การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)

โดย วชิรวิทย์ งานไว

ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้น สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงพัฒนา ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นสมัยของการสำรวจ ค้นพบโลกใหม่และสมัยของการขยายตัวทางการค้า ทำให้เกิดความต้องการที่จะเพิ่มปริมาณสินค้าเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โลก ซึ่งส่งผลกระทบในชีวิตประจำวันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ที่เห็นได้เด่นที่สุดนั้นก็คือการที่รายได้และจำนวนประชากรโดยเฉลี่ยเริ่มที่จะขยายตัวอย่างยั่งยืนในแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน  ในขณะที่จำนวนประชากรขยายตัวมากกว่าหกเท่า ดังคำกล่าวของ โรเบิร์ต อี. ลูคัส จูเนียร์ ซึ่งเป็นผู้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ได้กล่าวไว้ว่า “เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่มาตรฐานการดำรงชีวิตของประชาชนธรรมดาส่วนมากจะเริ่มเติบโตอย่างมั่นคง ... ซึ่งไม่เคยมีพฤติการณ์ทางเศรษฐกิจเช่นนี้เกิดขึ้นมาก่อน”

การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นการปรับเปลี่ยนการผลิตจากที่ใช้แรงงานคนและสัตว์ไปเป็นใช้เครื่องจักรในการผลิตแทน การปฏิวัติอุตสาหกรรมในยุโรปเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษเป็นประเทศแรก โดยเริ่มในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยมีการนำเอาเครื่องจักรไอน้ำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องจักรทอผ้าและใช้ถ่านหินเป็นพลังงานในการผลิต

ในช่วงแรกนี้ เรียกว่า สมัยแห่งพลังงานไอน้ำ โดยมีลักษณะสำคัญคือ ใช้เทคโนโลยีที่ไม่ซับซ้อน เน้นวงการอุตสาหกรรมทอผ้า เริ่มมีการนำเหล็กมาเป็นพื้นฐานในการผลิต การปฏิบัติอุตสาหกรรมในระยะที่สองเกิดขึ้นในช่วงประมาณ พ.ศ. 2403-2457

ในระยะที่สองนี้เรียกว่า สมัยแห่งอุตสาหกรรมเหล็กกล้า ผลงานที่สำคัญในสมัยนี้ ได้แก่ การผลิตเหล็กกล้าแทนเหล็กธรรมดา เริ่มมีการใช้แก๊ส น้ำมันปิโตรเลียม ไฟฟ้าแทนท่านหินและไอน้ำ มีการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานหลักของอุตสาหกรรม ส่วนการผลิตด้านการเกษตรกรรมก็ได้เปลี่ยนมาเป็นการผลิตสินค้าเฉพาะอย่างเพื่อการค้า มีความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมเคมี ความก้าวหน้าในวงการการคมนาคมขนส่งและการสื่อสาร

สาเหตุของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ได้แก่ ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ การสำรวจทางทะเลและการแสวงหาอาณานิคม ความมั่นคงและเสรีภาพทางการเมืองในยุโรป และสุดท้าย ความพร้อมในการเป็นผู้นำทางการปฏิวัติอุตสาหกรรมของอังกฤษ สาเหตุที่ทำให้อังกฤษเป็นผู้นำในการปฏิวัติอุตสาหกรรม คือ ระบอบการปกครองของอังกฤษ ส่งเสริมสิทธิเสรีภาพทางความคิด การค้นคว้า รัฐให้เอกภาพแก่เอกชนในการลงทุน รัฐบาลมีความมั่นคง การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์มีความเจริญก้าวหน้า มีอาณานิคมมากทำให้มีแหล่งทรัพยากรมากกว่าประเทศอื่น มีแหล่งแร่เหล็กถ่านหิน มีการทอฝ้ายและส่งเป็นสินค้าออกมากกว่าประเทศอื่น มีการปฏิวัติทางการเกษตรกรรมมาก่อน การปฏิวัติอุตสาหกรรมในครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ เช่น ก่อให้เกิดความเจริญทางด้านการค้าระหว่างประเทศ เกิดการขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรมและเพิ่มรายได้ของประชากร เป็นต้น ด้านสังคม เช่น ชนชั้นกลางได้อำนาจทางการเมือง รัฐบาลได้ช่วยเหลือให้กรรมกรมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เป็นต้น ด้านสติปัญญา ได้เกิดแนวความคิดที่แตกต่างกัน เกิดเป็น 2 ลัทธิขึ้น คือ 1.ลัทธิเสรีนิยม การทำงานด้านธุรกิจการค้าแบบเสรีจะเป็นไปในลักษณะที่รัฐบาลเข้าไปยุ่งเกี่ยวน้อยที่สุด 2.ลัทธิสังคมนิยม รัฐบาลจะเป็นเจ้าของกิจการต่างๆ

การปฏิวัติอุตสาหกรรมส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งในทางเศรษฐกิจ  การเมืองและสังคม  ตลอดจนความก้าวหน้าทางด้านสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยีทั้งในยุโรปและดินแดนอื่น ๆ ของโลก ทำให้การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นการเป็นเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ครั้งสำคัญอีกอย่างหนึ่ง ของโลกเลยก็ว่าได้

อ้างอิง

การปฏิวัติอุตสาหกรรม. (ม.ป.ป.). วันที่สืบค้น 31 มกราคม 2557, สืบค้นจาก: http://worldcivil14.blogspot.com/2014/01/gargoyle_8.html?spref=fb

การปฏิวัติอุตสาหกรรม.  (17 ธันวาคม 2556). วันที่สืบค้น 31 มกราคม 2557, สืบค้นจาก: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น