ในการปฏิวัติรัสเซียในช่วงของเดือนตุลาคม ค.ศ. 1917 เกิดขึ้นจาก”พรรคบอลเชวิค”และเหล่าชนชั้นแรงงานโซเวียตเข้าล้มล้างการปกครองของรัฐบาลเฉพาะกาล ณ กรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ซึ่งเกิดจากการแสดงความไม่พอใจในราคาสินค้า ความอดอยาก และการขาดแคลนอาหาร จนรัฐบาลกษัตริย์ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะลาออก และทำให้เกิดการเลือกรัฐบาลใหม่ขึ้นมา แต่พรรคบอลเชวิคก็ทำการปฏิวัติยึดอำนาจบริหารประเทศไว้ได้ และเปลี่ยนแปลงการปกครองสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งประกาศให้ประเทศเป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต ถือได้ว่าการปฏิวัติครั้งสะเทือนโลก
พรรคบอลเชวิค (Bolsheviks) นั้นมีสมาชิกของกลุ่ม ๆ หนึ่งภายในพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย (Russian Social Democratic Labour Party) เป็นพรรคปฏิวัติลัทธิมากซ์ ได้ก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ.1903 โดยวลาดีมีร์ เลนิน (Vladimir Lanin) ผู้นำของกลุ่มลัทธิมากซ์นอกประเทศรัสเซีย เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีความเชื่อในความเป็นสากลของทุกชนชั้นคือทุกคนในสังคมมีความเท่าเทียมกัน ซึ่งได้ยึดถือหลักอำนาจเผด็จการพรรคเดียว
บอลเชวิค
สถานการณ์ของรัสเซียในช่วงนี้นั้นคือการที่พลเมืองไม่มีความมั่นใจในการปกครอง เนื่องมาจากการที่รัสเซียแพ้สงครามระหว่างรัสเซียกับญี่ปุ่น จึงทำให้มีการจัดการประชุมหาพรรคการเมืองในการปกครองประเทศ ซึ่งการประชุมในเดือนสิงหาคม 1904 ในที่ประชุมสมัชชาอัมสเตอร์ดัม ผู้แทนของบอลเชวิคได้เสนอ " ข้อมูลชี้แจงเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ภายในพรรคกรรมกรสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย " ซึ่งเลนินเป็นผู้อำนวยการร่างขึ้นในนั้นได้กล่าวถึงสาเหตุที่เลนินเห็นสมควรกำหนดให้สมาชิกพรรคต้องเข้าร่วมในองค์การจัดตั้งแห่งใดแห่งหนึ่ง ในระเบียบการของพรรคสังคมประชาธิปไตยเยอรมันไม่ได้เรียกร้องให้สมาชิกพรรคต้องเข้าร่วมการจัดตั้งแห่งใดแห่งหนึ่งของพรรค ดังนั้นจึงถูกลัทธิแก้มาคัดค้านลักษณะพรรคอย่างกว้างขวางทั้งนี้เป็นการเผยให้เห็นอย่างลึกซึ้ง "
ในปี 1904 เลนินได้เขียนบทความเรื่อง "ก้าวหนึ่งก้าว ถอยสองก้าว" บทหนึ่ง ทำการอธิบายหลักการจัดตั้งของพรรคการเมืองแบบใหม่อย่างรอบด้าน เนื้อหาสาระในนั้นเลนินเรียกร้องไม่ให้ชาวบอลเชวิคอ่อนข้อต่อแก่ชนชั้นนายทุนเหมือนที่นักสังคมนิยมรัสเซียทั้งหลาย ในที่ประชุมสมัชชาทั่วประเทศครั้งที่ 3 ของพรรคกรรมกรสังคมประชาธิปไตยรัสเซีย ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนเมษายนปี 1905 ร่างระเบียบการพรรคที่เลนินเป็นผู้เสนอก็ได้ผ่านที่ประชุมแต่ในระหว่างนั้นยังไม่ได้มีพรรคใดได้ปกครองประเทศ จึงปกครองด้วยการใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ต่อมามีการปฏิวัติในค.ศ.1917 มีสาเหตุจากสูญเสียอย่างยิ่งใหญ่ ทั้งทหารและชาวรัสเซียนับล้านจากการตัดสินใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ของซาร์นิโคลัสที่ 2 แห่งรัสเซีย จึงเกิดการปฏิวัติล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 และได้มีการจัดตั้งคณะรัฐบาลเฉพาะกิจเคอเรนสกีขึ้นบริหารประเทศ
ต่อมาในเดือนตุลาคม เกิดการปฏิวัติจากชนชั้นแรงงาน ทหาร เหล่าสมาชิกบอลเชวิคได้เดินขบวนต่อต้านรัฐบาลแสดงถึงความไม่พอใจในการทำงานของรัฐบาลเฉพาะกาลที่ทำให้เกิดความอดยากในประเทศชาติ ทำให้รัฐบาลเฉพาะกาลจับกุมสมาชิกพรรคบอลเชวิคและสั่งให้เป็นพรรคที่ผิดกฎหมาย เป็นเหตุให้เลนินต้องหนีไปลี้ภัยที่อย่างเร่งด่วน ทำให้เลนินตัดสินใจในการปฏิวัติ รัฐบาลเฉพาะกาลด้วยการลุกขึ้นสู้ด้วยอาวุธ ในช่วงนั้นเขาได้ตีพิมพ์บทนิพนธ์เรื่อง “รัฐและการปฏิวัติ” ชูประเด็นรัฐบาลที่จัดตั้งโดยโซเวียต (ซึ่งเลือกตั้งมาจากสภาของคนงาน ทหาร ชาวนา) เป็นองค์กรหลัก คำขวัญ “อำนาจทั้งปวงเป็นของโซเวียต” นิพนธิ์เดือนเมษายนของเลนินเริ่มได้รับความเชื่อมั่นมากขึ้น มากกว่าแนวทางของรัฐบาลเฉพาะกาลที่หมดคุณค่าลงไปในสายตาของสาธารณะชน
การปฏิวัติรัสเซียในช่วงของเดือนตุลาคม ค.ศ. 1917
ในขณะที่มวลชนเคลื่อนไหวบดขยี้กบฏคอร์นิลอฟ สมาชิกชาวบอลเชวิคก็ไม่ได้หยุดการคัดค้านรัฐบาลชั่วคราวของเคอเรนสกี พวกเมนเชวิค และพรรคสังคมนิยม ได้ปฏิวัติต่อหน้ามวลชนชี้ให้เห็นว่านโยบายของพวกเขาทั้งหมดล้วนเป็นการต่อต้านการปฏิวัติของคอร์นิลอฟ
มาตรการทั้งหลายส่งผลให้กบฏคอร์นิลอฟต้องพ่ายแพ้ไป นายพลครีมอฟฆ่าตัวตาย คอร์นิลอฟและผู้สมรู้ร่วมคิดคนอื่นๆเช่น เดนิกิน และลูคอมสกี ถูกจับกุม ความพ่ายแพ้ของกบฏคอร์นิลอฟแสดงออกอย่างชัดแจ้งถึงความเข้มแข็งของขบวนการปฏิวัติและปฏิปักษ์ปฏิวัติ เป็นการแสดงให้เห็นว่ามวลชนไม่อาจอดทนกับนโยบายทำสงครามและความวุ่นวายหายนะทางเศรษฐกิจที่มีสาเหตุมาจากการทำสงครามที่ไม่รู้จักจบสิ้น จากการพิชิตกบฎคอร์นิ
หลังจากเหตุการณ์นี้ทำให้พรรคบอลเชวิคเติบใหญ่ขึ้นจนมีลักษณะชี้ขาดในการปฏิวัติและสามารถทลายความพยายามใดๆที่พวกปฏิปักษ์ปฏิวัติจะสกัดกั้นการเติบใหญ่นี้ลงไปได้ และเหตุการณ์กบฏคอร์นิลอฟ พรรคบอลเชวิคได้แสดงถึงพลังที่แท้จริงในการบริหารจัดการเรื่องราวต่างๆได้เป็นอย่างดี บรรดากรรมกรและทหารต่างยอมรับคำชี้แนะของพรรคไปปฏิบัติการอย่างไม่ลังเล ต่อมาทำการบริหารประเทศและได้สถาปนารัสเซียเป็นประเทศสังคมนิยมประเทศแรกของโลกและต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นสหภาพโซเวียต
อ้างอิง
การก่อตั้งพรรคบอลเชวิค. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2561, จาก: http://pumalone.blogspot.com/2012/11/blog-post_2370.html
บอลเชวิค พรรคการเมืองผู้ปฏิวัติรัสเซีย. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2561, จาก: https://www.dek-d.com/board/view/927823/
พันเอก ศนิโรจน์ ธรรมยศ. (2553). เลนิน วีรบุรุษแห่งการปฏิวัติหรือนักล่าฝันแห่งเครมลิน. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2561, จาก: https://www.bloggang.com/mainblog.php?id=vuw&month=09-09-2010&group=4&gblog=17
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2561). การปฏิวัติรัสเซีย. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2561, จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/(การปฏิวัติรัสเซีย)
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2561). บอลเชวิก. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2561, จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/(บอลเชวิก)
เลนิน บนเส้นทางปฏิวัติ. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กันยายน 2561, จาก: http://45history.blogspot.com/2015/04/14.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น