โดย ปุณยวัจน์ ศุภวุฒิ
หากจะกล่าวถึงข้าราชการผู้ที่มีชื่อเสียงด้านความซื่อสัตย์สุจริตในประวัติศาสตร์ประเทศจีน ชื่อของ เปา บุ้น จิ้น ต้องเป็นขุนนางที่ทุกคนจะนึกถึงในลำดับแรกๆ
เปา เจิ่ง หรือ เปา บุ้น จิ้น (11 เมษายน พ.ศ. 1542 – 20 พฤษภาคม พ.ศ. 1605) เกิดเมื่อ 11 เมษายน พ.ศ. 1542 เป็นขุนนางชาวจีน รับราชการในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ ในรัชสมัยพระเจ้าเหรินจง ดำรงตำแหน่งราชการสำคัญของบ้านเมือง อาทิเช่น นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด รวมถึงเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง) มีชื่อเสียงในด้านการตรวจสอบทุจริตในวงราชการ
เปา บุ้น จิ้น เกิดในครอบครัวนักวิชาการที่มีฐานะปานกลาง ณ เมืองเหอเฝย์ มณฑลอันฮุย ชีวิตของเขาเติบโตขึ้นท่ามกลางสังคมชั้นล่าง จึงรับรู้และเข้าใจปัญหาของชนชั้นรากหญ้าเป็นอย่างดี ครั้น พ.ศ. 1570 เปา บุ้น จิ้น สามารถสอบขุนนางและผ่านได้เป็นราชบัณฑิต แต่ได้ขอผัดผ่อนการับราชการออกไป เนื่องจากต้องการดูแลบิดามารดาที่อยู่ในวัยชรา ณ เวลานั้น ได้มีขุนนางชื่อ หลิว ยวิน ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองหลูโจว มีโอกาสได้มาอบรมสั่งสอน เปา บุ้น จิ้น ที่บ้านอยู่บ่อยครั้ง หลิว ยวิน ได้บ่มเพาะให้ เปา บุ้น จิ้น มีจิตใจกรุณาต่อราษฎรและต่อต้านการทุจริต
เมื่อบิดามารดาถึงแก่กรรมลงใน พ.ศ. 1580 เปา บุ้น จิ้น จึงกลับเข้ารับราชการ เริ่มแรกเขาได้ปกครองอำเภอเทียนฉั่ง มณฑลอันฮุย ต่อมาได้ย้ายไปปกครองอำเภอตวนโจว มณฑลกวางตุ้ง และยังได้ดำรงตำแหน่งราชการพลเรือนอีกหลายตำแหน่ง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค พงศาวดารบันทึกไว้ว่า ขณะที่เขารับราชการอยู่นั้น เขาได้ไล่และลดตำแหน่งข้าราชการใหญ่น้อยไปมากกว่า 30 คน ในข้อหาทุจริต รับสินบน และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อีกทั้งเขายังเคยถวายรายงานกล่าวโทษ จาง เย่า โจว ซึ่งเป็นพระปิตุลาของพระสนม 6 ครั้ง, กล่าวโทษ หวัง กุ๋ย ข้าราชการคนโปรดของพระเจ้าแผ่นดินอีก 7 ครั้ง และกล่าวโทษ ซ่ง หยาง เจ้าพระยามหาอุปราช (นายกรัฐมนตรี) อีกหลายครั้ง
ใน พ.ศ. 1599 เปา บุ้น จิ้น ได้ปกครองเมืองไคเฟิง ซึ่งเป็นเมืองหลวง ณ ขณะนั้น เขาได้ทำการปฏิรูประบบราชการหลายประการ อาทิเช่น ให้ประชาชนเข้าร้องทุกข์ต่อผู้ปกครองเมืองได้โดยตรง จากเดิมการร้องทุกข์นั้นต้องกระทำผ่านปลัดเมืองซึ่งมักจะเรียกสินบนและเป็นใจให้แก่ผู้มีอิทธิพล ก่อให้เกิดการทุจริตเป็นวงกว้าง ซึ่งการปฏิรูปดังกล่าวสร้างชื่อเสียงให้แก่ เปา บุ้น จิ้น เป็นอย่างมาก
เปา บุ้น จิ้น มีชื่อเสียงอย่างมากในด้านการตรวจสอบการทุจริต อีกทั้งยังมีอุปนิสัยเข้มงวดกวดขันและไม่อดทนต่อความไม่ยุติธรรมและการฉ้อฉล ชื่อของเขาจึงกลายเป็นไวพจน์ของคำว่า “ตงฉิน” ในขณะเดียวกันก็ได้มีผู้ที่นำ เปา บุ้น จิ้น ไปเป็นหัวเรื่องในวรรณกรรมและอุปรากร
เปา บุ้น จิ้น ถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 1605 พระเจ้าเหรินจง ทรงรับศพเขาไว้ในพระราชานุเคราะห์ และพระราชทานสมัญญานามแก่เขาว่า “เสี้ยว สู้” แปลว่า กตัญญูปูชนีย์ สิ่งที่เขาอุทิศให้แก่ราชการในขณะที่มีชีวิตอยู่นั้นยิ่งใหญ่และมีการเล่าขานสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
อ้างอิง
เปาบุ้นจิ้น, สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2558 จาก : http://jokergameth.com/board/showthread.php?t=71716
เปาบุ้นจิ้น, สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2558 จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/เปาบุ้นจิ้น
ประวัติศาสตร์จีน, สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2558 จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/ประวัติศาสตร์จีน
หากจะกล่าวถึงข้าราชการผู้ที่มีชื่อเสียงด้านความซื่อสัตย์สุจริตในประวัติศาสตร์ประเทศจีน ชื่อของ เปา บุ้น จิ้น ต้องเป็นขุนนางที่ทุกคนจะนึกถึงในลำดับแรกๆ
เปา เจิ่ง หรือ เปา บุ้น จิ้น (11 เมษายน พ.ศ. 1542 – 20 พฤษภาคม พ.ศ. 1605) เกิดเมื่อ 11 เมษายน พ.ศ. 1542 เป็นขุนนางชาวจีน รับราชการในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ ในรัชสมัยพระเจ้าเหรินจง ดำรงตำแหน่งราชการสำคัญของบ้านเมือง อาทิเช่น นายอำเภอ ผู้ว่าราชการจังหวัด รวมถึงเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง) มีชื่อเสียงในด้านการตรวจสอบทุจริตในวงราชการ
เปา บุ้น จิ้น เกิดในครอบครัวนักวิชาการที่มีฐานะปานกลาง ณ เมืองเหอเฝย์ มณฑลอันฮุย ชีวิตของเขาเติบโตขึ้นท่ามกลางสังคมชั้นล่าง จึงรับรู้และเข้าใจปัญหาของชนชั้นรากหญ้าเป็นอย่างดี ครั้น พ.ศ. 1570 เปา บุ้น จิ้น สามารถสอบขุนนางและผ่านได้เป็นราชบัณฑิต แต่ได้ขอผัดผ่อนการับราชการออกไป เนื่องจากต้องการดูแลบิดามารดาที่อยู่ในวัยชรา ณ เวลานั้น ได้มีขุนนางชื่อ หลิว ยวิน ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการเมืองหลูโจว มีโอกาสได้มาอบรมสั่งสอน เปา บุ้น จิ้น ที่บ้านอยู่บ่อยครั้ง หลิว ยวิน ได้บ่มเพาะให้ เปา บุ้น จิ้น มีจิตใจกรุณาต่อราษฎรและต่อต้านการทุจริต
เมื่อบิดามารดาถึงแก่กรรมลงใน พ.ศ. 1580 เปา บุ้น จิ้น จึงกลับเข้ารับราชการ เริ่มแรกเขาได้ปกครองอำเภอเทียนฉั่ง มณฑลอันฮุย ต่อมาได้ย้ายไปปกครองอำเภอตวนโจว มณฑลกวางตุ้ง และยังได้ดำรงตำแหน่งราชการพลเรือนอีกหลายตำแหน่ง ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค พงศาวดารบันทึกไว้ว่า ขณะที่เขารับราชการอยู่นั้น เขาได้ไล่และลดตำแหน่งข้าราชการใหญ่น้อยไปมากกว่า 30 คน ในข้อหาทุจริต รับสินบน และละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ อีกทั้งเขายังเคยถวายรายงานกล่าวโทษ จาง เย่า โจว ซึ่งเป็นพระปิตุลาของพระสนม 6 ครั้ง, กล่าวโทษ หวัง กุ๋ย ข้าราชการคนโปรดของพระเจ้าแผ่นดินอีก 7 ครั้ง และกล่าวโทษ ซ่ง หยาง เจ้าพระยามหาอุปราช (นายกรัฐมนตรี) อีกหลายครั้ง
ใน พ.ศ. 1599 เปา บุ้น จิ้น ได้ปกครองเมืองไคเฟิง ซึ่งเป็นเมืองหลวง ณ ขณะนั้น เขาได้ทำการปฏิรูประบบราชการหลายประการ อาทิเช่น ให้ประชาชนเข้าร้องทุกข์ต่อผู้ปกครองเมืองได้โดยตรง จากเดิมการร้องทุกข์นั้นต้องกระทำผ่านปลัดเมืองซึ่งมักจะเรียกสินบนและเป็นใจให้แก่ผู้มีอิทธิพล ก่อให้เกิดการทุจริตเป็นวงกว้าง ซึ่งการปฏิรูปดังกล่าวสร้างชื่อเสียงให้แก่ เปา บุ้น จิ้น เป็นอย่างมาก
เปา บุ้น จิ้น มีชื่อเสียงอย่างมากในด้านการตรวจสอบการทุจริต อีกทั้งยังมีอุปนิสัยเข้มงวดกวดขันและไม่อดทนต่อความไม่ยุติธรรมและการฉ้อฉล ชื่อของเขาจึงกลายเป็นไวพจน์ของคำว่า “ตงฉิน” ในขณะเดียวกันก็ได้มีผู้ที่นำ เปา บุ้น จิ้น ไปเป็นหัวเรื่องในวรรณกรรมและอุปรากร
เปา บุ้น จิ้น ถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 1605 พระเจ้าเหรินจง ทรงรับศพเขาไว้ในพระราชานุเคราะห์ และพระราชทานสมัญญานามแก่เขาว่า “เสี้ยว สู้” แปลว่า กตัญญูปูชนีย์ สิ่งที่เขาอุทิศให้แก่ราชการในขณะที่มีชีวิตอยู่นั้นยิ่งใหญ่และมีการเล่าขานสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
อ้างอิง
เปาบุ้นจิ้น, สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2558 จาก : http://jokergameth.com/board/showthread.php?t=71716
เปาบุ้นจิ้น, สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2558 จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/เปาบุ้นจิ้น
ประวัติศาสตร์จีน, สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2558 จาก : http://th.wikipedia.org/wiki/ประวัติศาสตร์จีน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น