หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

25 เม.ย. 2558

มหาวิหารแพนธีออน (PANTHEON)

โดย สุกัญญา  ผันอากาศ

มหาวิหารแพนธีออน  หมายถึง  The temple to “all of God” Pantheon  สร้างมาก่อน 27 ปี คริสตศักราช โดยจักรพรรดิมารคุส อากริปปา แต่โดนไฟไหม้ไปในปี ค.ศ. 80 ต่อมากษัตริย์ฮาดริอานได้ปฎิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่ในปี ค.ศ.118 มีวัตถุประสงค์เพื่อบวงสรวงแด่เหล่าทวงเทพเทวาหรือให้เหล่าเทพเทวามาชุมนุมกัน จนปี ค.ศ.606 เข้าสู่ยุคคริสตจักรเรืองอำนาจก็เปลี่ยนรูปแบบการใช้งานมาเป็นโบสถ์คริสต์จนถึงทุกวันนี้  โดยมหาวิหารแพนธีออนแห่งนี้ มีอายุกว่า 2,000 ปี แสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งทนทานและอัจฉริยะแห่งการสร้างสรรค์ของสถาปนิกสมัยโบราณกับเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใครในสมัยนั้น

มหาวิหารแพนธีออนเป็นวิหารทรงกระบอก กว้าง 142 ฟุต และสูง 142 ฟุตเท่ากัน ไม่มีเสาค้ำกลางคอยรับน้ำหนักทั้งที่มีขนาดใหญ่โต  ทางเข้าด้านหน้าทำเป็นมุขที่มีหลังคาสามเหลี่ยมหน้าจั่ว มีเสาแบบ    คอรินเธียนตั้งเรียงกันอยู่เหมือนวิหารกรีก  มีหลังเป็นคาโดมโค้งมนครึ่งวงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 144 ฟุต มีช่องวงกลมขนาดใหญ่ตรงกลางให้แสงผ่านเข้ามา เรียกช่องนี้ว่า “โอคูลุส” (Oculus) เส้นผ่านศูนย์กลาง 30 ฟุต  และความสูงจากพื้นถึงหลังคาประมาณ 140 ฟุต  เหมือนกับเป็นการผสมกันระหว่างแทงค์น้ำมันกับประตูด้านหน้าวัดในยุค Classic และที่ดีไปกว่านั้นคือ ระดับการลดหลั่นของโดมได้แผ่ออกในลักษณะของครึ่งวงกลมอันสมบูรณ์แบบ และมีการเซาะออกเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่ค่อยๆลดระดับเรียกว่า  “Coffers”  เป็นที่ซึ่งทำให้โดมโปร่งเบาทั้งทางด้านสายตาและทางด้านโครงสร้าง



ช่องวงกลมขนาดใหญ่ตรงกลางที่ให้แสงผ่านเข้ามาที่เรียกว่า “โอคูลุส”  แปลว่า ตา ซึ่งหมายถึงสัญลักษณ์ของตาจากสวรรค์ ช่องแสงขนาดใหญ่นี้มีความเชื่อกันว่าเป็นทางเชื่อมระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าโอคูลุส  ในขณะที่โอคูลุสเป็นช่องทางเพียงช่องเดียวที่แสงสว่างจะสาดส่องเข้ามา และมีนักประวัติศาสตร์กลุ่มหนึ่งค้นพบว่าช่องรับแสงนี้จะรับแสงอาทิตย์ให้สาดส่องเข้ามาภายในวิหารในวัน “อิควินอกซ์”  (Equinox) หรือวันวิษุวัต ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตั้งฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี หรือเป็นช่วงที่เวลาในตอนกลางวันและกลางคืนเท่ากัน ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง คือราววันที่ 21 มีนาคม และ 22 กันยายน รวมถึงวันที่ 21 เมษายนซึ่งเป็นวันที่เชื่อกันว่าเป็นวันที่มีการค้นพบกรุงโรมด้วยมันยังเป็นช่องที่ทำให้น้ำฝนไหลเข้ามาในวิหารด้วย  จึงมีการทำมีรูเล็กๆที่พื้นวิหารเพื่อใช้เป็นที่ระบายน้ำฝนผ่านท่อไปออกแม่น้ำไทเบอร์  โดยที่ท่อระบายน้ำนี้สร้างขึ้นตั้งแต่ตอนสร้างวิหารแล้วต้องชื่นชมสถาปนิกในสมัยนั้นที่มีความรอบคอบในการออกแบบสร้างเป็นอย่างดี



กรรมวิธีการก่อสร้างและรูปแบบของมหาวิหารแพนเธออนได้ให้อิทธิพลแก่งานศิลปะในยุคหลังหลายแห่งเช่น สตา โซเฟีย ที่คอนสแตนติโนเปิ้ล โบสถ์ของวัดประจำเมืองในฟลอเรนซ์ โบสถ์เซนต์ปีเตอร์ในโรม  เซนต์ปอลในลอนดอน บ้านพักของประธานาธิปดีโธมัสเจฟเฟอร์สันในมอนติเชลโล

นอกจากนี้มหาวิหารแพนเธออนยังเคยเป็นโบสถ์ของคริสต์ศาสนาชื่อ สตา มารีอา โรทอนดา อีกทั้งยังเคยเป็นที่ใช้เป็นสถานที่ฝังศพกษัตริย์ บุคคลในราชวงศ์และบุคคลสำคัญ เช่น พระศพของกษัตริย์ 2 พระองค์สุดท้ายของอิตาลีคือ พระเจ้าวิกเตอร์ เอมมานูเอลที่ 2 และพระเจ้าอุมแบร์โตที่ 1 และยังมีศพของ ราฟาเอล  จิตรกรชาวอิตาลีที่อายุน้อยที่สุดในบรรดาจิตรกรผู้ยิ่งใหญ่ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาและไมเคิลแองเจโลอีกด้วย

อ้างอิง

EUROfollowme . มหาวิหารแพนธีออน . สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2558 ,จาก http://eurofollowme.com/rom

sites.google . temple . มหาวิหารแพนธีออน . สืบค้นเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2558 ,จาก  https://sites.google.com/site/storyofroman/-8

wifipedia . มหาวิหารแพนธีออน . สืบค้นข้อมูลเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2558 ,จาก http://th.wikipedia.org/wiki/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น