ราฟาเอล (Raphael)

โดย กนกวรรณ โพธิ์ไทร

ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ผู้ที่ถือได้ว่าเป็นจิตรกรชาวอิตาลีที่มีอาวุโสน้อยที่สุดในบรรดาจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่ ผู้นั้นคือ ราฟาเอล โดยมีนามเต็มว่า “ราฟาเอลโล ซันซิโอ” (Raffaello Sanzio)

อ่านเพิ่มเติม »

เออแฌน เดอลาครัวซ์ (Eugene Delacroix)


โดย สุพพัตรา สมานสิทธิ์
       
หากกล่าวถึงการดำเนินชีวิตของคนในสังคม ไม่ว่าจะอยู่ในชนชั้นใดหรือมีฐานะดีหรือไม่ ต่างก็ต้องการความบันเทิงทั้งทางตาและจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นการชื่นชมผลงานรูปภาพหรือการฟังเพลงเพื่อให้มีความผ่อนคลายลงจากการทำงานทั้งสิ้น

อ่านเพิ่มเติม »

คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส (Christopher Columbus)

 โดย ปกครอง มีสมบัติเลิศ

แต่โบราณกาลเป็นต้นมามนุษย์ไม่รู้จักทวีปอเมริกาและออสเตรเลียเลย ในแผนที่ของสมัยนั้นไม่มีสองทวีปนี้ปรากฏอยู่ นอกจากนั้นแล้วยังมีความเชื่อว่าโลกของเรามีลักษณะแบน หากล่องเรือออกไปไกลจะตกขอบโลก จนกระทั้งราวคริสต์ศตวรรษที่ 15 - 17 เป็นยุคที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเป็นยุคแห่งการค้นหา การสำรวจ ชาวยุโรปต่างออกเดินทางสำรวจทะเล เพื่อหาคู่ค้าขายใหม่ โดยเฉพาะเพื่อการแสวงหาสินค้าสนองความต้องการของตลาด มีการแสวงหาเส้นทางใหม่ไปยังเอเชีย

อ่านเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II)

โดย นราธร เชาวนะกิจ

โลกภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งได้เกิดความอลหม่านวุ่นวายขึ้น ทั่วทวีปยุโรปเกิดสภาวะปัญหาเศรษฐกิจล่มผู้คนอดอยากอาหารเกิดอาชญากรรมขึ้นมากมาย ฝั่งโลกตะวันออกในเอเชีย จักรวรรดิญี่ปุ่นได้ทำการแผ่ขยายอิทธิพลเข้าครอบคลุมเอเชียและออสเตรเลียด้วยหวังที่จะสร้างพงศ์ไพบูลย์แห่งเอเชียหรือการรวมชาติเอเชียไว้ด้วยกัน

อ่านเพิ่มเติม »

ระเบิดนิวเคลียร์ (nuclear bomb)

โดย เธียรพงศ์ พั่วพันธ์ศรี

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองเป็นสงครามที่ทำให้สูญเสียทุกๆอย่างของประเทศที่เข้าร่วมสงคราม โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งพ่ายแพ้ในสงครามเนื่องจากโดนระเบิดนิวเคลียร์เพียง 2 ลูก ทำให้คนรู้จักระเบิดนิวเคลียร์ในฐานะที่เป็นระเบิดที่มีพลังทำลายล้างสูง

อ่านเพิ่มเติม »

ศิลปะเรียลลิสม์ (Realism)

โดย โสมนัส ไชยา

ศิลปะเรียลลิสม์เกิดขึ้นประมาณกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 (ค.ศ. 1850-1880) มีจุดเริ่มต้นในประเทศฝรั่งเศส โดยกลุ่มศิลปินชาวฝรั่งเศสกลุ่มหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการทํางานของกลุ่ม "นีโอ-คลาสสิคอิสม์" (คลาสสิคใหม่ คือความเคลื่อนไหวทางศิลปะซึ่งมีสุนทรียภาพแบบกรีกและโรมัน) และ "กลุ่มโรแมนติกอิสม์" (จินตนิยม) ที่ยึดถือประเพณีหรือตัวตนเป็นหลัก หรือแสดงความคิดฝันเอาตามใจตนเอง ศิลปินเรียลลิสม์เห็นว่าศิลปะทั้งสองไม่ได้แสดงความกลมกลืนของชีวิต ยังคงลักษณะความเป็นอุดมคติอยู่ หาใช่ความจริงไม่

อ่านเพิ่มเติม »

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ - ระยะคลาสสิก

โดย พัชรี หงษ์ทอง

อิตาลีในสมัยยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในระหว่างคริสศตวรรษที่ 14 หรือช่วงยุคเรเนสซองส์นั้น วัฒนธรรมในช่วงนี้ได้แตกต่างจากช่วงยุคกลาง คือเกิดค่านิยมตามหลักการนุษยนิยม ควบคู่ไปกับการฟื้นฟูศิลปวิทยา ค่านิยมใหม่นี้เริ่มต้นและแพร่หลายไปรวดเร็วทั่วยุโรปเนื่องจากมีการคิดประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ ทำให้ความรู้แพร่กระจายออกไปได้อย่างรวดเร็ว โดยยุคฟื้นฟูศิลปวิทยานี้แบ่งได้เป็น 3 ระยะคือ ระยะคลาสสิค ระยะมนุษยนิยม และระยะศาสนา บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับระยะคลาสสิค หรือ ระยะที่ย้อนกลับไปสู่กรุงโรมที่มีความหลากหลายทางด้านศิลปะมากมาย

อ่านเพิ่มเติม »

การปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolution)

โดย ธิดาแก้ว วงศ์โยธา

เนื่องจากสังคมโลกในยุคสมัยใหม่เป็นสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาในด้านต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ฯลฯ ผลที่เกิดจากการที่โลกได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่มาหลายต่อหลายครั้ง เช่น การปฏิวัติอุตสาหก รรม ซึ่งได้สร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ส่งผลกระทบถึงรูปแบบของการผลิตเพื่อเศรษฐกิจของโลก และการปฏิวัติทางสังคมในหลายประเทศ แต่สำหรับการปฏิวัติทางสังคมที่นับได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด นองเลือดที่สุด ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าทางการเมืองทั่วยุโรป พลิกยุโรปให้ก้าวสู่ยุคใหม่ ได้แก่ การปฏิวัติฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1789

อ่านเพิ่มเติม »

วิลเลียม เชกสเปียร์ ( William Shakespeare)


โดย สุภามาศ ปาลศรี

วิลเลียม เชกสเปียร์ อัจฉริยะกวีและนักเขียนบทละครผู้โด่งดัง ได้รับยกย่องทั่วไปว่าเป็นนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่ของอังกฤษและของโลกมักเรียกขานกันว่าเขาเป็นกวีแห่งชาติของอังกฤษ และ "Bard of Avon" (กวีแห่งเอวอน)

อ่านเพิ่มเติม »

องค์การสหประชาชาติ (The United Nations)

โดย สเมียร์ นาดี

เพราะความไร้ประสิทธิภาพของ องค์การสันนิบาติชาติ จึงทำให้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ในเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตาม จากเหตุกาณ์ความสูญเสียครั้งนี้จึงได้มีการจัดตั้งองค์การสหประชาชาติจึงได้ก่อกำเนิดขี้นในปี ค.ศ 1943

อ่านเพิ่มเติม »

ไมเคิลแองเจโล (Michelangelo)

โดย กิตติคุณ สุทธิวงศ์

ในบรรดาศิลปินชั้นนำของโลกจะมีซักกี่คนที่เข้าถึงศาสตร์นั้นๆได้อย่างแท้จริงเท่า ไมเคิลแองเจโล คือหนึ่งในศิลปินที่สามารถเข้าถึงศิลปะได้หลายๆศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น จิตรกร สถาปนิก และประติมากร ที่ได้สร้างผลงานที่สวยงาม และมีมิติไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชมความสวยงามของศิลปกรรม

อ่านเพิ่มเติม »

ศิลปกรรมบารอคและรอคโคโค

โดย รสสุคนธ์ น้อยพรหม

ศิลปกรรมบาโรค และรอคโคโค เป็นศิลปกรรมที่เกิดขึ้นในยุคสมัยใหม่ เป็นศิลปะที่พัฒนามาจากศิลปะแบบอื่น แต่ศิลปะทั้งสองแบบนี้ก็มีความเด่นเฉพาะของตน และความแตกต่างกันอย่างเป็นเอกลักษณ์

อ่านเพิ่มเติม »

นิโคลัส โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus)

โดย กุลธิดา หมุนสุข

นิโคลัส โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus) เป็นชาวโปแลนด์ เกิดเมื่อ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1473 เป็นทั้งนายแพทย์ นักคณิตศาสตร์ และนักดาราศาสตร์ผู้บุกเบิกแนวทางให้กับนักดาราศาสตร์ในรุ่นต่อมาอย่างกาลิเลโอและถือได้ว่าโคเปอร์นิคัสเป็นนักดาราศาสตร์คนแรกที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า ดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของสุริยจักรวาลและโลกมีสัณฐานเป็นทรงกลม นอกจากนี้เขายังได้ตั้งทฤษฎีเพื่ออธิบายเกี่ยวกับฤดูกาล กลางวันและกลางคืนได้อย่างถูกต้องอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม »

นิกโกโล มาเคียเวลลี (Niccolo Machiavelli)

โดย พงษ์พัฒน์ วันคำ

บรรดานักรัฐศาสตร์ทั้งหลายไม่มีใครไม่รู้จัก มาเคียเวลลี ขึ้นอยู่กับว่าจะมีมุมมองเห็นด้วย หรือเห็นต่างจากเขาอย่างไรเท่านั้นเอง เพราะมาเคียเวลลีได้เสนอทฤษฎีทางปกครองอันลือลั่นไว้ในหนังสือซึ่งเป็นผลงานของเขา ชื่อ The Prince จนเป็นที่กล่าวถึงไปทั่วโลกตราบจนบัดนี้

อ่านเพิ่มเติม »

พระกระยาหารมื้อสุดท้าย (The Last Supper)

โดย สุภัสสร คำดี

หลังจากสงครามครูเสดอันยาวนานกว่า 300 ปี ต่อมาโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ คือการฟื้นฟูศิลปะกรีกและโรมันพร้อมกับการพัฒนาความคิด สร้างและคิดค้นสิ่งใหม่ๆขึ้นมา เป็นยุคแห่งการแสวงหาความเป็นอิสรเสรีทางความคิดและความคิดอันไร้ขอบเขต

อ่านเพิ่มเติม »

สงครามโลกครั้งที่ 1 (World War I)

โดย กุลวัฒน์ วงศาโรจน์

สงครามโลกครั้งที่ 1 ถือว่าเป็นสงครามที่แย่งชิงความเป็นใหญ่และแข่งขันกันในการแสวงหาผลประโยชน์ของชาติมหาอำนาจในยุโรป จนมีการแบ่งมหาอำนาจเป็นสองฝ่าย ซึ่งต่างฝ่ายต่างแข่งขันกันในด้านการดำเนินนโยบายทางการทูตและทางการทหาร จนก่อให้เกิดสงคราม ซึ่งกินระยะเวลาที่ยาวนานและเกิดผลกระทบที่ตามมาหลายอย่าง

อ่านเพิ่มเติม »

ศิลปะแบบโรแมนติก หรือ จินตนิยม (Romanticism)

โดย ชาลิสา กุลชุติสิน

เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงแนวคิดต่างๆ ซึ่งเป็นผลมาจากสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) ทำให้ผู้คนในยุโรปมีความคิดที่สร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น เมื่อเข้าสู่สมัยใหม่จึงเกิดศิลปะซึ่งมีความโดดเด่น สวยงาม และมีความเป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันมากมาย

อ่านเพิ่มเติม »

ศิลปะแบบคิวบิส (Cubism)

โดย ณิชาภัทร  ตินทุกะสิริ

ศิลปะแบบคิวบิส เป็นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางศิลปะแบบเก่าอย่างสิ้นเชิง โดยไม่ได้เน้นการแสดงออกถึงความรู้สึกของศิลปินหรือค่อนข้างที่จะหลุดออกไปจากชีวิตประจำวัน เหมือนอย่างที่ศิลปะแบบอิมเพรสชั่นนิส เคยทำมา

อ่านเพิ่มเติม »

ศิลปกรรมลัทธินีโอ – อิมเพลสชั่นนิสม์ (Neo- Impressionism)

โดย พชรพรรณ ประเสริฐศรี

ในการเขียนงานจิตรกรรมในยุคสมัยใหม่ มีวิธีการเขียนที่หลากหลาย แต่ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดจากการเขียนจิตรกรรมในแบบนีโอ-อิมเพลสชั่นนิสม์ คือ จิตรกรรมในลักษณะนี้ใช้เพียงปลายพู่กัน!!!

อ่านเพิ่มเติม »

ยูโทเปีย (Utopia) แนวคิดโลกในอุดมคติของ โทมัส มอร์ (Thomas More)

โดย จุลลดา  สีน้อยขาว

ผู้คนมากมายใฝ่ฝันถึงสังคมที่สมบูรณ์แบบ ยิ่งกับสถานการณ์บ้านเมืองที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย แตกแยกคงปฏิเสธไม่ได้ว่า ยูโทเปีย จึงเป็นคำตอบที่ชัดเจนและตอบโจทย์ยิ่งสำหรับพวกเขา กระนั้นหากขึ้นชื่อว่าเป็นสังคมในอุดมคติก็ย่อมไม่เคยมีมันอยู่จริง ยูโทเปียเป็นเพียงเมืองในจินตนาการ เสมือนเป็นแบบแผนชีวิตในสังคมอันสวยงามที่ไร้ความขัดแย้ง คนในสังคมมีความคิดไปไหนทิศทางเดียวกันอีกทั้งยังใช้ชีวิตอย่างสงบสุข โดยเจ้าของแนวคิดนี้ก็คือ โทมัส มอร์ ซึ่งเป็นทั้งนักเขียน นักกฎหมาย นักปรัชญาสังคม รัฐบุรุษ และนักมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา มีชีวิตอยู่ในช่วง ค.ศ. 1477 -1535 (รวมอายุ 58 ปี) เคยได้รับราชการในตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีของพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8

อ่านเพิ่มเติม »

ศิลปะแบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classic)

โดย ธันยวัฒน์ แพรวงศ์นุกูล

ศิลปะแบบนีโอคลาสสิก (Neo-Classic)  เป็นรูปแบบศิลปะที่ได้รับอิทธิพลมาจากการที่ชาวฝรั่งเศสเกิดการต่อต้านระบบฟิวดัล หรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism)  ที่แบ่งชนชั้น  จากปัญหาทางการเมืองดังกล่าว เป็นสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้ชาวยุโรปกลับมาสนใจในศิลปะแบบคลาสสิกอีกครั้งหนึ่ง

อ่านเพิ่มเติม »

มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ (Basilica of Saint Peter)

โดย นายพิสิฐ คราวะพงษ์

มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์เป็นมหาวิหารที่มีขนาดใหญ่โตโอ่อ่า สวยงามตระการตาเต็มไปด้วยผลงานศิลปะชิ้นเยี่ยมมากมาย และท่ามกลางความงดงามและความยิ่งใหญ่ของมหาวิหารแห่งนี้ก็แฝงไปด้วยประวัติศาสตร์และเรื่องราวที่มีคุณค่าสำคัญทางศาสนาในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

อ่านเพิ่มเติม »

วรรณกรรมในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ

โดย ชลิตา บวรบุญ

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในทวีปยุโรป ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของวัฒนธรรมยุคใหม่ สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาเป็นการเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ถึง 17 การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ วรรณกรรมในยุโรปตะวันตกมีผลงานที่เขียนด้วยภาษาท้องถิ่นและสะท้อนความคิดด้านมนุษยนิยมอย่างแพร่หลายเนื่องจากมีเครื่องแท่นพิมพ์หนังสือ ที่สามารถพิมพ์หนังสือได้จำนวนมากในเวลารวดเร็ว นอกจากการพิมพ์จะเป็นการเผยแพร่แนวคิดแบบมนุษย์นิยมแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้เกิดการผลิตผลงานวรรณกรรมของนักวิชาการ และกวีในสังคมยุโรปอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม »

ศิลปะไบแซนไทน์ (Byzantine Art)

โดย รณยุทธ โสภณ

ศิลปะไบแซนไทน์ (Byzantine Art) ถือได้ว่าเป็นศิลปะที่มีเอกลักษณ์อันโดนเด่นซึ่งเป็นงานศิลปะในด้านศาสนา ที่เชื่อมโยงความคิดและลักษณะศิลปะตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกัน เป็นศิลปะของรัฐที่นับถือนิกายอีสเติร์นออร์โธด็อกซ์  มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล  ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นอิสตันบูล  โดยทั่วไปลักษณะศิลปะไบเเซนไทน์จะมีลักษณะใหญ่โตเข้มแข็ง และมีการตกแต่งประดับประดาด้วยการใช้พื้นผิวของวัสดุหลาย ๆ อย่าง

อ่านเพิ่มเติม »

การรุกรานของชาวฮั่นในยุโรป

โดย วัชรากร คำสระคู

ชนชาวฮั่นส์ เป็นคนลึกลับและน่ากลัว ได้มาถึงชายเขตแดนของอาณาจักรโรมันในปลายศตวรรษที่สี่ เป็นผู้ขับขี่ม้าสู้รบออกจากที่ราบกว้างใหญ่ของเอเชีย ที่นำไปสู่การพ่ายแพ้ของชาวยุโรป

อ่านเพิ่มเติม »

จักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire)

โดย ศุภฤกษ์ พวงจำปา

ไบเซ็นไทน์เดิมเป็นดินแดนอาณานิคมของกรีก เรียกกันว่า ไบเซส ( Byzas) ต่อมาเมื่อ ค.ศ.330 จักรพรรดิคอนสแตนตินได้ใช้เป็นฐานอำนาจสำรองของกรุงโรม ในช่วงสุดท้ายของจักรวรรดิโรมัน เมืองไบแซนไทน์จึงเป็นเมืองหลวงโดยสมบูรณ์ของอาณาจักรโรมันตะวันออก สืบทอดอารรยธรรมกรีก-โรมันโบราณ ภาษาราชการใช้ภาษาละตินเป็นหลัก เมืองหลวงแห่งนี้มีชื่อว่า คอนสแตนติโนเปิล (The City of Constantine) เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ จักรพรรดิคอนสแตนติโนเปิล

อ่านเพิ่มเติม »

ศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque art)

โดย กิตติมา สุรพงษ์พิวัฒนะ

ศิลปะโรมาเนสก์เป็นหนึ่งในศิลปะของโรมันยุคกลางที่นับว่ามีเอกลักษณ์ในด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม เป็นอย่างมาก โดยจะเห็นได้ดังคำอธิบายต่อไปนี้

อ่านเพิ่มเติม »

จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 (Constantine I)

โดย จารุวัฒน์ จันทะวงศ์

จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 เป็นจักรพรรดิโรมันคนแรกที่ประกาศตัวเป็นคริสเตียน พระองค์ทำให้ศาสนาที่เมื่อก่อนเคยถูกต่อต้านได้กลายเป็น “สิ่งที่มีอิทธิพลต่อสังคมและการเมืองมากที่สุด” เท่าที่เคยมีมา และส่งผลต่อประวัติศาสตร์โลก

อ่านเพิ่มเติม »

หอเอนเมืองปิซ่า (Leaning Tower of Pisa)

โดย อรปรียา กัญญาภู

หอเอนปิซ่า 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลาง เป็นมรดกโลกที่หลายคนรู้จักดีและเป็นที่น่าสนใจสำหรับหลายๆคน และมีคำถามตามมาว่า “หอเอนแต่ทำไมไม่ล้ม?” ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องที่อัศจรรย์และน่าค้นหาสำหรับสิ่งมหัศจรรย์นี้ว่าเพราะเหตุใด? และเป็นความผิดพลาดหรือตั้งใจอย่างไร?

อ่านเพิ่มเติม »

ศิลปะโกธิค (Gothic Art)

โดย ภัทรนิศวร์ จันทราธนสิทธิ์

ศิลปะโกธิคเป็นศิลปะที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12-15 สะท้อนถึงอิทธิพลของคริสต์ศาสนา มีศูนย์กลางที่ฝรั่งเศสและแพร่หลายไปยังประเทศอื่นๆ และมีลักษณะตามภูมิภาคนั้นๆ ด้วย

อ่านเพิ่มเติม »

ระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) ในยุโรปสมัยกลาง

โดย ธีร์วรา วีรวุฒิไกร

ในยุคกลางบ้านเมืองเกิดความเสื่อมโทรม กษัตริย์ได้ทรงแต่งตั้งขุนนางให้มีหน้าที่ดูแลประชาชน โดยขุนนางได้ใช้อำนาจที่ได้รับจากการแต่งตั้งของกษัตริย์ จึงทำให้เกิดระบบฟิวดัลขึ้น

อ่านเพิ่มเติม »

การรุกรานของชาวแฟรงก์ (Franks) ในยุโรปตะวันตก

โดย ปุญญิศา กาญจนศร

หลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน ทำให้ยุโรปตะวันตกขาดความมั่นคงในประเทศ ไม่มีรัฐบาลหรือกองกำลังแห่งชาติ ชนเผ่าต่างๆ ต้องต่อสู้เพื่อแย่งชิงดินแดน และชนเผ่าแฟรงก์หรือแฟรงกีชก็ได้เข้ามาครอบครองพื้นที่ส่วนใหญ่ในยุโรป

อ่านเพิ่มเติม »

โบสถ์ เซนต์ มาร์โคนี หรือ มหาวิหารซันมาร์โก (San Marco)

โดย กุลธิดา หมุนสุข

สถาปัตยกรรมของไบแซนไทน์นั้นมีลักษณะพิเศษคือ มีการสร้างโดมที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่ เพื่อช่วยรับน้ำหนักสิ่งก่อสร้าง โบสถ์เซนต์มาร์โคนีหรือมหาวิหารซันมาร์โก นับว่าเป็นสถาปัตยกรรมสำคัญที่แสดงให้เห็นลักษณะโดดเด่นตามแบบของศิลปะไบแซนไทน์ได้อย่างชัดเจน

อ่านเพิ่มเติม »

บทบาทของสตรีในยุคกลาง

โดย ณัฐภัทร สุขวิสูตร

ในสมัยกลางกล่าวได้ว่าเป็น อู่อารยธรรมของยุโรป เพราะมีความก้าวหน้าด้านศิลปวิทยาการต่างๆ มากมายที่เป็นพื้นฐานให้กับยุโรปในปัจจุบัน ขณะเดียวกันก็มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและโครงสร้างทางสังคมมากมายเกิดขึ้น โดยเฉพาะบทบาทของสตรีในสังคม

อ่านเพิ่มเติม »

ความหมายของ ยุคมืด (Dark Age)

โดย สุภารัตน์ ราชวัง

ในส่วนของประวัติศาสตร์สมัยกลางนั้น ได้มีเหตุการณ์ต่าง ๆ หรืออารยธรรมต่างๆ เกิดขึ้นและเสื่อมสูญไปมากมาย และเรื่องราวหนึ่งที่สำคัญในสมัยดังกล่วนี้คือ “ยุดมืด”

อ่านเพิ่มเติม »

มหาวิทยาลัยในยุคกลาง

โดย ศุภนิดา วัฒนานนท์

ไม่ว่าจะอยู่ในยุคปัจจุบันหรืออดีต การศึกษาก็ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นเละเป็นสิ่งสำคัญต่อมนุษย์ในทุกยุคทุกสมัย ยุโรปในสมัยกลางได้มีการสร้างมหาวิทยาลัยขึ้น เพื่อเป็นสถานที่ถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคคลในยุคนั้นได้เข้ามาศึกษาเล่าเรียน มหาวิทยาลัยจึงนับเป็นมรดกที่สำคัญของยุโรปในสมัยกลาง และเป็นผลิตผลโดยตรงของสังคมเมือง

อ่านเพิ่มเติม »

ที่มาของสงครามครูเสด (Crusedes)

โดย สุพิรญาณ์ พสิษฐ์ธุวานนท์

ในประวัติศาสตร์ของเรา มีสงครามที่เลวร้ายและรุนแรงเกิดขึ้นมากมายหลายครั้ง หนึ่งในสงครามครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์มนุษย์ก็คือ “สงครามครูเสด” (Crusedes)

อ่านเพิ่มเติม »

มหาวิหารฮาเจียโซเฟีย (Hagia Sophia)

โดย ภานุพงศ์ เกียรติผดุงพงศ์

หากกล่าวถึงสถาปัตยกรรมแบบไบแซนไทน์ในยุคกลาง มีสถานที่หนึ่งที่ต้องนึกถึง คือ มหาวิหารฮาเจียโซเฟีย มหาวิหารฮาเจียโซเฟียเป็นศาสนสถานที่มีชื่อเสียงที่สุดในคริสต์ศาสนานิกายกรีกออร์โธดอกซ์ถือเป็นสิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในยุคกลาง
อ่านเพิ่มเติม »

การป้องกันและรักษาโรคระบาดในยุคกลาง

โดย รัชนีกร เวียงวิเศษ

ในยุคกลางนั้นได้เกิดโรคระบาดขึ้นมากมายหลายโรค โดยเฉพาะโรคเรื้อนและกาฬโรคซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้จำนวนประชากรล้มตายและลดลงเป็นอย่างมาก  เหตุนี้จึงได้เกิดวิธีการในการรักษาและป้องกันการระบาดนี้

อ่านเพิ่มเติม »

การแต่งกายในสมัยกลางของยุโรป

โดย ชนกนันทร์ คงพิรุณ

สมัยกลางในโลกตะวันตกครอบคลุมเนื้อหาทั้งทางเวลาและภูมิภาคที่ยืนยาวกว่า 1000 ปีของประวัติศาสตร์ศิลปะ ซึ่งแบ่งแยกแตกต่างออกไปตามลักษณะภูมิภาคและสังคม และสิ่งที่แสดงลักษณะซึ่งเป็นเอกลักษณ์ในท้องถิ่นของตนเองที่ยังคงหลงเหลืออยู่ให้เห็น ก็ได้แก่ เครื่องแต่งกาย

อ่านเพิ่มเติม »

อัศวินเทมพลาร์ (Knights Templar)

โดย พชร สุภศักดิพัฒน์

อัศวินเทมพลาร์ (Knights Templar) หรือทหารผู้ยากแห่งพระคริสต์และพระวิหารแห่งโซโลมอนเป็นกลุ่มอัศวินคริสเตียนในสงครามครูเสดที่ มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุด ได้ชื่อว่าเป็นผู้ริเริ่มระบบธนาคารแต่มีมีจุดจบอันแสนเศร้าสลด

อ่านเพิ่มเติม »

ครูเสด (Crusade) สงครามแย่งชิงดินแดนศักดิ์สิทธิ์

โดย อติคุณ มูลป้อม

ในศตวรรษที่ 11-13  เกิดสงครามครั้งใหญ่ขึ้น คือ สงครามครูเสดซึ่งเป็นสงครามศาสนาระหว่างชาวคริสต์กับชาวมุสลิม โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะยึดครองนครเยรูซาเล็มอันเป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาคริสต์ซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ประเทศอิสราเอลหรือปาเลสไตน์

อ่านเพิ่มเติม »

"The Black Death" การระบาดครั้งใหญ่ของกาฬโรคในยุโรป

โดย กฤษวัชร์ เจริญกิจสุพัฒน์

สงคราม การต่อสู้ สามารถทำให้คนตายได้มากมาย แต่ก็มีอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้คนจำนวนมากตายได้เช่นกันคือ โรคระบาด ซึ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้เกี่ยวกับ “แบล็กเดท” (Black Death) เป็นโรคระบาดครั้งที่ก่อความเสียหายมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์ ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตประเมินไว้ราว 75 ถึง 200 ล้านคน และทวีความรุนแรงที่สุดในทวีปยุโรประหว่างปี 1348–1350

อ่านเพิ่มเติม »

แมนเนอร์ (The Manor) ระบบอุปถัมภ์และพึ่งพาตนเองแบบครบวงจร

โดย ภาณุุพงศ์ ช่างเกวียน

ระบบแมนเนอร์เป็นระบบการปกครองที่พึ่งพาตนเองเกิดในยุโรป ระบบนี้เป็นระบบที่น่าสนใจมาก เพราะเป็นระบบที่เป็นต้นแบบของการปกครองแบบย่อย คือในแมนเนอร์หนึ่งๆนั้นจะมี 4 ชนชั้นคอยควบคุมดูแลซึ่งกันและกัน

อ่านเพิ่มเติม »

ชนเผ่าแฟรงก์ (Frankish Tribes)

โดย ชฎารัตน์ อุ่นอบ

ในยุคของยุโรปสมัยกลางเมื่อ ค.ศ.476 เผ่าเยอรมันได้ปลดจักรพรรดิองค์สุดท้ายของโรมันตะวันตก หรือที่เรียกว่า โรม ถือเป็นการสิ้นสุดจักรวรรดิโรมัน ดินแดนยุโรปจึงได้แยกออกเป็นอาณาจักร ชนเผ่าต่าง ๆ จึงเกิดความวุ่นวายทางการเมือง เศรษฐกิจ จึงเกิดเป็นชนเผ่าต่างๆหลายชนเผ่า หนึ่งในนั้นคือชนเผ่าแฟรงก์

อ่านเพิ่มเติม »

มหาสงครามศาสนา ครูเสด (The Crusades)

โดย ศาศวรรษ พิมพิไสย

ในสมัยกลางนั้นได้เกิดสงครามศาสนาขึ้นคือ สงครามครูเสดเป็นสงครามระหว่างศาสนาคริสต์และอิสลามเพื่อแย่งชิงกรุงเยรูซาเล็มซึ่งเชื่อกันว่าเป็นดินแดนศักสิทธิ์โดยในสงครามนี้ทำให้เกิดวีรบุรุษขึ้นหลายคนและทำให้เกิดการค้าขายและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมขึ้น

อ่านเพิ่มเติม »

ยุคมืด (Dark Age)

โดย นราธร เชาวนะกิจ

อารยธรรมโลก อาจแบ่งออกได้เป็นสี่ยุคใหญ่ๆด้วยกันคือ ยุคโบราณ ยุคกลาง ยุคใหม่ และร่วมสมัย แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงอารยธรรมโลกในยุคกลางในช่วงหนึ่ง หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า “ยุคมืด”

อ่านเพิ่มเติม »

โค้งแหลม (Pointed arch) ตามแบบศิลปะโกธิค

โดย สุพพัตรา สมานสิทธิ์

หากกล่าวถึงมรดกทางอารยธรรมในอดีตที่ตกทอดมายังปัจจุบัน เราไม่สามารถปฏิเสธได้ว่า อารยธรรมที่มีในปัจจุบันนี้ เราไม่ได้รับอิทธิพลแนวคิดจากมรดกอารยธรรมในอดีต เพราะไม่ว่าจะเป็นงานศิลปะ จิตรกรรมหรือการสร้างสถาปัตยกรรมเองก็ตามล้วนแต่รับอิทธิพลจากอดีตทั้งสิ้นโดยอาจมีการเปลี่ยนแปลงและปรับรูปแบบให้เป็นไปตามวิถีชีวิตและสังคมหรือเหตุการณ์ในสมัยนั้นๆ

อ่านเพิ่มเติม »

ชนชั้นในตะวันตกยุคกลาง

โดย ปิยาภรณ์ เหล่าเกียรติชัย

ชนชั้นในตะวันตกยุคกลางนั้น กำเนิดขึ้นจากระบบฟิวดัน ระบบฟิวดันคือระบบอุปถัมภ์ โดยมีที่ดินเป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ของคนในสังคม

อ่านเพิ่มเติม »

กรุงเยรูซาเลม (Jerusalem)

โดย อัญมณี แสนพล

กรุงเยรูซาเล็มเป็นเมืองที่มีความสำคัญในประวัติศาสตร์ศาสนาโลกเป็นอย่างมาก เพราะกรุงเยรูซาเล็มเป็นเมืองที่ทำเกิดคามขัดแย้งขึ้นถึง 3 ศาสนา คือ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลาม และศาสนายูดาห์

อ่านเพิ่มเติม »