โดย สุปรียา ปิติสม
“ปักษาโบยบินบนท้องนภา ยังร่วงหล่นลงมาเพราะตะลึงในโฉมนาง” คือ คำเปรียบเปรยความงดงามของหวังเจาจวิน เขียนจากเหตุการณ์เมื่อหวังเจาจวินต้องเดินทางจากบ้านเกิดเมืองนอนออกไปยังต่างแดน ขณะเดินทางนางได้บรรเลง “ผีผา” เครื่องดนตรีประจำตัว เมื่อเหล่าปักษาได้ยินจึงก้มมองดู เมื่อเห็นเจาจวินก็ตะลึงในความงามจนลืมแม้กระทั่งกระพือปีกบินจนร่วงหล่นลงมาตาย
หากกล่าวขานถึงความงดงามของสาวชาวจีนคงจะไม่กล่าวถึง 4 หญิงงามผู้พลิกประวัติศาสตร์จีนไม่ได้ ไซซี มีชีวิตอยู่ช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ได้ฉายาว่า “มัจฉาจมวารี” หวังเจาจวิน มีชีวิตอยู่ในช่วงราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ได้ฉายาว่า “ปักษีตกนภา” เตียวเสี้ยน มีชีวิตอยู่ในยุคสามก๊ก ได้ฉายาว่า “จันทร์หลบโฉมสุดา” และ หยางกุ้ยเฟย มีชีวิตอยู่ในช่วงราชวงศ์ถัง ได้ฉายาว่า “มวลผกาละอายนาง” ซึ่งฉายาเหล่านี้ได้มาจากความงดงามของพวกนางที่แม้แต่ธรรมชาติยังตกตะลึง แต่นอกจากความงดงามแล้ว สาวงามเหล่านี้ยังมีอิทธิพลต่อประวัติศาสตร์จีนมากมาย โดยเฉพาะหวังเจาจวินสาวงามผู้มีอิทธิพลต่อสองแผ่นดินใหญ่
หวังเจาจวิน หรือชื่อเดิม คือ เฉียงเจาจวิน เป็นหญิงสาวสามัญชนจากตระกูลจื่อกุย เมืองหนานจิง ปัจจุบันอยู่ในอำเภอฉิงซาน มณฑลหูเป่ย นางได้รับการคัดตัวเป็นนางในแห่งพระเจ้าฮั่นหยวนตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ราว พ.ศ.494-510) ในระหว่างอายุ 17-25 ปี แต่เนื่องจากนางในมีมากนับพันจึงทำให้พระเจ้าฮั่นหยวนตี้ไม่เคยพบหวังเจาจวินแม้สักครั้ง กอปรกับเมื่อตอนคัดตัวเข้าวังหวังเจาจวินไม่ยินยอม ติดสินบนแก่ “เหมาเหยียนโซ่ว” ช่างเขียนภาพผู้มากด้วยความโลภ เหมาเหยียนโซ่วจึงแก้ภาพวาดหวังเจาจวินจากหญิงสาวผู้สวยสดงดงามให้งามลดน้อยกว่าความเป็นจริงแล้วนำขึ้นถวายแด่พระเจ้าฮั่นหยวนตี้ เมื่อพระเจ้าฮั่นหยวนตี้เห็นภาพนางจึงได้มองข้ามนางไป ภายหลังได้ทรงทราบความจริงจึงพิโรธและสั่งลงโทษประหารชีวิตแก่เหมาเหยียนโซ่ว
ในประวัติศาสตร์จีนบางสำนวนเล่าเหตุการณ์เดียวกันนี้ในมุมมองที่ต่างออกไป โดยยกย่องว่าช่างเขียนภาพเหมาเหยียนโซ่วเป็นผู้รักชาติ เขาเกรงว่าความงามของหวังเจาจวิน อาจเป็นเหตุให้ฮ่องเต้ลุ่มหลงจนบ้านเมืองล่มสลายจึงจงใจวาดภาพให้สวยน้อยกว่าตัวจริง
อนึ่ง ความงามบองหวังเจาจวินนั้นเปรียบดังความงามของบุปผาในวัยแรกแย้มที่ยังคงความสวยสดงดงาม บานสะพรั่งและดึงดูดสายตาเหล่าบุรุษเพศ งามขนาดที่แม้แต่ปลายพู่กันของศิลปินผู้มีฝีมือและมากด้วยประสบการณ์ยังมิสามารถเขียนภาพออกมาให้งามเท่ากับตัวจริงได้ หากจะมีสิ่งใดที่สามารถสะท้อนความงามของนางได้เสมือนจริงที่สุดคงจะมีเพียงกระจกเงาเท่านั้น เป็นความงามที่อาจกล่าวได้ว่าไม่มีหญิงใดสามารถเทียมทัดหวังเจาจวินได้
แม้จะเข้ามาพำนักอยู่ในวังแล้ว แต่หวังเจาจวินยังไม่มีโอกาสได้ถวายตัวเป็นสนมแห่งพระเจ้าฮั่นหยวนตี้แม้เวลาจะผ่านไปหลายปีนับจากวันคัดตัว นางอยู่ในวังด้วยความรู้สึกทุกข์ใจเพราะหากไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นสนมก็ต้องเป็นดังนกน้อยในกรงทองที่ไม่มีวันได้ออกไปใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
ปี พ.ศ. 510 ข่านฮูหานเสียแห่งเผ่าซุงหนูได้เดินทางมาเจรจาขอให้มีการเชื่อมสัมพันธไมตรีด้วยการสมรสระหว่างราชวงศ์ ซึ่งพระเจ้าฮั่นหยวนตี้ได้เห็นด้วยกับความคิดนั้นเพราะการเชื่อมสัมพันธ์จะนำไปสู่ความสงบทางการเมืองและสามารถช่วยชีวิตผู้คนจากสงครามได้มากทั้งในปัจจุบันและในอนาคตต่อไป พระองค์จึงมีรับสั่งให้คัดตัวนางในวังที่มีใจยินดีที่จะสมรสกับพระเจ้าข่านฮูหานเสีย แต่ไม่มีผู้ใดยินยอม ขันอาสาเพราะเผ่าซุงหนูเป็นเผ่าของนักรบทางฝั่งเหนือที่มีสภาพความเป็นอยู่แร้นแค้นและอากาศหนาวเย็น ยกเว้นแต่หวังเจาจวินผู้มีความฉลาดหลักแหลม งดงามและมีใจเสียสละ นางรับอาสาที่จะแต่งงานออกเรือนจากแผ่นดินจีนไปอยู่เผ่าซุงหนู
ข่านฮูหานเสียรักใคร่หวังเจาจวินมากและสถาปนาให้เป็น “หยานจือ” ซึ่งเทียบเท่ากับฮองเฮาของจีน ทั้งสองใช้ชีวิตร่วมกันได้ไม่นานมีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน หวังเจาจวินได้นำเอาวัฒนธรรมจีนและภูมิปัญญาความรู้ที่ตนมีไปเผยแพร่แก่ประชาชนชาวซุงหนู เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมขึ้น ชาวซุงหนูมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อยู่กันได้ไม่นานข่านฮูหานเสียก็ตายจากไป ซึ่งตามธรรมเนียมของซุงหนู หยานจือหม้ายจะต้องแต่งงานกับผู้ปกครองเมืองหรือข่านคนต่อมาซึ่งในเหตุการณ์นี้คือบุตรของฮูหานเสียกับหยานจือ คนก่อนซึ่งมีศักดิ์เป็นลูกเลี้ยงของหวังเจาจวิน หวังเจาจวินไม่คุ้นชินกับประเพณีนี้จึงส่งหนังสือขออนุญาตกลับจีน แต่พระเจ้าฮั่นเฉิงตี้ซึ่งเป็นฮ่องเต้ในเวลานั้น(พ.ศ.510-536)ได้มีพระราชโองการแจ้งหวังเจาจวินให้นางปฏิบัติตามประเพณีของซุงหนู นางจึงจำยอมทำตามประเพณีแต่งกับข่านคนใหม่ มีธิดาด้วยกันสองคนและใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวจนสิ้นอายุได้ฝังศพหวังเจาจวินไว้ที่ดินแดนซุงหนูซึ่งก็คือเขตมองโกเลียในปัจจุบัน
หลังจากแต่งงานออกจากแผ่นดินจีนไปจวบจนสิ้นอายุของนาง หวังเจาจวินก็ไม่มีโอกาสกลับไปเยือนบ้านเกิดของนางเลยสักครั้ง แม้ชีวิตนางจะสุขสบายมากกว่าเมื่อครั้งยังเป็นนางใน แต่ก็แลกมาด้วยความเสียสละอันใหญ่ยิ่ง แม้ว่าส่วนหนึ่งการตัดสินใจของนางจะมาจากการเอาตัวรอดและยกระดับตนเองขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการกระทำครั้งนี้ได้ส่งผลดีต่อแผ่นดินจีนในระยะยาวเพราะหลังจากที่นางแต่งงานเชื่อมสัมพันธไมตรี เผ่าซุงหนูก็ได้ทำสัญญาละเว้นการทำศึกสงครามเป็นระยะเวลายาวนานถึง 60 ปี และช่วยป้องกันดินแดนทางเหนือของจีนจากศัตรูที่มารุกราน ราษฎรจีนจึงอยู่อย่างสุขสงบ หวังเจาจวินจึงเป็นวีรสตรีนางหนึ่งที่ได้รับการยกย่องเชิดชูจากประชาชนจากทั้งฝั่งจีนและซุงหนู
หวังเจาจวินแม้เป็นหญิงแต่นางไม่ได้มีความงามเพียงอย่างเดียว นางมีความกล้าหาญที่จะเลือกใช้ชีวิตด้วยตนเอง เลือกไปอยู่เผ่าซุงหนู ดินแดนซึ่งกันดารและหนาวเหน็บ อาจด้วยความคิดที่ฉลาดหลักแหลมและ คิดการไกล นางแต่งงานออกจากแดนดินถิ่นเกิดเพราะเหตุผลที่ว่าหากอยู่ที่เดิมก็จะไม่มีความสุข ไม่ได้แต่งงานออกเหย้าออกเรือนเป็นปกติเฉกเช่นหญิงสาวทั่วไป จำต้องอ้างว้าง สู้แต่งออกไปกับผู้นำจากซุงหนูดีกว่า ซ้ำยังมีใจเสียสละต่อชาติบ้านเมือง แม้จะรับประเพณีแต่งงานซ้ำซ้อนไม่ได้แต่ก็ยอมทำตามพระราชโองการทั้งที่นางจะหนีไปก็ได้ แต่นางก็ยังอยู่และยอมทำตามประเพณีเพราะนางรู้ดีว่าหากนางหนีไปจะต้องมีผลต่อประเทศชาติ กล่าวคือแม้เป็นสตรีแต่มีความคิดและความกล้าหาญไม่ต่างจากบุรุษ
จากวีรกรรมความกล้าและความเสียสละของหวังเจาจวินทำให้ชื่อและเรื่องราวของนางถูกบันทึกลงบนหน้าประวัติศาสตร์และถูกแปรสภาพเป็นบทร้อยแก้ว บทร้อยกรอง วรรณกรรม ภาพวาด งิ้วหรืองานศิลปะด้านอื่นๆ มากมายเพื่อเผยแพร่ให้ผู้คนได้รู้จัก ไม่แม้เพียงในประเทศจีนเท่านั้นแต่ยังถูกส่งต่อเรื่องราวจากชาติหนึ่งสู่อีกชาติหนึ่ง จนประวัติศาสตร์หน้านี้ได้ลือไกลไปทั่วทุกแผ่นดิน
อ้างอิง
จั๋วจือ, ไช่. (2554). ๑๐๐ ยอดหญิงจีน. ไช่จั๋วจือ: เขียน; ปานชีวา บุตราช: แปลจาก Bai nu tu. กรุงเทพฯ ถาวรสิกข: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ถาวร สิกขโกศล. (มปป.). 4 ยอดหญิงงามผู้พลิกประวัติศาสตร์จีน. กรุงเทพฯ : ก.ไก่.
นรา. 2559. หญิงงามในแดนกันดารห่างไกล. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2559, จาก: http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9500000121975
ถาวรสิกข ลักษณวงศ์. 2559. สุดยอดหญิงงาม (ของจีน) ๑ : หวังเจาจวิน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2559, จาก: https://www.gotoknow.org/6
อดุลย์ รัตนมั่นเกษม. (2553). หวางเจาจวิน ภาพสะท้อนนโยบายอับปัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ลักษณวงแสงดาว.
“ปักษาโบยบินบนท้องนภา ยังร่วงหล่นลงมาเพราะตะลึงในโฉมนาง” คือ คำเปรียบเปรยความงดงามของหวังเจาจวิน เขียนจากเหตุการณ์เมื่อหวังเจาจวินต้องเดินทางจากบ้านเกิดเมืองนอนออกไปยังต่างแดน ขณะเดินทางนางได้บรรเลง “ผีผา” เครื่องดนตรีประจำตัว เมื่อเหล่าปักษาได้ยินจึงก้มมองดู เมื่อเห็นเจาจวินก็ตะลึงในความงามจนลืมแม้กระทั่งกระพือปีกบินจนร่วงหล่นลงมาตาย
หากกล่าวขานถึงความงดงามของสาวชาวจีนคงจะไม่กล่าวถึง 4 หญิงงามผู้พลิกประวัติศาสตร์จีนไม่ได้ ไซซี มีชีวิตอยู่ช่วงศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ได้ฉายาว่า “มัจฉาจมวารี” หวังเจาจวิน มีชีวิตอยู่ในช่วงราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ได้ฉายาว่า “ปักษีตกนภา” เตียวเสี้ยน มีชีวิตอยู่ในยุคสามก๊ก ได้ฉายาว่า “จันทร์หลบโฉมสุดา” และ หยางกุ้ยเฟย มีชีวิตอยู่ในช่วงราชวงศ์ถัง ได้ฉายาว่า “มวลผกาละอายนาง” ซึ่งฉายาเหล่านี้ได้มาจากความงดงามของพวกนางที่แม้แต่ธรรมชาติยังตกตะลึง แต่นอกจากความงดงามแล้ว สาวงามเหล่านี้ยังมีอิทธิพลต่อประวัติศาสตร์จีนมากมาย โดยเฉพาะหวังเจาจวินสาวงามผู้มีอิทธิพลต่อสองแผ่นดินใหญ่
ที่มา: https://th.wikipedia.org/
หวังเจาจวิน หรือชื่อเดิม คือ เฉียงเจาจวิน เป็นหญิงสาวสามัญชนจากตระกูลจื่อกุย เมืองหนานจิง ปัจจุบันอยู่ในอำเภอฉิงซาน มณฑลหูเป่ย นางได้รับการคัดตัวเป็นนางในแห่งพระเจ้าฮั่นหยวนตี้แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (ราว พ.ศ.494-510) ในระหว่างอายุ 17-25 ปี แต่เนื่องจากนางในมีมากนับพันจึงทำให้พระเจ้าฮั่นหยวนตี้ไม่เคยพบหวังเจาจวินแม้สักครั้ง กอปรกับเมื่อตอนคัดตัวเข้าวังหวังเจาจวินไม่ยินยอม ติดสินบนแก่ “เหมาเหยียนโซ่ว” ช่างเขียนภาพผู้มากด้วยความโลภ เหมาเหยียนโซ่วจึงแก้ภาพวาดหวังเจาจวินจากหญิงสาวผู้สวยสดงดงามให้งามลดน้อยกว่าความเป็นจริงแล้วนำขึ้นถวายแด่พระเจ้าฮั่นหยวนตี้ เมื่อพระเจ้าฮั่นหยวนตี้เห็นภาพนางจึงได้มองข้ามนางไป ภายหลังได้ทรงทราบความจริงจึงพิโรธและสั่งลงโทษประหารชีวิตแก่เหมาเหยียนโซ่ว
ในประวัติศาสตร์จีนบางสำนวนเล่าเหตุการณ์เดียวกันนี้ในมุมมองที่ต่างออกไป โดยยกย่องว่าช่างเขียนภาพเหมาเหยียนโซ่วเป็นผู้รักชาติ เขาเกรงว่าความงามของหวังเจาจวิน อาจเป็นเหตุให้ฮ่องเต้ลุ่มหลงจนบ้านเมืองล่มสลายจึงจงใจวาดภาพให้สวยน้อยกว่าตัวจริง
อนึ่ง ความงามบองหวังเจาจวินนั้นเปรียบดังความงามของบุปผาในวัยแรกแย้มที่ยังคงความสวยสดงดงาม บานสะพรั่งและดึงดูดสายตาเหล่าบุรุษเพศ งามขนาดที่แม้แต่ปลายพู่กันของศิลปินผู้มีฝีมือและมากด้วยประสบการณ์ยังมิสามารถเขียนภาพออกมาให้งามเท่ากับตัวจริงได้ หากจะมีสิ่งใดที่สามารถสะท้อนความงามของนางได้เสมือนจริงที่สุดคงจะมีเพียงกระจกเงาเท่านั้น เป็นความงามที่อาจกล่าวได้ว่าไม่มีหญิงใดสามารถเทียมทัดหวังเจาจวินได้
แม้จะเข้ามาพำนักอยู่ในวังแล้ว แต่หวังเจาจวินยังไม่มีโอกาสได้ถวายตัวเป็นสนมแห่งพระเจ้าฮั่นหยวนตี้แม้เวลาจะผ่านไปหลายปีนับจากวันคัดตัว นางอยู่ในวังด้วยความรู้สึกทุกข์ใจเพราะหากไม่ได้รับการแต่งตั้งเป็นสนมก็ต้องเป็นดังนกน้อยในกรงทองที่ไม่มีวันได้ออกไปใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
ปี พ.ศ. 510 ข่านฮูหานเสียแห่งเผ่าซุงหนูได้เดินทางมาเจรจาขอให้มีการเชื่อมสัมพันธไมตรีด้วยการสมรสระหว่างราชวงศ์ ซึ่งพระเจ้าฮั่นหยวนตี้ได้เห็นด้วยกับความคิดนั้นเพราะการเชื่อมสัมพันธ์จะนำไปสู่ความสงบทางการเมืองและสามารถช่วยชีวิตผู้คนจากสงครามได้มากทั้งในปัจจุบันและในอนาคตต่อไป พระองค์จึงมีรับสั่งให้คัดตัวนางในวังที่มีใจยินดีที่จะสมรสกับพระเจ้าข่านฮูหานเสีย แต่ไม่มีผู้ใดยินยอม ขันอาสาเพราะเผ่าซุงหนูเป็นเผ่าของนักรบทางฝั่งเหนือที่มีสภาพความเป็นอยู่แร้นแค้นและอากาศหนาวเย็น ยกเว้นแต่หวังเจาจวินผู้มีความฉลาดหลักแหลม งดงามและมีใจเสียสละ นางรับอาสาที่จะแต่งงานออกเรือนจากแผ่นดินจีนไปอยู่เผ่าซุงหนู
ข่านฮูหานเสียรักใคร่หวังเจาจวินมากและสถาปนาให้เป็น “หยานจือ” ซึ่งเทียบเท่ากับฮองเฮาของจีน ทั้งสองใช้ชีวิตร่วมกันได้ไม่นานมีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน หวังเจาจวินได้นำเอาวัฒนธรรมจีนและภูมิปัญญาความรู้ที่ตนมีไปเผยแพร่แก่ประชาชนชาวซุงหนู เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมขึ้น ชาวซุงหนูมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น อยู่กันได้ไม่นานข่านฮูหานเสียก็ตายจากไป ซึ่งตามธรรมเนียมของซุงหนู หยานจือหม้ายจะต้องแต่งงานกับผู้ปกครองเมืองหรือข่านคนต่อมาซึ่งในเหตุการณ์นี้คือบุตรของฮูหานเสียกับหยานจือ คนก่อนซึ่งมีศักดิ์เป็นลูกเลี้ยงของหวังเจาจวิน หวังเจาจวินไม่คุ้นชินกับประเพณีนี้จึงส่งหนังสือขออนุญาตกลับจีน แต่พระเจ้าฮั่นเฉิงตี้ซึ่งเป็นฮ่องเต้ในเวลานั้น(พ.ศ.510-536)ได้มีพระราชโองการแจ้งหวังเจาจวินให้นางปฏิบัติตามประเพณีของซุงหนู นางจึงจำยอมทำตามประเพณีแต่งกับข่านคนใหม่ มีธิดาด้วยกันสองคนและใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวจนสิ้นอายุได้ฝังศพหวังเจาจวินไว้ที่ดินแดนซุงหนูซึ่งก็คือเขตมองโกเลียในปัจจุบัน
หลังจากแต่งงานออกจากแผ่นดินจีนไปจวบจนสิ้นอายุของนาง หวังเจาจวินก็ไม่มีโอกาสกลับไปเยือนบ้านเกิดของนางเลยสักครั้ง แม้ชีวิตนางจะสุขสบายมากกว่าเมื่อครั้งยังเป็นนางใน แต่ก็แลกมาด้วยความเสียสละอันใหญ่ยิ่ง แม้ว่าส่วนหนึ่งการตัดสินใจของนางจะมาจากการเอาตัวรอดและยกระดับตนเองขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าการกระทำครั้งนี้ได้ส่งผลดีต่อแผ่นดินจีนในระยะยาวเพราะหลังจากที่นางแต่งงานเชื่อมสัมพันธไมตรี เผ่าซุงหนูก็ได้ทำสัญญาละเว้นการทำศึกสงครามเป็นระยะเวลายาวนานถึง 60 ปี และช่วยป้องกันดินแดนทางเหนือของจีนจากศัตรูที่มารุกราน ราษฎรจีนจึงอยู่อย่างสุขสงบ หวังเจาจวินจึงเป็นวีรสตรีนางหนึ่งที่ได้รับการยกย่องเชิดชูจากประชาชนจากทั้งฝั่งจีนและซุงหนู
หวังเจาจวินแม้เป็นหญิงแต่นางไม่ได้มีความงามเพียงอย่างเดียว นางมีความกล้าหาญที่จะเลือกใช้ชีวิตด้วยตนเอง เลือกไปอยู่เผ่าซุงหนู ดินแดนซึ่งกันดารและหนาวเหน็บ อาจด้วยความคิดที่ฉลาดหลักแหลมและ คิดการไกล นางแต่งงานออกจากแดนดินถิ่นเกิดเพราะเหตุผลที่ว่าหากอยู่ที่เดิมก็จะไม่มีความสุข ไม่ได้แต่งงานออกเหย้าออกเรือนเป็นปกติเฉกเช่นหญิงสาวทั่วไป จำต้องอ้างว้าง สู้แต่งออกไปกับผู้นำจากซุงหนูดีกว่า ซ้ำยังมีใจเสียสละต่อชาติบ้านเมือง แม้จะรับประเพณีแต่งงานซ้ำซ้อนไม่ได้แต่ก็ยอมทำตามพระราชโองการทั้งที่นางจะหนีไปก็ได้ แต่นางก็ยังอยู่และยอมทำตามประเพณีเพราะนางรู้ดีว่าหากนางหนีไปจะต้องมีผลต่อประเทศชาติ กล่าวคือแม้เป็นสตรีแต่มีความคิดและความกล้าหาญไม่ต่างจากบุรุษ
จากวีรกรรมความกล้าและความเสียสละของหวังเจาจวินทำให้ชื่อและเรื่องราวของนางถูกบันทึกลงบนหน้าประวัติศาสตร์และถูกแปรสภาพเป็นบทร้อยแก้ว บทร้อยกรอง วรรณกรรม ภาพวาด งิ้วหรืองานศิลปะด้านอื่นๆ มากมายเพื่อเผยแพร่ให้ผู้คนได้รู้จัก ไม่แม้เพียงในประเทศจีนเท่านั้นแต่ยังถูกส่งต่อเรื่องราวจากชาติหนึ่งสู่อีกชาติหนึ่ง จนประวัติศาสตร์หน้านี้ได้ลือไกลไปทั่วทุกแผ่นดิน
อ้างอิง
จั๋วจือ, ไช่. (2554). ๑๐๐ ยอดหญิงจีน. ไช่จั๋วจือ: เขียน; ปานชีวา บุตราช: แปลจาก Bai nu tu. กรุงเทพฯ ถาวรสิกข: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ถาวร สิกขโกศล. (มปป.). 4 ยอดหญิงงามผู้พลิกประวัติศาสตร์จีน. กรุงเทพฯ : ก.ไก่.
นรา. 2559. หญิงงามในแดนกันดารห่างไกล. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2559, จาก: http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9500000121975
ถาวรสิกข ลักษณวงศ์. 2559. สุดยอดหญิงงาม (ของจีน) ๑ : หวังเจาจวิน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2559, จาก: https://www.gotoknow.org/6
อดุลย์ รัตนมั่นเกษม. (2553). หวางเจาจวิน ภาพสะท้อนนโยบายอับปัญญา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ลักษณวงแสงดาว.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น