ศิลปะเซอร์เรียลลีสม์ (Surrealism)

โดย จารุวัฒน์ จันทะวงศ์

ศิลปะเซอร์เรียลลิสม์ เป็นรูปแบบศิลปะที่ไม่มีกฎเกณฑ์ไม่มีหลักเหตุผลไม่มีการจำกัดรูปแบบ มาจากความฝัน จิตสำนึก สามารถสื่อความรู้สึกได้อย่างแท้จริงต่อความรู้สึกของมนุษย์ โดยเกิดขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อเตือนให้รู้สำนึกถึงผลของสงคราม

อ็องเดร เบรอตงเป็นผู้ริเริ่มเผยแพร่แนวคิดของเซอร์เรียลลิซึม ซึ่งได้ศึกษาจากทฤษฎีของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud)มีความสำคัญยิ่งต่อชีวิตและการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมของมนุษย์

เซอร์เรียลลีสม์ (Surrealism) มีความหมายว่า เหนือความจริงเป็นศิลปะที่ถ่ายทอดเรื่องราวที่เหนือธรรมชาติและความเป็นจริงพัฒนาต่อมาจากพวกดาดา (Dadaism) มีเอกลักษณ์โดยการนำเอาความฝันและความเป็นจริงมาผสานรวมกันถ่ายทอดออกมากระตุ้นให้เกิดจินตนาการ ความคิดเชื่อมโยงขึ้นมาโดยปราศจากการควบคุมของเหตุผล

ลักษณะผลงานการแสดงออกที่สำคัญของศิลปะเซอร์เรียลลิสต์มี 2 ด้าน คือ

ด้านเรื่องราว 

1. เป็นเรื่องราวในอดีตมีความหมายต่อศิลปิน เช่น ความผิดหวัง ความรัก ความหยิ่งผยอง ความกลัว
2. เป็นเรี่องราวที่เกี่ยวข้องกับคนอื่น การแนะนำสั่งสอนในทางลบ คล้ายกับกลุ่มดาดา

ด้านรูปทรงและวิธีการ

1. ศิลปินแสดงออกด้วยสีที่มีความเข้มปานกลาง ให้ความรู้สึกนุ่มนวลบนผิวหน้า ด้วยการเกลี่ยให้กลมกลืน

2. ศิลปินแสดงออกด้วยวัสดุอื่นปนกับวัสดุที่ศิลปินผู้นั้นถนัด เช่น ทรายปนกับสีน้ำมัน กระดาษสีปนกับสีน้ำมัน

3. ศิลปินพยายามจะซ่อมสิ่งที่ต้องการแสดงออกด้วยเทคนิคของการเขียน เช่น เขียนวัตถุบนกระจกใส หรือเขียนความชัดเจนของสิ่งของคลุมเรื่องที่ต้องการแสดง

4. ศิลปินพยายามสร้างสรรค์ แสง เงา และสีขึ้นเอง

งานศิลปะเซอร์เรียลลิสม์เป็นเสมือนสัญลักษณ์แทนความรู้สึกที่ออกมาจากจิตใจของศิลปินที่สื่อให้เห็นถึงแง่คิด อารมณ์ ศีลธรรม และมุมมองต่างๆ มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความคิดและค่านิยมของผู้คนให้เกิดการพัฒนาในอีกรูปแบบหนึ่ง

อ้างอิง

วิกิพีเดีย. ลัทธิเหนือจริง.(2556). สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2557, จาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%87

ตำรวจสาว. ลัทธิเซอร์เรียลลิสม์(Surrealism). สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2557, จาก http://atcloud.com/stories/96274

FrancKultangwattana.มารู้จักศิลปะเซอร์เรียลลิสม์กันเถอะ. (2556). สืบค้นเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2557, จาก http://sursurrealism4.blogspot.com/2013/05/blog-post.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น