ศิลปะนามธรรม (Abstract Art)

โดย ณัฐภัทร สุขวิสูตร

ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาไปจนถึงช่วงยุคกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปะตะวันตกรับเอาทัศนคติและอิทธิพลของการสร้างงานศิลปะให้มีลักษณะการทำให้งานดูสมจริงมากที่สุด แต่ในที่สุดยุคฟื้นฟูก็สิ้นสุดลงเพราะการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของ วิทยาศาสตร์ ปรัชญา ตลอดจนการค้นพบดินแดนใหม่ๆ มนุษย์ได้รับการศึกษาและมีเสรีภาพมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงออย่างรวดเร็วนี้นำไปสู่การสร้างสรรค์งานศิลปะรูปแบบใหม่ๆ จำนวนมาก หนึ่งในนั้นก็คือ ศิลปะนามธรรม (Abstract art)

ศิลปะนามธรรม หมายถึง ศิลปะที่แสดงถึงทัศนคติที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ เป็นศิลปะที่ไม่ได้แสดงถึงความสมจริงของสีสัน รูปภาพ และสภาพแวดล้อม แต่ศิลปินเลือกที่จะนำเสนอความคิดอย่างอิสระผ่านการสร้างสรรค์ภาพ ที่เน้นอิสระของเส้นสี รูปร่างที่แปลกใหม่ การตัดต่อ ตัดทอนรูปทรงขึ้นมาใหม่ ที่ไม่ได้จำกัดอยู่บนรูปสี่เหลี่ยม หรือสามเหลี่ยม การถ่ายทอดภาพนำเสนออกมาทางภาพสองมิติและสามมิติ

ด้วยความที่เป็นศิลปะแบบนามธรรม ทำให้ไม่สามารถโยงเข้ากับแหล่งอ้างอิงรูปธรรมใดๆ ได้เลยไม่ว่าจะเป็น ภาพธรรมชาติ หรือภาพวาดเหมื่อนของบุคคล จนทำให้เกิดการตีความได้อย่างไร้ขีดจำกัด เกิดอารมณ์ความรู้สึก และความเข้าใจในตัวภาพแตกต่างกันไปนานาทัศนะ กลุ่มศิลปินที่ริเริ่มงานตามแนวทางใหม่นี้ คือ กลุ่มศิลปินจากอเมริกา และยุโรป โดยมี วาสสิลี แคนดินสกี ชาวรัสเซีย เป็นผู้ริเริ่ม

ศิลปะนามธรรม จึงเป็นทางเลือกใหม่ในการนำเสนอและการเสพย์งานศิลปะ เพราะการตีความภาพของแต่ล่ะคนอาจตีความได้ไม่เหมือนกัน ต้องอาศัย การมองรวบรวมความรู้สึกอยู่สักครู่ จึงจะเริ่มซึมซับและตีความได้ ซึ่งเหตุเหล่านี้จึงทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ ทัศนคติที่สามารถนำไปสู่การปรับตัวในยุคสมัยใหม่

อ้างอิง

Mook blog , mook..(2009). abstract art. Retrieved 30 January 2013 , from mookart.wordpress.com

ศิลปะแบบแอบสแตกอาร์ต (2012). Retrieved 30 January 2013, from mcpswis.mcp.ac.th


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น