อักษรรูปลิ่ม (cuneiform)

โดย วิริยา มาศวรรณา

แต่ละชาติต่างก็มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน และแต่ละภาษาก็ล้วนแล้วแต่มีที่มาที่หลากหลาย เชื่อว่าหลายคนอาจไม่ทราบว่าอักษรรุ่นแรกๆ ที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาคืออักษรอะไรและใครที่เป็นผู้คิดค้นอักขระเหล่านี้

หนึ่งในตัวอักษรแรกเริ่มของโลกก็คือ อักษรรูปลิ่ม หรือ คูนิฟอร์ม (Cuniform) เป็นระบบการเขียนที่หลากหลาย เป็นได้ทั้ง อักษรพยางค์ อักษรคำ และอักษรที่มีระบบสระ – พยัญชนะ คำว่า “cuneiform”นั้นมาจากภาษาละตินคำว่า “cuneus” ที่แปลว่า ลิ่ม ดังนั้นอักษรรูปลิ่มจึงรวมอักษรที่มีรูปร่างคล้ายลิ่มทั้งหมดไว้ด้วยกัน



อักษรลิ่ม เริ่มแรกนั้นถูกประดิษฐ์ขึ้นโดยชาวสุเมอเรียน เชื่อว่าเขียนขึ้นด้วยก้านอ้อหรือไม้ที่ตัดปลายเป็นเหลี่ยม แล้วกดลงไปบนแผ่นดินเหนียวที่อ่อนตัว จากนั้นก็นำไปเผาหรือตากแดดให้แห้ง แผ่นดินเหนียวจะมีขนาดยาวประมาณ 6 นิ้ว กว้างประมาณ 3 นิ้ว หนาประมาณ 1 นิ้ว ส่วนวิธีการรักษาให้อยู่ได้นานๆ นั้น บางครั้งเมื่อเผาหรือตากแดดจนแห้งแล้วจะหุ้มด้วยดินเหนียวบางๆ อีกชั้น แล้วเขียนทับลงไปใหม่นำไปเผาซ้ำอีกครั้ง เผื่อว่าอักษรด้านนอกลบเลือนหรือกะเทาะแตก ส่วนที่อยู่ด้านก็ในยังเหลือให้เห็นสำหรับแผ่นดินเหนียวที่เป็นรูปทรง 3 มิติ มี 2 ชนิดคือ แบบแผ่นแบนและแผ่นซ้อน

แบบแผ่นแบน เป็นรูปแบบโบราณ พบตั้งแต่ 8,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ใน ตุรกี ซีเรีย อิสราเอล จอร์แดน อิหร่าน และอิรัก เป็นแบบที่แพร่หลายกว่าแบบแผ่นซ้อนคาดว่าเป็นแบบที่ใช้ในการนับทางเกษตรกรรม เช่น การนับธัญพืช

แบบแผ่นซ้อน เป็นแบบที่ตกแต่งด้วยเครื่องหมาย เริ่มพบในช่วง 4,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ทางภาคใต้ของเมโสโปเตเมีย แผ่นแบบซ้อนจะใช้บันทึกเกี่ยวกับสินค้าแปรรูป พบในบริเวณที่มีการขยายตัวของอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว เช่น ซูเมอร์ ตัวอย่างที่เก่าสุด พบในวิหารเทพีอินอันนา เทพีแห่งความรักและความอุดมสมบูรณ์ของชาวซูเมอร์ในเมืองอูรุก ซึ่งทางวิหาร




สำหรับการเขียนตัวอักษรลิ่ม เขียนเป็นสัญลักษณ์แบ่งเป็นกลุ่มๆ แทนความคิด คำและวัตถุ ต่อมาได้มีการปรับให้ละเอียดขึ้นโดย มีสัญลักษณ์แทนความหมายต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกมากมาย แต่วิธีการเขียนไม่เอื้ออำนวยต่อการจดบันทึกหรือการเขียนที่มีขนาดยาวๆ เพราะแผ่นดินเหนียวแผ่นหนึ่งๆ เขียนข้อความได้ไม่มากนัก เนื้อเรื่องส่วนใหญ่เป็นเริ่องเกี่ยวกับพระหรือนักบวช ซึ่งเกี่ยวข้องกับศาสนา เช่น คำโคลงสดุดีพระเจ้า เพลงสวด ซึ่งเป็นการแสดงความยิ่งใหญ่ของเทพเจ้าที่ตนนับถือ และเพื่อเรียกร้องให้มนุษย์เกรงกลัวและจงรักภักดี

การที่ชาวสุเมเรียนสามารถประดิษฐ์อักษรขึ้นเป็นครั้งแรกในนั้น นับเป็นความสำเร็จทางด้านสติปัญญาของชนพื้นเมืองในเมโสโปเตเมีย จนมีผู้กล่าวไว้ว่า “ประวัติศาสตร์เริ่มที่ซูเมอร์”  เพราะยุคประวัติศาสตร์คือ ยุคที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว อักษรลิ่ม จึงถือว่าเป็นภูมิปัญญาขั้นสูงของชาวสุเมเรียน ที่ทำให้เราได้ทราบเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของชนชาติโบราณที่อาศัยอยู่ในดินแดนมโสโปเตเมีย กว่า 5000 ปีที่ผ่านมา

อ้างอิง

นายพิษณุ เดชใดจุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี[Online] Available from : http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=454
[Accessed 10th September 2014].

กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมโรงเรียนศรียานุสรณ์ ต.วัดใหม่ อ.เมือง จ.จันทบุรี
[Online] Available from : https://sites.google.com/site/socialsiya16/sux-nwatkrrm/sara-prawatisastr/sux-prawatisastr/fil-dawnhold-prawatisastr-m-6[Accessed 10th September 2014].

ABJMP-social[Online] Available from : http://writer.dek-d.com/abjmp-social/story/viewlongc.php?id=773121&chapter=9[Accessed 10th September 2014]

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น