เหตุการณ์ลอบสังหารประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคเนดี

โดย ธนภูมิ นราธิปกร

อะไรจะน่าตกใจไปกว่าการที่คุณรับชมการถ่ายทอดสดการเดินขบวนในงานเฉลิมฉลองของผู้นำประเทศที่คุณรักและเคารพนับถือถูกสังหารต่อหน้าของคุณ การลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดี ก็เป็นข่าวที่ใหญ่เช่นกัน เพราะเป็นคดีที่เกิดข้อถกเถียงกันถึงวิธีการสังหารที่แท้จริงและสาเหตุของคดีดังกล่าว ว่าใครกันแน่ คือผู้ลอบสังหารตัวจริง ใครกันแน่เป็นแพะรับบาป และใครกันแน่ที่วางแผนเรื่องราวทั้งหมด

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1963 เวลา 11.40 น. ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคเนดี ประธานาธิบดีลำดับที่ 35 แห่งประเทศสหรัฐอเมริกาได้เดินทางไปยังเมืองดัลลัส รัฐเทกซัส เพื่อหาเสียงสำหรับการลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีในครั้งต่อไปของตนในสมัยที่ 2 บนรถเปิดลีมูซีนเปิดประทุน ซึ่งบนรถนั้นมี3 ช่วงคือ ช่วงหน้าสุดคนขับและเจ้าหน้าที่ตัวแทนจากทำเนียบขาว ช่วงที่สองคือผู้ภริยาว่ารัฐเทกซัสและภริยา และช่วงสุดท้ายคือ ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดี และภริยานั้นเอง



ทว่า เมื่อรถขบวนได้ขับผ่านเดลีย์พลาซ่า เมื่อประมาณเวลา 12.30 น. ขณะขบวนได้เคลื่อนเข้าไปยังถนนเอล์ม ก็เกิดเสียงปืนดังขึ้น ประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคเนดี ถูกยิงนัดแรกที่คอ และกระสุนพลาดเฉียดไปที่หลังของผู้ว่าจอห์นด้วย ซึ่งในขณะนั้น ภริยาของ จอห์น เอฟ เคเนดี ก็ยังไม่ทราบว่าสามีของตนถูกลอบสังหาร แต่คิดว่าเป็นเสียงของประทัดที่ชาวเมืองจุดฉลองต้อนรับขบวนเท่านั้น ทว่าทันใดนั้น เสียงปืนนัดที่สองก็ดังขึ้น ในคราวนี้กระสุนได้ถูกยิงเข้าที่ที่บริเวณศีรษะของประธานาธิบดี ภริยาของจอห์น เอฟ เคเนดี จึงทราบชัดแล้วว่าสามีของตนถูกลอบสังหาร ผู้คนโดยรอบสองข้างทางจึงเกิดความแตกตื่น พากันก้มหมอบหลบลงที่พื้นเพราะกลัวว่าจะโดนลูกหลง ซึ่งในขณะนั้น ภริยาของประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดี มองเห็นชิ้นเศษกะโหลกส่วนหนึ่ง  กระเด็นไปอยู่ที่กระโปรงท้ายของรถ ตนจึงรีบเอื้อมตัวเสี่ยงตายเพื่อไปเก็บส่วนกะโหลกส่วนนั้นเอาไว้ จนเจ้าหน้าที่อารักขาที่เดินตามต้องรีบวิ่งเพื่อไปจับตัวภริยาของประธานาธิบดีเอาไว้เพราะกลัวตกลงจากรถคันดังกล่าว จนมีคนกล่าวกันว่า เมื่อถึงโรงพยาบาล ภริยาของประธานาธิบดีได้นำเศษกะโหลกไปอ้อนวอนต่อแพทย์ผู้รักษาและบอกให้นำชิ้นส่วนดังกล่าวไปต่อคืนแล้วช่วยให้ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดี ฟื้นคืนชีพขึ้นมา หลังจากโดนลอบสังหารไม่นาน ประธานาธิบดีก็ได้เสียชีวิตลง จากการชันสูตรศพ พบว่าเสียชีวิตจากการถูกยิงเข้าที่ศีรษะ ซึ่งกระสุนได้เข้าทำลายสมองจนเสียชีวิตในที่สุด

ต่อมาในเวลา 13.15 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจนายหนึ่งถูกยิงเนื่องจากพบเห็นผู้ต้องสงสัยผู้ลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดี คือนาย ลี ฮาร์วี ออสวอลด์ ได้พบหลักฐานเป็นปลอกกระสุนปืนไรเฟิล จำนวน 3 ปลอกที่ชั้น 6 ของอาคารที่นายออสวอลด์ทำงานอยู่ ซึ่งบนปลอกกระสุนมีลายนิ้วมือตรงกันลายนิ้วมือของผู้ต้องสงสัยในคดีดังกล่าว โดยมีข้อมูลที่บ่งบอกได้ว่านายออสวอลด์ยังมีความเชื่อมโยงกับเคจีบีของรัฐเซียและคิวบาร์อีกด้วย


ลี ฮาวี ออสวอลด์ ผู้ลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดี

สองวันต่อมาวันที่ 24 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน จึงมีการนำนายลี ฮาร์วี ออสวอลด์ไปยังเรือนจำของรัฐเทกซัสโดยมีกำลังตำรวจหลายนายคุ้มกันอย่างหนาแน่น ในขณะที่กำลังพานายออสวอลด์ขึ้นรถนั้น ก็มีชายที่ชื่อ แจ็ค รูบี้ เดินตรงไปยังชายผู้ต้องหา และใช้อาวุธปืนสังหารนายออสวอลด์ทันทีต่อหน้าเจ้าหน้าที่ตำรวจและนักข่าว ซึ่งออสวอลด์ได้บาดเจ็บและเสียชีวิตในเวลาต่อมา ซึ่งนายรูบี้ก็อ้างว่าตนนั้นแค้นนายออสวอลด์ จึงทำการสังหารนายออสวอลด์เพราะความโกรธแค้นที่นายอสวอลด์สังหารประธานาธิบดี หลังจากนั้นนายรูบี้ก็ได้ทำอัตนิวิบากกรรมในห้องขังก่อนที่จะมีการนำตัวขึ้นศาล จึงไม่ได้มีการสอบสวนคดีดังกล่าวในชั้นศาลเลย

วันที่ 29 พฤศจิกายน ปีเดียวกันนั้น ประธานาธิบดีจอห์นสัน จึงมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อสอบสวนคดีการลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดี โดยด่วน ซึ่งใช้เวลารวมกว่า 10 เดือน ได้รายงานการสืบคดีกว่า 900 หน้า ซึ่งสรุปว่า การลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดี ครั้งนี้เกิดขึ้นเพราะผู้ก่อเหตุคนเดียวคือนาย ลี อาร์วี ออสวอลด์ โดยใช้ปืนที่ผลิตจากประเทศอิตาลี รุ่น M91/38 เป็นปืนไรเฟิลที่ถูกพบบนชั้น 6 ของอาคารเก็บหนังสือใกล้จุดเกิดเหตุ ซึ่งเป็นสถานที่ที่ใช้ลอบสังหาร แต่ไม่มีการกล่าวถึงแรงจูงใจในการสังหารดังกล่าวแต่อย่างใด

ซึ่งจากข้อสรุปจากคณะกรรมการ จะเห็นได้ว่ามีข้อบกพร่องอยู่มาก เพราะไม่มีการระบุถึงแรงจูงใจ หรือความเชื่อมโยงกับองค์กรใดหรือบุคคลภายนอก โดยสื่อต่าง ๆ ก็ได้มีการนำคดีลอบสังหารนี้ไปวิเคราะห์ โดยส่วนใหญ่ก็มีการสรุปโดยคาดเดาว่าเป็นการร่วมมือการระหว่าง FBI และ KGB ในการก่อคดีลอบสังหาร และทำการลบล้างหลักฐานต่างๆ ทั้งในขั้นตอนการชันสูตรศพ รวมไปถึงการสังหารพยานหลายคน ซึ่งทำให้ยากในการหาหลักฐานเพื่อมายืนยันได้ว่าใครคือเบื้องหลังการก่อเหตุนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ วิเคราะห์อีกว่าคดีลอบสังหารดังกล่าวนั้น ไม่สามารถกระทำได้เพียงผู้เดียว เพราะปืนที่ใช้นั้นเป็นปืนแบบลูกเลื่อน ซึ่งไม่สามารถยิงต่อเนื่องได้ในเวลาไม่กี่วินาที และต้องมีการอาศัยปืนอีกกระบอกจากแหล่งอื่นในการยิงนัดที่สองเพื่อสังหารประธานาธิบดีอย่างแน่นอน แต่อย่างไรก็ตาม หลักฐานต่างๆก็ได้สาบสูญและไม่มีผู้ใดสามารถทราบได้อีกแล้วว่าความจริงคดีการลอบสังหารนี้แท้จริงนั้นเป็นเช่นไร และสาเหตุที่แท้จริงมาจากเรื่องใดจึงทำการสังหารประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคเนดี

ถึงแม้ว่าข้อสรุปของคดีการลอบสังหารประธานาธิบดีจอห์น เอฟ เคเนดี ยังคงเป็นปริศนาอยู่ แต่การลอบสังหารดังกล่าว ก็เป็นหลักฐานที่แสดงได้ดีว่า เรื่องของการเมืองนั้นเป็นเรื่องที่ซับซ้อนมากกว่าการได้รับการยอมรับจากประชาชน และเป็นเรื่องลึกซึ้งมากหากมีการขัดผลประโยชน์ เพราะผู้ที่อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์สำคัญบนหน้าประวัติศาสตร์การเมืองทั่วโลกนั้น ย่อมต้องการให้โลกเปลี่ยนไปมากกว่าเพียงแค่ฉากหน้าที่เราเห็น

มนุษย์ไม่สามารถทราบได้เลยว่าต่อจากนี้จะเกิดเหตุการณ์ใดที่จะสร้างปริศนาและความเศร้าโศกที่ซ้ำรอยเดิมราวกับว่าเวลาหมุนย้อนกลับไปสู่อดีตอีกครา เป็นสิ่งหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่ามนุษย์ควรตระหนักในคุณค่าของชีวิตที่เป็นพรจากพระผู้เป็นเจ้าได้ประทานให้เป็นของขวัญ แม้ในชีวิตสามัญชนส่วนใหญ่ไม่มีใครคอยลอบสังหารเราเช่นในข่าว แต่อุบัติเหตุนั้นสามารถพรากความเป็นมนุษย์และสังหารเราได้ตลอดเวลา ดังนั้นเราจึงควรมีชีวิตตั้งอยู่ในความไม่ประมาทเสมอ จะช่วยให้ชีวิตของเรานั้นยืนยาวมากยิ่งขึ้น


อ้างอิง

ศิลป์ อิศเรศ.  (2556). แผนลอบสังหารเคนเนดี ปริศนาบันลือโลก. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559, จาก : http://www.unigang.com/Article/16012

อรรถสิทธิ์ เมืองอินทร์.  (2556).  จอห์น เอฟ เคนเนดี:ประธานาธิบดี เซ็กส์ อำนาจและความตาย. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559, จาก http://prachatai.org/journal/2013/11/49946

วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี. (2553). วิเคราะห์คดีลอบสังหาร จอห์น เอฟ เคนเนดี. สืบค้นเมื่อวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2559 จากเว็บไซต์ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=muforensic&month=01-2010&date=31&group=11&gblog=1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น