ศาสนาคริสต์นิกายมอรมอน (Mormon)

โดย อภิณห์พร นามจรัสเจริญกิจ

น้อยคนนักที่จะรู้จักกับศาสนาคริสต์นิกายมอรมอนเพราะว่าศาสนาคริสต์ได้แตกออกเป็นหลายนิกาย โดยจุดเด่นของนิกายนี้คือ พระคัมภีร์มอรมอน ซึ่งถูกแปลโดยศาสดาโจเซฟ สมิธ มอรมอนเป็นนิกายที่แตกต่าง เพราะไม่มีบาทหลวง ไม่มีนักบวช และไม่มีโป๊ป และมีคัมภีร์มอรมอนเป็นของตัวเอง จึงเกิดคำถามขึ้นว่าเพราะเหตุใดนิกายนี้จึงเติบโตได้ เรามาทำความรู้จักกับศาสนาคริสต์นิกายมอรมอนกันเถอะค่ะ

พระคัมภีร์มอรมอน

ก่อนอื่นเราจะมาพูดถึงต้นกำเนิดของศาสนาคริสต์ มีกำเนิดขึ้นในช่วงปลายของสมัยโรมัน โดยมีศาสดาคือพระเยซูคริสต์ หลังจากนั้นประมาณ 300 ปีอาณาจักรโรมันต่อต้านศาสนาคริสต์อย่างรุนแรงและมีคำทำนายว่าจะมีทารกเกิดใหม่ที่จะเป็นผู้ยิ่งใหญ่เหนือกษัตริย์ จึงมีการฆ่าเด็กทารก และต่อมาเมื่อพระเยซูเติบโตท่านก็ได้สอนศาสนาให้กับผู้คนมากมายซึ่งขัดกับหลักความเชื่อในสมัยนั้น มีการใส่ร้ายจนนำไปสู่การประหารพระเยซูคริสต์ในที่สุด ในคริสต์ศตวรรษที่ 4 มีจักรพรรดิคอนสตันไทน์ที่ 1 นับถือศาสนาคริสต์และได้ประกาศให้ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่ถูกกฎหมายในปีคริสตศักราช 313 ตามพระราชกฤษฎีกาแห่งมิลาน


จักรพรรดิ คอนตันไทน์ที่ 1

ในปีคริสต์ศักราช 394 เมื่อโรมันล่มสลายศาสนาก็เข้ามามีบทบาทในยุโรปทั้งเรื่องการเมือง สังคม เศรษฐกิจ และเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ ชาวยุโรปจึงมีความเคร่งคัดทางศาสนาและมีศรัทธาในคริสตจักรอย่างมาก หากผู้ใดทำผิดก็จะถูกไต่สวนและลงโทษโดยศาสนาจักร และคริสตจักรยังมีอำนาจเหนือกษัตริย์

ในปีคริสตศักราช 476 เศรษฐกิจตกต่ำการเมืองและวัฒนธรรมก็เช่นกันจึงเรียกยุคนี้ว่ายุคมืดแต่ก็มีการสร้างอารยธรรมใหม่เกิดขึ้นมากมายโดยศาสนาจักรมีอำนาจมากที่สุดและเกิดความขัดแย้งทางศาสนาสืบเนื่องมาจากการปฏิรูปทางศาสนาในยุคกลางของตะวันตกซึ่งนำโดย มาร์ติน ลูเทอร์ โดยมูลเหตุที่ทำให้เกิดการปฏิรูปคือการไม่เห็นด้วยกับการที่ศาสนาคริตส์นิกายแคทรอลิคออกมาขายใบไถ่บาปเพื่อสร้างพระวิหารเซนปีเตอร์ จึงเกิดการประท้วงและมีการกำเนิดนิกายโปแตสแตนท์ินับตั้งแต่นั้นก็ได้มีนิกายเกิดใหม่หลายนิกาย และนิกายมอรมอนก็แตกออกมาอีกที ก่อตั้งโดย โจเซฟ สมิธ ในปีคริสตศักราช 1820


ศาสดาโจเซฟ สมิธ ผู้แปลพรคัมภีร์มอรมอนและผู้ก่อตั้งมอรมอน
ที่มา : https://www.lds.org/

บุคคลที่นับถือนิกายมอรมอน จะเรียกตัวเองว่าชาวมอรมอนไม่ใช้คำว่านิกาย โดยในประเทศไทยมีชาวมอรมอนประมาณ 20,730 คน โดยจะใช้คำว่าสมาชิกแห่งศาสนาจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย ชาวมอรมอนไม่มีนักบวชหรือบาทหลวงมีเพียงผู้สอนศาสนาที่เราเห็นปั่นจักรยานเป็นคู่ใส่ชุดสุภาพและมีป้ายชื่อติดที่ตรงหน้าอกและมีฐานะปุโรหิตเพื่อประกอบพิธีการต่างๆ และยังมีศาสดาพยากรณ์และโครัมอัครสาวก 12 และ 70 ในการดูแลสมาชิกของศาสนาจักร และหลักคำสอนที่อยู่ในพระคัมภีร์มอรมอน ซึ่งเชื่อว่าเป็นส่วนที่หายไปจากพระคัมภีร์ไบเบิ้ล เนื้อหามีความเชื่อมโยงกันและที่สำคัญชาวมอรมอนไม่มีการนับถือรูปเคารพไม่ว่าจะเป็นไม้กางเขนหรือรูปปั้นพระแม่มารี ซึ่งจะแตกต่างจากนิกายทั่วไป

เอาล่ะค่ะเดี๋ยวเรามาทำความรู้จักต้นกำเนิดของชาวมอรมอนกันดีกว่า หลังจากเกิดการปฏิรูปศาสนาจนทำให้มีนิกายหลายนิกายกำเนิดใหม่ความเลื่อมใสในศาสนาได้แพร่กระจายไปทั่ว ในขณะนั้นโจเซฟ สมิธ มีอายุเพียง 14 ย่างเข้า 15 ปี ครอบครัวของท่านค่อนข้างเคร่งศาสนา ท่านได้เข้ารวมฟังคำสอนของนิกายต่างๆโดยเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ต่างคนต่างบอกว่านิกายตนนั้นถูกต้องจนบาทหลวงของแต่ละนิกายทะเลาะกัน ซึ่งท่านรู้สึกว่ามันไม่จริง จนกระทั่งวันหนึ่งท่านรู้สึกสับสนอย่างมากท่านจึงอ่านพระคัมภีร์ไบเบิ้ลและสวดอ้อนวอนอย่างหนัก จนท่านได้ไปอ่านเจอข้อความหนึ่งในพระคัมภีร์ไบเบิ้ล ในหนังสือพันธะสัญญาใหม่

แมททิว บทที่ ข้อที่ 7-8 กล่าวว่า 
7  “จงขอแล้วเจ้าจะได้ จงหาแล้วเจ้าจะพบ จงเคาะแล้วจะเปิดให้แก่ท่าน” 
8 “เพราะว่าทุกคนที่ขอก็ได้ ทุกคนที่แสวงหาก็พบ ทุกคนที่เคาะก็จะเปิดให้แก่เขา”

หลังจากนั้น โจเซฟ สมิธ ก็เข้าไปในป่าเพื่อสวดอ้อนวอนทูลถามพระเจ้าต่อสิ่งที่เกิดขึ้นและความสับสนของท่าน กล่าวกันว่าในขณะที่ท่านสวดอ้อนวอนได้มีแสงสว่างปรากฎและสิ่งที่มาประกฏต่อหน้าท่านเห็นคือ พระบิดา พระเยซู และพระวิญญาณบริสุทธิ์ มาปรากฎเพื่อตอบคำถามและมอบหมายงานให้แก่ท่าน พระเจ้าเลือกท่านมาเป็นผู้ฟื้นฟูคำสอนหลังจากเกิดการละทิ้งความเชื่อมาเป็นเวลานาน เมื่อวันที่คริสตศักราช 1823 เทพโมโรไนมาปรากฎต่อท่านบอกถึงงานที่ท่านต้องทำ 4 ปีต่อมาเทพโมโรไนมาปรากฎต่อท่านและมอบแผ่นจารึกทองคำให้แก่ท่านเมื่อค้นพบว่าแผ่นจารึกถูกฝังไว้เนินใกล้บ้านของ ท่านนำแผ่นจารึกออกมาเพื่อเริ่มแปล


พระบิดาและพระเยซูมาปรากฎต่อ โจเซฟ สมิธ
ที่มา https://www.lds.org/

เมื่อข่าวเริ่มแพร่กระจายไปทั่ว ท่านก็ต้องย้ายไปเมืองอื่นเพราะมีคนพยายามขโมยพระคัมภีร์ต้นฉบับงานแปลถูกขโมยไป 116 หน้า โดยคนที่ขโมยไปนั้นคือคนที่ช่วยท่านแปลพระคัมภีร์ไปในตอนแรก ซ้ำยังโดนคนกล่าวหาว่าหลอกลวงและเป็นคนบ้าท่านจึงเริ่มสวดอ้อนวอนอย่างหนักอีกครั้ง พระเจ้าได้ทรงได้ประทานพรด้านการแปลให้โจเซฟ สมิธ และได้จัดพิมพ์ออกมาโดยมีเพื่อนและครอบครัวช่วยเหลือและและพระคัมภีร์ได้ออกสู่สาธารณะชนครั้งแรกในวันที่ 6 มีนาคม คริสตศักราช 1830 และวันที่ 6 เมษาในปีเดียวกันพระคัมภีร์เผยแพร่ออกมาก็มีคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยโดยศาสดาโจเซฟ สมิธและพักพวกของท่านต้องหลบหนีเพราะมีคนไล่ล่าหมายเอาชีวิตท่านโดยเป็นคำสั่งจากผู้ว่าการรัฐมีซูรี สุดท้ายท่านได้เสียชีวิตพร้อมกับพี่ชายของท่านในคุกที่เมืองคาร์เทจ รัฐอิลลินอยส์ และหลังจากนั้นก็มีคนเผยแพร่พคำสอนต่อๆไป

สุดท้ายแล้ว หลายคนเข้าใจว่าการที่เข้ามาเป็นมิสชันนารีหรือผู้สอนศาสนานั้นคือ ศาสนาจักรจ้างพวกเขาให้เข้ามาทำการเผยแผ่ศาสนา แต่ความจริงแล้วคือ พวกเขาอาสาเข้ามารับใช้เอง โดยใช้ทุนของตัวเอง ผู้ชายจะใช้เวลาอยู่ในมิชชั่นนานกว่าผู้หญิง ในขณะที่ผู้ชายอยุูในมิชชัน 2 ปีแต่ ผู้หญิงจะอยู่ในมิชชัน 1 ปี 6 เดือน เนื่องจากผู้ชายมีอำนาจฐานะปุโรหิตที่ผู้หญิงไม่มีและมีความเข้มแข็งกว่าผู้หญิง จึงทำให้ผู้ชายอยู่ในมิชชั่นนานกว่าเมื่อครบตามเวลาที่กำหนดผู้สอนก็กลับบ้านของพวกเขา

ปัจจุบันอัครสาวกผู้ถูกเลือกจากการสวดอ้อนวอนก็ได้ทำตามคำสอนของโจเซฟ สมิธมาเรื่อยๆ จนคำสอนได้แผ่ก็กระจายไปทั่วโลกและเติบโตจนมาถึงปัจจุบัน


อ้างอิง

พระคัมภีร์ไข่มุกอันล้ำค่า เรื่องโจเซฟ สมิธ ประวัติ จัดพิมพ์โดยศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่ง
วิสุทธิชนยุคสุดท้าย ซอลท์เลคซิตี้, รัฐยูทาห์, สหรัฐอเมริกา 2010.

พระคัมภีร์ไบเบิ้ล พันธะสัญญาใหม่ แมธทิว7 ; 7-8 จัดพิมพ์โดยศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายซอลท์เลคซิตี้, ยูทาห์, สหรัฐอเมริกา.

หนังสือคำสอนของประธานศาสนาจักร โจแซฟสมิธ จัดพิมพ์โดยศาสนาจักรของพระเยซูคริสแห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย ซอลท์เลคซิตี้, ยูทาห์,สหรัฐอเมริกา 2007.

หนังสือรากฐานการฟื้นฟู คู่มือครู จัดพิมพ์โดยศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้ายซอลท์เลคซิตี้, ยูทาห์, สหรัฐอเมริกา.

จักรรพรรดิคอนตันไทน์ที่1. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2561, จาก : https://th.m.wikipedia.org/wiki/จักรพรรดิคอนสตันไทน์มหาราช

ต้นกำเนิดศาสนาคริสตร์ สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม 2561, จาก : https://th.m.wikipedia.org/wiki/พระเยซู

อ่านเพิ่มเติม »

มหาพีระมิดแห่งจีน

โดย ศิริญา  คล้ายทวน

“พีระมิด” เมื่อกล่าวคำนี้ขึ้นมาคนส่วนใหญ่จะนึกถึง “มหาพีระมิดแห่งเมืองกีซ่า ประเทศอียิปต์” ซึ่งเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ที่มีมาตั้งแต่ประมาณ 3150 ปีก่อนคริสตกาล  แต่ใครเลยจะรู้ว่าในทวีปเอเชียก็มีพีระมิดด้วยเหมือนกัน และที่น่าทึ่งไปกว่านั้นก็คือนักโบราณคดีและผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายต่างเชื่อว่า พีระมิดที่ตั้งอยู่ในทวีปเอเชียแห่งนี้เป็นพีระมิดที่มีขนาดใหญ่มหึมามากกว่ามหาพีระมิดแห่งเมืองกีซ่าประเทศอียิปต์หลายเท่า และพีระมิดแห่งนี้ยังเต็มไปด้วยปริศนามากมายที่รอคอยการพิสูจน์


ภาพถ่ายดาวเทียมพีระมิดต้องห้ามของประเทศจีน

พีระมิดในประเทศจีน คาดว่ามีอายุเก่าแก่ประมาณ 2,400 ปีก่อนคริสตกาล ถูกค้นพบครั้งแรกในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งอยู่ที่เมือง Guanzhong มณฑลซานซี (Shaanxi) โดย James Gaussman นักบินชาวอเมริกัน ซึ่งในขณะที่เขากำลังบินมายังประเทศจีนอยู่นั้น เครื่องบินเกิดขัดข้องเลยทำให้ต้องบินลดระดับต่ำลงมาเรื่อยๆ จนกระทั่งเมื่อบินอยู่เหนือน่านฟ้าของเมือง Guanzhong เขาสังเกตเห็นสิ่งหนึ่ง มันมีขนาดใหญ่ยักษ์ ลักษณะคล้ายพีระมิด จึงได้ถ่ายภาพจากมุมสูงเก็บเอาไว้และรายงานไปยังผู้บังคับบัญชา แต่ไม่มีผู้ใดสนใจ           

ในช่วงปี 1994 "Hartwig Hausdorf" นักสำรวจชาวเยอรมัน ซึ่งไปท่องเที่ยวในจีนแผ่นดินใหญ่ เขาได้แอบเข้าไปสำรวจในบริเวณพื้นที่ต้องห้ามของรัฐบาลจีนในมณฑลซานซี (Shaanxi) และ ได้ถ่ายภาพของหมู่ซากโบราณสถานขนาดใหญ่บางอย่างออกมา ในภาพเป็นที่มีลักษณะเนินดินขนาดใหญ่ทรงฐานสี่เหลี่ยมคล้ายพีระมิดที่สามารถมองเห็นถึงรูปทรง เหลี่ยมที่มีมุมฉาก 4 ด้านอย่างชัดเจน



อนึ่งบริเวณพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของพีระมิดแห่งนี้ ในช่วงเวลานั้นเป็นพื้นที่ต้องห้ามซึ่งรัฐบาลจีนได้ทำการจัดสรรเอาไว้เพื่อเป็นพื้นที่ไม่ทางการเกษตรแก่ชาวบ้าน  และพีระมิดส่วนใหญ่ทำมาจากดินเหนียวมีความแข็งแรง แต่บางส่วนได้รับความเสียหายอันเสื่องมาจากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการกัดเซาะหรือพังทลายตามธรรมชาติ หรือไม่ก็อาจเกิดจากน้ำมือมนุษย์ เนื่องจากพื้นที่ตั้งของพีระมิดอยู่ใกล้กับพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้านในละแวกนั้น พีระมิดบางหลังมีขนาดใหญ่มาก มันใหญ่พอๆ กับพีระมิดในเมือง Teotihuacan ของชาวอินคา และพีระมิดแทบทุกหลังมีการสร้างวิหารเล็กๆ เอาไว้บนยอดด้วย

ต่อมาในช่วงปี 2000 ทางการจีนได้เริ่มเข้าไปสำรวจอีกครั้ง แต่ก็ยังไม่มีการเปิดเผยข้อมูลทางด้านโบราณคดีหรือ ทางด้านวิทยาศาสตร์ เนื่องจากเมื่อเข้าไปตรวจสอบแล้ว อากาศภายนอกเข้าไปทำให้วัตถุโบราณต่างๆเสื่องลง จีนจึงห้ามไม่ให้เข้าไปสำรวจอีก เพื่อรักษา อนุรักษ์ไว้ซึ่งสมบัติของโลก จึงยังไม่ได้เปิดเผยข้อมูลอย่างชัดเจน ทำให้คนมากมายต่างก็ตั้งคำถามว่านั่นใช่พีระมิดหรือไม่ บ้างก็ว่านั่นคือพีระมิดแห่งประเทศจีน บ้างก็ว่าเป็นฮวงซุยที่ฝังศพ บ้างก็ว่าเป็นอารยธรรมต่างดาว และอีกหลายความเห็นที่ต่างมุมมองกันออกไป

พีระมิดของประเทศจีน มีลักษณะมองจากด้านข้างเห็นเป็นรูปเป็นร่างสามเหลี่ยมที่มีฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส หญ้าและต้นไม้ปกคลุมล้อมรอบ เมื่อได้รื้อผิวหน้าดินออกเห็นชัดถึงความสวยงามของพีระมิดที่สร้างด้วยดินเหนียว มีลักษณะคล้ายขั้นบรรไดรอบๆตัวพีระมิด รูปทรงคล้ายวิหารสามเหลี่ยมตั้งอยู่บนแท่นสี่เหลี่ยมจัตุรัสอีกชั้นหนึ่ง เชื่อกันว่าข้างในสิ่งที่น่าอัศจรรย์เช่นนี้อาจมีการเก็บสมบัติล้ำค่าจนประเมินราคาไม่ได้
             

ภาพถ่ายทางอากาศของหมู่พีระมิดในเขตต้องห้ามของรัฐบาลจีน มณฑลซานซี

ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงที่ตั้งของหมู่พีระมิด มณฑลซานซี ประเทศจีน ที่มีพีระมิดจำนวนมาก มีทั้งขนาดเล็กราวกระท่อมไปจนถึงขนาดใหญ่มันใหญ่พอๆ กับพีระมิดในเมือง Teotihuacan ของชาวอินคา และพีระมิดแทบทุกหลังมีการสร้างวิหารเล็กๆ เอาไว้บนยอดด้วย

จากภาพข้างต้นแสดงให้เห็นถึงลักษณะของสิ่งที่ถูกขนานนามว่า พีระมิดแห่งประเทศจีน มีพีระมิดทั้งหมด 9 พีระมิด มีทั้งขนาดเล็กราวกระท่อมจนไปถึงขนาดใหญ่พอๆ กันกับพีระมิดในเมือง Teotihuacan ของชาวอินคา  แต่มีความแข็งแรงแม้จะสร้างด้วยดินเหนียว เนื่องจากเวลาผ่านไปนานทำให้มีหญ้า และตั้นไม้เกิดรอบพีระมิด  และเมื่อได้ทำการรื้อหน้าดินออกมาทำให้เห็นพีระมิดชัดเจนยิ่งขึ้น  พีระมิดแทบทุกหลังมีการสร้างวิหารเล็กๆ ลักษณะฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัสมองด้านข้างจะเห็นเป็นทรงสามเหลี่ยมเอาไว้บนยอดที่ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส รอบๆมีลักษณะคล้ายขั้นบันได แต่ละขั้นเท่ากันเรียงสวยงาม ตัวพีระมิดเองสร้างมาจากดินเหนียว เพราะบริเวณนั้นเดิมเป็นพื้นที่ทำเกษตรกรรม  บรรดาพีระมิดเหล่านี้มีที่ตั้งอยู่ใกล้ๆ กัน

อย่างไรก็ดีหากนั่นคือพีระมิดจริงอาจจะกล่าวได้ว่าพีระมิดของจีนมีอายุเก่าแก่กว่าของอาณาจักรมายา 1,900 ปีก่อนคริสตกาล และหลังอียิปต์แค่ 750 ปี เพราะพีระมิดของอียิปต์มีอายุราว 3,150 ปีก่อนคริสตกาล  พีระมิดของจีนราว 2,400 ปีก่อนคริสตกาล  พีระมิดของแม็กซิโก (มายา) ราว 500 ปีก่อนคริสตกาล

สิ่งที่น่าทึ่งเหล่านี้ทำให้นักโบราณคดีและผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายต่างศึกษาค้นคว้าและให้ความสนใจเป็นอย่างมาก  หากแต่ยังไม่มีใครสามารถเข้าไปสำรวจโครงสร้างภายในของพีระมิดดังกล่าวได้ เนื่องด้วยทางสำนักโบราณคดีแห่งชาติของจีนเคยออกมาประกาศว่า ถ้าหากยังไม่สามารถมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย หรือเทคโนโลยีที่มั่นใจว่าจะสามารถรักษาทรัพย์สมบัติ ภาพเขียน รวมถึงโบราณวัตถุที่อยู่ภายในพีระมิดได้ ทางการจีนเองก็ไม่สามารถเปิดพีระมิดให้ผู้เชี่ยวชาญจากชาติต่างๆ เข้ามาพิสูจน์โครงสร้างภายในของมหาพีระมิดเหล่านี้ และเนื่องจากก่อนหน้านี้ทางการจีนเคยเปิดให้ผู้เชี่ยวชาญชาวจีนเองเข้าไปสำรวจมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่เมื่อเจออากาศภายนอก ทำให้โบราณวัตถุต่างๆ ที่อยู่ภายในมีสภาพเสื่อมลงอย่างเห็นได้ชัด และเพื่อเป็นการรักษาสมบัติของชาติ พีระมิดเหล่านี้จึงต้องถูกปิดกั้นจากโลกภายนอกอย่างไม่มีกำหนด


อ้างอิง

ความลับแดนมังกร! ‘มหาพีระมิดแห่งเมืองจีน’ ปริศนากาลเวลาที่ยังรอคอยให้นักสำรวจมาพิสูจน์. สืบค้นเมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2561, จาก : https://www.spokedark.tv/posts/the-great-pyramid-of-china/

พีระมิดในจีน..เขตพื้นที่ต้องห้ามรัฐบาลจีน ปริศนาโลกโบราณ 4,500 ปี ที่ยังไม่เปิดเผย. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2561, จาก : http://krangufo.blogspot.com/2014/09/4500.html?m=1

ค้นพบปิรามิดยักษ์! กำลังจะเผยโฉมในปี 2011 นี้. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2561, จาก :
http://allmysteryworld.blogspot.com/2011/07/2011.html?m=1#axzz57ns8tV6z




อ่านเพิ่มเติม »

คัมภีร์ “พระเวท” มหาคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์แห่งฮินดู

โดย  วิรุฬห์ นาทะยัพ

ศาสนาฮินดูถือว่าเป็นศาสนาที่มีความเชื่อเกี่ยวกับเหล่าเทพเจ้าทั้งหลาย มีพิธีกรรมมนตราอันศักดิ์สิทธิ์ประกอบกับหลักประพฤติตนเพื่อให้บรรลุจุดสูงสุดของศาสนานั้นก็คือ “โมกษะ” ซึ่งสิ่งชี้แนะที่จะทำให้ถึงจุดนั้นก็คือ “พระเวท”

คัมภีร์พระเวทเป็นแหล่งกำเนิดของปรัชญาอินเดียทุกแขนง พระเวทแบ่งออกเป็น 3 ได้แก่ ฤคเวท สามเวท ยชุรเวท ในเวลาต่อมาก็เกิดอถรวเวท หรืออถรรพเวทเพิ่มเข้ามา แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังเรียกว่า ไตรเพท หรือพระเวท 3 ตามเดิม ชาวฮินดูถือว่าพระเวทเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่มีข้อผิดพลาดเพราะว่าพระเจ้าได้ประทานให้มนุษย์โดยตรง



ต้นกำเนิดนั้นเชื่อกันว่าพวกฤาษีได้ไปบำเพ็ญเพียรในป่า แล้วได้ยินเสียงซึ่งเชื่อว่าเป็นพระสุรเสียงของพระพรหมธาดาได้ถ่ายทอดพระเวทแก่เหล่าฤาษีนั้น จึงได้มีการเล่าต่อกันมาเรียกว่า ศรุติ แปลว่าเรื่องที่ได้ยินได้ฟังกันมา ศาสตราจารย์ ดร.ราธกฤษณัน อดีตประธานาธิบดีอินเดีย สันนิษฐานว่าน่าจะเกิดช่วง 1,000 - 100 ปี ก่อน พ.ศ. เพราะในคัมภีร์พระพุทธศาสนาในครั้งพุทธกาลมีกล่าวถึงไตรเพท แต่ยังไม่ปรากฏอถรวเวทซึ่งน่าจะเกิดขึ้นภายหลังนั้น เนื้อหาของพระเวททั้ง 4 มีดังนี้

ฤคเวท ประกอบด้วยมันตระหรือบทสวดสรรเสริญเทพเจ้าทั้งหลาย ว่าแต่ละพระองค์มีความสำคัญอย่างไร มีคุณสมบัติอย่างไร และในบรรดาเทพเจ้าทั้งหลาย พระสาวิตรี พระวรุณะ พระอินทร์ และพระยม เป็นเทพเจ้ารุ่นแรกสุดในสมัยพระเวท เมื่อสวดสรรเสริญเหล่าเทพเจ้าจบ ก็อัญเชิญให้เสด็จมาทรงเป็นประธานในพิธีกรรมบูชายัญ ฤคเวท เป็นบทร้อยกรอง เป็นคำฉันท์ มีถึง 1,017 โศลก

สามเวท ว่าด้วยบทสวดทำนองเสนาะเพื่อขับกล่อมเทพเจ้าที่เสด็จมาถึงมณฑลพิธีบูชายัญ คำว่า สามะ แปลว่า เพลง หรือขับร้องทำนองเสนาะ ซึ่งมาจากฤคเวทแต่ตัดเอามาเป็นบทสั้นๆเพื่อให้เทพเจ้าพอพระทัย ควบคู่ไปกับการถวายน้ำโสมให้ทรงดื่ม

ยชุรเวท กล่าวถึงขั้นตอนพิธีกรรมในการบูชายัญบวงสรวงสังเวย ซึ่งก็นำมาจากฤคเวทอีกเช่นกัน เพียงแต่นำมาบางตอนดัดแปลงให้เป็นบทร้อยแก้ว เพื่อให้เหมาะกับการกล่าวเซ่นสังเวย และยชุร นั้นแปลว่าร้อยแก้ว

อถรวเวท หรือ อถรรพเวท ว่าด้วยเวทมนตร์ที่นำไปใช้ตามจุดประสงค์ต่างๆ เช่น ทำลายศัตรูให้ย่อยยับ แก้เสนียดจัญไร หรือนำโชคดีมีชัยมาให้แก่ตน เป็นต้น

และนอกจากจะแบ่งพระเวทออกเป็น 4 ดังข้างต้นแล้ว แต่ละพระเวทก็ไม่ได้มีเฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น แต่จะประกอบไปด้วยอีก 4 เรื่อง ได้แก่

มันตระ  บทสำหรับสรรเสริญเทพเจ้า คัมภีร์ที่รวบรวมมันตระเข้าด้วยกันเรียกว่า สัมหิตา ดังนั้นในคัมภีร์ฤคเวทเรียกว่า ฤคสัมหิตา ในคัมภีร์สามเวทเรียกว่า สามสัมหิตา ในคัมภีร์ยชุรเวทเรียกว่า ยชุรสัมหิตา และในคัมภีร์อถรรพเวทก็เรียกว่า อถรรพสัมหิตา

พราหมณะ ขั้นตอนในการประกอบพิธีกรรมบูชายัญ เป็นคำอธิบายมันตระอีกทีหนึ่งว่า บทสวดสดุดีใด ควรใช้ในที่ใด เมื่อใด มีระเบียบทำอย่างไร เป็นต้น

อารัณยกะ เรื่องละเอียดนุ่มลึก ควรที่จะไปใช้ความคิดเพื่อวิเคราะห์พิจารณาในที่สงบ เช่น ในป่า เป็นต้น เช่น เรื่องปรมาตมัน อาตมัน มายา อวิชชา สังสารวัฏ และโมกษะเป็นต้น
อุปนิษัท ปรัชญาที่ได้จากการขบคิดในป่า

นอกจากพระเวทที่เกิดจากศรุติหรือได้ยินได้ฟังมาแล้ว ยังมีอีกส่วนหนึ่งนั้นก็คือสมฤติ ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่แต่งเพิ่มเข้ามาในภายหลังเพื่ออธิบายความ หรือประกอบพระเวท ซึ่งได้แก่
มหากาพย์ ซึ่งมี 2 เล่ม คือ รามายณะ และมหาภารตะ                                                                         

รามายณะ เป็นเรื่องราวการทำสงครามระหว่างพระรามซึ่งเป็นอวตารของพระนารายณ์ กับทศกัณฐ์ เพื่อตามนางสีดา พระชายาของพระรามที่ถูกทศกัณฐ์ลักพาตัวมา แต่งโดย ฤาษีวัลมีกิ


พระราม นางสีดา พระลักษณ์ และหนุมานในรามายณะของอินเดีย
ที่มา : http://www.findmessages.com/l          

มหาภารตะ เชื่อว่าเป็นเรื่องราวสงครามครั้งใหญ่ที่สุดของอินเดีย ณ ทุ่งกุรุเกษตร ระหว่างพี่น้องตระกูลเการพกับตระกูลปาณฑพ แต่งโดย ฤาษีเวทวยาส หรือพระกฤษณะ


สงคราม ณ ทุ่งกุรุเกษตร

คัมภีร์ปุราณะ เรื่องราวตำนานเทพเจ้า การบูชาเทพเจ้าต่างๆที่มีมาตั้งแต่สมัยพระเวท

คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ ว่าด้วยกฎหมาย ระเบียบแบบแผนการปฏิบัติของชาวฮินดู ตลอดจนแนวในการครองชีวิต อาทิ ระบบวรรณะ หลักธรรม 10 ประการ เป็นต้น

คัมภีร์ตันตระ เน้นหนักไปในด้านของไสยศาสตร์และเวทย์มนต์คาถา เป็นการสนทนาระหว่างพระศิวะเจ้า กับพระนางทุรคาเทวี ซึ่งคัมภีร์นี้ก่อให้เกิดลัทธิศักติ หรือการบูชาเทพฝ่ายสตรีบรรดาชายาของเหล่าเทพเจ้า เช่น พระอุมา พระลักษมี พระสุรัสวดี เป็นต้น


พระศักติ ซึ่งเป็นการรวมภาคของพระอุมา พระลักษมี และพระสุรัสวดี
ที่มา : http://baanjompra.com/

คัมภีร์อุปเวท ศึกษาทำหน้าที่เป็นนักรบ แพทย์ และนักแสดง

คัมภีร์ภควัทคีตา เป็นส่วนหนึ่งของมหากาพย์มหาภารตะในตอนที่พระกฤษณะปลุกใจอรชุนให้มีกำลังใจในการรบกล่าวถึงปรัชญา ศาสนา และจริยศาสตร์  เป็นปรัชญาที่ประสานความรู้ กรรม และความภักดีต่อพระเจ้าเข้าด้วยกัน กล่าวถึงการเข้าถึงโมกษะ

คัมภีร์พระเวทถือเป็นจุดกำเนิดของบรรดาปรัชญาทั้งหมดของอินเดีย ซึ่งได้เผยแพร่ไปทั่วทั้งเอเชียรวมถึงประเทศไทยก็ได้รับอิทธิพลมาเป็นอันมาก ดังนั้นการศึกษาพระเวทจึงเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับบริบทสังคมของคนฮินดูหรือของคนไทยเองในยุคสมัยปัจจุบันที่ได้รับอิทธิพลมาตั้งแต่อดีตกาลจนฝังลึกเป็นรากเหง้า อีกทั้งความลึกลับน่าค้นหายังเป็นเสน่ห์ของคัมภีร์พระเวทก็ยังคงความท้าทายสำหรับผู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาดินแดนภารตะเป็นอย่างมาก จึงไม่น่าแปลกที่คนฮินดูจะยังให้ความเคารพและนับถือพระเวทว่าเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์แม้จะผ่านกาลเวลามาเนิ่นนานจนถึงปัจจุบัน


อ้างอิง

กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย. (2537). ภารตวิทยา. พระนคร: ศยาม.

ฟื้น ดอกบัว. (2555). ปวงปรัชญาอินเดีย. พระนคร: ศยาม.

สุนทร ณ รังษี. (2530). ปรัชญาอินเดีย : ประวัติและลัทธิ.  พระนคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.




อ่านเพิ่มเติม »