กากอยล์ (Gargoyle)

โดย ธนกฤฒย์ บุญอนันต์

หากสังเกตตามศาสนสถานในกรุงหรือเมืองต่างๆในบริเวณยุโรป จะเห็นได้ว่า จะมีรูปปั้นถ้ามีท่าทางแสดงถึงความน่ากลัวและความน่าเกลียด ตั้งตระหง่านอยู่บริเวณขอบของสิ่งก่อสร้าง โดยรูปลักษณ์หน้าตาของสิ่งนั้น จะมีลักษณะคล้ายเหมือนภูติผีปิศาจที่มีลักษณะคล้ายดั่งค้างคาว หรือ มังกร งานสถาปัตยกรรมที่กล่าวมานั้น เป็นรูปปั้นที่ไม่ได้มีไว้เพียงเพื่อความสวยงามของ ศาสนสถานหรือวิหาร แต่เป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเชื่อ ของสิ่งที่เหนือธรรมชาติที่ปกป้องผู้คนจากสิ่งเลวร้ายต่างๆ ทุกคนต่างเรียก รูปปั้นสัตว์ที่มีความน่ากลัวเหล่านั้นว่า กากอยล์ (Gargoyle)

สถาปัตยกรรมที่กล่าวมานั้น เป็นงานที่เกิดจากแกะสลักก้อนหินให้ออกมาเป็นรูปลักษณ์ที่คล้ายคลึงกับสัตว์ประหลาด ซึ่งในภาษาฝรั่งเศสนั้น คำว่าGargoyle หมายความถึง คำว่า หอคอย หรือประภาคาร  ซึ่งคำคำนี้นั้นมาจาก ภาษาละติน คำว่า “gurgulio, gula”  ซึ่งคำว่าGar ในคำว่า Gargoyle นั้น เป็นคำที่ออกเสียงคล้ายกับ เสียง ที่น้ำไหลยังช่องระบายน้ำ โดยรูปปั้นเหล่ากากอยล์นั้น จะมีการออกแบบท่วงท่ากริยาบทแตกต่างกันไป บ้างก็นอน บ้างก็นั่งยองๆในลักษณะชันเข่า  โดยที่นิยมกันมากที่สุดคือการสลักกากอยล์ให้อยู่ในท่วงท่านั่งยองๆ ตามมุมของวิหารหรือโบสถ์ ในรูปของมังกร

โดยกากอยล์นั้น เป็นความเชื่อของชาวยุโรปในยุคกลางที่เชื่อว่ากากอยล์ คือผู้คุ้มครองประชาชนจากสิ่งไม่ดีสิ่งชั่วร้ายต่างๆ นานา โดยว่ากันว่า กากอยล์นั้น จะเป็นรูปปั้นหินสงบนิ่ง ในเวลากลางวัน แต่เมื่อยามกลางคืน กากอยล์จะกลายสภาพจากรูปปั้นหินกลับมามีชีวิต และ ออกบินไปทั่วบริเวณรอบๆหมู่บ้านหรือเมือง เพื่อปกป้องชาวเมืองจากปิศาจหรือสิ่งชั่วร้าย ที่จะเข้ามาทำอันตรายให้แก่คนในหมู่บ้าน ในปัจจุบันนั้นกากอยล์ คือ งานศิลปะ ที่ใช้ในการตกแต่งท่อทางระบายน้ำจากน้ำฝนที่ไหลตามล่องน้ำทางหลังคา ที่แสดงออกให้เห็นถึงความเป็นศิลปะในการตกแต่งแต่งรอบตัว

จะเห็นได้ว่า สถาปัตยกรรมจากหินที่ชื่อว่ากากอยล์นั้น ไม่ได้เป็นเพียงการสลักหินเพื่อให้ใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่งตามสถานที่ต่างๆ เท่านั้น แต่เป็นความเชื่อของความยุโรปในยุคกลางที่เชื่อว่า มีสิ่งศักดิ์สิทธิคุ้มครองพวกเขาพวกภัยอันตราย โดยถึงแม้กากอยล์นั้นจะมีรูปร่างหน้าตาที่น่าเกลียดน่ากลัว แต่กลับเป็นที่เคารพและนับถือของชาวเมือง  กากอยล์จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางสถาปัตยกรรมและความเชื่อทางศาสนาของชาวยุโรปในยุคกลางได้เป็นอย่างดี

อ้างอิง

Houghton Mifflin (2000). The American Heritage Dictionary of the English Language (4th ed ed.). Boston and New York: Houghton Mifflin. pp. page 725

วิกิพีเดีย. ปนาลี. Retrieved 7 มกราคม 2557 from http://th.wikipedia.org/wiki/ปนาลี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น