โดย อธิพันธ์ ไชยพันธุ์
พระถังซัมจั้ง เป็นชื่อที่คนไทยคุ้นเคยจากวรรณกรรมเรื่องดังของจีน "ไซอิ๋ว" ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นเท่านั้น แต่เป็นบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริงในพงศาวดารจีน ที่มีอายุอยู่ในช่วงประมาณ ค.ศ. 602-664 ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าถังไท่จง ฮ่องเต้องค์ที่ 2 ของราชวงศ์ถัง
พระถังซัมจั้ง มีชื่อจริงว่า “ภิกษุเสวียนจั้ง” หรือ “พระซานจั๋ง” เกิดมาในปี ค.ศ. 602 เดิมนั้นชื่อว่า เฉินหุยหรือ เฉินยี่ ช่วงชีวิตของเสวียนจั้งคาบเกี่ยวกับสมัยราชวงศ์สุยกับสมัยราชวงศ์ถัง ท่านเกิดในรัชสมัยพระเจ้าสุยเหวินตี้ ที่นครลั่วหยาง อำเภอโกวซื่อ มณฑลเหอหนาน บิดาชื่อ เฉิน หุ้ย เคยรับราชกาลเป็นนายอำเภอในสมัยต้นราชวงศ์สุย เนื่องจากการเมืองในสมัยปลายราชวงศ์สุยเสื่อมทราม จึงลาออกจากราชกาลกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านเกิด บรรพบุรุษของท่านพระเสวียนจั้ง เป็นเชื้อสายขุนนางในราชวงศ์ฮั่น ปู่ทวดเฉินซิน ปู่เฉินคัง ล้วนเคยเป็นมหาอำมาตย์มาก่อน ท่านเป็นบุตรชายคนสุดท้อง จาก 4 คน ต่อมาเมื่อบิดาของเสวียนจั้งเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 611 เสวียนจั้งจึงได้ไปอาศัยอยู่กับพี่ชายที่บวชเป็นพระภิกษุที่วัดชิงตู (Jingtu Monastery) ตั้งอยู่ในเมืองลั่วหยัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของมลฑลเหอหนาน โดยเสวียนจั้งเมื่ออายุ 13 ปีได้บรรพชาเป็นสามเณร และมีความสามารถในการแสดงธรรมเป็นอย่างมาก
ในปี ค.ศ. 622 ท่านมีอายุได้ 20 ปี ท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และได้ออกเดินทางศึกษาพระธรรมไปในหลายเมือง จนรู้สึกว่าพระคัมภีร์ที่มีอยู่ในจีนเวลานั้น ไม่ค่อยเพียงพอ เนื้อหาแปลได้ไม่ครบถ้วนและตีความไม่ถูกต้องเท่าที่ควร ท่านจึงเกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะเดินทางไปศึกษาพระธรรมที่ประเทศอินเดีย อันเป็นแหล่งต้นกำเนิดดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา เส้นทางที่ท่านใช้ในการเดินทางสู่อินเดีย คือเส้นทางสายไหม ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าของโลกยุคโบราณ เป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างจีนและกรุงโรม โดยมีจุดเริ่มต้นที่เมืองซีอาน ผ่านดินแดนเอเชียกลางในปัจจุบัน และอีกหลายแคว้นของอินเดียโบราณตลอดการเดินทางต้องผ่านปัญหาและอุปสรรคมากมายจนเกือบเอาชีวิตไม่รอดในหลายครั้ง สุดท้ายท่านได้นำพระคัมภีร์กว่า 600 เล่มกลับมายังจีน มีผลให้พุทธศาสนาเผยแผ่ออกไปอย่างกว้างขวาง
ในการเดินทางนั้น พระภิกษุเสวียนจั้งได้เขียนเป็นบันทึกการเดินทางไว้ด้วย ซึ่งเขียนขึ้นในปี ค.ศ. 646 มีชื่อว่า "ต้าถังซีโหยวจี้" แปลว่า "จดหมายเหตุการณ์เดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง" ในนั้นเล่าถึงการเดินทางที่ไปพบปะกับภูมิประเทศที่แตกต่างกัน สภาพผู้คน วัฒนธรรมที่หลากหลาย น่าสนใจ รวมไปถึงการทหารและการเมืองการปกครอง พระเสวียนจั้ง ได้เริ่มออกเดินทางไปแสวงธรรมในประเทศอินเดีย เมื่อเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ.629 ข้อมูลได้บอกว่า เป็นการลักลอบเดินทางออกนอกประเทศ เพียงคนเดียวในตอนกลางคืน เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามเปลี่ยนราชวงศ์ และสถาปนาราชวงศ์ถัง ตลอดแนวชายแดนยังถูกอิทธิพลของชนชาติเติร์กคุกคาม จึงมีกฎห้ามประชาชนเดินทางออกนอกพรมแดน ถ้าไม่มีหนังสืออนุญาต
พระเสวียนจั้ง ได้ศึกษาพระธรรมในอินเดีย ที่มหาวิทยาลัยนาลันทา นานถึง 17 ปี (ได้เป็นรองอธิการบดีของ ม.นาลันทา ด้วย) รวมระยะเวลาไปกลับทั้งสิ้น 19 ปี เป็นระยะทางกว่า 5 หมื่นลี้ ส่งให้จดหมายเหตุชิ้นนี้ของท่านนั้นอุดมไปด้วยข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับดินแดนในเอเชียกลางและเอเชียใต้เมื่อพันกว่าปีที่แล้วกว่า 138 แว่นแคว้น โดยในจำนวนนี้มี 110 แคว้นที่ท่านเดินทางไปด้วยตนเอง ขณะที่อีก 28 แคว้นนั้นท่านบันทึกจากคำบอกเล่าของผู้อื่น
พระเสวียนจั้ง หรือพระถังซัมจั้ง ได้เดินทางเพื่อไปนำพระไตรปิฎก กลับมาประเทศจีนและทำการแปลจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีน จากการเดินทางของท่านยังนำไปสู่ เส้นทางสายไหม อันเป็นเส้นทางการค้าของโลกยุคโบราณ นับเป็นการบันทึกการเดินทางที่สำคัญอีกหนึ่งประวัติศาสตร์ของโลก
อ้างอิง
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.2557.พระเสวียนจั้ง.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2558 จาก: http://th.wikipedia.org/
MesAynak . 2555. พระถังซัมจั๋งผู้บันทึกอารยธรรมโลกบนเส้นทางสายไหม (Xuan Zang or Hieun Tsang). [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2558 จาก: https://mesaynak.wordpress.com/
Khem.2555.ประวัติโดยย่อของพระถังซัมจั๋ง.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2558 จาก: http://xuanzangthai.blogspot.com/p/blog-page_29.html
พระถังซัมจั้ง เป็นชื่อที่คนไทยคุ้นเคยจากวรรณกรรมเรื่องดังของจีน "ไซอิ๋ว" ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงตัวละครที่ถูกสร้างขึ้นเท่านั้น แต่เป็นบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริงในพงศาวดารจีน ที่มีอายุอยู่ในช่วงประมาณ ค.ศ. 602-664 ตรงกับรัชสมัยของพระเจ้าถังไท่จง ฮ่องเต้องค์ที่ 2 ของราชวงศ์ถัง
พระถังซัมจั้ง มีชื่อจริงว่า “ภิกษุเสวียนจั้ง” หรือ “พระซานจั๋ง” เกิดมาในปี ค.ศ. 602 เดิมนั้นชื่อว่า เฉินหุยหรือ เฉินยี่ ช่วงชีวิตของเสวียนจั้งคาบเกี่ยวกับสมัยราชวงศ์สุยกับสมัยราชวงศ์ถัง ท่านเกิดในรัชสมัยพระเจ้าสุยเหวินตี้ ที่นครลั่วหยาง อำเภอโกวซื่อ มณฑลเหอหนาน บิดาชื่อ เฉิน หุ้ย เคยรับราชกาลเป็นนายอำเภอในสมัยต้นราชวงศ์สุย เนื่องจากการเมืองในสมัยปลายราชวงศ์สุยเสื่อมทราม จึงลาออกจากราชกาลกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านเกิด บรรพบุรุษของท่านพระเสวียนจั้ง เป็นเชื้อสายขุนนางในราชวงศ์ฮั่น ปู่ทวดเฉินซิน ปู่เฉินคัง ล้วนเคยเป็นมหาอำมาตย์มาก่อน ท่านเป็นบุตรชายคนสุดท้อง จาก 4 คน ต่อมาเมื่อบิดาของเสวียนจั้งเสียชีวิตลงในปี ค.ศ. 611 เสวียนจั้งจึงได้ไปอาศัยอยู่กับพี่ชายที่บวชเป็นพระภิกษุที่วัดชิงตู (Jingtu Monastery) ตั้งอยู่ในเมืองลั่วหยัง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของมลฑลเหอหนาน โดยเสวียนจั้งเมื่ออายุ 13 ปีได้บรรพชาเป็นสามเณร และมีความสามารถในการแสดงธรรมเป็นอย่างมาก
ในปี ค.ศ. 622 ท่านมีอายุได้ 20 ปี ท่านอุปสมบทเป็นพระภิกษุ และได้ออกเดินทางศึกษาพระธรรมไปในหลายเมือง จนรู้สึกว่าพระคัมภีร์ที่มีอยู่ในจีนเวลานั้น ไม่ค่อยเพียงพอ เนื้อหาแปลได้ไม่ครบถ้วนและตีความไม่ถูกต้องเท่าที่ควร ท่านจึงเกิดความปรารถนาอย่างแรงกล้า ที่จะเดินทางไปศึกษาพระธรรมที่ประเทศอินเดีย อันเป็นแหล่งต้นกำเนิดดั้งเดิมของพระพุทธศาสนา เส้นทางที่ท่านใช้ในการเดินทางสู่อินเดีย คือเส้นทางสายไหม ซึ่งเป็นเส้นทางการค้าของโลกยุคโบราณ เป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างจีนและกรุงโรม โดยมีจุดเริ่มต้นที่เมืองซีอาน ผ่านดินแดนเอเชียกลางในปัจจุบัน และอีกหลายแคว้นของอินเดียโบราณตลอดการเดินทางต้องผ่านปัญหาและอุปสรรคมากมายจนเกือบเอาชีวิตไม่รอดในหลายครั้ง สุดท้ายท่านได้นำพระคัมภีร์กว่า 600 เล่มกลับมายังจีน มีผลให้พุทธศาสนาเผยแผ่ออกไปอย่างกว้างขวาง
ที่มา: http://th.wikipedia.org/
ในการเดินทางนั้น พระภิกษุเสวียนจั้งได้เขียนเป็นบันทึกการเดินทางไว้ด้วย ซึ่งเขียนขึ้นในปี ค.ศ. 646 มีชื่อว่า "ต้าถังซีโหยวจี้" แปลว่า "จดหมายเหตุการณ์เดินทางสู่ดินแดนตะวันตกของมหาราชวงศ์ถัง" ในนั้นเล่าถึงการเดินทางที่ไปพบปะกับภูมิประเทศที่แตกต่างกัน สภาพผู้คน วัฒนธรรมที่หลากหลาย น่าสนใจ รวมไปถึงการทหารและการเมืองการปกครอง พระเสวียนจั้ง ได้เริ่มออกเดินทางไปแสวงธรรมในประเทศอินเดีย เมื่อเดือนสิงหาคม ปี ค.ศ.629 ข้อมูลได้บอกว่า เป็นการลักลอบเดินทางออกนอกประเทศ เพียงคนเดียวในตอนกลางคืน เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามเปลี่ยนราชวงศ์ และสถาปนาราชวงศ์ถัง ตลอดแนวชายแดนยังถูกอิทธิพลของชนชาติเติร์กคุกคาม จึงมีกฎห้ามประชาชนเดินทางออกนอกพรมแดน ถ้าไม่มีหนังสืออนุญาต
พระเสวียนจั้ง ได้ศึกษาพระธรรมในอินเดีย ที่มหาวิทยาลัยนาลันทา นานถึง 17 ปี (ได้เป็นรองอธิการบดีของ ม.นาลันทา ด้วย) รวมระยะเวลาไปกลับทั้งสิ้น 19 ปี เป็นระยะทางกว่า 5 หมื่นลี้ ส่งให้จดหมายเหตุชิ้นนี้ของท่านนั้นอุดมไปด้วยข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับดินแดนในเอเชียกลางและเอเชียใต้เมื่อพันกว่าปีที่แล้วกว่า 138 แว่นแคว้น โดยในจำนวนนี้มี 110 แคว้นที่ท่านเดินทางไปด้วยตนเอง ขณะที่อีก 28 แคว้นนั้นท่านบันทึกจากคำบอกเล่าของผู้อื่น
พระเสวียนจั้ง หรือพระถังซัมจั้ง ได้เดินทางเพื่อไปนำพระไตรปิฎก กลับมาประเทศจีนและทำการแปลจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีน จากการเดินทางของท่านยังนำไปสู่ เส้นทางสายไหม อันเป็นเส้นทางการค้าของโลกยุคโบราณ นับเป็นการบันทึกการเดินทางที่สำคัญอีกหนึ่งประวัติศาสตร์ของโลก
อ้างอิง
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.2557.พระเสวียนจั้ง.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2558 จาก: http://th.wikipedia.org/
Khem.2555.ประวัติโดยย่อของพระถังซัมจั๋ง.[ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2558 จาก: http://xuanzangthai.blogspot.com/p/blog-page_29.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น