โดย ศศิธร แก่นคำ
คำว่า “สงคราม” มีได้หลากหลายรูปแบบทั้งสงครามทางการเมือง สงครามทางศาสนา สงครามทางเศรษฐกิจและสงครามทางการเงิน เป็นต้น หากย้อนหลังกลับไปศึกษาประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เรามักจะพบว่าหากต้องการที่จะยุติสงครามหรือต้องการให้ฝ่ายของตนเป็นผู้ชนะ มักจะใช้ความรุนแรง ใช้อาวุธสงครามหรือกลวิธีต่างๆ เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามเกิดความสูญเสียไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับบุคคล สถานที่หรือทรัพยากรในพื้นที่นั้นๆ เลย “เมืองพัลไมรา (Palmyra)” พื้นที่มรดกทางประวัติศาสตร์แห่งนี้ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสงครามที่มนุษย์สร้างขึ้น
“เมืองพัลไมรา (Palmyra)” นับว่าเป็นอีกเมืองหนึ่งที่สำคัญและมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานแห่งหนึ่งของประเทศซีเรีย มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เป็นนครเซมิติกโบราณที่อยู่ในเขตเมืองฮอมส์ (Homs) ตัวเมืองตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกในทะเลทราย มีเมืองดามัสกัส (Damascus) อยู่ห่างออกไปทางทิศใต้ประมาณ 235 กิโลเมตรและมีเมืองอเล็ปโป (Aleppo) อยู่ทางทิศเหนือ ซึ่งในอดีตบริเวณนี้มีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้สามารถสร้างแนวท่อส่งน้ำและสถานที่อาบน้ำสาธารณะได้เป็นจำนวนมาก แต่แหล่งน้ำเหล่านี้กลับแห้งหายไปไม่ปรากฏให้เห็นแม้แต่แห่งเดียว หลังจากการล่มสลายของเมือง
“เมืองพัลไมรา (Palmyra)” ซึ่งหมายถึง เมืองแห่งต้นปาล์ม (Palm) ถูกขึ้นทะเบียนไว้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก ในปี ค.ศ.1980 เมืองแห่งนี้เคยเป็นเมืองหน้าด่านระหว่างโรมันและเปอร์เซีย รวมทั้งเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าและกองคาราวานของเส้นทางสายไหม เมืองนี้ถูกค้นพบ ในปี ค.ศ.1924 หลังถูกทำลายเพราะแผ่นดินไหว ในปี ค.ศ.1089 แต่ร่องรอยที่ยังหลงเหลืออยู่บ่งบอกได้เป็นอย่างดีว่าในอดีตบริเวณนี้ คือจุดศูนย์กลางและเป็นศูนย์รวมของศิลปวัฒนธรรม เพราะจากการเข้ามาพำนักของคนหลากหลายเผ่าพันธุ์ ทำให้เกิดการผสมผสานด้านศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ 1 และ 2 ซึ่งเห็นได้จากความโดดเด่นของสิ่งปลูกสร้างที่มีการผสมผสานสถาปัตยกรรมแบบโรมันและเปอร์เซียได้อย่างลงตัว
โดยเฉพาะที่ วิหารแห่งเทพเบลล์ (Temple of Bel) หนึ่งในสถาปัตยกรรมที่เป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ที่ยังคงเหลืออยู่ในเมืองพัลไมรา ตัววิหารตั้งอยู่ทิศตะวันออกสุดของ Monumental Arch วิหารแห่งนี้คาดว่ามีการสร้างขึ้นในราว ค.ศ.100 การก่อสร้างวิหารได้รับอิทธิพลจากศิลปแบบกรีกโบราณ เนื่องจากเมืองพัลไมราได้อยู่ภายใต้อิทธิพลกรีกก่อนที่โรมันจะเข้ามาครอบครอง วิหารแห่งเทพเบลล์มีขนาดความกว้าง 205 เมตร ยาว 210 เมตร กำแพงปิดรอบทั้งสี่ด้านสูง 10 เมตร มีขอบเขตสองชั้น แต่ละชั้นมีทางเดินขึ้นเป็นลานกว้างหลายขั้น อีกทั้งเป็นวิหารสำหรับการบูชาเทพเบลล์ตามความเชื่อของกลุ่มชนในดินแดนเมโสโปเตเมียและชาวเมืองพัลไมราว่าเป็นเทพที่มีพลังสูงสุดเหนือเทพทั้งปวง นอกจากนี้ในวิหารแห่งเทพเบลล์ยังมีแท่นบูชาเทพระดับชุมชน คือ พระอาทิตย์ (Yarhibol) และพระจันทร์ (Aglibo) อยู่ด้วย แต่เป็นที่น่าเสียดายเมื่อวิหารแห่งนี้ได้ถูกทำลายลงเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2015 โดยกลุ่มไอเอส เหลือไว้แต่เพียงประตูใหญ่ของวิหารที่ยังคงเหลืออยู่เท่านั้น
แม้ว่าเมืองพัลไมราจะงดงามและมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานเพียงใด แต่เมื่อมนุษย์ได้นำสงครามเข้ามาสู่พื้นที่แห่งนี้ ทำลายสิ่งปลูกสร้างทางประวัติศาสตร์หรือนำไปใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด ความงามที่มีอยู่ย่อมสูญหายไป ดังเช่นที่กลุ่มผู้ก่อการร้าย ISIS หรือ กลุ่มรัฐอิสลามในอิรักและซีเรีย (Islamic State of Iraq and Syria) ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าเป็นกลุ่มผู้ก่อการร้ายหัวรุ่นแรงที่โหดเหี้ยมมากที่สุดในปัจจุบัน ได้กระทำในสิ่งที่น่าสะเทือนใจ คือการจุดระเบิดทำลายสิ่งก่อสร้างหลายแห่งในเมืองพัลไมราจนย่อยยับและยังมีการจัดระเบียบเพื่อควบคุมการปล้นโบราณวัตถุ แล้วนำรายได้จากการปล้นมาสนับสนุนปฏิบัติการต่างๆ ของกลุ่มตนเอง พร้อมทั้งมีการออกใบอนุญาตขุดค้นโบราณวัตถุส่วนบุคคลเพื่อให้นักล่าสมบัติสามารถขุดค้นโบราณวัตถุในพื้นที่ที่ตนยึดครองได้อย่างอิสระ อีกทั้งยังมีการเก็บภาษีจากสิ่งที่ขุดค้นพบ จึงเป็นสาเหตุให้แหล่งโบราณคดีทางประวัติศาสตร์ทั้งหลาย เสียหาย ยับเยิน ปรุพรุนไปด้วยหลุมขุด และศิลปะวัตถุทรงคุณค่าประเมินราคาไม่ได้ก็ถูกกวาดไปจนเกลี้ยง จากการกระทำดังกล่าวของกลุ่ม ISIS นำไปสู่ปฏิบัติการยึดคืนพื้นที่คืน ของกองทัพรัฐบาลซีเรียที่ได้รับการสนับสนุนการโจมตีทางอากาศจากรัสเซียในที่สุด แต่สิ่งที่เมืองแห่งนี้ได้รับนั้นมันไม่ใช่อิสรภาพตามที่มนุษย์ต้องการ แต่กลับเป็นเศษซากของประวัติศาสตร์ที่ถูกทำลายลงอย่างไม่สามารถเรียกกลับคืนมาใหม่เหมือนเดิมได้
“ประวัติศาสตร์” มนุษย์เป็นผู้สร้างมันขึ้นมาและมนุษย์ยุคหลังๆ ก็นำประวัติศาสตร์มาศึกษาเรียนรู้ รวมทั้งพัฒนาไปในด้านต่างๆ ทั้งศาสนา การศึกษาและสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น แต่มนุษย์กลับใช้มรดกทางประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือในการก่อสงคราม สร้างความขัดแย้ง และต่อรองทางการเมือง นำไปสู่การทำลายในรูปแบบต่างๆ โดยไม่ได้คำนึงว่ามรดกเหล่านี้ไม่สามารถซ่อมแซมให้กลับมาเป็นเช่นเดิมได้อีก หากมนุษย์ยังคงใช้สงครามเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา ไม่ว่าที่แห่งใดก็คงไม่มีประวัติศาสตร์ให้จดจำ คงเหลือเพียงแค่คำว่า “สงคราม” และ “ความสูญเสีย” ให้กับชนรุ่นหลังได้รับรู้และศึกษาเท่านั้น
อ้างอิง
พูนทรัพย์. Palmyra [ออนไลน์] 5 กุมภาพันธ์ 2553, จาก http://www.oknation.net/blog/gowithauntie/2010/02/05/entry-1
พูนทรัพย์. Palmyra(2) [ออนไลน์] 8 กุมภาพันธ์ 2553, จาก http://www.oknation.net/blog/gowithauntie/2010/02/08/entry-1
น่าสลดใจ!! “ประวัติศาสตร์” ไม่พ้นต้องตกเป็นเหยื่อของสงคราม [ออนไลน์] 12 มิถุนายน 2559,
จาก http://www.snake-news.com/warandhistory
หวั่นปิดตำนานกว่า 2,000ปี !! “พัลไมรา” เมืองมรดกโลก “ตกอยู่ในอันตราย” ใต้อุ้งมือไอซิส. [ออนไลน์] 22 พฤษภาคม 2558, จาก http://www.thairath.co.th/content/500315
ไอเอสเสียจุดยุทธศาสตร์ ทัพซีเรียยึดคืนพัลไมรา. [ออนไลน์] 28 มีนาคม 2559, จาก http://www.posttoday.com/world/news/423806
ISIS คือใคร เจาะลึกจุดกำเนิดกลุ่มก่อการร้ายผู้เหี้ยมโหด [ออนไลน์] 5 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://hilight.kapook.com/view/115379
คำว่า “สงคราม” มีได้หลากหลายรูปแบบทั้งสงครามทางการเมือง สงครามทางศาสนา สงครามทางเศรษฐกิจและสงครามทางการเงิน เป็นต้น หากย้อนหลังกลับไปศึกษาประวัติศาสตร์ของมนุษย์ เรามักจะพบว่าหากต้องการที่จะยุติสงครามหรือต้องการให้ฝ่ายของตนเป็นผู้ชนะ มักจะใช้ความรุนแรง ใช้อาวุธสงครามหรือกลวิธีต่างๆ เพื่อให้ฝ่ายตรงข้ามเกิดความสูญเสียไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง โดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นกับบุคคล สถานที่หรือทรัพยากรในพื้นที่นั้นๆ เลย “เมืองพัลไมรา (Palmyra)” พื้นที่มรดกทางประวัติศาสตร์แห่งนี้ก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสงครามที่มนุษย์สร้างขึ้น
“เมืองพัลไมรา (Palmyra)” นับว่าเป็นอีกเมืองหนึ่งที่สำคัญและมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานแห่งหนึ่งของประเทศซีเรีย มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น เป็นนครเซมิติกโบราณที่อยู่ในเขตเมืองฮอมส์ (Homs) ตัวเมืองตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกในทะเลทราย มีเมืองดามัสกัส (Damascus) อยู่ห่างออกไปทางทิศใต้ประมาณ 235 กิโลเมตรและมีเมืองอเล็ปโป (Aleppo) อยู่ทางทิศเหนือ ซึ่งในอดีตบริเวณนี้มีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้สามารถสร้างแนวท่อส่งน้ำและสถานที่อาบน้ำสาธารณะได้เป็นจำนวนมาก แต่แหล่งน้ำเหล่านี้กลับแห้งหายไปไม่ปรากฏให้เห็นแม้แต่แห่งเดียว หลังจากการล่มสลายของเมือง
ภาพ : ที่ตั้งของเมืองพัลไมรา (Palmyra)
“เมืองพัลไมรา (Palmyra)” ซึ่งหมายถึง เมืองแห่งต้นปาล์ม (Palm) ถูกขึ้นทะเบียนไว้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก ในปี ค.ศ.1980 เมืองแห่งนี้เคยเป็นเมืองหน้าด่านระหว่างโรมันและเปอร์เซีย รวมทั้งเป็นเมืองศูนย์กลางทางการค้าและกองคาราวานของเส้นทางสายไหม เมืองนี้ถูกค้นพบ ในปี ค.ศ.1924 หลังถูกทำลายเพราะแผ่นดินไหว ในปี ค.ศ.1089 แต่ร่องรอยที่ยังหลงเหลืออยู่บ่งบอกได้เป็นอย่างดีว่าในอดีตบริเวณนี้ คือจุดศูนย์กลางและเป็นศูนย์รวมของศิลปวัฒนธรรม เพราะจากการเข้ามาพำนักของคนหลากหลายเผ่าพันธุ์ ทำให้เกิดการผสมผสานด้านศิลปวัฒนธรรม โดยเฉพาะในช่วงศตวรรษที่ 1 และ 2 ซึ่งเห็นได้จากความโดดเด่นของสิ่งปลูกสร้างที่มีการผสมผสานสถาปัตยกรรมแบบโรมันและเปอร์เซียได้อย่างลงตัว
โดยเฉพาะที่ วิหารแห่งเทพเบลล์ (Temple of Bel) หนึ่งในสถาปัตยกรรมที่เป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ที่ยังคงเหลืออยู่ในเมืองพัลไมรา ตัววิหารตั้งอยู่ทิศตะวันออกสุดของ Monumental Arch วิหารแห่งนี้คาดว่ามีการสร้างขึ้นในราว ค.ศ.100 การก่อสร้างวิหารได้รับอิทธิพลจากศิลปแบบกรีกโบราณ เนื่องจากเมืองพัลไมราได้อยู่ภายใต้อิทธิพลกรีกก่อนที่โรมันจะเข้ามาครอบครอง วิหารแห่งเทพเบลล์มีขนาดความกว้าง 205 เมตร ยาว 210 เมตร กำแพงปิดรอบทั้งสี่ด้านสูง 10 เมตร มีขอบเขตสองชั้น แต่ละชั้นมีทางเดินขึ้นเป็นลานกว้างหลายขั้น อีกทั้งเป็นวิหารสำหรับการบูชาเทพเบลล์ตามความเชื่อของกลุ่มชนในดินแดนเมโสโปเตเมียและชาวเมืองพัลไมราว่าเป็นเทพที่มีพลังสูงสุดเหนือเทพทั้งปวง นอกจากนี้ในวิหารแห่งเทพเบลล์ยังมีแท่นบูชาเทพระดับชุมชน คือ พระอาทิตย์ (Yarhibol) และพระจันทร์ (Aglibo) อยู่ด้วย แต่เป็นที่น่าเสียดายเมื่อวิหารแห่งนี้ได้ถูกทำลายลงเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2015 โดยกลุ่มไอเอส เหลือไว้แต่เพียงประตูใหญ่ของวิหารที่ยังคงเหลืออยู่เท่านั้น
ภาพ : แหล่งโบราณคดีในเมืองพัลไมรา (Palmyra)
แม้ว่าเมืองพัลไมราจะงดงามและมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานเพียงใด แต่เมื่อมนุษย์ได้นำสงครามเข้ามาสู่พื้นที่แห่งนี้ ทำลายสิ่งปลูกสร้างทางประวัติศาสตร์หรือนำไปใช้ประโยชน์ในทางที่ผิด ความงามที่มีอยู่ย่อมสูญหายไป ดังเช่นที่กลุ่มผู้ก่อการร้าย ISIS หรือ กลุ่มรัฐอิสลามในอิรักและซีเรีย (Islamic State of Iraq and Syria) ซึ่งเป็นที่รู้จักว่าเป็นกลุ่มผู้ก่อการร้ายหัวรุ่นแรงที่โหดเหี้ยมมากที่สุดในปัจจุบัน ได้กระทำในสิ่งที่น่าสะเทือนใจ คือการจุดระเบิดทำลายสิ่งก่อสร้างหลายแห่งในเมืองพัลไมราจนย่อยยับและยังมีการจัดระเบียบเพื่อควบคุมการปล้นโบราณวัตถุ แล้วนำรายได้จากการปล้นมาสนับสนุนปฏิบัติการต่างๆ ของกลุ่มตนเอง พร้อมทั้งมีการออกใบอนุญาตขุดค้นโบราณวัตถุส่วนบุคคลเพื่อให้นักล่าสมบัติสามารถขุดค้นโบราณวัตถุในพื้นที่ที่ตนยึดครองได้อย่างอิสระ อีกทั้งยังมีการเก็บภาษีจากสิ่งที่ขุดค้นพบ จึงเป็นสาเหตุให้แหล่งโบราณคดีทางประวัติศาสตร์ทั้งหลาย เสียหาย ยับเยิน ปรุพรุนไปด้วยหลุมขุด และศิลปะวัตถุทรงคุณค่าประเมินราคาไม่ได้ก็ถูกกวาดไปจนเกลี้ยง จากการกระทำดังกล่าวของกลุ่ม ISIS นำไปสู่ปฏิบัติการยึดคืนพื้นที่คืน ของกองทัพรัฐบาลซีเรียที่ได้รับการสนับสนุนการโจมตีทางอากาศจากรัสเซียในที่สุด แต่สิ่งที่เมืองแห่งนี้ได้รับนั้นมันไม่ใช่อิสรภาพตามที่มนุษย์ต้องการ แต่กลับเป็นเศษซากของประวัติศาสตร์ที่ถูกทำลายลงอย่างไม่สามารถเรียกกลับคืนมาใหม่เหมือนเดิมได้
ภาพ : วิหารเบล (Temple of Bel) หลังถูกระเบิดทำลาย
“ประวัติศาสตร์” มนุษย์เป็นผู้สร้างมันขึ้นมาและมนุษย์ยุคหลังๆ ก็นำประวัติศาสตร์มาศึกษาเรียนรู้ รวมทั้งพัฒนาไปในด้านต่างๆ ทั้งศาสนา การศึกษาและสิ่งก่อสร้าง เป็นต้น แต่มนุษย์กลับใช้มรดกทางประวัติศาสตร์เป็นเครื่องมือในการก่อสงคราม สร้างความขัดแย้ง และต่อรองทางการเมือง นำไปสู่การทำลายในรูปแบบต่างๆ โดยไม่ได้คำนึงว่ามรดกเหล่านี้ไม่สามารถซ่อมแซมให้กลับมาเป็นเช่นเดิมได้อีก หากมนุษย์ยังคงใช้สงครามเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา ไม่ว่าที่แห่งใดก็คงไม่มีประวัติศาสตร์ให้จดจำ คงเหลือเพียงแค่คำว่า “สงคราม” และ “ความสูญเสีย” ให้กับชนรุ่นหลังได้รับรู้และศึกษาเท่านั้น
อ้างอิง
พูนทรัพย์. Palmyra [ออนไลน์] 5 กุมภาพันธ์ 2553, จาก http://www.oknation.net/blog/gowithauntie/2010/02/05/entry-1
พูนทรัพย์. Palmyra(2) [ออนไลน์] 8 กุมภาพันธ์ 2553, จาก http://www.oknation.net/blog/gowithauntie/2010/02/08/entry-1
น่าสลดใจ!! “ประวัติศาสตร์” ไม่พ้นต้องตกเป็นเหยื่อของสงคราม [ออนไลน์] 12 มิถุนายน 2559,
จาก http://www.snake-news.com/warandhistory
หวั่นปิดตำนานกว่า 2,000ปี !! “พัลไมรา” เมืองมรดกโลก “ตกอยู่ในอันตราย” ใต้อุ้งมือไอซิส. [ออนไลน์] 22 พฤษภาคม 2558, จาก http://www.thairath.co.th/content/500315
ไอเอสเสียจุดยุทธศาสตร์ ทัพซีเรียยึดคืนพัลไมรา. [ออนไลน์] 28 มีนาคม 2559, จาก http://www.posttoday.com/world/news/423806
ISIS คือใคร เจาะลึกจุดกำเนิดกลุ่มก่อการร้ายผู้เหี้ยมโหด [ออนไลน์] 5 กุมภาพันธ์ 2558, จาก http://hilight.kapook.com/view/115379
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น