โดย ชนุติกานต์ มาสกุล
"สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ” (Queen Mary I of England) หากได้ยินชื่อนี้ เชื่อว่าใครหลายคนต้องรู้สึกไม่คุ้นหูสักเท่าไหร่ แต่หากเปลี่ยนมาพูดถึงฉายาที่ว่า “บลัดดี้ แมรี (Bloody Mary) ” หรือ “แมรีผู้กระหายเลือด" แล้วนั้น คนไทยหลายคนจำต้องเคยได้ยินมาบ้างเป็นแน่ เพราะว่ามีเรื่องเล่าจากฝั่งยุโรปอันโด่งดังที่ว่าหากจุดเทียนหน้ากระจกตอนเที่ยงคืนแล้วเรียกชื่อพระนาง 3 ครั้ง วิญญาณของพระนางจะมาปรากฏให้เห็น แต่ทว่าจะมีสักกี่คนที่รู้ว่าแท้จริงแล้วชีวิตของ บลัดดี้ แมรี นั้นเป็นอย่างไร ชีวิตของพระนางมีปมในใจอะไรบางอย่างหรือไม่จึงได้ฉายาที่สื่อถึงความโหดเหี้ยมเพียงนี้
สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ได้ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 18 เดือนกุมภาพันธ์ คริสตศักราช 1516 ณ พระราชวังพลาเซนเทีย เมืองกรีนิช กรุงลอนดอน พระนางทรงเป็นธิดาของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 (King Henry VIII)กับพระมหาสีองค์แรก (ทรงมีพระมหาสีทั้งสิ้น6พระองค์) นามว่า สมเด็จพระราชินีแคทเธอรีนแห่งอรากอน (Catherine of Aragon) และเจ้าหญิงแมรีนั้นเป็นพระธิดาองค์เดียวในบรรดาพี่น้อง 5 พระองค์ที่รอดชีวิตมาได้จากในพระครรภ์ของพระมารดา ส่วนชีวิตวัยเด็กของ บลัดดี้ แมรี นั้นเรียกว่าเป็นที่น่าอิจฉาเป็นอย่างมากเพราะเป็นเจ้าหญิงผู้สูงศักดิ์ มีครอบครัวที่แสนอบอุ่น มีชีวิตที่เพียบพร้อม และตัวพระนางเองนั้นเต็มเปี่ยมไปด้วยทักษะความสามารถรอบด้านตั้งแต่พระนางมีพระชนมายุเพียง 4 พรรษา ซึ่ง ณ เวลานั้นพระนางเก่งด้านดนตรีจนได้มีโอกาสขึ้นแสดงโชว์เปียโนด้วยความสามารถอันน่าทึ่งสำหรับเด็กอายุเพียงเท่านี้ เท่านั้นยังไม่พอ พระนางยังมีความสามารถทางด้านภาษามากมาย เช่น เมื่อตอนพระนางมีพระชนมายุ 12 พรรษา พระนางสามารถพูดจาภาษาละตินโต้ตอบกับชาวละตินได้อย่างเป็นกิจลักษณะ อีกทั้งยังรู้ภาษาฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน เรียกได้ว่าพระนางทรงมีอัจฉริยะภาพทางด้านภาษาตั้งแต่เด็กก็ว่าได้
แต่ในเวลาต่อมานั้น ชีวิตของเจ้าหญิงแมรีกลับต้องแปรเปลี่ยนไปอย่างน่าเวทนา เมื่อพระบิดาของพระองค์ต้องการที่จะหย่าร้างกับพระมารดา เหตุเนื่องมาจากพระมารดาไม่สามารถประสูติพระโอรสตามที่พระบิดาของพระองค์ปราถนาได้ พระบิดาจึงพยายามทำทุกวิถีทางที่จะหาข้อมาเป็นหลักฐานให้ถือเป็นอันโมฆะสำหรับการอภิเษกสมรสครั้งนี้ แต่ทว่าสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ไม่เห็นด้วย จากนั้นพระบิดาจึงได้เรียกร้องว่า การอภิเษกสมรสของพระองค์กับพระราชินีแคทเธอรีน พระมารดาของ บลัดดี้ แมรี นั้นไม่ใช่เจตนาอันบริสุทธิ์ เพราะพระราชินีแคทเธอรีนนั้นเคยอภิเษกสมรสมาก่อน และอีกทั้งได้ทรงเกิดการอภิเษกสมรสอย่างลับๆระหว่างพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ผู้เป็นพระบิดาของ บลัดดี้ แมรี กับ แอนน์ โบลีน จากนั้นทำให้ โธมัส เครนเมอร์ หัวหน้าบาทหลวงแห่งเคนเตอร์เบอร์รี ได้ประกาศถือเป็นอันโมฆะ แต่การอภิเษกสมรสระหว่างสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 และ สมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีนถือเป็นอันถูกต้อง และนี่คือจุดเริ่มต้นที่พระเจ้าเฮนรี่ประกาศไม่ขึ้นตรงต่อสันตะปาปาแห่งโรมันคาทอลิกอีกต่อไป ส่งผลให้พระนางแคทเธอรีนแห่งอรากอนต้องถูกถอดยศและลดชนชั้นทางสังคมเหลือเพียงเจ้าหญิงแห่งเวลส์ ส่วน บลัดดี้ แมรี นั้นแต่เดิมมียศเป็นเจ้าหญิงแมรี่ได้กลับกลายเป็นเพียง เลดี้ แมรี่ เท่านั้น
การเป็น เลดี้ แมรี่ นั้นแสนจะทุกข์ทรมาน จากเจ้าหญิงผู้สูงศักดิ์กลับกลายเป็นเพียงทาสรับใช้ส่วนตัวของเจ้าหญิงอลิซาเบธ พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 พระบิดาของแมรี และ สมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีน แต่ต่อมาถูกจับได้ว่าพระราชินีคิดการกบฏ จึงได้ประหารชีวิตนาง และอภิเษกครั้งใหม่กับเจน เซมัวร์ ผู้ซึ่งให้กำเนิดพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษ แต่หลังจากประสูติ เจน เซมัวร์ได้สิ้นพระชนม์ลง ทำให้ เลดี้ แมรี่ ได้กลับเข้าพระราชวังอีกครั้งในฐานะมารดาอุปถัมป์ แต่ในต่อมาเมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 อยู่ในช่วงเจริญวัย ได้มีคำสั่งให้ขับไล่ เลดี้ แมรี ออกจากลอนดอนเนื่องจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 นับถือและสนับสนุนลัทธิโปรเตสแตนต์ ซึ่ง เลดี้ แมรี ไม่เห็นด้วยเป็นอย่างมากเพราะตัวนางเองเป็นชาวคริสต์คาธอลิก
แต่ในที่สุด เลดี้ แมรี ก็ได้รับการสนับสนุนอย่างล้นหลามในการกลับมาขึ้นครองราชย์ที่ลอนดอนหลังจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ทรงสิ้นพระชนม์ในวัย 15 พรรษา และในที่สุดก็ได้ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีแมรี่ กษัตริย์หญิงองค์แรกแห่งอังกฤษ ซึ่งการขึ้นครองราชย์ของพระองค์นั้นเต็มไปด้วยความโกรธแค้นในใจเกี่ยวกับเรื่องในอดีต พระองค์ตระหนักเสมอว่าหากพระบิดาเชื่อฟังคำสั่งสอนของลัทธิโรมันคาทอลิก ชีวิตพระมารดาและพระองค์คงไม่ต้องพบเจอความยากลำบากอย่างที่แล้วมา จากนั้น บลัดดี้ แมรี จึงเริ่มเพ่งเล็งไปที่คำสอนโปรเตสแตนต์ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้พระบิดามีช่องโหว่ในการหย่าร้างกับพระมารดา พระองค์จึงเริ่มลงมือสั่งฆ่าเผาทั้งเป็นเริ่มด้วย โธมัส เครนเมอร์ หัวหน้าบาทหลวงแห่งเคนเตอร์เบอร์รีผู้ตัดสินให้พระองค์และพระมารดาต้องลดยศลดชนชั้นเป็นคนแรก ตามด้วยไล่ล่าฆ่าเผาทั้งเป็นหัวหน้าบาทหลวงที่เกี่ยวข้องกับการเขียน ตีพิมพ์หรือเผยแพร่คัมภีร์ไบเบิลสำหรับผู้นับถือลัทธิโปรเตสแตนท์ในลอนดอนขณะนั้นอย่างไม่ปราณี ผู้คนสมัยนั้นจึงอยู่กันอย่างหวาดผวาและไม่มีความสุข เนื่องจากบลัดดี้ แมรี ได้ออกคำสั่งบังคับให้ทุกคนเปลี่ยนมานับถือลัทธิคาธอลิกตามพระองค์เท่านั้น หากผู้ใดขัดขืน โทษคือจับมาเผาทั้งเป็นสถานเดียว ซึ่งในที่สุดล้วนแล้วถูกไล่ล่าสังหารทั้งสิ้นกว่า 300 ราย
เมื่อก้าวเข้าสู่วัยที่พระองค์ต้องการมีรัชทายาทสืบบัลลังก์ บลัดดี้ แมรี ได้พบกับกษัตริย์ฟิลลิปแห่งสเปน ทั้งคู่ได้อภิเษกสมรสกันและมีงานเฉลิมฉลองใหญ่โตไปทั่วลอนดอน แต่แท้ที่จริงแล้วดูเหมือนว่ากษัตริย์ฟิลลิปจะแต่งงานเพื่อหวังครอบครองสมบัติแห่งอังกฤษเท่านั้นเพราะหลังจากแต่งงานนั้นกษัตริย์ฟิลลิปก็แทบไม่มาอังกฤษ มีท่าทีเบื่อหน่าย อยู่แต่ประเทศของตน แต่ถึงกระนั้น บลัดดี้ แมรี ก็ยังคิดอยู่บ่อยๆว่าตนเองตั้งครรภ์ ทั้งๆที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์กันกับพระสวามีเลยสักครั้ง
สำหรับการเสด็จสวรรคต สมเด็จพระราชินีแมรีที่ 1 หรือ บลัดดี้ แมรี เมื่อมีพระชนมายุได้ 42 พรรษา การสวรรคตของพระองค์ยังเป็นที่สรุปไม่ได้แน่ชัดว่าสวรรคตด้วยภาวะครรภ์เทียมหรือเนื้องอกในมดลูกกันแน่ ประกอบกับพระนางทรงคิดวิตกเรื่องการตั้งครรภ์จนเกิดความเครียดสะสมจึงทำให้ร่างกายอ่อนแอลงเรื่อยๆนั่นเอง
การที่สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ ได้ผ่านความทุกข์แสนสาหัสเมื่อครั้งยังเยาว์วัยมานั้น แท้ที่จริงแล้วเราสามารถเก็บสิ่งเลวร้ายนี้เป็นบทเรียนเพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำซากในภายภาคหน้าได้ เราแก้ไขอดีตไม่ได้ ไม่ได้แปลว่าเราต้องเก็บมาแก้ไขเพื่อความสะใจในปัจจุบัน หากมุ่งหน้าใช้ชีวิตแบบไม่ต้องกดขี่ใคร ให้อภัยปล่อยผ่านกับอดีตอันขมขื่น ความสงบสุขย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
อ้างอิง
สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2559, จากวิกิพีเดีย https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่_1_แห่งอังกฤษ
Hope, J. (2015).Life of the Week: Queen Mary I. History Extra. Retrieved 24 September 2016, from http://www.historyextra.com/article/tudors/life-week-queen-mary-i
Mary I - British History - HISTORY.com. (2016). HISTORY.com. Retrieved 24 September 2016, from http://www.history.com/topics/british-history/mary-i
Queen “Bloody” Mary. (2016). Greatsite.com. Retrieved 24 September 2016, from http://www.greatsite.com/timeline-english-bible-history/queen-mary.html
"สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ” (Queen Mary I of England) หากได้ยินชื่อนี้ เชื่อว่าใครหลายคนต้องรู้สึกไม่คุ้นหูสักเท่าไหร่ แต่หากเปลี่ยนมาพูดถึงฉายาที่ว่า “บลัดดี้ แมรี (Bloody Mary) ” หรือ “แมรีผู้กระหายเลือด" แล้วนั้น คนไทยหลายคนจำต้องเคยได้ยินมาบ้างเป็นแน่ เพราะว่ามีเรื่องเล่าจากฝั่งยุโรปอันโด่งดังที่ว่าหากจุดเทียนหน้ากระจกตอนเที่ยงคืนแล้วเรียกชื่อพระนาง 3 ครั้ง วิญญาณของพระนางจะมาปรากฏให้เห็น แต่ทว่าจะมีสักกี่คนที่รู้ว่าแท้จริงแล้วชีวิตของ บลัดดี้ แมรี นั้นเป็นอย่างไร ชีวิตของพระนางมีปมในใจอะไรบางอย่างหรือไม่จึงได้ฉายาที่สื่อถึงความโหดเหี้ยมเพียงนี้
ที่มา: http://www.fanpop.com/
สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ได้ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 18 เดือนกุมภาพันธ์ คริสตศักราช 1516 ณ พระราชวังพลาเซนเทีย เมืองกรีนิช กรุงลอนดอน พระนางทรงเป็นธิดาของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 (King Henry VIII)กับพระมหาสีองค์แรก (ทรงมีพระมหาสีทั้งสิ้น6พระองค์) นามว่า สมเด็จพระราชินีแคทเธอรีนแห่งอรากอน (Catherine of Aragon) และเจ้าหญิงแมรีนั้นเป็นพระธิดาองค์เดียวในบรรดาพี่น้อง 5 พระองค์ที่รอดชีวิตมาได้จากในพระครรภ์ของพระมารดา ส่วนชีวิตวัยเด็กของ บลัดดี้ แมรี นั้นเรียกว่าเป็นที่น่าอิจฉาเป็นอย่างมากเพราะเป็นเจ้าหญิงผู้สูงศักดิ์ มีครอบครัวที่แสนอบอุ่น มีชีวิตที่เพียบพร้อม และตัวพระนางเองนั้นเต็มเปี่ยมไปด้วยทักษะความสามารถรอบด้านตั้งแต่พระนางมีพระชนมายุเพียง 4 พรรษา ซึ่ง ณ เวลานั้นพระนางเก่งด้านดนตรีจนได้มีโอกาสขึ้นแสดงโชว์เปียโนด้วยความสามารถอันน่าทึ่งสำหรับเด็กอายุเพียงเท่านี้ เท่านั้นยังไม่พอ พระนางยังมีความสามารถทางด้านภาษามากมาย เช่น เมื่อตอนพระนางมีพระชนมายุ 12 พรรษา พระนางสามารถพูดจาภาษาละตินโต้ตอบกับชาวละตินได้อย่างเป็นกิจลักษณะ อีกทั้งยังรู้ภาษาฝรั่งเศส อิตาลี และสเปน เรียกได้ว่าพระนางทรงมีอัจฉริยะภาพทางด้านภาษาตั้งแต่เด็กก็ว่าได้
แต่ในเวลาต่อมานั้น ชีวิตของเจ้าหญิงแมรีกลับต้องแปรเปลี่ยนไปอย่างน่าเวทนา เมื่อพระบิดาของพระองค์ต้องการที่จะหย่าร้างกับพระมารดา เหตุเนื่องมาจากพระมารดาไม่สามารถประสูติพระโอรสตามที่พระบิดาของพระองค์ปราถนาได้ พระบิดาจึงพยายามทำทุกวิถีทางที่จะหาข้อมาเป็นหลักฐานให้ถือเป็นอันโมฆะสำหรับการอภิเษกสมรสครั้งนี้ แต่ทว่าสมเด็จพระสันตะปาปาคลีเมนต์ที่ 7 ไม่เห็นด้วย จากนั้นพระบิดาจึงได้เรียกร้องว่า การอภิเษกสมรสของพระองค์กับพระราชินีแคทเธอรีน พระมารดาของ บลัดดี้ แมรี นั้นไม่ใช่เจตนาอันบริสุทธิ์ เพราะพระราชินีแคทเธอรีนนั้นเคยอภิเษกสมรสมาก่อน และอีกทั้งได้ทรงเกิดการอภิเษกสมรสอย่างลับๆระหว่างพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ผู้เป็นพระบิดาของ บลัดดี้ แมรี กับ แอนน์ โบลีน จากนั้นทำให้ โธมัส เครนเมอร์ หัวหน้าบาทหลวงแห่งเคนเตอร์เบอร์รี ได้ประกาศถือเป็นอันโมฆะ แต่การอภิเษกสมรสระหว่างสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 และ สมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีนถือเป็นอันถูกต้อง และนี่คือจุดเริ่มต้นที่พระเจ้าเฮนรี่ประกาศไม่ขึ้นตรงต่อสันตะปาปาแห่งโรมันคาทอลิกอีกต่อไป ส่งผลให้พระนางแคทเธอรีนแห่งอรากอนต้องถูกถอดยศและลดชนชั้นทางสังคมเหลือเพียงเจ้าหญิงแห่งเวลส์ ส่วน บลัดดี้ แมรี นั้นแต่เดิมมียศเป็นเจ้าหญิงแมรี่ได้กลับกลายเป็นเพียง เลดี้ แมรี่ เท่านั้น
การเป็น เลดี้ แมรี่ นั้นแสนจะทุกข์ทรมาน จากเจ้าหญิงผู้สูงศักดิ์กลับกลายเป็นเพียงทาสรับใช้ส่วนตัวของเจ้าหญิงอลิซาเบธ พระธิดาในสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 8 พระบิดาของแมรี และ สมเด็จพระราชินีแอนน์ โบลีน แต่ต่อมาถูกจับได้ว่าพระราชินีคิดการกบฏ จึงได้ประหารชีวิตนาง และอภิเษกครั้งใหม่กับเจน เซมัวร์ ผู้ซึ่งให้กำเนิดพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษ แต่หลังจากประสูติ เจน เซมัวร์ได้สิ้นพระชนม์ลง ทำให้ เลดี้ แมรี่ ได้กลับเข้าพระราชวังอีกครั้งในฐานะมารดาอุปถัมป์ แต่ในต่อมาเมื่อพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 อยู่ในช่วงเจริญวัย ได้มีคำสั่งให้ขับไล่ เลดี้ แมรี ออกจากลอนดอนเนื่องจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 นับถือและสนับสนุนลัทธิโปรเตสแตนต์ ซึ่ง เลดี้ แมรี ไม่เห็นด้วยเป็นอย่างมากเพราะตัวนางเองเป็นชาวคริสต์คาธอลิก
แต่ในที่สุด เลดี้ แมรี ก็ได้รับการสนับสนุนอย่างล้นหลามในการกลับมาขึ้นครองราชย์ที่ลอนดอนหลังจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 ทรงสิ้นพระชนม์ในวัย 15 พรรษา และในที่สุดก็ได้ขึ้นเป็นสมเด็จพระราชินีแมรี่ กษัตริย์หญิงองค์แรกแห่งอังกฤษ ซึ่งการขึ้นครองราชย์ของพระองค์นั้นเต็มไปด้วยความโกรธแค้นในใจเกี่ยวกับเรื่องในอดีต พระองค์ตระหนักเสมอว่าหากพระบิดาเชื่อฟังคำสั่งสอนของลัทธิโรมันคาทอลิก ชีวิตพระมารดาและพระองค์คงไม่ต้องพบเจอความยากลำบากอย่างที่แล้วมา จากนั้น บลัดดี้ แมรี จึงเริ่มเพ่งเล็งไปที่คำสอนโปรเตสแตนต์ซึ่งเป็นต้นเหตุที่ทำให้พระบิดามีช่องโหว่ในการหย่าร้างกับพระมารดา พระองค์จึงเริ่มลงมือสั่งฆ่าเผาทั้งเป็นเริ่มด้วย โธมัส เครนเมอร์ หัวหน้าบาทหลวงแห่งเคนเตอร์เบอร์รีผู้ตัดสินให้พระองค์และพระมารดาต้องลดยศลดชนชั้นเป็นคนแรก ตามด้วยไล่ล่าฆ่าเผาทั้งเป็นหัวหน้าบาทหลวงที่เกี่ยวข้องกับการเขียน ตีพิมพ์หรือเผยแพร่คัมภีร์ไบเบิลสำหรับผู้นับถือลัทธิโปรเตสแตนท์ในลอนดอนขณะนั้นอย่างไม่ปราณี ผู้คนสมัยนั้นจึงอยู่กันอย่างหวาดผวาและไม่มีความสุข เนื่องจากบลัดดี้ แมรี ได้ออกคำสั่งบังคับให้ทุกคนเปลี่ยนมานับถือลัทธิคาธอลิกตามพระองค์เท่านั้น หากผู้ใดขัดขืน โทษคือจับมาเผาทั้งเป็นสถานเดียว ซึ่งในที่สุดล้วนแล้วถูกไล่ล่าสังหารทั้งสิ้นกว่า 300 ราย
เมื่อก้าวเข้าสู่วัยที่พระองค์ต้องการมีรัชทายาทสืบบัลลังก์ บลัดดี้ แมรี ได้พบกับกษัตริย์ฟิลลิปแห่งสเปน ทั้งคู่ได้อภิเษกสมรสกันและมีงานเฉลิมฉลองใหญ่โตไปทั่วลอนดอน แต่แท้ที่จริงแล้วดูเหมือนว่ากษัตริย์ฟิลลิปจะแต่งงานเพื่อหวังครอบครองสมบัติแห่งอังกฤษเท่านั้นเพราะหลังจากแต่งงานนั้นกษัตริย์ฟิลลิปก็แทบไม่มาอังกฤษ มีท่าทีเบื่อหน่าย อยู่แต่ประเทศของตน แต่ถึงกระนั้น บลัดดี้ แมรี ก็ยังคิดอยู่บ่อยๆว่าตนเองตั้งครรภ์ ทั้งๆที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์กันกับพระสวามีเลยสักครั้ง
สำหรับการเสด็จสวรรคต สมเด็จพระราชินีแมรีที่ 1 หรือ บลัดดี้ แมรี เมื่อมีพระชนมายุได้ 42 พรรษา การสวรรคตของพระองค์ยังเป็นที่สรุปไม่ได้แน่ชัดว่าสวรรคตด้วยภาวะครรภ์เทียมหรือเนื้องอกในมดลูกกันแน่ ประกอบกับพระนางทรงคิดวิตกเรื่องการตั้งครรภ์จนเกิดความเครียดสะสมจึงทำให้ร่างกายอ่อนแอลงเรื่อยๆนั่นเอง
การที่สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ ได้ผ่านความทุกข์แสนสาหัสเมื่อครั้งยังเยาว์วัยมานั้น แท้ที่จริงแล้วเราสามารถเก็บสิ่งเลวร้ายนี้เป็นบทเรียนเพื่อป้องกันการกระทำผิดซ้ำซากในภายภาคหน้าได้ เราแก้ไขอดีตไม่ได้ ไม่ได้แปลว่าเราต้องเก็บมาแก้ไขเพื่อความสะใจในปัจจุบัน หากมุ่งหน้าใช้ชีวิตแบบไม่ต้องกดขี่ใคร ให้อภัยปล่อยผ่านกับอดีตอันขมขื่น ความสงบสุขย่อมเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
อ้างอิง
สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 แห่งอังกฤษ. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2559, จากวิกิพีเดีย https://th.wikipedia.org/wiki/สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่_1_แห่งอังกฤษ
Hope, J. (2015).
Mary I - British History - HISTORY.com. (2016). HISTORY.com. Retrieved 24 September 2016, from http://www.history.com/topics/british-history/mary-i
Queen “Bloody” Mary. (2016). Greatsite.com. Retrieved 24 September 2016, from http://www.greatsite.com/timeline-english-bible-history/queen-mary.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น