เส้นทางสายไหม (Silk Road)

โดย รัฏฐาธิปัตย์ ปุ้ยธนาวัฒน์

เส้นทางสายไหมเป็นเส้นทางที่ใช้ในการติดต่อในด้านเศรษฐกิจจากเอเชียไปยังยุโรปรวมทั้งเป็นเส้นทางที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไปในตัวที่เริ่มต้นจากจีนไปสู่ตะวันตก

เส้นทางสายไหมเกิดขึ้นในสมัยราชวงศ์ฮั่น เส้นทางสายไหมเริ่มจากจีนจนไปสิ้นสุดที่กรุงโรม  ระยะทางทั้งหมด 7,000 กิโลเมตร เส้นทางสายไหมเส้นนี้รุ่งเรืองถึงจุดสูงสุด ในกลางศตวรรษที่ 8 แห่งคริสตกาล

เส้นทางนี้เปรียบเสมือนทางด่วนข้อมูลสารสนเทศในยุคนั้นเลยทีเดียว การแลกเปลี่ยนข่าวสาร วัฒนธรรม รวมถึงเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น เทคโนโลยีในการผลิตกระดาษ ดินระเบิด เข็มทิศ รวมถึงลูกคิดซึ่งกลายเป็นต้นแบบของการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน ล้วนแต่เป็นเทคโนโลยีของจีนที่ถูกถ่ายทอดไปสู่ตะวันตก ในยุคนั้นผ่านทางเส้นทางสายไหม

ขณะเดียวกันศาสนาพุทธจากอินเดียก็อาศัยเส้นทางสายไหมนี้เขาสู่เอเชีย ทั้งจีน เกาหลี พม่า ลาว เวียตนาม กัมพูชา และไทย เช่นเดียวกัน ชาวเปอร์เซียที่นำเอาศาสนาอิสลามเข้ามา

ภายหลังจากศตวรรษที่ 9 ที่สถานะทางการเมืองและเศรษฐกิจ ในทวีปเอเชียและทวีปยุโรปได้เกิดการเปลี่ยนแปลงและเทคโนโลยีการเดินเรือทางมหาสมุทรได้รับการพัฒนาก้าวหน้า การขนส่งทางทะเลได้ขยายบทบาทเด่นขึ้นทุกวัน ในด้านการค้า  เส้นทางสายไหมทางบกสายนี้จึงค่อย ๆ เสื่อมความนิยมลง

ตอนหลังเส้นทางทางบกถูกเลิกใช้ไปเพราะเกิดสงคราม เหล่าคาราวานจึงพยายามเลี่ยงเส้นทางนี้ เส้นทางทางบกจึงถึงจุดเสื่อมสลายในที่สุด เส้นทางการค้าทางทะเลกลับเพิ่มมากขึ้นแทน


อ้างอิง

เส้นทางสายไหม. 2556. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธุ์ 2557, จาก http://thai.cri.cn/chinaabc/chapter14/chapter140501.htm

เส้นทางสายไหม. 2556. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธุ์ 2557, จาก  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น