกซิว
ต่อมาคนรุ่นหลังบอกว่านางไปอยู่กับโจโฉแต่ถูกกวนอูฆ่าตาย บ้างก็ว่านางหนีไปอยู่ลิโป้ พอลิโป้ตายก็ไปอยู่กับโจโฉและถูกกวนอูฆ่าตาย แม้ว่าจุดจบของนางจะปรากฏไม่แน่ชัด แต่ในปัจจุบันมีการวิเคราะห์ว่า นางได้รับการยืนยันว่าไม่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เป็นเพียงแค่หญิงใช้ของตั้งโต๊ะ ที่มีความสัมพันธ์ลับๆกับลิโป้ หรือเป็นเพียงตัวละครที่แต่งขึ้นเพื่อให้นว-นิยายมีสีสันเท่านั้น และนั่นจึงเป็นเหตุให้นางได้รับขนานนามว่า เตียวเสี้ยน...อรไทผู้ไร้บุคคลจริงแห่งสามก๊ก
อ้างอิง
อดุลย์ รัตนมั่นเกษม. (2553). เตียวเสี้ยน ผู้พลีกายกำจัดกังฉิน. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
เจาะลึกเหล่าขุนพลสามก๊ก. (2558). สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2559, จาก https://writer.dek-d.com/eagle/story/viewlongc.php?id=10590&chapter=12
เตียวเสี้ยน. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2559, จาก http://board.postjung.com/749061.html
ในประวัติศาสตร์อันยาวนานหลายพันปีของจีน มีบุคคลสำคัญที่ถูกจารึกไว้ในเอกสารประวัติศาสตร์ประเภทต่างๆ มากมายนับพันคน ในบรรดารายชื่อนั้นก็มีผู้หญิงอยู่ด้วย และผู้หญิงที่มีชื่อมีเสียงมากที่สุดทั้งสี่นาง ได้แก่ ไซซี หวางเจาจวิน เตียวเสี้ยน และหยังกุ้ยเฟย แม้ว่าเตียวเสี้ยนนั้นจะมีบทบาทเด่นในแง่ของการเมือง แต่ทว่าเตียวเสี้ยนนั้น เป็นเพียงนางในวรรณกรรมที่ “หลอกว้านจง” เป็นผู้ประพันธ์ขึ้นเท่านั้น หาได้มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ไม่
เตียวเสี้ยน หรือภาษาจีนเรียกว่า 貂蝉 (เตียวฉาน) ซึ่งเป็นตัวละครที่ปรากฏอยู่ในวรรณกรรมอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง “สามก๊ก” ซึ่งประพันธ์โดย หลอกว้านจง นักประพันธ์ชาวจีนในสมัยราชวงศ์หมิง โดยกล่าวว่าเตียวเสี้ยนเป็นผู้หญิงที่มีรูปโฉมงดงามและมีสติปัญญาที่เฉลียวฉลาด อีกทั้งยังมีความสามารถด้านการฟ้อนรำ นางจึงได้รับขนานนามว่า จันทร์หลบโฉมสุดา หรือในภาษาจีนเรียกว่า 闭月(ปี้เย่ว) มีความหมายว่า ความงามที่ทำให้แม้แต่ดวงจันทร์ยังต้องหลบเลี่ยงให้
อ๋องอุ่นเริ่มแผนการโดยเชิญลิโป้มายังจวนของตน และแนะนำเตียวเสี้ยนให้กับลิโป้ ซึ่งลิโป้เห็นเตียวเสี้ยนก็ตกหลุมรักในทันใดและได้สู่ขอเตียวเสี้ยนแต่งงานในทันที ซึ่งอ๋องอุ่นรับปากว่าจะส่งนางให้ในภายหลัง วันต่อมาอ๋องอุ่นก็ได้เชิญตั้งโต๊ะมาที่จวน โดยจัดงานเลี้ยงขึ้นมาและส่งเตียวเสี้ยนออกมาร่ายรำ เมื่อตั้งโต๊ะได้พบกับนางก็หลงเสน่ห์ในทันที อ๋องอุ่นจึงเอ่ยปากยกให้ ซึ่งแน่นอนว่าจอมตัณหาอย่างตั้งโต๊ะย่อมไม่ปฏิเสธ และพานางกลับเข้าวังไป วันต่อมาเมื่อลิโป้จะมาขอเตียวเสี้ยนที่จวน กลับพบว่าตั้งโต๊ะได้เอานางไปแล้ว ซึ่งอ๋องอุ่นได้บอกกับลิโป้ว่า ตั้งโต๊ะได้ขอนางไปก่อนและจะยกให้เป็นลิโป้ภายหลังเพื่อที่จะได้ถูกธรรมเนียม
ภาพวาด เตียวเสี้ยนฟ้อนรำให้ตั๋งโต๊ะชม
ลิโป้จึงกลับเข้าวัง แต่พบว่าเตียวเสี้ยนอยู่ที่ห้องนอนของตั้งโต๊ะ ทำให้ลิโป้ได้แต่เก็บความแค้นไว้ในอก
นับแต่นั้นมาเวลาที่เตียวเสี้ยนอยู่กับตั้งโต๊ะเพียงลำพังนางก็จะใช้มารยายั่วยวนให้ตั้งโต๊ะหลงใหล แต่หากว่ามีลิโป้อยู่ด้วยนางจะพยายามแอบส่งสายตาให้กับลิโป้ บางครั้งที่นางอยู่กับลิโป้เพียงลำพัง นางก็จะบอกลิโป้ว่าตั้งโต๊ะใช้กำลังข่มขู่นางซึ่งนางไม่อาจปฏิเสธได้ นั่นจึงทำให้ตั้งโต๊ะแอบสงสัยว่านางกับลิโป้เป็นชู้กัน นางจึงบอกกับตั้งโต๊ะว่า ลิโป้หาทางที่จะลวนลามนางต่างๆนาๆ และนางขู่ว่าจะฆ่าตัวตายหากตั้งโต๊ะไม่เชื่อนาง เมื่อตั้งโต๊ะเข้าไปห้ามนางไว้นางก็จะโผเข้ากอดและร้องไห้ที่ตัวของตั้งโต๊ะ จึงทำให้แผนขั้นที่สองนี้ลุล่วงไปได้ด้วยดี ซึ่งเป็นเหตุทำให้ลิโป้และตั้งโต๊ะต่างก็ไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน
เมื่ออ๋องอุ่นได้ทราบข่าวจากข้างนอกจึงได้ดำเนินการขึ้นสุดท้าย ด้วยการยุให้ลิโป้สังหารตั้งโต๊ะ โดยอ้างว่าเพื่อแย่งนางกลับมาและเป็นการทำเพื่อราษฎร ซึ่งจะทำให้ชื่อของลิโป้นั้นกลายเป็นที่สรรเสริญ ในที่สุดคำยุยงของอ๋องอุ่นก็ทำให้ลิโป้สังหารตั้งโต๊ะได้สำเร็จ หลังจากนั้นก็เอาเตียวเสี้ยนมาเป็นเมียของตนและเข้าควบคุมในเมืองหลวง แต่ไม่กี่วันต่อมากองทัพของลิฉุยและกุยกี (ลูกสมุนของตั้งโต๊ะ) ที่อยู่นอกเมืองได้นำทัพเข้ามาล้างแค้นให้ตั้งโต๊ะ ทหารของลิโป้มีน้อยกว่าจึงไม่อาจต้านทานได้และในความวุ่นวายนั้น อ๋องอุ่นและครอบครัวได้ถูกทหารของลิฉุยและกุยกีสังหารล้างโคตร ส่วนลิโป้นั้นหนีไปได้ หลังจากที่เตียวเสี้ยนได้ยินว่าอ๋องอุ่นตายแล้ว ก็รู้สึกเสียใจและคิดว่าเมื่อตั้งโต๊ะตายแล้ว อ๋องอุ่นต้องมาตายตามไปด้วย ความตั้งใจเสียสละของตนก็สูญเปล่า จึงตัดสินจะปลิดชีวิตของตน พลันนึกขึ้นได้ว่าศพของอ๋องอุ่นยังไม่มีใครเอาไปฝัง จึงรีบหาศพของอ๋องอุ่นและนำไปฝังไว้บนเนินเขาใกล้วัดฮกซิว หลังจากที่เตียวเสี้ยนได้ทำตามที่ตนตั้งใจไว้ นางจึงตัดสินใจออกบวชเป็นชีอยู่ที่วัดฮกซิว
ต่อมาคนรุ่นหลังบอกว่านางไปอยู่กับโจโฉแต่ถูกกวนอูฆ่าตาย บ้างก็ว่านางหนีไปอยู่ลิโป้ พอลิโป้ตายก็ไปอยู่กับโจโฉและถูกกวนอูฆ่าตาย แม้ว่าจุดจบของนางจะปรากฏไม่แน่ชัด แต่ในปัจจุบันมีการวิเคราะห์ว่า นางได้รับการยืนยันว่าไม่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เป็นเพียงแค่หญิงใช้ของตั้งโต๊ะ ที่มีความสัมพันธ์ลับๆกับลิโป้ หรือเป็นเพียงตัวละครที่แต่งขึ้นเพื่อให้นว-นิยายมีสีสันเท่านั้น และนั่นจึงเป็นเหตุให้นางได้รับขนานนามว่า เตียวเสี้ยน...อรไทผู้ไร้บุคคลจริงแห่งสามก๊ก
อ้างอิง
อดุลย์ รัตนมั่นเกษม. (2553). เตียวเสี้ยน ผู้พลีกายกำจัดกังฉิน. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
เจาะลึกเหล่าขุนพลสามก๊ก. (2558). สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2559, จาก https://writer.dek-d.com/eagle/story/viewlongc.php?id=10590&chapter=12
เตียวเสี้ยน. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2559, จาก http://board.postjung.com/749061.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น