จูเลียส ซีซาร์ (Julius Ceasar)

โดย พลอยไพลิน จันทะวงษ์

จูเลียส ซีซาร์ (Julius Ceasar) หรือชื่อเต็มคือ กายอัส จูเลียส ซีซาร์ (Gaius Julius Ceasar) เป็นรัฐบุรุษที่โด่งดังในประวัติศาสตร์ที่สถาปนาตนขึ้นปกครองกรุงโรมัน และทำให้อาณาจักรมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนในทุกวันนี้ อีกทั้งยังเป็นต้นแบบของการใช้ชื่อ “ซีซาร์” ของกษัตริย์ถึง 12 พระองค์

อ่านเพิ่มเติม »

โมอาย (Moai) แห่งเกาะอีสเตอร์

โดย อรัญญา  ตันปุระ

คงมีหลายคนที่เคยเห็นเจ้ารูปปั้นหินยักษ์ที่มีหน้าตาเหมือนมนุษย์นี้ผ่านทางทีวี รูปภาพ งานเขียน และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ หรือแม้แต่ในเกมส์ หลายคนคงสงสัยถึงความเป็นมาและอยากจะไปเห็นตัวจริงของเจ้ารูปปั้นหินยักษ์เหล่านี้

อ่านเพิ่มเติม »

ปอมเปอี (Pompeii) เมืองหายนะแห่งความตาย

โดย ฐิติยา วงศ์ศิริ

ปอมเปอี (Pompeii) หลายท่านอาจจะคุ้นหูกับชื่อนี้เพราะเรื่องราวของเมืองมรณะแห่งนี้ได้เคยถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้อย่างมาก เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับหายนะครั้งใหญ่ที่คร่าชีวิตคนทั้งเมืองให้จมหายไปพร้อมกับเศษขี้เถ้าจากภูเขาไฟวิสุเวียส

อ่านเพิ่มเติม »

ปิเย (Piye) ฟาโรห์ผิวสี

โดย ภาคภูมิ จิตต์บุญธรรม

เมื่อ 747 ปีก่อนคริสตกาล อาณาจักรอียิปต์ที่เคยรุ่งโรจน์กำลังอยู่ในช่วงระส่ำระสายเพราะขุนศึกต่างแย่งชิงเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจ อาณาจักรถูกแบ่งออกเป็นรัฐน้อยใหญ่ กษัตริย์ชาวนูเบียพระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า ปิเย (Piye) เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวจึงได้ตัดสินพระทัยทำสงครามกับชาวอียิปต์ เพื่อเข้าปกครองอียิป์โดยราชวงศ์ชาวนูเบียของพระองค์เอง

อ่านเพิ่มเติม »

ชนเผ่าดราวิเดียน

โดย สุพิชชา พันพั่ว

เดิมประชากรกลุ่มนี้มีกำเนิดไม่แน่ชัดอาจเกิดจากการผสมปนเปทางเชื้อชาติของชนเผ่ากลุ่มแรกๆ ที่อพยพเข้ามาในอนุทวีปอินเดีย เช่นพวกออสตราลอยด์ พวกเนกริโต ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตามเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ชนเผ่ากลุ่มนี้มีบทบาท และอำนาจอยู่ในอนุทวีปอินเดียก่อนหน้าพวกอารยันซึ่งเป็นชนเผ่าเร่ร่อนจะเข้ามามีบทบาทอย่างสูงในการสร้างสรรค์อารยธรรมอินเดีย

อ่านเพิ่มเติม »

สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน (The Hanging Garden of Babylon)

โดย วณัฐชญา  ประทุมนันท์

ย้อนกลับไปเมื่อราว 600 ปีก่อนคริสตกาล บนผืนแผ่นดินที่ราบลุ่มริมแม่น้ำไทกริสและยูเฟรติสอันเป็นจุดเริ่มต้นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญของโลกอย่างอารยธรรมเมโสโปเตเมีย  ได้ปรากฏสิ่งก่อสร้างปริศนาซึ่งมีความสูงเทียบเท่าภูเขาขนาดหย่อมๆ  เร้นกายอยู่ภายใต้แสงอาทิตย์อันเจิดจ้าบนมหานครซึ่งถูกกล่าวขานเป็นตำนานจากปากของนักเดินทางและพ่อค้าวาณิชทั่วทุกดินแดน  รวมถึงนักประวัติศาสตร์ชาวกรีกอีกหลายคนกล่าวว่า กรุงบาบิโลนภายใต้การปกครองของกษัตริย์เนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 นั้นเป็นมหานครที่สร้างความตื่นตะลึงแก่สายตาของนักเดินทางในยุคโบราณได้อย่างถึงที่สุดเพราะความยิ่งใหญ่ของอาณาจักรและขนาดอันมหึมาของภูเขาสูงฝีมือมนุษย์ซึ่งถูกขนานนามว่า  "สวนลอยแห่งกรุงบาบิโลน"

อ่านเพิ่มเติม »

เจงกีสข่าน

โดย ทรงวุฒิ รัตนโยธิน

เมื่อพูดถึง “เจงกิส ข่าน” หรือ “เตมูจิน” แล้วนั้นหลายคนอาจจะคุ้นหูมาบ้างแล้วไม่ว่าจะตาม โทรทัศน์สื่อ ต่างๆ หรือ แม้กระทั่งตำราประวัติศาสตร์ต่างๆ “เจงกิส ข่าน” นั้นเป็นจักรพรรดิชาวมองโกลที่ยิ่งใหญ่มาก และเป็นผู้ที่ก่อตั้งจักรวรรดิที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลที่สุดในประวัติศาสตร์โลกเลยทีเดียว ทำไมถึงบอกว่าเป็นอาณาเขตที่มีพื้นที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก เพราะเป็นอาณาเขตที่ครอบคลุมตั้งแต่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปจนถึง ยุโรปตะวันออก และส่งผลให้เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้ากันขึ้นระหว่างวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออกอีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม »

กระดาษปาปิรุส (Papyrus)

โดย สุภาพรรณ มุงคุณ

ประวัติศาสตร์จะเกิดได้มีก็ต่อเมื่อมีการบันทึกเรื่องราวเป็นรายลักษณ์อักษรลงบนวัสดุที่คงทนและสามารถทนอยู่มาได้จนชนรุ่นหลังได้ค้นพบและนำมาเป็นหลักฐานการมีอยู่ของเรื่องราวในสมัยนั้น

อ่านเพิ่มเติม »

พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great)

โดย พิรามน ฮามพิทักษ์

มหาบุรุษและนายทัพผู้ไม่เคยปราชัยใครในสงคราม กษัตริย์แห่ง Macedonia และผู้มีชัยเหนือดินแดนเปอร์เซีย พระนามนั้นคือ กษัตริย์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 มหาราช พระองค์ถูกจัดว่าเป็นนายทัพผู้ชาญฉลาดหนึ่งใน เจ็ดคนที่มีชื่อเสียงที่สุดของโลก ( อีก 6 คนคือ Hannibal, Julius Caesar, Gustavus Adolphus, Jurenne, Prince, Eugene และ Frederick มหาราช)

อ่านเพิ่มเติม »

เทพเจ้ากรีกและโรมัน

โดย ชลีณา   พิมพาศรี

หากกล่าวถึงตำนานเทพเจ้า หลายคนคงนึกถึงตำนานเทพเจ้าของกรีกและโรมัน ซึ่งทั้งกรีกและโรมัมมีความเชื่อเหมือนกันในเรื่องนี้ โดยตำนานเทพเจ้าของโรมันจะแตกต่างจากกรีกเพียงแค่ชื่อเท่านั้น ตำนานและเรื่องราวต่างๆ ของเทพเจ้านั้นยังมีที่มาไม่แน่ชัด ซึ่งได้มีข้อสมมติฐานต่างๆ เกี่ยวกับที่มาดังกล่าว โดยเชื่อว่ามาจากการที่ทั้งชาวกรีกและชาวโรมันโบราณเกิดข้อสงสัยขึ้นมาว่า ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆนั้นเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และทำให้เกิดความกลัวต่างๆนาๆขึ้นมา ชาวกรีกในยุคโบราณจึงได้มีความพยายามที่จะหาคำตอบโดยใช้เหตุและผลผสมผสานเข้ากับจินตนาการ จนเกิดเป็นจุดเริ่มของตำนานเทพเจ้า

อ่านเพิ่มเติม »

เพอร์ซีอุส (Perseus) วีรบุรุษผู้ปราบเมดูซา

โดย สุวภัทร ดวงคมทา

มีตำนานเกี่ยวกับเรื่องราวของกรีกโบราณหลากหลายเรื่องที่น่าสนใจ แต่เรื่องที่ได้รับความสนใจจากชาวกรีกอย่างถึงที่สุดและเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางนอกเหนือจากเรื่องราวของ เฮอร์คิวลิส แล้วก็เห็นจะเป็น เพอร์ซีอุส วีรบุรุษผู้สังหารเมดูซา ซึ่งเรื่องราวของเขานับว่าเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจอีกเรื่องหนึ่งทีเดียว

อ่านเพิ่มเติม »

ชนชั้นในอียิปต์

โดย นิตยา แก้วพล
     
ในสังคมเกือบจะทุกสังคมมีการแบ่งชนชั้นทางสังคมทั้งสิ้น ซึ่งการแบ่งชนชั้นนั้นมีมานานกว่า 5000 ปีทีเดียว อย่างในสมัยอียิปต์โบราณ ก็มีการแบ่งผู้คนในสังคมเป็นชนชั้นต่างๆ อย่างชัดเจน และแต่ละชนชั้นนั้นก็มีบทบาทหน้าที่ทางสังคมแตกต่างกันออกไป

อ่านเพิ่มเติม »

ผลงานชิ้นสำคัญของ ไมเคิลแองเจโล (Michelangelo)

โดย เฉลิมศักดิ์ สีดา

ศิลปินระดับโลกต่างฝากผลงานผ่านชิ้นงานศิลปะของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็น ภาพเขียน ภาพวาด งานประติมากรรม งานออกแบบ ซึ่งผลงานเหล่านี้ต่างสะท้อนให้เห็นลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของศิลปินผู้นั้นเอง นอกจากจะแสดงลักษณะเฉพาะตัวแล้ว ผลงานศิลปะต่างๆยังสะท้อนแนวความคิด ความเชื่อ และค่านิยมของคนในยุคสมัยนั้นอีกด้วย ซึ่งในยุคสมัยต่างๆจะมีรูปแบบ แนวคิด หรือวิธีการในการสร้างงานศิลปะที่แตกต่างกันออกไป

อ่านเพิ่มเติม »

ชนชาติสุเมเรียน

โดย สุวนันท์ พงษ์ขาวน้อย    

หากจะกล่าวถึงแหล่งอารยธรรมโบราณที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และเก่าแก่ที่สุด ผู้คนส่วนใหญ่คงจะนึกถึง  อารยธรรมเมโสโปเตเมีย  ที่นักประวัติศาสตร์ต่างเชื่อว่า   เป็นแหล่งอารยธรรมโบราณแห่งแรกของโลก   แต่แหล่งอารยธรรมจะเกิดขึ้นได้นั้น จะต้องมีมนุษย์เป็นผู้ริเริ่มและสร้างสรรค์อารยธรรม แต่หลายๆ ท่านทราบกันหรือไม่ว่าชนชาติแรกที่เป็นผู้ริเริ่มและสร้างสรรค์อารยธรรมและเป็นผู้วางรากฐานทางอารยธรรมเมโสโปเตเมียนั้นคือชนชาติใด

อ่านเพิ่มเติม »

เฮียโรกลิฟฟิก (Hieroglyphics)

โดย ชลิตา สุทธิธรรม

อักขระโบราณที่ประกอบด้วยรูปภาพเล็กใหญ่หลากสีสันต่างๆ ถูกเขียนเรียงร้อยไว้บนผนังตามสุสานและวิหารของอียิปต์โบราณมากว่า 5000 ปี พวกเราต่างก็ทราบดีว่าภาพวาดเหล่านั้นคืออักษรภาพที่จารึกเรื่องราวอันลี้ลับต่างๆ ของอารยธรรมอียิปต์โบราณ ที่เรียกกันว่า อักษรเฮียโรกลิฟฟิก (Hieroglyphics) แต่ทราบหรือไม่ว่าอักษรภาพเหล่านี้มีความเป็นมาอย่างไร วันนี้เราจะมาย้อนรอยเกี่ยวกับอักษร เฮียโรกลิฟฟิก กันค่ะ

อ่านเพิ่มเติม »

มหาพีระมิด (The Great Pyramid)

โดย กิตติญา จิตระบอบ

ท่ามกลางทะเลทรายกว้างอันใหญ่แห่งกีซ่า มหาพีระมิดที่ยิ่งใหญ่สามองค์ตั้งตระหง่านอยู่เหนือพื้นทรายห่างจากกรุงไคโรนครหลวงของประเทศอียิปต์ออกไปประมาณ 8 กม. รายล้อมไปด้วยพีระมิดและสุสานอื่นๆอีกมากมาย เมืองกีซ่าตั้งอยู่ปลายสันดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยใช้เป็นเครื่องกำหนดเขตแดนของอาณาจักรอียิปต์บนและล่าง ต่อมาเมื่ออาณาจักรทั้งสองรวมกันเป็นหนึ่งเดียวเมื่อ 2,925 ปีก่อนคริสต์กาล เมืองนี้จึงเป็นที่ประทับของฟาโรห์แห่งราชวงศ์ต่าง ๆ 30 ราชวงศ์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 3,000 ปี

อ่านเพิ่มเติม »

ซูสีไทเฮา (Empress Dowager Cixi)

โดย เกษตร อัคพิน

เมื่อเอ่ยถึงประเทศจีนในสมัยโบราณหลายๆ คนคงนึกถึงความยิ่งใหญ่ของประวัติศาสตร์ที่ยาวนานรวมทั้งวัฒนธรรมที่แน่นแฟ้น และเมื่อกล่าวถึงการปกครองในระบอบศักดินาของประเทศจีนหลายคนก็คงจะนึกถึงการว่าราชการหลังม่านไม้ไผ่และซูสีไทเฮาผู้ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการและผู้ว่าราชการหลังม่านไม้ไผ่หลายรัชสมัย ชีวประวัติของพระนางมีความน่าสนใจดังที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้

อ่านเพิ่มเติม »