ยุทธการบาร์บารอสซา (Operation Barbarossa)

โดย ธีรวัฒน์ วงศ์ขัน

ในปัจจุบันมีเกมและภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับสงครามถูกผลิตออกสู่ท้องตลาดมากมาย ทำให้มีผู้ที่ชื่นชอบและสนใจในสงครามเหล่านี้เป็นจำนวนมาก สงครามที่รู้จักกันอย่างดีก็คงไม่พ้นเรื่องราวในช่วงสงครามโลก เป็นช่วงที่โลกได้มีทั้งการสูญเสียและเกิดวิทยาการใหม่ๆมากมาย  หนึ่งในสงครามที่ได้เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกนั้นก็คือ การบุกโจมตีของนาซีเพื่อพิชิตสหภาพโซเวียตทางภาคพื้นยุโรปทั้งหมด สงครามที่เป็นจุดเริ่มต้นของการกำเนิดมือสังหารอย่างสไนเปอร์ที่มีชื่อหลายคน สงครามที่ทำให้สองฝ่ายเสียหายอย่างใหญ่หลวง สงครามที่มีความโหดร้ายและกลยุทธการโต้ตอบกลับที่ไม่น่าเชื่อ ในชื่อของ ยุทธการบาร์บารอสซา

ยุทธการบาร์บารอสซา (Operation Barbarossa) เป็นหนึ่งในปฏิบัติการทางทหารที่ยิ่งใหญ่ที่สุด ทั้งทางด้านกำลังพล พื้นที่ปฏิบัติการและความสูญเสียที่เกิดขึ้น โดยจุดเริ่มต้นสงครามใหญ่นี้ระหว่างโซเวียตและนาซีนั้นเริ่มจากสนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอป  เป็นสนธิสัญญาไม่รุกรานกัน ทำให้นาซีเยอรมนีและสหภาพโซเวียตก็กลายเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญ โดยสหภาพโซเวียตช่วยให้เยอรมนีรอดจากการปิดล้อมทางทะเลของอังกฤษโดยส่งน้ำมันและวัตถุดิบต่างๆ ฝ่ายเยอรมนีก็ส่งมอบเทคโนโลยีทางการทหารให้กับสหภาพโซเวียต แต่ทั้งสองฝ่ายก็ยังคงไม่ไว้ใจกันจนเกิดเกิดข้อพิพาทที่ขัดแย้งกันขึ้นในยุโรปตะวันออกจนเกิดสงครามในที่สุด


ที่มา ; http://www.bloggang.com/

นาซีได้เริ่มโจมตีสหภาพโซเวียตในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2484 กองกำลังเยอรมันบุกโจมตีในช่วงเช้าจากทางทิศตะวันออก หลังจากที่ฝ่ายสหภาพโซเวียตรู้ข่าวก็ได้สั่งให้ทหารตามชายแดนเตรียมพร้อมรับ แต่ การขาดแคลนวิทยุสื่อสาร ส่งผลให้คำสั่งจำนวนมากของกองบัญชาการโซเวียตมาถึงไม่ทันทำให้ไม่มีทหารสักหน่วยทีสามรถรับมือได้ ทันทำให้พ่ายแพ้ต่อนาซีเยอรมนี

ความผิดพลาดของโซเวียตในช่วงไม่กี่สัปดาห์แรกของการรบทำให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงกับโซเวียต ความผิดพลาดนอกจากเรื่องการสื่อสารแล้วยังมีความผิพลาดจากการวางแผนรบด้วย เช่น จากที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าสามารถจัดการกับกองทัพรถถังแพนเซอร์ได้อย่างสบายแต่กลับถูกดักโจมตีและถูกทำลายโดยเครื่องบินทิ้งระเบิดของเยอรมนี รถถังโซเวียตที่ขาดดูแลพลขับที่ไร้ประสบการณ์ การขาดแคลนชิ้นส่วน อะไหล่ การไม่ได้ขุดสนามเพลาะ ทำให้กองกำลังทหารราบของโซเวียตขาดทั้งรถถังและการสนับสนุนที่ไม่เพียงพอ ไม่สามารถรบกับกองทัพเยอรมันโดยใช้กลยุทธกระจายกำลังที่จำเป็นต้องใช้รถถังได้


ที่มา : http://my.dek-d.com/bung/

ช่วงที่กองกำลังเยอรมันมาถึงชานเมืองของกรุงมอสโก ฤดูหนาวฤดูหนาวรัสเซียก็เริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม ดินโคลนที่เกิดขึ้นจากฝนตกในฤดูใบไม้ร่วง และหิมะที่เริ่มตกหนักในฤดูหนาวเป็นใจให้กับโซเวียตเริ่มใชการซุ่มโจมตีด้วยหน่วยสไนเปอร์หรือการซุ่มยิงโดยเฉพาะที่เลนินกราด  การส่งกำลังบำรุงกลายเป็นปัญหาใหญ่ของเยอรมนี เส้นทางขนส่งเสบียงที่ยาวและง่ายต่อการโจมตีของด้านหลัง อีกทั้งโซเวียตยังใช้ยุทธวิธีทุกอย่างในทุกดินแดนที่พวกเขาถูกบีบให้ถอนกำลังไปเพื่อไม่ให้กองทัพเยอรมันสามารถใช้ที่นา อาหาร เชื้อเพลิง และอาคารในดินแดนที่พวกเขายึดมาได้ทำให้การรุกคืบเข้ามาของกองทัพเยอรมันให้หยุดลง

ยุทธการบาร์บารอสซานั้นมาถึงตอนจบเมื่อกองทัพของนาซีเยอรมนีที่กำลังขาดแคลนเสบียงและถูกล้อมที่หน้าพระราชวังเครมลิโดยกำลังเสริมขนาดใหญ่ของสตาลินจากไซบีเรีย  ฝ่ายเยอรมนีจึงต้องยอมพ่ายแพ้ไปในที่สุด ศึกแห่งมอสโกนี้ส่งผลให้ฝ่ายโซเวียตได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาด


ที่มา : http://www.oknation.net/

ผลสุดท้ายของยุทธการบาร์บารอสซานั้น แม้ฝ่ายเยอรมนีได้สร้างความเสียหายให้กับโซเวียตในอย่างมหาศาล แต่ฝ่ายเยอรมันก็ไม่ได้ต่างจากฝ่ายโซเวียตมากนัก ทุกดินแดนที่เยอรมนียึดมาได้ล้วนแข็งข้อต่อเยอรมนี จากอัตราการก่อกวนกองกำลังเยอรมันที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งทำให้เยอรมนีลงโทษกลับอย่างโหดเหี้ยม ต่อมากองกำลังเยอรมันยังคงยันยื้อต่อกองกำลังตอบโต้ของโซเวียตอย่างเท่าที่จะเป็นไปได้ ส่งผลให้เกิดผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมากในทั้งสองฝ่ายจากการรบหลายต่อหลายครั้ง


อ้างอิง

ยุทธการบาร์บารอสซา. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2559, จาก http://student.st.ac.th/decreasemmrdota2/barbarossa.html

สนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอป. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2559, จาก https://sites.google.com/site/worldwarll19391945/yurop

สมรภูมิที่ สตาลินกราด. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2559, จาก http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=vuw&date=12-07-2009&group=5&gblog=18


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น