โดย นันทวรรณ แสนแก้ว
เมื่อกล่าวถึงผู้นำที่น่ายกย่อง คงมีผู้นำหลายท่านที่เราจะนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ และหนึ่งในนั้นคงไม่พ้น มหาตมะ คานธี ท่านไม่เพียงแต่เป็นผู้นำในการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินเดีย จากการตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษเท่านั้น แต่ยังเป็นทั้งนักกฎหมายและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงอีกด้วย และยังเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการต่อสู้แบบอหิงสา หรือการต่อสู้โดยไม่ใช้ความรุนแรง ที่เรียกว่า หลักสัตยาเคราะห์
มหาตมะ คานธี มีชื่อเดิมว่า โมฮันดาส คาดามจันด์ คานธี เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ.1869 ในแคว้นคุชราตทางทิศตะวันตกของอินเดีย เมื่อท่านมีอายุ 13 ปี ท่านได้สมรสกับ กัสตูรพา และมีบุตรร่วมกัน 5 คน แต่คนหนึ่งเสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นทารก
ค.ศ.1888 ท่านถูกส่งไปเรียนวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษจนสำเร็จการศึกษา และสอบได้เป็นเนติบัณฑิต จึงได้เดินทางกลับอินเดียเพื่อประกอบอาชีพ และไม่นานนัก ท่านได้งานๆหนึ่ง ซึ่งเป็นงานที่ทำให้ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังในเวลาต่อมา งานนั้นคือการเป็นทนายว่าความให้ลูกความ ในประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งตอนนั้นประเทศแอฟริกาก็ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษเช่นเดียวกับประเทศอินเดีย เวลานั้นท่านคานธีได้จองตั๋วรถไฟชั้น First Class เพื่อเดินทางไปหาลูกความที่ประเทศแอฟริกาใต้ แต่ต้องถูกผู้โดยสารผิวขาวโยนเขาออกมาจากรถไฟ โดยมีเจ้าหน้าที่อ้างว่าชั้น First Class สร้างให้ผู้โดยสารผิวขาวเท่านั้น เหตุการณ์นั้นทำให้ท่านรู้ว่าชาวผิวสีถูกเหยียดหยามเป็นอย่างมากในแอฟริกาใต้ ท่านไม่รอช้ารีบนำความคิดที่จะต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิมนุษยชนของชาวผิวสีในแอฟริกาใต้เข้าในที่ประชุม และท่านก็เป็นส่วนสำคัญในการแก้ไขข้อกฎหมายให้คนทุกชนชั้นมีความเท่าเทียมกัน
ในปี ค.ศ.1906 ท่านได้เข้าต่อต้านกฎหมายฉบับหนึ่งของอังกฤษที่กำหนดให้ชาวอินเดียเข้ารับการจดทะเบียน และพิมพ์ลายนิ้วมือ รวมทั้งให้หญิงสาวชาวอินเดียเปลื้องผ้าต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อกรอกตำหนิรูปพรรณ ท่านคานธีพร้อมชาวอินเดียนับ 3,000 คน มารวมกันประท้วง จากครั้งนั้นท่านก็ได้รู้ว่าการไม่ใช้ความรุนแรง ในการต่อสู้นั้นให้ผลดีอย่างมาก ท่านเรียกการต่อสู้แบบอหิงสานี้ว่า สัตยาเคราะห์
หลังจากนั้น ท่านก็ได้เป็นผู้นำในการเรียกร้องสิทธิมนุษยชนในหลายๆเหตุการณ์ อาทิเช่น การเข้าต่อต้านกฎหมายที่กำหนดการแต่งงานของชาวฮินดู-มุสลิม ถือเป็นโมฆะ การชักชวนให้ชาวอินเดียพึ่งพาตัวเองโดยการละทิ้งเครื่องแต่งกายแบบตะวันตก จนเขาได้รับการขนานนามว่า มหาตมะ ซึ่งหมายความว่า ผู้มีจิตใจสูงส่ง จาก รพินทรนาถ ฐากุร มหากวีแห่งอินเดีย และมหาตมะ คานธี ยังได้ชักชวนให้คนงานชาวอินเดียหยุดงานเพื่อประท้วงกฎหมายโรว์แลตต์ (Rowlett Act of 1919) ของอังกฤษ ที่กำหนดขึ้นมากดขี่ชาวอินเดียเพื่อป้องกันการจลาจล ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้เขารู้ว่า การใช้วิธีสัตยาเคราะห์มีผลเสียเมื่อใช้กับคนจำนวนมาก เพราะในบางพื้นที่เกิดการต่อสู้ จึงเป็นข้ออ้างให้รัฐบาลอังกฤษจับกุม มหาตมะ คานธี และท่านก็ถูกปล่อยตัวในไม่กี่สัปดาห์ต่อมา
ค.ศ.1924 มหาตมะ คานธีได้แก้ไขปัญหาภายในประเทศ เช่น ฟื้นฟูเศรษฐกิจชนบท แก้ไขการถือชนชั้นวรรณะ ปัญหาขัดแย้งระหว่างฮินดู-มุสลิม ปัญหาความไม่เสมอภาคของสตรี เป็นต้น
ต่อมาปี ค.ศ.1930 ท่านได้เข้าต่อต้านการเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรมและประท้วงกฎหมายที่ห้ามให้คนอินเดีย ทำเกลือกินเองทั้งที่เป็นทรัพยากรของประเทศอินเดียเอง โดยท่านใช้วิธีการเดินทางไปยังทะเลอาหรับ เพื่อจะทำเกลือ พร้อมกับชาวอินเดียนับแสนที่เต็มใจร่วมเดินทางไปกับท่านด้วย ในการเดินทางครั้งนี้เป็นที่กล่าวขานไปทั่วโลก รัฐบาลอังกฤษพยายามจับกุมประชาชนนับแสนที่ทำเกลือกินเอง แต่ก็ต้องปล่อยตัวในเวลาต่อมาเพราะปัญหาการขาดแรงงานเป็นจำนวนมาก
เมื่อ ค.ศ. 1939 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านมหาตมะ คานธีได้มีส่วนร่วมการเมืองอีกครั้ง แต่แล้วก็ต้องถูกจับใน ค.ศ. 1942 ซึ่งครั้งนั้นระหว่างที่ท่านอยู่ในคุก ภรรยาของท่านได้เสียชีวิตลงใน ค.ศ. 1944 จึงเป็นเหตุให้ท่านได้รับการปล่อยตัวออกมา
ในปี ค.ศ. 1945 มีการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศอังกฤษ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ประกาศคืนอิสรภาพ ให้ประเทศอินเดีย แต่ต้องให้รัฐบาลอังกฤษหารัฐบาลชาวอินเดียเพื่อขึ้นมาปกครองต่อจากรัฐบาลอังกฤษ ได้เสียก่อน แต่ชาวอินเดียไม่สามารถตกลงกันได้ว่าระหว่างพรรคคองเกรส (ที่นับถือศาสนาฮินดู) กับสันนิบาตมุสลิม ใครจะได้ขึ้นมาปกครองประเทศ ทำให้การได้อิสรภาพของประเทศอินเดียต้องเลื่อนออกไป
ในปีต่อมาได้เกิดสงครามนองเลือดภายในประเทศอินเดีย ระหว่างชาวฮินดูและมุสลิม เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ท่านมหาตมะ คานธีเสียใจเป็นอย่างมาก ด้วยวัย 77 ปีท่านได้เดินเท้าไปยังภูมิภาคต่างๆ เพื่อขอร้องให้ชาวอินเดียหันมาสามัคคีกัน ชาวอินเดียเห็นเช่นนี้ก็รู้จักผิดชอบชั่วดี และเลิกทะเลาะกัน หันมาสามัคคีกันตามประสงค์ของท่านมหาตมะ
ต่อมาปี ค.ศ. 1947 พรรคคองเกรสและสันนิบาตมุสลิมได้มีการเจรจากัน และได้ข้อสรุปว่า เมื่อประเทศอินเดียได้รับเอกราช จะแบ่งประเทศออกเป็น 2 ส่วน โดยพรรคคองเกรสจะปกครอง พื้นที่ที่มีชาวฮินดูอาศัยเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นประเทศอินเดีย และสันนิบาตมุสลิมจะปกครอง พื้นที่ที่มีชาวมุสลิมอาศัยเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นประเทศปากีสถาน
จนในที่สุดวันที่15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 ประเทศอินเดียได้ถูกปลดออกจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ โดยสมบูรณ์ และในวันนั้นอินเดียก็แตกเป็น 2 ประเทศตามที่พรรคคองเกรสและมุสลิมได้ตกลงกันไว้ ทั้ง 2 ประเทศจัดงานฉลองอิสรภาพครั้งใหญ่ แต่มหาตมะ คานธีไม่ได้เข้าร่วมพิธีฉลองด้วย แต่ท่านกลับเดินทาง ไปยังกัลกัตตา เพราะได้ยินข่าวว่ามุสลิมและฮินดูยังมีการต่อสู้กันอยู่ เมื่อท่านเดินทางไปถึง ได้ขอร้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายหยุดต่อสู้กัน แต่ไม่เป็นผล ท่านจึงประกาศอดอาหาร ทำให้ชาวมุสลิมและชาวฮินดูเลิกสู้กันทันที และด้วยความต้องการที่อยากจะให้ชาวฮินดูและมุสลิมปรองดองกัน ท่านจึงต้องการไปปากีสถาน แต่สันนิบาตมุสลิมคัดค้านการเข้าปากีสถานของท่าน เพราะเกรงจะเกิดอันตราย ท่านจึงประกาศอดอาหารอีกครั้งเพื่อสมานฉันท์ระหว่างมุสลิมและฮินดู
และในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1948 ขณะที่ท่านสวดมนต์ ตามปกตินั้น ท่านถูกลอบสังหารโดย นาถูราม โคทเส ชาวฮินดูผู้คลั่งศาสนา ผู้ที่ไม่ต้องการให้ฮินดูสมานฉันท์ กับมุสลิม เขายิงปืนใส่มหาตมะ คานธี 3 นัด ทำให้ท่านเสียชีวิตด้วยวัย 78 ปี
แม้ว่ามหาตมะ คานธี จะไม่อยู่บนโลกใบนี้แล้วแต่ความเสียสละและความมีจิตใจมุ่งมั่นของท่านนั้นไม่ได้ลบเลื่อนหายไปจากโลกใบนี้ไปกับท่านด้วย ทุกคนยังจดจำและยกย่องมหาตมะ คานธี ให้เป็นบุคคลสำคัญของประวัติศาสตร์โลก อีกทั้งยังมีอีกหลายคนที่ยังจดจำแนวทางคำสอนของมหาตมะ คานธี และสามารถนำแนวทางนี้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้ดีอีกด้วย
อ้างอิง
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม. มหาตมา คานธี บิดาแห่งประชาชาติ ของอินเดีย. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2559, จาก: http://www.techcare.co.th/demo_school/view.php?userid=social&id=LR531000000041
วิกิพีเดีย สาราณุกรมเสรี. มหาตมา คานธี. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2559, จาก: https://th.wikipedia.org/
สไลด์ แชร์. 2558. ชีวประวัติ มหาตมา คานธี. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2559, จาก: http://www.slideshare.net/apichat1828/ss-46363426
เมื่อกล่าวถึงผู้นำที่น่ายกย่อง คงมีผู้นำหลายท่านที่เราจะนึกถึงเป็นอันดับต้นๆ และหนึ่งในนั้นคงไม่พ้น มหาตมะ คานธี ท่านไม่เพียงแต่เป็นผู้นำในการต่อสู้เพื่อเอกราชของอินเดีย จากการตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษเท่านั้น แต่ยังเป็นทั้งนักกฎหมายและนักการเมืองที่มีชื่อเสียงอีกด้วย และยังเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการต่อสู้แบบอหิงสา หรือการต่อสู้โดยไม่ใช้ความรุนแรง ที่เรียกว่า หลักสัตยาเคราะห์
มหาตมะ คานธี มีชื่อเดิมว่า โมฮันดาส คาดามจันด์ คานธี เกิดเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ.1869 ในแคว้นคุชราตทางทิศตะวันตกของอินเดีย เมื่อท่านมีอายุ 13 ปี ท่านได้สมรสกับ กัสตูรพา และมีบุตรร่วมกัน 5 คน แต่คนหนึ่งเสียชีวิตตั้งแต่ยังเป็นทารก
ที่มา: http://www.dhammajak.net/
ค.ศ.1888 ท่านถูกส่งไปเรียนวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยลอนดอน ประเทศอังกฤษจนสำเร็จการศึกษา และสอบได้เป็นเนติบัณฑิต จึงได้เดินทางกลับอินเดียเพื่อประกอบอาชีพ และไม่นานนัก ท่านได้งานๆหนึ่ง ซึ่งเป็นงานที่ทำให้ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังในเวลาต่อมา งานนั้นคือการเป็นทนายว่าความให้ลูกความ ในประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งตอนนั้นประเทศแอฟริกาก็ตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษเช่นเดียวกับประเทศอินเดีย เวลานั้นท่านคานธีได้จองตั๋วรถไฟชั้น First Class เพื่อเดินทางไปหาลูกความที่ประเทศแอฟริกาใต้ แต่ต้องถูกผู้โดยสารผิวขาวโยนเขาออกมาจากรถไฟ โดยมีเจ้าหน้าที่อ้างว่าชั้น First Class สร้างให้ผู้โดยสารผิวขาวเท่านั้น เหตุการณ์นั้นทำให้ท่านรู้ว่าชาวผิวสีถูกเหยียดหยามเป็นอย่างมากในแอฟริกาใต้ ท่านไม่รอช้ารีบนำความคิดที่จะต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิมนุษยชนของชาวผิวสีในแอฟริกาใต้เข้าในที่ประชุม และท่านก็เป็นส่วนสำคัญในการแก้ไขข้อกฎหมายให้คนทุกชนชั้นมีความเท่าเทียมกัน
ในปี ค.ศ.1906 ท่านได้เข้าต่อต้านกฎหมายฉบับหนึ่งของอังกฤษที่กำหนดให้ชาวอินเดียเข้ารับการจดทะเบียน และพิมพ์ลายนิ้วมือ รวมทั้งให้หญิงสาวชาวอินเดียเปลื้องผ้าต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อกรอกตำหนิรูปพรรณ ท่านคานธีพร้อมชาวอินเดียนับ 3,000 คน มารวมกันประท้วง จากครั้งนั้นท่านก็ได้รู้ว่าการไม่ใช้ความรุนแรง ในการต่อสู้นั้นให้ผลดีอย่างมาก ท่านเรียกการต่อสู้แบบอหิงสานี้ว่า สัตยาเคราะห์
หลังจากนั้น ท่านก็ได้เป็นผู้นำในการเรียกร้องสิทธิมนุษยชนในหลายๆเหตุการณ์ อาทิเช่น การเข้าต่อต้านกฎหมายที่กำหนดการแต่งงานของชาวฮินดู-มุสลิม ถือเป็นโมฆะ การชักชวนให้ชาวอินเดียพึ่งพาตัวเองโดยการละทิ้งเครื่องแต่งกายแบบตะวันตก จนเขาได้รับการขนานนามว่า มหาตมะ ซึ่งหมายความว่า ผู้มีจิตใจสูงส่ง จาก รพินทรนาถ ฐากุร มหากวีแห่งอินเดีย และมหาตมะ คานธี ยังได้ชักชวนให้คนงานชาวอินเดียหยุดงานเพื่อประท้วงกฎหมายโรว์แลตต์ (Rowlett Act of 1919) ของอังกฤษ ที่กำหนดขึ้นมากดขี่ชาวอินเดียเพื่อป้องกันการจลาจล ซึ่งเหตุการณ์นี้ทำให้เขารู้ว่า การใช้วิธีสัตยาเคราะห์มีผลเสียเมื่อใช้กับคนจำนวนมาก เพราะในบางพื้นที่เกิดการต่อสู้ จึงเป็นข้ออ้างให้รัฐบาลอังกฤษจับกุม มหาตมะ คานธี และท่านก็ถูกปล่อยตัวในไม่กี่สัปดาห์ต่อมา
ที่มา: http://www.noknight.com/
ค.ศ.1924 มหาตมะ คานธีได้แก้ไขปัญหาภายในประเทศ เช่น ฟื้นฟูเศรษฐกิจชนบท แก้ไขการถือชนชั้นวรรณะ ปัญหาขัดแย้งระหว่างฮินดู-มุสลิม ปัญหาความไม่เสมอภาคของสตรี เป็นต้น
ต่อมาปี ค.ศ.1930 ท่านได้เข้าต่อต้านการเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรมและประท้วงกฎหมายที่ห้ามให้คนอินเดีย ทำเกลือกินเองทั้งที่เป็นทรัพยากรของประเทศอินเดียเอง โดยท่านใช้วิธีการเดินทางไปยังทะเลอาหรับ เพื่อจะทำเกลือ พร้อมกับชาวอินเดียนับแสนที่เต็มใจร่วมเดินทางไปกับท่านด้วย ในการเดินทางครั้งนี้เป็นที่กล่าวขานไปทั่วโลก รัฐบาลอังกฤษพยายามจับกุมประชาชนนับแสนที่ทำเกลือกินเอง แต่ก็ต้องปล่อยตัวในเวลาต่อมาเพราะปัญหาการขาดแรงงานเป็นจำนวนมาก
เมื่อ ค.ศ. 1939 ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านมหาตมะ คานธีได้มีส่วนร่วมการเมืองอีกครั้ง แต่แล้วก็ต้องถูกจับใน ค.ศ. 1942 ซึ่งครั้งนั้นระหว่างที่ท่านอยู่ในคุก ภรรยาของท่านได้เสียชีวิตลงใน ค.ศ. 1944 จึงเป็นเหตุให้ท่านได้รับการปล่อยตัวออกมา
ในปี ค.ศ. 1945 มีการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศอังกฤษ นายกรัฐมนตรีคนใหม่ประกาศคืนอิสรภาพ ให้ประเทศอินเดีย แต่ต้องให้รัฐบาลอังกฤษหารัฐบาลชาวอินเดียเพื่อขึ้นมาปกครองต่อจากรัฐบาลอังกฤษ ได้เสียก่อน แต่ชาวอินเดียไม่สามารถตกลงกันได้ว่าระหว่างพรรคคองเกรส (ที่นับถือศาสนาฮินดู) กับสันนิบาตมุสลิม ใครจะได้ขึ้นมาปกครองประเทศ ทำให้การได้อิสรภาพของประเทศอินเดียต้องเลื่อนออกไป
ในปีต่อมาได้เกิดสงครามนองเลือดภายในประเทศอินเดีย ระหว่างชาวฮินดูและมุสลิม เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ท่านมหาตมะ คานธีเสียใจเป็นอย่างมาก ด้วยวัย 77 ปีท่านได้เดินเท้าไปยังภูมิภาคต่างๆ เพื่อขอร้องให้ชาวอินเดียหันมาสามัคคีกัน ชาวอินเดียเห็นเช่นนี้ก็รู้จักผิดชอบชั่วดี และเลิกทะเลาะกัน หันมาสามัคคีกันตามประสงค์ของท่านมหาตมะ
ต่อมาปี ค.ศ. 1947 พรรคคองเกรสและสันนิบาตมุสลิมได้มีการเจรจากัน และได้ข้อสรุปว่า เมื่อประเทศอินเดียได้รับเอกราช จะแบ่งประเทศออกเป็น 2 ส่วน โดยพรรคคองเกรสจะปกครอง พื้นที่ที่มีชาวฮินดูอาศัยเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นประเทศอินเดีย และสันนิบาตมุสลิมจะปกครอง พื้นที่ที่มีชาวมุสลิมอาศัยเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นประเทศปากีสถาน
จนในที่สุดวันที่15 สิงหาคม ค.ศ. 1947 ประเทศอินเดียได้ถูกปลดออกจากการเป็นอาณานิคมของอังกฤษ โดยสมบูรณ์ และในวันนั้นอินเดียก็แตกเป็น 2 ประเทศตามที่พรรคคองเกรสและมุสลิมได้ตกลงกันไว้ ทั้ง 2 ประเทศจัดงานฉลองอิสรภาพครั้งใหญ่ แต่มหาตมะ คานธีไม่ได้เข้าร่วมพิธีฉลองด้วย แต่ท่านกลับเดินทาง ไปยังกัลกัตตา เพราะได้ยินข่าวว่ามุสลิมและฮินดูยังมีการต่อสู้กันอยู่ เมื่อท่านเดินทางไปถึง ได้ขอร้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายหยุดต่อสู้กัน แต่ไม่เป็นผล ท่านจึงประกาศอดอาหาร ทำให้ชาวมุสลิมและชาวฮินดูเลิกสู้กันทันที และด้วยความต้องการที่อยากจะให้ชาวฮินดูและมุสลิมปรองดองกัน ท่านจึงต้องการไปปากีสถาน แต่สันนิบาตมุสลิมคัดค้านการเข้าปากีสถานของท่าน เพราะเกรงจะเกิดอันตราย ท่านจึงประกาศอดอาหารอีกครั้งเพื่อสมานฉันท์ระหว่างมุสลิมและฮินดู
และในวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1948 ขณะที่ท่านสวดมนต์ ตามปกตินั้น ท่านถูกลอบสังหารโดย นาถูราม โคทเส ชาวฮินดูผู้คลั่งศาสนา ผู้ที่ไม่ต้องการให้ฮินดูสมานฉันท์ กับมุสลิม เขายิงปืนใส่มหาตมะ คานธี 3 นัด ทำให้ท่านเสียชีวิตด้วยวัย 78 ปี
แม้ว่ามหาตมะ คานธี จะไม่อยู่บนโลกใบนี้แล้วแต่ความเสียสละและความมีจิตใจมุ่งมั่นของท่านนั้นไม่ได้ลบเลื่อนหายไปจากโลกใบนี้ไปกับท่านด้วย ทุกคนยังจดจำและยกย่องมหาตมะ คานธี ให้เป็นบุคคลสำคัญของประวัติศาสตร์โลก อีกทั้งยังมีอีกหลายคนที่ยังจดจำแนวทางคำสอนของมหาตมะ คานธี และสามารถนำแนวทางนี้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตได้ดีอีกด้วย
อ้างอิง
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม. มหาตมา คานธี บิดาแห่งประชาชาติ ของอินเดีย. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2559, จาก: http://www.techcare.co.th/demo_school/view.php?userid=social&id=LR531000000041
วิกิพีเดีย สาราณุกรมเสรี. มหาตมา คานธี. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 1 กันยายน 2559, จาก: https://th.wikipedia.org/
สไลด์ แชร์. 2558. ชีวประวัติ มหาตมา คานธี. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2559, จาก: http://www.slideshare.net/apichat1828/ss-46363426
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น