การป้องกันและรักษาโรคระบาดในยุคกลาง

โดย รัชนีกร เวียงวิเศษ

ในยุคกลางนั้นได้เกิดโรคระบาดขึ้นมากมายหลายโรค โดยเฉพาะโรคเรื้อนและกาฬโรคซึ่งนับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้จำนวนประชากรล้มตายและลดลงเป็นอย่างมาก  เหตุนี้จึงได้เกิดวิธีการในการรักษาและป้องกันการระบาดนี้

อหิวาตกโรคและโรคเรื้อนนั้นได้แพร่ระบาดอย่างรุนแรงในทวีปยุโรป โดยมีสาเหตุมาจากการเดินทางเผยแพร่ศาสนาและการอพยพย้ายถิ่นฐานของประชากรในยุคนั้น  การที่โรคเรื้อนระบาดในทวีปยุโรป เป็นผลให้มีมาตรการป้องกันการระบาดของโรค กำจัดโดยการทำลายล้างผู้ติดโรค และในหลายประเทศนั้นก็มีการออกกฎข้อบังคับให้ผู้ป่วยโรคเรื้อนสวมเสื้อผ้าที่แตกต่างจากคนทั่วไป แขวนระฆังไว้ที่คอเพื่อไปไหนมาไหนคนจะได้ยินเสียงและหนีทัน บางแห่งถึงกับห้ามมิให้คนเป็นโรคเรื้อนเข้าไปปรากฏในชุมชน หากฝ่าฝืนจะถูกกำจัด โดยวิธีนี้ผู้ป่วยโรคเรื้อนที่ถูกเนรเทศออกไปก็มักจะอดตาย เพราะไม่มีอาหารและไม่ได้รับการรักษาพยาบาล

หลังจากที่โรคเรื้อนทุเลาเบาบางลงต่อมาในยุคกลางตอนปลายนั้นได้เกิดการแพร่ระบาดของกาฬโรคขึ้น โดยมีสาเหตุมาจากการติดต่อค้าขายระหว่างยุโรปกับดินแดนทางตะวันออกและทวีปเอเชีย  กาฬโรคนั้นเป็นโรคติดต่อร้ายแรง และทำลายชีวิตมนุษย์มากมาย และจากการที่กาฬโรคระบาดนี้เอง ทำให้พลโลกมีความกระตือรือร้นในด้านการป้องกันโรคมากขึ้น  จนทำให้เกิดผลพลอยได้ในแง่ของการสาธารณสุขอันเนื่องมาจากการระบาดของกาฬโรคก็คือ การเริ่มจัดให้มีด่านกักโรคเพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่อที่กรุงเวนิสใน พ.ศ. ๑๓๔๘ เรือสินค้าและผู้โดยสารที่ต้องสงสัยว่ามาจากเขตติดโรคจะไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นท่าเรือ ในบางแห่งเรือต้องจอดอยู่นานถึง ๒ เดือนในบริเวณด่านกักโรค เพื่อพิสูจน์ว่าไม่มีการระบาดของโรค      

การสาธารณะสุขในการรักษาและป้องกันโรคในยุคกลางนี้ถือว่าไม่มีวิธีการใดๆ นอกเหนือไปจากการรู้จักการกักกันผู้ป่วย และการทำลายผู้ติดเชื้อ โดยเริ่มเข้าใจว่าโรคติดต่อมีระยะฟักตัว และเข้าใจความจำเป็นในการจัดให้มีด่านกักโรคต่างๆ

อ้างอิง              

การสาธารณสุข.(2013) . Retrieved 7 มกราคม 2557,from  http://guru.sanook.com/search/knowledge_search.php?

ตำนานการระบาดของกาฬโรคในยุโรปยุคกลาง.(2007) . Retrieved 7 มกราคม    2557, from   http://www.manager.co.th          

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น