โดย รานี อาลี
อียิปต์ ถือว่าเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดของโลกตะวันตกหรือที่ทราบดีในนามอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ ซึ่งแม่น้ำไนล์นี้ถือว่าเป็นหัวใจของอารยธรรมอียิปต์ จนบิดาแห่งประวัติศาสตร์โลก เฮโรโดตัสถึงกับกล่าวว่า “Egypt is the gift of the Nile” รวมไปถึงพีระมิดซึ่งมีความสวยงาม ความน่าพิศวง ได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณแล้ว ยังถือว่าเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของอียิปต์ก็ว่าได้ ไม่ใช่เพียงความเก่าแก่ของอารยธรรมและสปัตยกรรมเท่านั้นที่เป็นที่รู้จัก ยังมีบุคคลมีชื่อเสียงมากมายไม่ว่าจะเป็น พระนางคลีโอพัตรา พระเนเฟอร์ติติ ฟาโรห์โจเซอร์ อิสตรีองค์แรกผู้ยิ่งใหญ่ ฟาโรห์แฮตเซปซุต และไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าจะไม่มีใครไม่รู้จักฟาโรห์หนุ่มองค์นี้ “ฟาโรห์ตุตันคาเมน”
“ตุตันคาเมน (Tutankhaman) หรือ ตุตันคามุน (Tutakhamun) เป็นพระโอรสของฟาโรห์แอเคนาเทน” ซึ่งเดิมชื่อ เอเมนโฮเทปที่4 สาเหตุที่ทรงเปลี่ยนชื่อเพราะความศรัทธาในเทพ “อาเทน” อย่างมากกับพระมเหสีที่ชื่อ “คียา” พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับอังเคเซนปาอาเตน ต่อมาพระองค์ก็ทรงย้ายเมืองหลวงกลับมาที่เมือง เมมฟิส และเปลี่ยนศาสนามานับถือเทพอมอเร่ และเทพอื่นๆ ดังเดิม พร้อมเปลี่ยนพระนามของพระองค์เป็น “ตุตันคาเมน” หรือ “ตุตันคามุน” และพระนามของมเหสีเป็น “อังเคเซนปาอามุน” เพื่อยืนยันถึงความนับถือเทพเจ้าอามุน พระองค์และพระมเหสีทรงมีพริดาด้วยกัน 2 พระองค์ แต่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่พระธิดาทั้ง 2 ทรงสิ้นพระชนม์ในพระครรภ์ โดยพระธิดาองค์แรกทรงสิ้นพระชนม์เมื่อพระมารดามีอายุครรภ์ได้ราวๆ 6 เดือน ส่วนพระธิดาองค์ต่อมาทรงสิ้นพระชนม์เมื่อพระมารดามีอายุครรภ์ได้ 9 เดือน
พระองค์เป็นฟาโรห์องค์ที่ 12 ในราชวงศ์ที่ 18 ของอียิปต์เป็นฟาโรห์ในช่วงปี 1334-1323 พระองค์ถือเป็นฟาโรห์ที่อายุน้อยที่สุดองค์หนึ่ง โดยขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมายุเพียง 10 ชันษา ก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์ทรงใช้พระนามเดิมว่า “ตุตันคาเตน” ซึ่งหมายถึง เทพอาเตนหรือสุริยเทพอวตารลงมา พระองค์ใช้ชีวิตที่เมืองอเคตาเตน หรือเมืองเทลเออลอมาร์นาในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงที่พระบิดาของพระองค์ทรงสร้างอุทิศให้กับเทพองค์ใหม่
ด้วยพระชนมายุที่น้อยของพระองค์ในการขึ้นครองราชย์ จึงถือว่าพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถเป็นอย่างมาก ทรงมีนโยบายฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับอาณาจักรต่างๆ เพราะในรัชสมัยของพระบิดาได้เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและเกิดการจลาจลเป็นอย่างมาก ทางด้านความเชื่อทรงโปรดให้สร้างวัดจำนวนมากถวายเทพเจ้าอามุน รวมถึงการฟื้นฟูเทศกาลตามประเพณีต่างๆ ขึ้น
หลังจากพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ได้ไม่นานก็สิ้นพระชนม์โดยฉับพลัน ด้วยวัยเพียง 19 ชันษา พระองค์ไม่มีองค์รัชทายาททำให้ วิซิเอร์ วัยย์ รีบฉวยโอกาสเพื่อได้ครองบัลลังก์อียิปต์ พระศพของพระองค์ถูกทำเป็นมัมมี่ และเก็บไว้ที่หุบเขากษัตริย์ พร้อมทั้งของมีค่าต่างๆที่มีความเชื่อว่าจะนำไปใช้ในโลกหลังความตายซึ่งล้วนเป็นทองคำรวมกว่า 3,000 ชิ้น
พระองค์ทรงเป็นตำนานที่ยิ่งใหญ่แห่งการค้นพบทางโบราณคดี ในปี 1922 โฮเวิร์ด คาร์เตอร์ นักโบราณคดีชาวอังกฤษ ร่วมกับ จอร์ด คาร์นาร์วอน ผู้สนับสนุนทางการเงิน ได้เข้าไปยังหุบผากษัตริย์และเขาไปยังสุสานของฟาโรห์ตุตันคาเมน โดยใช้เวลานานถึง 10 ปีในการขุดค้น สุสานของพระองค์ถือเป็นสุสานที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่ง เพราะเป็นสุสานที่ไม่ได้สลักชื่อผู้วายชนม์ จึงทำให้รอดพ้นจากโจรที่จ้องจะคอยปล้นและทำลายสุสานฟาโรห์ ทำให้ทุกอย่างยังคงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
หลังจากการขุดค้นครั้งนี้ทำให้พบกับสมบัติที่ประเมินค่าไม่ได้หลายชิ้นไม่ว่าจะเป็น โลงพระศพที่ทำด้วยทองคำบริสุทธ์ รวมสมบัติอื่นๆ อีกกว่า 3,000 ชิ้น ที่ล้วนทำจากทองคำบริสุทธิ์ และหน้ากากทองคำที่ปกปิดโฉมหน้าของมัมมี่พระองค์ ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของพระองค์เลยก็ว่าได้ ถ้ากล่าวถึงมัมมี่ฟาโรห์หนุ่มที่มีหน้ากากทองคำ
“มรณะจักโบยบินมา สังหารสู้ผู้บังอาจรังควาญ สันติสุขแห่งพระองค์ฟาโรห์” นี่คือข้อความคำสาปที่นักบวชชาวไอยคุปต์ ได้บรรจุในสุสานของฟาโรห์ตุตันคาเมน หลังจากนั้นก็มีผู้ร่วมเปิดสุสานเสียชีวิตในถึง 22 คน และยังมีคำเล่าลืออีกว่า ผู้ใดที่มีประสงค์ร้ายจะเข้าไปยุ่งกับพระราชสมบัติของพระองค์ จะต้องมีอันเป็นไปทุกราย ซึ่งก็ยังคงเป็นปริศนาจนถึงทุกวันนี้ ว่าเกี่ยวข้องกับคำสาปข้างต้นหรือไม่ แต่ก็ยังไม่มีข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้ เพราะผู้ที่เสียชีวิตล้วนมีสาเหตุที่พิสูจน์ได้ทั้ง 22 คน ปัจจุบัน พระศพตุตันคาเมนก็ยังคงประดิษฐานอยู่ในสุสานในหุบผากษัตริย์เช่นดังเดิม
อ้างอิง
ประวัติ Tutankhamun. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2559, จาก : https://bebeerkub.wordpress.com/profile-tutunkhamun/
Tutankhamun. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2559, จาก : https://en.wikipedia.org/wiki/Tutankhamun
Perzius . ฟาโรห์ตุตันคาเมน (Tutankhamun) ตอนที่2. สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2559, จาก : http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=egypt&month=16-12-2014&group=4&gblog=9
อียิปต์ ถือว่าเป็นอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดของโลกตะวันตกหรือที่ทราบดีในนามอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ ซึ่งแม่น้ำไนล์นี้ถือว่าเป็นหัวใจของอารยธรรมอียิปต์ จนบิดาแห่งประวัติศาสตร์โลก เฮโรโดตัสถึงกับกล่าวว่า “Egypt is the gift of the Nile” รวมไปถึงพีระมิดซึ่งมีความสวยงาม ความน่าพิศวง ได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณแล้ว ยังถือว่าเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของอียิปต์ก็ว่าได้ ไม่ใช่เพียงความเก่าแก่ของอารยธรรมและสปัตยกรรมเท่านั้นที่เป็นที่รู้จัก ยังมีบุคคลมีชื่อเสียงมากมายไม่ว่าจะเป็น พระนางคลีโอพัตรา พระเนเฟอร์ติติ ฟาโรห์โจเซอร์ อิสตรีองค์แรกผู้ยิ่งใหญ่ ฟาโรห์แฮตเซปซุต และไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าจะไม่มีใครไม่รู้จักฟาโรห์หนุ่มองค์นี้ “ฟาโรห์ตุตันคาเมน”
ที่มา: https://theunredacted.com/
“ตุตันคาเมน (Tutankhaman) หรือ ตุตันคามุน (Tutakhamun) เป็นพระโอรสของฟาโรห์แอเคนาเทน” ซึ่งเดิมชื่อ เอเมนโฮเทปที่4 สาเหตุที่ทรงเปลี่ยนชื่อเพราะความศรัทธาในเทพ “อาเทน” อย่างมากกับพระมเหสีที่ชื่อ “คียา” พระองค์ทรงอภิเษกสมรสกับอังเคเซนปาอาเตน ต่อมาพระองค์ก็ทรงย้ายเมืองหลวงกลับมาที่เมือง เมมฟิส และเปลี่ยนศาสนามานับถือเทพอมอเร่ และเทพอื่นๆ ดังเดิม พร้อมเปลี่ยนพระนามของพระองค์เป็น “ตุตันคาเมน” หรือ “ตุตันคามุน” และพระนามของมเหสีเป็น “อังเคเซนปาอามุน” เพื่อยืนยันถึงความนับถือเทพเจ้าอามุน พระองค์และพระมเหสีทรงมีพริดาด้วยกัน 2 พระองค์ แต่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่งที่พระธิดาทั้ง 2 ทรงสิ้นพระชนม์ในพระครรภ์ โดยพระธิดาองค์แรกทรงสิ้นพระชนม์เมื่อพระมารดามีอายุครรภ์ได้ราวๆ 6 เดือน ส่วนพระธิดาองค์ต่อมาทรงสิ้นพระชนม์เมื่อพระมารดามีอายุครรภ์ได้ 9 เดือน
พระองค์เป็นฟาโรห์องค์ที่ 12 ในราชวงศ์ที่ 18 ของอียิปต์เป็นฟาโรห์ในช่วงปี 1334-1323 พระองค์ถือเป็นฟาโรห์ที่อายุน้อยที่สุดองค์หนึ่ง โดยขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมายุเพียง 10 ชันษา ก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์ทรงใช้พระนามเดิมว่า “ตุตันคาเตน” ซึ่งหมายถึง เทพอาเตนหรือสุริยเทพอวตารลงมา พระองค์ใช้ชีวิตที่เมืองอเคตาเตน หรือเมืองเทลเออลอมาร์นาในปัจจุบัน ซึ่งเป็นเมืองหลวงที่พระบิดาของพระองค์ทรงสร้างอุทิศให้กับเทพองค์ใหม่
ที่มา: http://www.bloggang.com/
ด้วยพระชนมายุที่น้อยของพระองค์ในการขึ้นครองราชย์ จึงถือว่าพระองค์ทรงมีพระปรีชาสามารถเป็นอย่างมาก ทรงมีนโยบายฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับอาณาจักรต่างๆ เพราะในรัชสมัยของพระบิดาได้เกิดสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและเกิดการจลาจลเป็นอย่างมาก ทางด้านความเชื่อทรงโปรดให้สร้างวัดจำนวนมากถวายเทพเจ้าอามุน รวมถึงการฟื้นฟูเทศกาลตามประเพณีต่างๆ ขึ้น
หลังจากพระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ได้ไม่นานก็สิ้นพระชนม์โดยฉับพลัน ด้วยวัยเพียง 19 ชันษา พระองค์ไม่มีองค์รัชทายาททำให้ วิซิเอร์ วัยย์ รีบฉวยโอกาสเพื่อได้ครองบัลลังก์อียิปต์ พระศพของพระองค์ถูกทำเป็นมัมมี่ และเก็บไว้ที่หุบเขากษัตริย์ พร้อมทั้งของมีค่าต่างๆที่มีความเชื่อว่าจะนำไปใช้ในโลกหลังความตายซึ่งล้วนเป็นทองคำรวมกว่า 3,000 ชิ้น
พระองค์ทรงเป็นตำนานที่ยิ่งใหญ่แห่งการค้นพบทางโบราณคดี ในปี 1922 โฮเวิร์ด คาร์เตอร์ นักโบราณคดีชาวอังกฤษ ร่วมกับ จอร์ด คาร์นาร์วอน ผู้สนับสนุนทางการเงิน ได้เข้าไปยังหุบผากษัตริย์และเขาไปยังสุสานของฟาโรห์ตุตันคาเมน โดยใช้เวลานานถึง 10 ปีในการขุดค้น สุสานของพระองค์ถือเป็นสุสานที่สมบูรณ์ในระดับหนึ่ง เพราะเป็นสุสานที่ไม่ได้สลักชื่อผู้วายชนม์ จึงทำให้รอดพ้นจากโจรที่จ้องจะคอยปล้นและทำลายสุสานฟาโรห์ ทำให้ทุกอย่างยังคงอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์
หลังจากการขุดค้นครั้งนี้ทำให้พบกับสมบัติที่ประเมินค่าไม่ได้หลายชิ้นไม่ว่าจะเป็น โลงพระศพที่ทำด้วยทองคำบริสุทธ์ รวมสมบัติอื่นๆ อีกกว่า 3,000 ชิ้น ที่ล้วนทำจากทองคำบริสุทธิ์ และหน้ากากทองคำที่ปกปิดโฉมหน้าของมัมมี่พระองค์ ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ของพระองค์เลยก็ว่าได้ ถ้ากล่าวถึงมัมมี่ฟาโรห์หนุ่มที่มีหน้ากากทองคำ
“มรณะจักโบยบินมา สังหารสู้ผู้บังอาจรังควาญ สันติสุขแห่งพระองค์ฟาโรห์” นี่คือข้อความคำสาปที่นักบวชชาวไอยคุปต์ ได้บรรจุในสุสานของฟาโรห์ตุตันคาเมน หลังจากนั้นก็มีผู้ร่วมเปิดสุสานเสียชีวิตในถึง 22 คน และยังมีคำเล่าลืออีกว่า ผู้ใดที่มีประสงค์ร้ายจะเข้าไปยุ่งกับพระราชสมบัติของพระองค์ จะต้องมีอันเป็นไปทุกราย ซึ่งก็ยังคงเป็นปริศนาจนถึงทุกวันนี้ ว่าเกี่ยวข้องกับคำสาปข้างต้นหรือไม่ แต่ก็ยังไม่มีข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้ เพราะผู้ที่เสียชีวิตล้วนมีสาเหตุที่พิสูจน์ได้ทั้ง 22 คน ปัจจุบัน พระศพตุตันคาเมนก็ยังคงประดิษฐานอยู่ในสุสานในหุบผากษัตริย์เช่นดังเดิม
อ้างอิง
ประวัติ Tutankhamun. สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2559, จาก : https://bebeerkub.wordpress.com/profile-tutunkhamun/
Tutankhamun. สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2559, จาก : https://en.wikipedia.org/wiki/Tutankhamun
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น