โดย อัครชัย พลภูงา
เมื่อกล่าวถึงหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ไม่มีใครไม่รู้จัก “สโตนเฮนจ์” ซึ่งมีชื่อเสียงอย่างมากในฐานะที่เป็นกลุ่มหินแปลกประหลาดที่ไม่มีนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีคนใดทราบวัตถุประสงค์ในการสร้างอย่างชัดเจน และยังคงเป็นหนึ่งในปริศนาอันยิ่งใหญ่ชิ้นหนี่งทางโบราณคดีของโลกที่ยังเป็นประเด็นที่สร้างความพิศวงมาจนถึงปัจจุบัน
สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) เป็นกลุ่มแท่งหินขนาดใหญ่ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบซัลลิสเบอร์รี่ (Salisbury Plain) ในเมืองเอมส์บรี (Amesbury) มณฑลวิลต์เชอร์ (Wiltshire)ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ ประกอบไปด้วยแท่งหินทั้งหมด 112 ก้อน ตั้งเรียงเป็นวงกลมซ้อนกัน 3 วง และวางเรียงในลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งวางนอน วางพาดกัน และวางตั้งขึ้น นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าเมื่อประมาณ 3000-2000 ปีก่อนคริสตกาล กลุ่มแท่งหินทั้งหมดเหล่านี้น่าจะมาจากทุ่งมาร์ลโบโร (Marlborough Downs) ที่อยู่ไกลออกไปประมาณ 40 กิโลเมตรขณะที่กลุ่มแท่งหินขนาดยักษ์บางก้อนถูกสันนิษฐานว่ามาจากยอดเขาเพรสเซลลี่(Presscelly) ในแคว้นเวลส์ของอังกฤษ
การก่อสร้างสโตนเฮนจ์นั้นใช้เวลาสร้างต่อเนื่องกันมาถึง 3-4 ระยะ ในช่วงเวลาประมาณ 1500 ปีโดยได้มีการคำนวณอายุของแท่งหินแต่ละก้อนจากการใช้คาร์บอนกัมมันตภาพรังสี ซึ่งกลุ่มแท่งหินเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกัน แต่ค่อยๆ ถูกนำมาตั้งไว้ในหลายช่วงเวลา อย่างไรก็ตามก็ยังพอที่จะทราบแผนผังการก่อสร้างของสโตนเฮนจ์โดยคร่าวๆได้โดยเริ่มจากการขุดหลุมจำนวน 56 หลุมเรียงต่อกันเป็นแนววงกลมขนาดใหญ่ เรียกว่า “หลุมออบรีย์”(Aubrey holes)ถัดเข้ามาด้านในวงกลมขุดได้อีก 30 หลุม เป็นแนววงกลมที่สอง เรียกว่า “หลุมวาย” (Y Holes) และด้านในสุดยังขุดอีก 29 หลุม เป็นแนววงกลมที่สาม เรียกว่า “หลุมแซด” (Z Holes) ซึ่งภายในวงกลมของหลุ่มแซดเป็นตำแหน่งที่ตั้งของกลุ่มแท่งหินสโตนเฮนจ์
สำหรับการวางแผนผังแปลกประหลาดของกลุ่มแท่งหินสโตนเฮนจ์ดังกล่าวนี้ทำให้ได้มีการสร้างข้อสันนิษฐานมากมายในประเด็นที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
- ผู้คนในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 เชื่อว่าเป็นวิหารสำหรับประกอบศาสนพิธีของพวกลัทธิดรูอิดซึ่งเป็นลัทธิบูชาพระอาทิตย์ บูชายัญมนุษย์ และบวงสรวงเทพเจ้า
- นักดาราศาสตร์เชื่อว่าเป็นการสร้างเพื่อศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ทางด้านดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นบนท้องฟ้า เช่น สุริยุปราคา จันทรุปราคา เป็นต้น เพราะตำแหน่งการวางของกลุ่มแท่งหินตรงกับการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ต่างๆ ของปีอย่างแม่นยำ นอกจากนี้ พวกเขายังเชื่ออีกว่าเป็นปฏิทินดาราศาสตร์และโหราศาสตร์โบราณในการคำนวณเวลายุคก่อนประวัติศาสตร์อีกด้วย
- ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงและดนตรีจากมหาวิทยาลัยฮัดเดอร์ฟิลด์เชื่อว่าเป็นสถานที่รักษาผู้ป่วยในยุคนั้น เพราะกลุ่มแท่งหินขนาดยักษ์ที่ตั้งเรียงรายเป็นวงกลมเหนือดินสามารถสะท้อนเสียงได้อย่างน่าประหลาดใจ ดนตรีที่บรรเลงกันบริเวณสโตนเฮนจ์เป็นเพลงที่มีจังหวะธรรมดาซ้ำๆและสะท้อนเสียงก้องเฉพาะในบริเวณนั้น ซึ่งตรงกันกับหลักการเทคโนโลยีกลศาสตร์นาโนที่เป็นเทคโนโลยีในการปรับปรุงงานวิจัยด้านการแพทย์ การผ่าตัด และการผลิตอาหารและเชื้อเพลิง
- นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์เชื่อว่าเป็นสถานที่ประกอบพิธีศพและเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความตายของกลุ่มชนชั้นสูงในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เพราะได้มีการขุดค้นพบโครงกระดูกของมนุษย์ในบริเวณกลุ่มแท่งหินสโตนเฮนจ์เมื่อประมาณ 3000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับการสร้างสโตนเฮนจ์และคาดว่าน่าจะถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีศพสำหรับชนชั้นสูงในยุคหินเป็นเวลายาวนาน
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้ยังไม่ได้ทราบข้อสรุปที่แน่ชัดของวัตถุประสงค์ในการสร้างสโตนเฮนจ์ แต่ด้วยความมหัศจรรย์ของกลุ่มแท่งหินปริศนาอันลึกลับนั่นเองทำให้สโตนเฮนจ์ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของอังกฤษ ซึ่งในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกต่างก็มาเยี่ยมเยียนกลุ่มแท่งหินแปลกประหลาดแห่งนี้เป็นจำนวนมาก
อ้างอิง
Apisitsanook (นามแฝง). (2555). ปริศนาแห่งสโตนเฮนจ์. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2557 จาก http://www.nextsteptv.com/?p=101
วิกิพีเดีย. (2556). สโตนเฮนจ์.สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2557 จาก http://th.wikipedia.org/wiki/สโตนเฮนจ์
Myfirstbrain. (2556). ไขปริศนาที่มาของสโตนเฮนจ์.สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2557 จาก http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=94373
แมวหง่าว (นามแฝง). (2557). ไขปริศนาลึกลับสโตนเฮนจ์กลุ่มหินปริศนา สร้างมาเพื่ออะไร?. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2557 จาก http://travel.truelife.com/detail/3011738
Morgan, J.(2008).Dig pinpoints Stonehenge origins.Retrived September 5, 2014, from http://news.bbc.co.uk/2/hi/science/nature/7625145.stm
เมื่อกล่าวถึงหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก ไม่มีใครไม่รู้จัก “สโตนเฮนจ์” ซึ่งมีชื่อเสียงอย่างมากในฐานะที่เป็นกลุ่มหินแปลกประหลาดที่ไม่มีนักประวัติศาสตร์และนักโบราณคดีคนใดทราบวัตถุประสงค์ในการสร้างอย่างชัดเจน และยังคงเป็นหนึ่งในปริศนาอันยิ่งใหญ่ชิ้นหนี่งทางโบราณคดีของโลกที่ยังเป็นประเด็นที่สร้างความพิศวงมาจนถึงปัจจุบัน
ที่มา: http://cdni.wired.co.uk/620x413/s_v/stonehenge_1.jpg
สโตนเฮนจ์ (Stonehenge) เป็นกลุ่มแท่งหินขนาดใหญ่ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบซัลลิสเบอร์รี่ (Salisbury Plain) ในเมืองเอมส์บรี (Amesbury) มณฑลวิลต์เชอร์ (Wiltshire)ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษ ประกอบไปด้วยแท่งหินทั้งหมด 112 ก้อน ตั้งเรียงเป็นวงกลมซ้อนกัน 3 วง และวางเรียงในลักษณะที่แตกต่างกัน ทั้งวางนอน วางพาดกัน และวางตั้งขึ้น นักประวัติศาสตร์เชื่อว่าเมื่อประมาณ 3000-2000 ปีก่อนคริสตกาล กลุ่มแท่งหินทั้งหมดเหล่านี้น่าจะมาจากทุ่งมาร์ลโบโร (Marlborough Downs) ที่อยู่ไกลออกไปประมาณ 40 กิโลเมตรขณะที่กลุ่มแท่งหินขนาดยักษ์บางก้อนถูกสันนิษฐานว่ามาจากยอดเขาเพรสเซลลี่(Presscelly) ในแคว้นเวลส์ของอังกฤษ
การก่อสร้างสโตนเฮนจ์นั้นใช้เวลาสร้างต่อเนื่องกันมาถึง 3-4 ระยะ ในช่วงเวลาประมาณ 1500 ปีโดยได้มีการคำนวณอายุของแท่งหินแต่ละก้อนจากการใช้คาร์บอนกัมมันตภาพรังสี ซึ่งกลุ่มแท่งหินเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นพร้อมกัน แต่ค่อยๆ ถูกนำมาตั้งไว้ในหลายช่วงเวลา อย่างไรก็ตามก็ยังพอที่จะทราบแผนผังการก่อสร้างของสโตนเฮนจ์โดยคร่าวๆได้โดยเริ่มจากการขุดหลุมจำนวน 56 หลุมเรียงต่อกันเป็นแนววงกลมขนาดใหญ่ เรียกว่า “หลุมออบรีย์”(Aubrey holes)ถัดเข้ามาด้านในวงกลมขุดได้อีก 30 หลุม เป็นแนววงกลมที่สอง เรียกว่า “หลุมวาย” (Y Holes) และด้านในสุดยังขุดอีก 29 หลุม เป็นแนววงกลมที่สาม เรียกว่า “หลุมแซด” (Z Holes) ซึ่งภายในวงกลมของหลุ่มแซดเป็นตำแหน่งที่ตั้งของกลุ่มแท่งหินสโตนเฮนจ์
ที่มา: http://static.tlcdn2.com/data/11/pictures/0213/10-10-2013/p186gl7hk6vnbpenui119q31aaj3.jpg
สำหรับการวางแผนผังแปลกประหลาดของกลุ่มแท่งหินสโตนเฮนจ์ดังกล่าวนี้ทำให้ได้มีการสร้างข้อสันนิษฐานมากมายในประเด็นที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
- ผู้คนในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 เชื่อว่าเป็นวิหารสำหรับประกอบศาสนพิธีของพวกลัทธิดรูอิดซึ่งเป็นลัทธิบูชาพระอาทิตย์ บูชายัญมนุษย์ และบวงสรวงเทพเจ้า
- นักดาราศาสตร์เชื่อว่าเป็นการสร้างเพื่อศึกษาปรากฏการณ์ต่างๆ ทางด้านดาราศาสตร์ที่เกิดขึ้นบนท้องฟ้า เช่น สุริยุปราคา จันทรุปราคา เป็นต้น เพราะตำแหน่งการวางของกลุ่มแท่งหินตรงกับการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ต่างๆ ของปีอย่างแม่นยำ นอกจากนี้ พวกเขายังเชื่ออีกว่าเป็นปฏิทินดาราศาสตร์และโหราศาสตร์โบราณในการคำนวณเวลายุคก่อนประวัติศาสตร์อีกด้วย
- ผู้เชี่ยวชาญด้านเสียงและดนตรีจากมหาวิทยาลัยฮัดเดอร์ฟิลด์เชื่อว่าเป็นสถานที่รักษาผู้ป่วยในยุคนั้น เพราะกลุ่มแท่งหินขนาดยักษ์ที่ตั้งเรียงรายเป็นวงกลมเหนือดินสามารถสะท้อนเสียงได้อย่างน่าประหลาดใจ ดนตรีที่บรรเลงกันบริเวณสโตนเฮนจ์เป็นเพลงที่มีจังหวะธรรมดาซ้ำๆและสะท้อนเสียงก้องเฉพาะในบริเวณนั้น ซึ่งตรงกันกับหลักการเทคโนโลยีกลศาสตร์นาโนที่เป็นเทคโนโลยีในการปรับปรุงงานวิจัยด้านการแพทย์ การผ่าตัด และการผลิตอาหารและเชื้อเพลิง
- นักโบราณคดีและนักประวัติศาสตร์เชื่อว่าเป็นสถานที่ประกอบพิธีศพและเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความตายของกลุ่มชนชั้นสูงในยุคก่อนประวัติศาสตร์ เพราะได้มีการขุดค้นพบโครงกระดูกของมนุษย์ในบริเวณกลุ่มแท่งหินสโตนเฮนจ์เมื่อประมาณ 3000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับการสร้างสโตนเฮนจ์และคาดว่าน่าจะถูกใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีศพสำหรับชนชั้นสูงในยุคหินเป็นเวลายาวนาน
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันนี้ยังไม่ได้ทราบข้อสรุปที่แน่ชัดของวัตถุประสงค์ในการสร้างสโตนเฮนจ์ แต่ด้วยความมหัศจรรย์ของกลุ่มแท่งหินปริศนาอันลึกลับนั่นเองทำให้สโตนเฮนจ์ได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกในยุคกลางและเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของอังกฤษ ซึ่งในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกต่างก็มาเยี่ยมเยียนกลุ่มแท่งหินแปลกประหลาดแห่งนี้เป็นจำนวนมาก
อ้างอิง
Apisitsanook (นามแฝง). (2555). ปริศนาแห่งสโตนเฮนจ์. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2557 จาก http://www.nextsteptv.com/?p=101
วิกิพีเดีย. (2556). สโตนเฮนจ์.สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2557 จาก http://th.wikipedia.org/wiki/สโตนเฮนจ์
Myfirstbrain. (2556). ไขปริศนาที่มาของสโตนเฮนจ์.สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2557 จาก http://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=94373
แมวหง่าว (นามแฝง). (2557). ไขปริศนาลึกลับสโตนเฮนจ์กลุ่มหินปริศนา สร้างมาเพื่ออะไร?. สืบค้นเมื่อ 5 กันยายน 2557 จาก http://travel.truelife.com/detail/3011738
Morgan, J.(2008).Dig pinpoints Stonehenge origins.Retrived September 5, 2014, from http://news.bbc.co.uk/2/hi/science/nature/7625145.stm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น