โดย สุกัญญา ผันอากาศ
มหาวิหารแพนธีออน หมายถึง The temple to “all of God” Pantheon สร้างมาก่อน 27 ปี คริสตศักราช โดยจักรพรรดิมารคุส อากริปปา แต่โดนไฟไหม้ไปในปี ค.ศ. 80 ต่อมากษัตริย์ฮาดริอานได้ปฎิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ในปี ค.ศ.118 มีวัตถุประสงค์เพื่อบวงสรวงแด่เหล่าทวงเทพเทวาหรือให้เหล่าเทพเทวามาชุมนุมกัน จนปี ค.ศ.606 เข้าสู่ยุคคริสตจักรเรืองอำนาจก็เปลี่ยนรูปแบบการใช้งานมาเป็นโบสถ์คริสต์จนถึงทุกวันนี้ โดยมหาวิหารแพนธีออนแห่งนี้ มีอายุกว่า 2,000 ปี แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทนทานและอัจฉริยะแห่งการสร้างสรรค์ของสถาปนิกสมัยโบราณกับเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครในสมัยนั้น
มหาวิหารแพนธีออนเป็นวิหารทรงกระบอก กว้าง 142 ฟุต และสูง 142 ฟุตเท่ากัน ไม่มีเสาค้ำกลางคอยรับน้ำหนักทั้งที่มีขนาดใหญ่โต ทางเข้าด้านหน้าทำเป็นมุขที่มีหลังคาสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีเสาแบบ คอรินเธียนตั้งเรียงกันอยู่เหมือนวิหารกรีก มีหลังเป็นคาโดมโค้งมนครึ่งวงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 144 ฟุต มีช่องวงกลมขนาดใหญ่ตรงกลางให้แสงผ่านเข้ามา เรียกช่องนี้ว่า “โอคูลุส” (Oculus) เส้นผ่านศูนย์กลาง 30 ฟุต และความสูงจากพื้นถึงหลังคาประมาณ 140 ฟุต เหมือนกับเป็นการผสมกันระหว่างแทงค์น้ำมันกับประตูด้านหน้าวัดในยุค Classic และที่ดีไปกว่านั้นคือ ระดับการลดหลั่นของโดมได้แผ่ออกในลักษณะของครึ่งวงกลมอันสมบูรณ์แบบ และมีการเซาะออกเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ค่อยๆลดระดับเรียกว่า “Coffers” เป็นที่ซึ่งทำให้โดมโปร่งเบาทั้งทางด้านสายตาและทางด้านโครงสร้าง
ช่องวงกลมขนาดใหญ่ตรงกลางที่ให้แสงผ่านเข้ามาที่เรียกว่า “โอคูลุส” แปลว่า ตา ซึ่งหมายถึงสัญลักษณ์ของตาจากสวรรค์ ช่องแสงขนาดใหญ่นี้มีความเชื่อกันว่าเป็นทางเชื่อมระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าโอคูลุส ในขณะที่โอคูลุสเป็นช่องทางเพียงช่องเดียวที่แสงสว่างจะสาดส่องเข้ามา และมีนักประวัติศาสตร์กลุ่มหนึ่งค้นพบว่าช่องรับแสงนี้จะรับแสงอาทิตย์ให้สาดส่องเข้ามาภายในวิหารในวัน “อิควินอกซ์” (Equinox) หรือวันวิษุวัต ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี หรือเป็นช่วงที่เวลาในตอนกลางวันและกลางคืนเท่ากัน ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง คือราววันที่ 21 มีนาคม และ 22 กันยายน รวมถึงวันที่ 21 เมษายนซึ่งเป็นวันที่เชื่อกันว่าเป็นวันที่มีการค้นพบกรุงโรมด้วยมันยังเป็นช่องที่ทำให้น้ำฝนไหลเข้ามาในวิหารด้วย จึงมีการทำมีรูเล็กๆที่พื้นวิหารเพื่อใช้เป็นที่ระบายน้ำฝนผ่านท่อไปออกแม่น้ำไทเบอร์ โดยที่ท่อระบายน้ำนี้สร้างขึ้นตั้งแต่ตอนสร้างวิหารแล้วต้องชื่นชมสถาปนิกในสมัยนั้นที่มีความรอบคอบในการออกแบบสร้างเป็นอย่างดี
กรรมวิธีการก่อสร้างและรูปแบบของมหาวิหารแพนเธออนได้ให้อิทธิพลแก่งานศิลปะในยุคหลังหลายแห่งเช่น สตา โซเฟีย ที่คอนสแตนติโนเปิ้ล โบสถ์ของวัดประจำเมืองในฟลอเรนซ์ โบสถ์เซนต์ปีเตอร์ในโรม เซนต์ปอลในลอนดอน บ้านพักของประธานาธิปดีโธมัสเจฟเฟอร์สันในมอนติเชลโล
นอกจากนี้มหาวิหารแพนเธออนยังเคยเป็นโบสถ์ของคริสต์ศาสนาชื่อ สตา มารีอา โรทอนดา อีกทั้งยังเคยเป็นที่ใช้เป็นสถานที่ฝังศพกษัตริย์ บุคคลในราชวงศ์และบุคคลสำคัญ เช่น พระศพของกษัตริย์ 2 พระองค์สุดท้ายของอิตาลีคือ พระเจ้าวิกเตอร์ เอมมานูเอลที่ 2 และพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 1 และยังมีศพของ ราฟาเอล จิตรกรชาวอิตาลีที่อายุน้อยที่สุดในบรรดาจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและไมเคิลแองเจโลอีกด้วย
อ้างอิง
EUROfollowme . มหาวิหารแพนธีออน . สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2558 ,จาก http://eurofollowme.com/rom
sites . google . temple . มหาวิหารแพนธีออน . สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2558 ,จาก https://sites.google.com/site/storyofroman/-8
wifipedia . มหาวิหารแพนธีออน . สืบค้นข้อมูลเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2558 ,จาก http://th.wikipedia.org/wiki/
มหาวิหารแพนธีออน หมายถึง The temple to “all of God” Pantheon สร้างมาก่อน 27 ปี คริสตศักราช โดยจักรพรรดิมารคุส อากริปปา แต่โดนไฟไหม้ไปในปี ค.ศ. 80 ต่อมากษัตริย์ฮาดริอานได้ปฎิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ในปี ค.ศ.118 มีวัตถุประสงค์เพื่อบวงสรวงแด่เหล่าทวงเทพเทวาหรือให้เหล่าเทพเทวามาชุมนุมกัน จนปี ค.ศ.606 เข้าสู่ยุคคริสตจักรเรืองอำนาจก็เปลี่ยนรูปแบบการใช้งานมาเป็นโบสถ์คริสต์จนถึงทุกวันนี้ โดยมหาวิหารแพนธีออนแห่งนี้ มีอายุกว่า 2,000 ปี แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทนทานและอัจฉริยะแห่งการสร้างสรรค์ของสถาปนิกสมัยโบราณกับเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครในสมัยนั้น
มหาวิหารแพนธีออนเป็นวิหารทรงกระบอก กว้าง 142 ฟุต และสูง 142 ฟุตเท่ากัน ไม่มีเสาค้ำกลางคอยรับน้ำหนักทั้งที่มีขนาดใหญ่โต ทางเข้าด้านหน้าทำเป็นมุขที่มีหลังคาสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีเสาแบบ คอรินเธียนตั้งเรียงกันอยู่เหมือนวิหารกรีก มีหลังเป็นคาโดมโค้งมนครึ่งวงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 144 ฟุต มีช่องวงกลมขนาดใหญ่ตรงกลางให้แสงผ่านเข้ามา เรียกช่องนี้ว่า “โอคูลุส” (Oculus) เส้นผ่านศูนย์กลาง 30 ฟุต และความสูงจากพื้นถึงหลังคาประมาณ 140 ฟุต เหมือนกับเป็นการผสมกันระหว่างแทงค์น้ำมันกับประตูด้านหน้าวัดในยุค Classic และที่ดีไปกว่านั้นคือ ระดับการลดหลั่นของโดมได้แผ่ออกในลักษณะของครึ่งวงกลมอันสมบูรณ์แบบ และมีการเซาะออกเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ค่อยๆลดระดับเรียกว่า “Coffers” เป็นที่ซึ่งทำให้โดมโปร่งเบาทั้งทางด้านสายตาและทางด้านโครงสร้าง
ช่องวงกลมขนาดใหญ่ตรงกลางที่ให้แสงผ่านเข้ามาที่เรียกว่า “โอคูลุส” แปลว่า ตา ซึ่งหมายถึงสัญลักษณ์ของตาจากสวรรค์ ช่องแสงขนาดใหญ่นี้มีความเชื่อกันว่าเป็นทางเชื่อมระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าโอคูลุส ในขณะที่โอคูลุสเป็นช่องทางเพียงช่องเดียวที่แสงสว่างจะสาดส่องเข้ามา และมีนักประวัติศาสตร์กลุ่มหนึ่งค้นพบว่าช่องรับแสงนี้จะรับแสงอาทิตย์ให้สาดส่องเข้ามาภายในวิหารในวัน “อิควินอกซ์” (Equinox) หรือวันวิษุวัต ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี หรือเป็นช่วงที่เวลาในตอนกลางวันและกลางคืนเท่ากัน ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง คือราววันที่ 21 มีนาคม และ 22 กันยายน รวมถึงวันที่ 21 เมษายนซึ่งเป็นวันที่เชื่อกันว่าเป็นวันที่มีการค้นพบกรุงโรมด้วยมันยังเป็นช่องที่ทำให้น้ำฝนไหลเข้ามาในวิหารด้วย จึงมีการทำมีรูเล็กๆที่พื้นวิหารเพื่อใช้เป็นที่ระบายน้ำฝนผ่านท่อไปออกแม่น้ำไทเบอร์ โดยที่ท่อระบายน้ำนี้สร้างขึ้นตั้งแต่ตอนสร้างวิหารแล้วต้องชื่นชมสถาปนิกในสมัยนั้นที่มีความรอบคอบในการออกแบบสร้างเป็นอย่างดี
กรรมวิธีการก่อสร้างและรูปแบบของมหาวิหารแพนเธออนได้ให้อิทธิพลแก่งานศิลปะในยุคหลังหลายแห่งเช่น สตา โซเฟีย ที่คอนสแตนติโนเปิ้ล โบสถ์ของวัดประจำเมืองในฟลอเรนซ์ โบสถ์เซนต์ปีเตอร์ในโรม เซนต์ปอลในลอนดอน บ้านพักของประธานาธิปดีโธมัสเจฟเฟอร์สันในมอนติเชลโล
นอกจากนี้มหาวิหารแพนเธออนยังเคยเป็นโบสถ์ของคริสต์ศาสนาชื่อ สตา มารีอา โรทอนดา อีกทั้งยังเคยเป็นที่ใช้เป็นสถานที่ฝังศพกษัตริย์ บุคคลในราชวงศ์และบุคคลสำคัญ เช่น พระศพของกษัตริย์ 2 พระองค์สุดท้ายของอิตาลีคือ พระเจ้าวิกเตอร์ เอมมานูเอลที่ 2 และพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 1 และยังมีศพของ ราฟาเอล จิตรกรชาวอิตาลีที่อายุน้อยที่สุดในบรรดาจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและไมเคิลแองเจโลอีกด้วย
อ้างอิง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น