ร่างกายของคนเรามักมีโรคร้ายมาคอยเบียดเบียนอยู่เสมอ จึงต้องป้องกันหรือรักษา บรรดาแพทย์ก็พยายามหาวิธีกำจัดโรคพวกนี้ ซึ่งหลายคนอาจจะรู้จักหลุยส์ ปาสเตอร์ ผู้ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่สุดคนหนึ่งในวงการแพทย์ที่ทำให้การแพทย์ของโลกพัฒนาก้าวหน้าอย่างมาก
หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur) เป็นนักวิทยาศาสตร์การแพทย์ชาวฝรั่งเศส เขาเป็นผู้ที่ทำให้ชาวโลกรอดพ้นจากโรคระบาดร้ายแรงต่างๆ มรดกที่เขาทิ้งไว้คือ ทางแก้และป้องกันโรคระบาดและโรคร้ายบางชนิดผลงานที่คนรู้จักคือ วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า
เขาเกิดเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ.1822 (พ.ศ.2365) ที่เมืองโดล ประเทศฝรั่งเศส เขาเป็นบุตรชายของจัง โจเซฟ ปาสเตอร์ ช่างฟอกหนัง ซึ่งฐานะทางบ้านของเขาไม่ค่อยดีนัก เขาได้รับการเลี้ยงดูอย่างดีจากบิดา เมื่อเขาเรียนจบวิชาสามัญ เขาก็ถูกส่งไปเรียนฝึกหัดครู ณ กรุงปารีส เมื่อเรียนสำเร็จแทนที่เขาจะไปเป็นครู เขากลับไปเป็นผู้ช่วยนักเคมีที่ห้องทดลอง เพื่อทำปริญญาดุษฎีบัณฑิตทางเคมีและฟิสิกส์ แล้วเขาก็ทำสำเร็จในปี ค.ศ.1847 (พ.ศ.2490)
ค.ศ.1848 ได้เป็นศาสตราจารย์สอนเคมีอยู่มหาวิทยาลัย เมืองซอร์บอนน์หลุยส์ ปาสเตอร์ได้สร้างชื่อเสียงให้ตัวเองด้วยการประดิษฐ์วัตถุทางเคมี คือ ผลึก ผลงานชิ้นนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลและเงินทองมากมาย พร้อมกันนี้เขาก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นศาสตราจารย์ทางวิชาเคมีในมหาวิทยาลัยสตาสบูร์ก
ค.ศ.1867 ได้เป็นศาสตราจารย์สอนอยู่ที่ ซอร์บอนนี่
หลุยส์ ปาสเตอร์ได้ชื่อว่าเป็นผู้ก่อกำเนิดจุลชีววิทยา เขาเป็นผู้ค้นพบจุลินทรีย์ที่เป็นภัยและเป็นประโยชน์ ส่วนที่เป็นภัยคือเชื้อโรคต่างๆ ส่วนที่เป็นประโยชน์คือเชื้อบูดที่เรียกว่า ยีสต์ ที่ทำให้ขนมปังฟู หรือทำเบียร์ทำเหล้า
เมื่อหลุยส์ ปาสเตอร์ประสบความสำเร็จในด้านค้นพบจุลินทรีย์แล้ว เขากลายเป็นบุคคลสำคัญของโรงงานผลิตเบียร์ผลิต เหล้าองุ่น เพราะก่อนหน้านี้ เจ้าของโรงงานต้องประสบกับปัญหารสชาติของสินค้า ซึ่งหลุยส์ ปาสเตอร์ต้องเป็นคนแก้ปัญหารสชาติเหล่านี้ ซึ่งการกระทำลักษณะนี้ต่อมาได้พัฒนาเป็นการฆ่าเชื้อวิธีปาสเตอร์ (Pasteurization) และเขายังทดลองโดยการนำเอาขวดซุปเนื้อขึ้นไปบนภูเขาแอลป์ซึ่ง มีอากาศบริสุทธิ์และไม่มีฝุ่นละอองเขาเปิดขวดเหล่านั้นและปล่อยทิ้งไว้ และน้ำซุปไม่เสีย บนหิ้งต่างๆของพิพิธภัณฑ์ปาสเตอร์ในกรุงปารีส มีขวดปิดไว้ซึ่งจัดทำขึ้นโดยปาสเตอร์น้ำซุปเนื้อในนั้นยังคงไม่บูดเน่า หลังจากนานกว่าร้อยปี การค้นคว้านี้ทำให้เกิดอาหารกระป๋องอย่างทุกวันนี้
งานสำคัญของเขาอีกอย่างหนึ่งที่ทำให้คนได้รู้จักเขา คือ กำจัดโรคพิษสุนัขบ้า หลุยส์ ปาสเตอร์ได้ใช้เวลาศึกษาอยู่นานจนถึงขั้นการทดลองก็เหมือนโชคเข้าข้างเขา บังเอิญเด็กคนหนึ่งถูกสุนัขบ้ากัดบิดาของเด็กคนนั้นยินยอมให้เขาทดลองยา ปรากฏว่าเด็กคนนั้นหายป่วย และความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงก็ตกเป็นของเขาในปี พ.ศ.2431สถาบันปาสเตอร์ได้รับการจัดตั้งขึ้นในกรุงปารีสและอีกหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยด้วยเพื่อต่อสู้กับโรคพิษสุนัขบ้าและโรคระบากอื่นๆซึ่งปาสเตอร์ได้ทำงานประจำในสถาบันนี้จนถึงแก่กรรม หลุยส์ ปาสเตอร์ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 กันยายน ค.ศ.1895 (พ.ศ.2438) รวมอายุได้ 73 ปี
อันที่จริงหลุยส์ ปาสเตอร์ในใจจริงเขานั้นรักทางศิลปิน เคยตั้งใจว่าจะสร้างชื่อเสียงให้แก่ตนเองด้านนี้ แต่เขากลับเปลี่ยนใจมาเอาดีด้านการแพทย์ เขาจึงเป็นอีกคนหนึ่งที่ เป็นแบบฉบับ ผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณชนอย่างแท้จริง เพราะเขาต้องทุ่มเททั้งแรงกายแรงใจ ซึ่งความทุ่มเทของเขาก็ทำให้เขามีชื่อเสียงและประสบผลสำเร็จในชีวิตและสิ่งที่เขาทุ่มเทให้ทั้งชีวิตก็ได้ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อมวลมนุษยชาติและทำให้วงการแพทย์ของโลกได้พัฒนาขึ้นอีกด้วย
อ้างอิง
ชีวประวัตินักวิทยาศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2559, จาก: http://writer.dek-d.com/oshitari/story/viewlongc.php?id=417778&chapter=16
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. 2559. หลุยส์ ปาสเตอร์. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2559, จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B8%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B9%8C_%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C
ประวัติบุคคลสำคัญของโลก. สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2559, จาก: http://personworld.exteen.com/20140920/louis-pasteur
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น