โดย รัฐกานต์ ปิ่นแก้ว
หากจะกล่าวถึงดนตรีเร้กเก้ ทุกคนจะต้องเคยเห็นภาพชายคนหนึ่งผมทรงเดร็ดล็อคส์ สุดแสนคลาสสิคบนพื้นหลังสีเขียวเหลืองแดง ใครจะรู้ว่าเขาเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของโลก ไม่ใช่แค่ภาพแทนสัญลักษณ์ของพวกขี้ยาไปซะทีเดียว แต่เขาคือ บ็อบ มาร์เลย์ ผู้มีอิทธิพลต่อพันธมิตรชาวรัสตาร์ ผู้นำอิสรภาพมาสู่ประเทศจาไมก้า
บ็อบ มาร์เลย์ มีชื่อจริงว่า โรเบิร์ต เนสต้า มาร์เลย์ ( Bob Marley or Robert Nesta Marley ) เกิดวันที่6 กุมภาพันธ์ 1945 ในเขตชนบทเมือง เซนต์ แอน ของประเทศจาไมก้า ซึ่งเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ระหว่างหลักไมล์ที่แปด-เก้า ระหว่างทางมุ่งสู่อัลวาเรียกตามหลักภาษาท้องถิ่นจึงเรียก “เก้าหลัก” ซึ่งบริเวณนี้ถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดวัฒนธรรม ลัทธิรัสตาฟาเรียน
ในวัยเด็ก บ็อบ โตมาพร้อมกับครอบครัวนักดนตรีโดยคุณแม่ของเขา นางซีเดล่า เล่นไวโอลิน และแอดคอเดียนกับคุณลุงผู้เล่นกีต้าร์ถึงจะดูมีความสุขแต่เขาก็ขาดความอบอุ่นจากผู้เป็นพ่อ ร้อยเอกนอร์วัล มาร์เลย์ ราชนาวีอังกฤษ ซึ่งไม่ได้รับการเหลียวแลจากผู้เป็นพ่อเป็นเพียงแค่คนรู้จักที่มาเยี่ยมบางครั้งบางคราว สาเหตุอาจเป็นเพราะครอบครัว ฝ่ายพ่อไม่ยอมรับแรงงานผิวสีแบบแม่ของบ็อบ ทำให้เขามีนิสัยค่อนข้างเห็นแก่ตัว รักเพื่อนๆและ เพื่อนคือทุกอย่างสำหรับเขา
เมื่ออายุ 17 ปี เขาได้ทุ่มเทให้กับการร้องเพลงและร่วมร้องเพลงในโรงภาพยนตร์ หลังจากเลิกเรียน เขาใช้เวลาพัฒนาการร้องเพลงกับเพื่อน จนได้มีโอกาสเรียนดนตรีจาก โฮจิกส์ นักดนตรีข้างถนน จากนั้นในปี 1962 เขาและเพื่อนก็เริ่มก่อตั้งวงเล่นเพลงแนว pop-america เพื่อหาเลี้ยงชีพพร้อมกับฝึกฝนไปในตัวด้วยจนมีแผ่นเสียงเป็นของตัวเองจากนั้นหนึงปีต่อมาเขาก็ไก้ก่อตั้งวง The Wailing Wailersและเขาได้แต่งงานในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1966 กับริต้า แอนเดอร์สัน
โดยในปี 1960 เพลงร็อคเป็นที่นิยม ทำให้เร้กเก้ไม่เป็นที่รู้จัก โดยเร้กเก้เป็นจังหวะเน้นความสำคัญของกลองและเบส แตกต่างจากจังหวะร็อค 1-3 จังหวะ โดยเนื้อหานั้นจะสะท้อนถึงลัทธิรัสตาฟาเรียน ผู้ที่หลงใหลในปรัชญาคววามเชื่อของจักรพรรดิไฮลี เซลาซซ์ แห่งเอธิโอเปีย เพื่อนำพวกเขาไปสู่ความยุติธรรมในสังคม
จนในปี1966 ดนตรีเรกเก้ก็กลายเป็นที่นิยมจากเหตุการณ์จราจลในประเทศจาไมก้าด้วยความที่เนื้อหาของบทเพลงแนวเรกเก้นั้น ปลุกระดมคนผิวสีให้ลุกขึ้นสู้ต่อขบวนการต่อต้านคนผิวสี ซึ่งตัวแปรสำคัญที่ปลุกระดมคนผิวสีนั้นคือ บ็อบ มาร์เลย์ และ The Wailer ได้ประพันธ์เนื้อเพลงที่สะท้อนมุม มอง ทางการเมือง ชีวิต และสังคมที่เฉียบแหลม คมคาย และส่งผลไปถึงสถานการณ์ความขัดแย้งเรื่องสีผิวในประเทศจาไมก้า โดยเขาได้ใช้เครื่องดนตรี เป็นสื่อในการเรียกร้องสิทธิต่างๆผ่านกีตาร์และฮาโมนิก้าคู่ใจขับกล่อมคนผิวสีให้ลุกขึ้นต่อขบวนต่อต้านคนผิวสีนั้นเองทำให้เขาได้เป็นศิลปินแนวเพลงเรกเก้วงแรกที่ที่ประสบความสำเร็จและโด่งดังทั่วโลก จนได้ไปเปิดการแสดงที่ Los Angeles, USA และประเทศอังกฤษ ในปี 1975 ทำให้ดนตรีเร็กเกและทรงผมเดร็ดล็อคส์ก็เริ่มเป็นที่นิยมในหมู่คนขาวและโลกตะวันตกโดยเพลงฮิตของเขาได้แก่ No Woman No Cry ในปี 1975 และ Jamming ในปี 1977 และ One Love ในปี 1984
และอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญคือ ในปี 1978 ในระหว่างที่เขาเล่นคอนเสิร์ต One Love ที่จาไมก้า เขาได้ให้ประธานาธิบดีและฝ่ายค้านจับมือกันบนเวที ทำให้เขาได้รางวัล The United Nations Peace Medal จาก UN และในปี 1980 เขาได้รับเชิญขึ้น เป็นผู้นำในการเฉลิมฉลองการประกาศอิสรภาพของซิมบับเวย์
บ็อบ พบว่าตนเองเป็นมะเร็งปอดและสมองขณะที่กำลังเดินเล่นใน Central Park สวนสาธารณะกลางมหานครนิวยอร์คที่พักอาศัยอยู่ เขาจึงเลือกกลับมาที่จาไมกาแต่ด้วยสภาพร่างกายไม่ไหว จึงแวะพักที่นครไมอามีและจากโลกไปในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1981 ด้วยวัย 36 ปีศพของเขาถูกนำไปฝังบ้านเกิดที่หลักเก้า ภายในโลงเขาสวมเจ็คเก็ตผ้าเดนิม นิ้วมือขวาวางบนคัมภีร์ไบเบิล ส่วนมือซ้ายถูกวางบนกีตาร์สีเเดงเพลิงกีตาร์คู่ใจของเขา
สุดท้ายนี้ ถึงผู้ชายท่านนี้จะจากเราไปแล้ว แต่ภาพของเขายังเป็นสัญลักษณ์แทนสันติภาพต่อประชาชนทั้งหลาย ไม่ใช่เพียงชาวรัสตาร์ หรือชาวจาไมก้า แต่เขายังสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นหลังต่อไป ไม่ว่าเราจะเป็นใคร เกิดที่ไหน ผิวสีอะไร เราทุกคนต่างมีความเป็นมนุษย์เหมือนกันอย่าตัดสินใครที่ภายนอก ทุกคนบนโลกใช่คนที่สมบูรณ์แบบ ควรดูและตัดสินตัวเองก่อนที่จะตัดสินคนอื่นเพราะทุกคนคือมนุษย์เหมือนกัน
Nasan . Bob Marley.สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2559,จาก : http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=509.0
Hanong Rasta. Bob Marley ศาสดาขบถ ที่โลกยกย่อง. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2559. จาก : http://historyalleverything.blogspot.com/2010/10/bob-marley.html
หากจะกล่าวถึงดนตรีเร้กเก้ ทุกคนจะต้องเคยเห็นภาพชายคนหนึ่งผมทรงเดร็ดล็อคส์ สุดแสนคลาสสิคบนพื้นหลังสีเขียวเหลืองแดง ใครจะรู้ว่าเขาเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งของโลก ไม่ใช่แค่ภาพแทนสัญลักษณ์ของพวกขี้ยาไปซะทีเดียว แต่เขาคือ บ็อบ มาร์เลย์ ผู้มีอิทธิพลต่อพันธมิตรชาวรัสตาร์ ผู้นำอิสรภาพมาสู่ประเทศจาไมก้า
บ็อบ มาร์เลย์ มีชื่อจริงว่า โรเบิร์ต เนสต้า มาร์เลย์ ( Bob Marley or Robert Nesta Marley ) เกิดวันที่6 กุมภาพันธ์ 1945 ในเขตชนบทเมือง เซนต์ แอน ของประเทศจาไมก้า ซึ่งเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ระหว่างหลักไมล์ที่แปด-เก้า ระหว่างทางมุ่งสู่อัลวาเรียกตามหลักภาษาท้องถิ่นจึงเรียก “เก้าหลัก” ซึ่งบริเวณนี้ถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดวัฒนธรรม ลัทธิรัสตาฟาเรียน
ในวัยเด็ก บ็อบ โตมาพร้อมกับครอบครัวนักดนตรีโดยคุณแม่ของเขา นางซีเดล่า เล่นไวโอลิน และแอดคอเดียนกับคุณลุงผู้เล่นกีต้าร์ถึงจะดูมีความสุขแต่เขาก็ขาดความอบอุ่นจากผู้เป็นพ่อ ร้อยเอกนอร์วัล มาร์เลย์ ราชนาวีอังกฤษ ซึ่งไม่ได้รับการเหลียวแลจากผู้เป็นพ่อเป็นเพียงแค่คนรู้จักที่มาเยี่ยมบางครั้งบางคราว สาเหตุอาจเป็นเพราะครอบครัว ฝ่ายพ่อไม่ยอมรับแรงงานผิวสีแบบแม่ของบ็อบ ทำให้เขามีนิสัยค่อนข้างเห็นแก่ตัว รักเพื่อนๆและ เพื่อนคือทุกอย่างสำหรับเขา
เมื่ออายุ 17 ปี เขาได้ทุ่มเทให้กับการร้องเพลงและร่วมร้องเพลงในโรงภาพยนตร์ หลังจากเลิกเรียน เขาใช้เวลาพัฒนาการร้องเพลงกับเพื่อน จนได้มีโอกาสเรียนดนตรีจาก โฮจิกส์ นักดนตรีข้างถนน จากนั้นในปี 1962 เขาและเพื่อนก็เริ่มก่อตั้งวงเล่นเพลงแนว pop-america เพื่อหาเลี้ยงชีพพร้อมกับฝึกฝนไปในตัวด้วยจนมีแผ่นเสียงเป็นของตัวเองจากนั้นหนึงปีต่อมาเขาก็ไก้ก่อตั้งวง The Wailing Wailersและเขาได้แต่งงานในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1966 กับริต้า แอนเดอร์สัน
ภาพบ็อบ มาร์เลย์ และริต้าแอนเดอสัน
โดยในปี 1960 เพลงร็อคเป็นที่นิยม ทำให้เร้กเก้ไม่เป็นที่รู้จัก โดยเร้กเก้เป็นจังหวะเน้นความสำคัญของกลองและเบส แตกต่างจากจังหวะร็อค 1-3 จังหวะ โดยเนื้อหานั้นจะสะท้อนถึงลัทธิรัสตาฟาเรียน ผู้ที่หลงใหลในปรัชญาคววามเชื่อของจักรพรรดิไฮลี เซลาซซ์ แห่งเอธิโอเปีย เพื่อนำพวกเขาไปสู่ความยุติธรรมในสังคม
จนในปี1966 ดนตรีเรกเก้ก็กลายเป็นที่นิยมจากเหตุการณ์จราจลในประเทศจาไมก้าด้วยความที่เนื้อหาของบทเพลงแนวเรกเก้นั้น ปลุกระดมคนผิวสีให้ลุกขึ้นสู้ต่อขบวนการต่อต้านคนผิวสี ซึ่งตัวแปรสำคัญที่ปลุกระดมคนผิวสีนั้นคือ บ็อบ มาร์เลย์ และ The Wailer ได้ประพันธ์เนื้อเพลงที่สะท้อนมุม มอง ทางการเมือง ชีวิต และสังคมที่เฉียบแหลม คมคาย และส่งผลไปถึงสถานการณ์ความขัดแย้งเรื่องสีผิวในประเทศจาไมก้า โดยเขาได้ใช้เครื่องดนตรี เป็นสื่อในการเรียกร้องสิทธิต่างๆผ่านกีตาร์และฮาโมนิก้าคู่ใจขับกล่อมคนผิวสีให้ลุกขึ้นต่อขบวนต่อต้านคนผิวสีนั้นเองทำให้เขาได้เป็นศิลปินแนวเพลงเรกเก้วงแรกที่ที่ประสบความสำเร็จและโด่งดังทั่วโลก จนได้ไปเปิดการแสดงที่ Los Angeles, USA และประเทศอังกฤษ ในปี 1975 ทำให้ดนตรีเร็กเกและทรงผมเดร็ดล็อคส์ก็เริ่มเป็นที่นิยมในหมู่คนขาวและโลกตะวันตกโดยเพลงฮิตของเขาได้แก่ No Woman No Cry ในปี 1975 และ Jamming ในปี 1977 และ One Love ในปี 1984
และอีกหนึ่งเหตุการณ์สำคัญคือ ในปี 1978 ในระหว่างที่เขาเล่นคอนเสิร์ต One Love ที่จาไมก้า เขาได้ให้ประธานาธิบดีและฝ่ายค้านจับมือกันบนเวที ทำให้เขาได้รางวัล The United Nations Peace Medal จาก UN และในปี 1980 เขาได้รับเชิญขึ้น เป็นผู้นำในการเฉลิมฉลองการประกาศอิสรภาพของซิมบับเวย์
ภาพคอนเสิร์ตone love
ที่มา: http://www.bobmarley.com/
บ็อบ พบว่าตนเองเป็นมะเร็งปอดและสมองขณะที่กำลังเดินเล่นใน Central Park สวนสาธารณะกลางมหานครนิวยอร์คที่พักอาศัยอยู่ เขาจึงเลือกกลับมาที่จาไมกาแต่ด้วยสภาพร่างกายไม่ไหว จึงแวะพักที่นครไมอามีและจากโลกไปในวันที่ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1981 ด้วยวัย 36 ปีศพของเขาถูกนำไปฝังบ้านเกิดที่หลักเก้า ภายในโลงเขาสวมเจ็คเก็ตผ้าเดนิม นิ้วมือขวาวางบนคัมภีร์ไบเบิล ส่วนมือซ้ายถูกวางบนกีตาร์สีเเดงเพลิงกีตาร์คู่ใจของเขา
สุดท้ายนี้ ถึงผู้ชายท่านนี้จะจากเราไปแล้ว แต่ภาพของเขายังเป็นสัญลักษณ์แทนสันติภาพต่อประชาชนทั้งหลาย ไม่ใช่เพียงชาวรัสตาร์ หรือชาวจาไมก้า แต่เขายังสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นหลังต่อไป ไม่ว่าเราจะเป็นใคร เกิดที่ไหน ผิวสีอะไร เราทุกคนต่างมีความเป็นมนุษย์เหมือนกันอย่าตัดสินใครที่ภายนอก ทุกคนบนโลกใช่คนที่สมบูรณ์แบบ ควรดูและตัดสินตัวเองก่อนที่จะตัดสินคนอื่นเพราะทุกคนคือมนุษย์เหมือนกัน
‘We should really love each
other in peace and harmony,
instead we're fussin' and fighting
like weain't supposed to be.’
เราควรรักกันในความสงบและความสามัคคี
แต่เรากลับสร้างความวุ่นวายและต่อสู้กันโดยที่มันไม่จำเป็นเลย
-Bob Marley-
อ้างอิง
เร้ก.. hic hic. มารู้จักประวัติของ Bob Marley กันดีกว่า. สืบค้นเมื่อ 11 กันยายน 2559, จาก : http://lek-hichic.blogspot.com/2011/08/bob-marley.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น