ลัทธิปัจเจกนิยม (Individualism)

โดย พรเพ็ญ กงศรี

ลัทธิปัจเจกนิยมเป็นลัทธิทางสังคมที่เกิดขึ้นในยุคกลาง ลัทธิปัจเจกนิยมจะเชื่อมั่นในศักยภาพของความเป็นมนุษย์ที่อยู่เหนือโชคชะตาและยังเคารพเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเอง

ปัจเจกนิยม (Individualism) เป็นแนวคิดแบบมนุษยนิยมแบบหนึ่ง ที่มองว่า ตัวบุคคลหนึ่งคนสำคัญเท่าๆกันอย่างเสมอภาค  ไม่มีใครสูงต่ำ ดีเลวไปกว่ากันแนวคิดนี้  เป็น รากฐานการปกครองแบบ ประชาธิปไตยเสรีทุนนิยมด้วย และเป็นฐานคติแบบสิทธิมนุษยชนอีกด้วยปัจเจกในที่นี้ก็หมายถึงบุคคลบุคคลหนึ่ง น่าสนใจที่ว่า นิยามของปัจเจกยังไม่รวมสัตว์หรือต้นไม้ไปด้วย ความเป็นปัจเจกหมายถึงการยอมรับความมีอัตลักษณ์และความเป็นเอกเทศของบุคคลหนึ่ง

คุณค่าของปัจเจกนิยมในทางบวกนั้นอยู่ที่ความเป็นตัวของตัวเอง มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง มีอิสระทางความคิดและการสร้างสรรค์ นอกจากนี้ ปัจเจกนิยมแบบสุดโต่ง ก็คือ การมองว่ามนุษย์อยู่แยกจากกันมิใช่สัตว์สังคม ไม่มีความเกี่ยวเนื่องกัน ความสุข ทุกข์ ดี เลว ล้วนแต่เป็นเรื่องส่วนบุคคลทั้งสิ้น การคิดในลักษณะนี้คือการคิดแบบปัจเจกนิยมแบบสุดโต่งนั่นเอง

อาจกล่าวได้ว่าลัทธิปัจเจกนิยมเป็นลัทธิที่ให้ความสำคัญกับมนุษย์เชื่อว่าแต่ละคนล้วนแต่มีเอกลักษณ์ความพิเศษในแบบของตน มีความเท่าเทียมกันในทุกด้านให้ความสำคัญกับตนเอง แต่ละคนเคารพสิทธิกัน ไม่มายุ่งเรื่องส่วนตัว พึ่งพากันพอประมาณ แต่ถ้าเป้นแบบสุดโต่งก็จะมองว่าตนเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล


อ้างอิง  

พิชญ์สิรี ถาวรเศรษฐ(2552) สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2557, จาก http://www.l3nr.org/posts/262476

สุธน หิญ (2556) สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2557, จาก http://www.oknation.net/blog/print.php?id=876428

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น