โดย พีระยุทธ ประวันทา
ภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1789 ทั่วทั้งยุโรปได้มีการปฏิรูปกองทัพกันอย่างขนานใหญ่ โดยเฉพาะมีการนำระบบเกณฑ์ทหารรูปแบบใหม่ ฝรั่งเศสได้ก้าวขึ้นสู่การเป็นมหาอำนาจทางการทหารภายใต้การนำของนโปเลียน โบนาปาร์ต ความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสและชาติต่างๆในทวีปยุโรปในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นตัวจุดชนวนทำให้เกิดสงครามที่นองเลือดที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ยุโรป
สงครามนโปเลียน (Napoleonic Wars) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในช่วงที่ฝรั่งเศสอยู่ภายใต้การปกครองของนโปเลียน โบนาปาร์ต ทั้งนี้ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าสงครามนโปเลียนนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด ซึ่งอาจเป็นวันที่นโปเลียนทำการรัฐประหาร 18 บรูแมร์ หรือเป็นช่วงที่เรียกว่าสงครามการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolutionary War) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1799 ถึงปี 1802 แต่โดยทั่วไปนับตั้งแต่วันที่อังกฤษประกาศสงครามกับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ.1803
สงครามนโปเลียนเกิดขึ้นเนื่องจากความขัดแย้งที่สืบเนื่องมาตั้งแต่เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส ภายหลังจากเหตุการณ์ประหารชีวิตพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และการประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศสขึ้น ทำให้ประเทศต่างๆในทวีปยุโรปเริ่มสั่นคลอน ออสเตรีย ปรัสเซีย และอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรหลัก ได้ร่วมกันประกาศสงครามกับฝรั่งเศสเพื่อที่จะล้มล้างการปฏิวัติ แต่ฝรั่งเศสก็สามารถต่อต้านเอาไว้ได้ ในขณะเดียวกันนโปเลียน โบนาปาร์ตดำรงตำแหน่งเป็นแม่ทัพภาคอิตาลีและได้ทำการยุทธ์ที่อิตาลี จนทำให้ออสเตรียซึ่งเป็นพันธมิตรหลักถอนตัวออก และถูกบีบบังคับให้ลงนามในสนธิสัญญาคัมโปฟอมิโอ (the Treaty of Campo Formio)
จากนั้นฝรั่งเศสได้เคลื่อนทัพไปยังอียิปต์ภายใต้การนำของนโปเลียน เพื่อตัดการเชื่อมต่อการส่งกำลังบำรุงระหว่างอินเดียและอังกฤษ เนื่องจากฝรั่งเศสเล็งเห็นว่ากองทัพฝรั่งเศสไม่สามารถสร้างความเสียหายกับกองทัพอังกฤษได้ เพราะอังกฤษมีกองทัพเรือที่เข้มแข็ง ในการรบที่อียิปต์ นโปเลียนสามารถเอาชนะกองทัพมัมลุกได้อย่างง่ายดาย แต่ทางด้านกองทัพเรือฝรั่งเศสได้พ่ายแพ้อย่างยับเยินต่อกองทัพเรืออังกฤษ ในที่สุดอังกฤษและฝรั่งเศสตกลงลงนามในสนธิสัญญาอาเมียงส์ (Treaty of Amiens) เป็นการสงบศึกกันชั่วคราว
จนกระทั่งนโปเลียนได้ประกาศตนเป็นจักรพรรดิในปี ค.ศ.1804 และวางแผนยึดเกาะอังกฤษ ทั้งสองฝ่ายได้รบกันในยุทธนาวีทราฟัลการ์ โดยฝรั่งเศสเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ทำให้ล้มเลิกการบุกเกาะอังกฤษและหันไปทำสงครามกับออสเตรียอีกครั้งและได้รับชัยชนะอย่างงดงามที่สมรภูมิเอาสเทอร์ลิทซ์ ในสงครามครั้งต่อไปฝรั่งเศสต้องการให้รัสเซียถอนตัวจากโปแลนด์จึงได้ทำสงครามกับรัสเซีย ทหารฝรั่งเศสสามารถผลักดันให้ทหารรัสเซียออกไปได้ จนทำให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซียต้องทำสนธิสัญญาสงบศึกที่ทิลซิท (Tilsit)
ในปี ค.ศ.1807 ได้เกิดสงครามที่คาบสมุทรไอบีเรีย (Peninsular War) กองทัพฝรั่งเศสภายใต้การนำของนายพลณ็อง อ็องด็อชร่วมกับกองทหารที่ยืมมาจากสเปน เข้ารุกรานและยึดครองโปรตุเกสเนื่องจากโปรตุเกสไม่ยอมรับระบบการค้าของฝรั่งเศส (Continental System) หลังจากนั้นจึงหันไปโจมตีสเปน ทำให้เกิดการลุกฮือของประชาชน เมื่ออังกฤษเห็นว่าชาวสเปนต่อต้านฝรั่งเศส อังกฤษจึงทำสงครามกับฝรั่งเศสโดยผนึกกำลังกับสเปนและโปรตุเกส จนกระทั่งสามารถเอาชนะได้ในที่สุด
ต่อมาในปี ค.ศ.1812 นโปเลียนทำการบุกรัสเซียเพื่อบังคับให้รัสเซียเข้าร่วมระบบการค้าของฝรั่งเศส (Continental System) เพื่อให้รัสเซียยุติการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าอังกฤษและจะต้องยุติการยึดครองโปแลนด์ ซึ่งรัสเซียไม่เห็นด้วย ในการรบครั้งนี้รัสเซียได้ใช้ยุทธวิธีร่นถอยและทำลายทุกสิ่งที่อาจเป็นประโยชน์ต่อศัตรูหรือยุทธวิธีสกอชท์เอิร์ธ (Scorched earth) เมื่อฝรั่งเศสมาถึงกรุงมอสโคพบว่าทั้งเมืองกลายเป็นเมืองร้าง ฝรั่งเศสจึงถอนกำลังและถูกกองทัพรัสเซียไล่ติดตาม นอกจากนี้ยังต้องเผชิญกับฤดูหนาวอันโหดร้ายของรัสเซียทำให้ทหารเสียชีวิตไปถึง 370,000 นาย จากจำนวนทหารทั้งหมด 650,000 นาย ปรัสเซีย ออสเตรีย และชาติพันธมิตรอื่นๆเมื่อเห็นฝรั่งเศสเพลี้ยงพล้ำจึงรวมตัวกันเพื่อทำสงครามกับฝรั่งเศสอีกครั้ง
จนกระทั่งกองทัพพันธมิตรสามารถบุกมาถึงกรุงปารีส นโปเลียนตัดสินใจสู้ต่อแต่ไม่เป็นผล นโปเลียนถูกเนรเทศไปยังเกาะเอลบาและพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งราชวงศ์บูรบงได้กลับมาปกครองฝรั่งเศสภายหลังจากถูกล้มล้างราชวงศ์ไปในสมัยปฏิวัติ แต่นโปเลียนสามารถหลบหนีออกมาได้และยึดอำนาจคืน ซึ่งเรียกช่วงเวลาดังกล่าวว่าสมัยร้อยวัน และได้ทำสงครามกับอังกฤษและปรัสเซียที่สมรภูมิวอเตอร์ลูในปี ค.ศ.1815 นับเป็นสงครามสุดท้ายในสงครามนโปเลียน สงครามครั้งนี้จบลงด้วยการพ่ายแพ้ของนโปเลียน นโปเลียนถูกบีบให้สละราชบัลลังก์อีกครั้งและถูกเนรเทศไปยังเกาะเซนต์ เฮเลนา เป็นอันสิ้นสุดสงครามนโปเลียน
สิ่งที่ทุกคนได้รับจากเหตุการณ์ในครั้งนี้นับว่าเป็นบทเรียนแห่งความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ไม่ต่างไปจากมหาสงครามโลกทั้งสองครั้ง นอกจากนี้สิ่งที่ได้รับจากเหตุการณ์ในครั้งนี้คือเกิดการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลังจากสงครามนโปเลียน ซึ่งส่งผลให้กลายเป็นต้นแบบของการก่อตั้งสันนิบาตชาติในสงครามโลกครั้งที่1และสหประชาชาติในสงครามโลกครั้งที่2 นับว่าเป็นความพยายามของมนุษยชาติที่ต้องการที่จะแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นและไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต
อ้างอิง :
การปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียน. ค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 261, จาก http://history-ofthailand.blogspot.com/2012/11/blog-post_4766.html
นิยาย สงครามนโปเลียน. ค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://writer.dek-d.com/hoshino/story/view.php?id=1584479
สงครามนโปเลียน. ค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/สงครามนโปเลียน
สงครามนโปเลียน [หน้าต่างโลก]. ค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/05/K5456207/K5456207.html
อ่านเพิ่มเติม »
ภายหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสในปี ค.ศ.1789 ทั่วทั้งยุโรปได้มีการปฏิรูปกองทัพกันอย่างขนานใหญ่ โดยเฉพาะมีการนำระบบเกณฑ์ทหารรูปแบบใหม่ ฝรั่งเศสได้ก้าวขึ้นสู่การเป็นมหาอำนาจทางการทหารภายใต้การนำของนโปเลียน โบนาปาร์ต ความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสและชาติต่างๆในทวีปยุโรปในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นตัวจุดชนวนทำให้เกิดสงครามที่นองเลือดที่สุดเหตุการณ์หนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ยุโรป
สมรภูมิเอาสเทอร์ลิทซ์ (Battle of Austerlitz)
สงครามนโปเลียน (Napoleonic Wars) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นในช่วงที่ฝรั่งเศสอยู่ภายใต้การปกครองของนโปเลียน โบนาปาร์ต ทั้งนี้ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่าสงครามนโปเลียนนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด ซึ่งอาจเป็นวันที่นโปเลียนทำการรัฐประหาร 18 บรูแมร์ หรือเป็นช่วงที่เรียกว่าสงครามการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolutionary War) ซึ่งเกิดขึ้นในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1799 ถึงปี 1802 แต่โดยทั่วไปนับตั้งแต่วันที่อังกฤษประกาศสงครามกับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ.1803
สงครามนโปเลียนเกิดขึ้นเนื่องจากความขัดแย้งที่สืบเนื่องมาตั้งแต่เกิดการปฏิวัติฝรั่งเศส ภายหลังจากเหตุการณ์ประหารชีวิตพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 และการประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐฝรั่งเศสขึ้น ทำให้ประเทศต่างๆในทวีปยุโรปเริ่มสั่นคลอน ออสเตรีย ปรัสเซีย และอังกฤษซึ่งเป็นพันธมิตรหลัก ได้ร่วมกันประกาศสงครามกับฝรั่งเศสเพื่อที่จะล้มล้างการปฏิวัติ แต่ฝรั่งเศสก็สามารถต่อต้านเอาไว้ได้ ในขณะเดียวกันนโปเลียน โบนาปาร์ตดำรงตำแหน่งเป็นแม่ทัพภาคอิตาลีและได้ทำการยุทธ์ที่อิตาลี จนทำให้ออสเตรียซึ่งเป็นพันธมิตรหลักถอนตัวออก และถูกบีบบังคับให้ลงนามในสนธิสัญญาคัมโปฟอมิโอ (the Treaty of Campo Formio)
จากนั้นฝรั่งเศสได้เคลื่อนทัพไปยังอียิปต์ภายใต้การนำของนโปเลียน เพื่อตัดการเชื่อมต่อการส่งกำลังบำรุงระหว่างอินเดียและอังกฤษ เนื่องจากฝรั่งเศสเล็งเห็นว่ากองทัพฝรั่งเศสไม่สามารถสร้างความเสียหายกับกองทัพอังกฤษได้ เพราะอังกฤษมีกองทัพเรือที่เข้มแข็ง ในการรบที่อียิปต์ นโปเลียนสามารถเอาชนะกองทัพมัมลุกได้อย่างง่ายดาย แต่ทางด้านกองทัพเรือฝรั่งเศสได้พ่ายแพ้อย่างยับเยินต่อกองทัพเรืออังกฤษ ในที่สุดอังกฤษและฝรั่งเศสตกลงลงนามในสนธิสัญญาอาเมียงส์ (Treaty of Amiens) เป็นการสงบศึกกันชั่วคราว
การรุกรานรัสเซียของฝรั่งเศส
จนกระทั่งนโปเลียนได้ประกาศตนเป็นจักรพรรดิในปี ค.ศ.1804 และวางแผนยึดเกาะอังกฤษ ทั้งสองฝ่ายได้รบกันในยุทธนาวีทราฟัลการ์ โดยฝรั่งเศสเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ทำให้ล้มเลิกการบุกเกาะอังกฤษและหันไปทำสงครามกับออสเตรียอีกครั้งและได้รับชัยชนะอย่างงดงามที่สมรภูมิเอาสเทอร์ลิทซ์ ในสงครามครั้งต่อไปฝรั่งเศสต้องการให้รัสเซียถอนตัวจากโปแลนด์จึงได้ทำสงครามกับรัสเซีย ทหารฝรั่งเศสสามารถผลักดันให้ทหารรัสเซียออกไปได้ จนทำให้พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งรัสเซียต้องทำสนธิสัญญาสงบศึกที่ทิลซิท (Tilsit)
ในปี ค.ศ.1807 ได้เกิดสงครามที่คาบสมุทรไอบีเรีย (Peninsular War) กองทัพฝรั่งเศสภายใต้การนำของนายพลณ็อง อ็องด็อชร่วมกับกองทหารที่ยืมมาจากสเปน เข้ารุกรานและยึดครองโปรตุเกสเนื่องจากโปรตุเกสไม่ยอมรับระบบการค้าของฝรั่งเศส (Continental System) หลังจากนั้นจึงหันไปโจมตีสเปน ทำให้เกิดการลุกฮือของประชาชน เมื่ออังกฤษเห็นว่าชาวสเปนต่อต้านฝรั่งเศส อังกฤษจึงทำสงครามกับฝรั่งเศสโดยผนึกกำลังกับสเปนและโปรตุเกส จนกระทั่งสามารถเอาชนะได้ในที่สุด
ต่อมาในปี ค.ศ.1812 นโปเลียนทำการบุกรัสเซียเพื่อบังคับให้รัสเซียเข้าร่วมระบบการค้าของฝรั่งเศส (Continental System) เพื่อให้รัสเซียยุติการติดต่อค้าขายกับพ่อค้าอังกฤษและจะต้องยุติการยึดครองโปแลนด์ ซึ่งรัสเซียไม่เห็นด้วย ในการรบครั้งนี้รัสเซียได้ใช้ยุทธวิธีร่นถอยและทำลายทุกสิ่งที่อาจเป็นประโยชน์ต่อศัตรูหรือยุทธวิธีสกอชท์เอิร์ธ (Scorched earth) เมื่อฝรั่งเศสมาถึงกรุงมอสโคพบว่าทั้งเมืองกลายเป็นเมืองร้าง ฝรั่งเศสจึงถอนกำลังและถูกกองทัพรัสเซียไล่ติดตาม นอกจากนี้ยังต้องเผชิญกับฤดูหนาวอันโหดร้ายของรัสเซียทำให้ทหารเสียชีวิตไปถึง 370,000 นาย จากจำนวนทหารทั้งหมด 650,000 นาย ปรัสเซีย ออสเตรีย และชาติพันธมิตรอื่นๆเมื่อเห็นฝรั่งเศสเพลี้ยงพล้ำจึงรวมตัวกันเพื่อทำสงครามกับฝรั่งเศสอีกครั้ง
สมรภูมิวอเตอร์ลู (Battle of Waterloo)
ที่มา: https://www.telegraph.co.uk/
จนกระทั่งกองทัพพันธมิตรสามารถบุกมาถึงกรุงปารีส นโปเลียนตัดสินใจสู้ต่อแต่ไม่เป็นผล นโปเลียนถูกเนรเทศไปยังเกาะเอลบาและพระเจ้าหลุยส์ที่ 18 แห่งราชวงศ์บูรบงได้กลับมาปกครองฝรั่งเศสภายหลังจากถูกล้มล้างราชวงศ์ไปในสมัยปฏิวัติ แต่นโปเลียนสามารถหลบหนีออกมาได้และยึดอำนาจคืน ซึ่งเรียกช่วงเวลาดังกล่าวว่าสมัยร้อยวัน และได้ทำสงครามกับอังกฤษและปรัสเซียที่สมรภูมิวอเตอร์ลูในปี ค.ศ.1815 นับเป็นสงครามสุดท้ายในสงครามนโปเลียน สงครามครั้งนี้จบลงด้วยการพ่ายแพ้ของนโปเลียน นโปเลียนถูกบีบให้สละราชบัลลังก์อีกครั้งและถูกเนรเทศไปยังเกาะเซนต์ เฮเลนา เป็นอันสิ้นสุดสงครามนโปเลียน
สิ่งที่ทุกคนได้รับจากเหตุการณ์ในครั้งนี้นับว่าเป็นบทเรียนแห่งความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ไม่ต่างไปจากมหาสงครามโลกทั้งสองครั้ง นอกจากนี้สิ่งที่ได้รับจากเหตุการณ์ในครั้งนี้คือเกิดการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลังจากสงครามนโปเลียน ซึ่งส่งผลให้กลายเป็นต้นแบบของการก่อตั้งสันนิบาตชาติในสงครามโลกครั้งที่1และสหประชาชาติในสงครามโลกครั้งที่2 นับว่าเป็นความพยายามของมนุษยชาติที่ต้องการที่จะแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นและไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต
อ้างอิง :
การปฏิวัติฝรั่งเศสและสงครามนโปเลียน. ค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 261, จาก http://history-ofthailand.blogspot.com/2012/11/blog-post_4766.html
นิยาย สงครามนโปเลียน. ค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://writer.dek-d.com/hoshino/story/view.php?id=1584479
สงครามนโปเลียน. ค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/สงครามนโปเลียน
สงครามนโปเลียน [หน้าต่างโลก]. ค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561, จาก http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/05/K5456207/K5456207.html