โดย กมลชนก คำภา
ทุกคนล้วนรู้ดีว่าโลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลตามเวลาใน
1 ปี แต่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่ามีตำนานที่กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงฤดูกาลไว้อยู่
เป็นเรื่องราวในสมัยโบราณที่มีสวรรค์ นรก เวทย์มนตร์ ปิศาจ เทพเจ้า
และมนุษย์ซึ่งการเปลี่ยนแปลงฤดูการนี้เริ่มมาจากรักต้องห้ามของเทพเจ้ากรีกผู้เป็นที่เคารพนับถือของมนุษย์โลกในขณะนั้น
คือตำนานความรักของเทพฮาเดสและเทพีเพอร์เซโฟนี
เพอร์เซโฟนี(Persephone) เป็นเทพีแห่งฤดูใบไม้ผลิเธอเป็นลูกสาวของเทพีดีมิเทอร์
(Demeter) เทพีแห่งความอุดมสมบูรณ์และมหาเทพซุส (Zeus)
ผู้ปกครองโอลิมปัส เมื่อเพอร์เซโฟนีเดินคู่กายไปกับแม่ของเธอพื้นที่นั้นจะเต็มไปด้วยพืชพรรณธัญหารที่อุดมสมบูรณ์
เธอมีอีกนามหนึ่งว่า คอเร (Kore) ซึ่งแปลว่าดอกไม้
ที่มา: https://en.wikipedia.org/ |
อยู่มาวันหนึ่ง
เพอร์เซโฟนีเทพีแห่งฤดูใบไม้ผลิผู้น่ารักสดใสไร้เดียงสาอยู่ๆก็ได้กลายเป็นราชินีแห่งยมโลกหรือนรกใต้พื้นพิภพ
หลังจากถูกเทพฮาเดส (Hades) ผู้เป็นเทพผู้ปกครองยมโลกและคนตาย
ผู้เย็นชาซึ่งมีศักดิ์เป็นพี่ชายของเทพซุสหรือเป็นลุงของเพอร์เซโฟนี ลักพาตัวเธอไปปกครองนรกด้วยกัน
รักต้องห้ามนี้ที่เกิดขึ้น
มีตำนานหลักๆ อยู่ 2 ตำนาน ที่หลายๆ คนน่าจะเคยได้ยินมา
บอกเล่าความเป็นมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ ตำนานแรกคือ
วันหนึ่งพื้นดินเกิดการสั่นสะเทือนรามไปถึงใต้พิภพจนฮาเดสร้อนใจจึงได้ประทับราชรถเทียมม้าขึ้นมาบนพื้นพิภพและได้พบกับเพอร์เซโฟนีที่กำลังเก็บดอกไม้อยู่
ฮาเดสตกหลุมรักเพอร์เซโฟนีทันที
แต่กิตติศัพท์ความหวงลูกสาวของเทพีดีมิเทอร์นั้นเป็นที่เลื่องลือ
ฮาเดสได้ตัดสินใจเข้าไปขอเพอร์เซโฟนีกับซุส
ซึ่งซุสก็ได้เห็นดีเห็นงามด้วยแต่เทพีดีมิเทอร์นั้นหวงลูกสาวมากและคงไม่ยอมยกลูกสาวให้กับฮาเดสเป็นแน่
ซุสผู้น้องจึงแนะนำให้ฮาเดสจับตัวลูกสาวของตนไปซะดีกว่า
ฮาเดสจึงได้ลักพาตัวเพอร์เซโฟนีไปเสียเลย
อีกตำนานหนึ่งคือ ตั้งแต่เล็ก
เพอร์เซโฟนีนั้นมีความแน่วแน่มากที่จะประพฤติตนเป็นเทพีพรหมจรรย์เช่นเดียวกับ
เฮสเทีย (Hestia) ผู้เป็นป้า อาธีน่า (Athena) และอาร์เทมีส (Artemis) ผู้เป็นพี่ ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับ
อโฟรไดท์ (Aphrodite) ซึ่งเป็นเทพีแห่งความงามและความรักเป็นอย่างมาก
เพราะมีเทพีที่เป็นเทพีพรหมจรรย์ถึง 3 คนก็มากเกินไปแล้วสำหรับพระนาง
ยังจะต้องมีคนที่ 4 อีกหรือ?
ที่มา: https://owlcation.com/ |
อยู่มาวันหนึ่งพื้นดินเกิดการสั่นสะเทือนจนพื้นใต้พิภพเกิดรอยแตกร้าว
ทำให้เทพฮาเดสผู้ปกครองใต้พิภพเกิดความร้อนใจ จึงได้ประทับราชรถเทียมม้าคู่ขึ้นมาตรวจสอบทันที
และเมื่อราชรถเทียมม้าขึ้นมาถึงพื้นดิน เทพีอโฟรไดท์ซึ่งเดินนวยนาดอยู่แถวนั้นพอดีได้เห็นเทพฮาเดส
จึงเกิดความคิดสนุกขึ้นมาว่า เทพฮาเดสเป็นราชาแห่งยมโลกผู้โดดเดี่ยวไร้รักเพราะไม่มีเทพีองค์ใดหมายปองที่จะลงไปอยู่ในนรกใต้พื้นพิภพกับพระองค์และเพอร์เซโฟนีเองก็กำลังจะประพฤติตนเป็นพรหมจรรย์
เทพีอโฟรไดท์จึงวางแผนให้ฮาเดสและเพอร์ซิโฟนีได้พบรักกัน จึงสั่งให้ อีรอส (Eros)
หรือ คิวปิด กามเทพแห่งรักไปยิงศรรักใส่ฮาเดส
เพื่อที่จะให้ฮาเดสนั้นตกอยู่ในห้วงรักบ้าง
อีรอสได้ทำหน้าที่แผลงศรรักทันที
หากฮาเดสต้องมนต์ของศรรัก จะทำให้ฮาเดสตกหลุมรักสิ่งแรกที่เห็นทันที
เมื่อศรรักถูกยิงไปที่ฮาเดสอย่างแม่นยำ ฮาเดสก็ได้ตกอยู่ในห้วงรักทันที
โดยสิ่งแรกที่ฮาเดสเห็นนั้นก็คือเทพีเพอร์เซโฟนีที่กำลังเก็บดอกไม้อยู่!!
ฮาเดสไม่สนความผิดชอบชั่วดี จึงตรงรี่เข้าฉุดเพอร์เซโฟนีขึ้นราชรถเทียมม้าและกลับไปสู่พื้นพิภพโดยทันที
ท่ามกลางความตกใจของเพอร์เซโฟนีและกรีดร้องเรียกหาแม่ของเธอ
ในขณะที่ฮาเดสขับราชรถจะกลับลงสู่พื้นพิภพ
ก็ได้ผ่านแม่น้ำไซยานี ซึ่งเกิดความปั่นป่วนราวกับจะขัดขวางพระองค์เอาไว้
แต่ก็ไม่สามารถต้านทานพลังของฮาเดสได้ เพอร์เซโฟนีรู้สึกได้ว่าแม่น้ำพยายามจะช่วยเธอ
เธอจึงได้ถอดสายรัดเอวของเธอลงทิ้งไปในแม่น้ำ เพื่อหวังว่าสายน้ำนี้จะพัดพาเอาสายรัดเอวไปให้แม่ของเธอ
ทางด้านเทพีดีมิเทอร์เมื่อรู้ตัวว่าลูกสาวที่รักสุดสวาทขาดใจหายไป
ก็ได้ออกตามหาเพอร์เซโฟนีไปทั่วและดีมิเทอร์ก็ได้ทราบเรื่องจากพวกนางไม้ที่คอยตามเพอร์เซโฟนีแล้วก็เฮลิออสหรือดวงอาทิตย์
ที่เห็นเรื่องราวทั้งหมด จึงเศร้าโศกเสียใจเพราะดีมิเทอร์ไม่สามารถทำอะไรฮาเดสได้
เพราะมัวแต่ร้องไห้หาลูกสาว จึงหลงลืมที่จะบันดาลให้พืชผลงอกงามส่งผลให้พืชผลแห้งเหี่ยว
มนุษย์เกิดความอดอยากและล้มตายเป็นจำนวนมาก
ดีมิเทอร์ได้ร้องเรียนให้ซุสพาลูกสาวของตนกลับคืนมา
ซุสที่ได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้และทนดูไม่ไหวเนื่องจากมนุษย์ล้มตายและไม่มีของเซ่นไหว้
จึงได้ส่งเทพเฮอร์มีสนักเจรจาลงไปยังยมโลกเพื่อขอตัวเพอร์เซโฟนีคืน
แต่ฮาเดสนั้นไม่ยอมคืนตัวเพอร์เซโฟนีให้
เฮอร์มีสจึงได้สร้างข้อตกลงขึ้นใหม่โดยกล่าวว่าเพอร์เซโฟนีนั้นไม่สามารถอยู่ในยมโลกได้เนื่องจากเป็นที่ของคนตาย
หากอยู่ต่อไปจะถือว่าผิดกฎธรรมชาติ แต่ถ้าหากเพอร์เซโฟนีได้กินอะไรก็ตามที่อยู่ในยมโลกแล้ว
จะทำให้เพอร์เซโฟนีเป็นคนของยมโลกทันที ฮาเดสย่อมมีสิทธิ์ในเธอ
ระหว่างที่อาศัยอยู่ในยมโลกใต้พื้นพิภพนั้น
เพอร์เซโฟนีได้กินทับทิมไป 3 เม็ด โดยที่เธอไม่ได้ทราบ
เงื่อนไขข้อตกลงนี้เลย
เมื่อเดินทางกลับขึ้นมายังพื้นโลก ฮาเดสก็ได้ทวงถามสิทธิ์ในการครอบครองเพอร์เซโฟนีกับซุสทันทีซุสเกิดความลำบากในการตัดสินใจเป็นอย่างมาก
จึงตัดสินยอมให้เพอร์เซโฟนีกลับไปอยู่กับฮาเดสตามจำนวนของเมล็ดทับทิมที่กินไปเป็นเวลา
3 เดือน และสามารถกลับขึ้นมาอยู่บนพื้นดินกับดีมิเทอร์ผู้เป็นแม่ได้เป็นเวลา
9 เดือน
ดังนั้นช่วงเวลาที่เพอร์เซโฟนีและดีมิเทอร์ได้อยู่ด้วยกันบนพื้นโลก พืชพรรณธัญหารของมนุษย์จะเจริญเติบโตงอกงามอุดมสมบูรณ์
สามารถเก็บเกี่ยวพืชผลได้ แต่เมื่อถึงยามที่เพอร์เซโฟนีจะต้องกลับลงไปยังยมโลก
ดีมิเทอร์ผู้เป็นแม่ก็จะเศร้าโศกเสียใจ ส่งผลให้พืชพรรณไม่สามารถเจริญงอกงามหรือเพาะปลูกขึ้นได้ถือเป็นฤดูหนาวหรือฤดูแล้งในแต่ละพื้นที่
เรื่องราวนี้จึงเป็นที่มาของการเกิดฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลงไปบนพื้นโลก
เพอร์เซโฟนีที่ได้กลายเป็นราชินีแห่งยมโลกนั้น
ได้เปลี่ยนตัวเองจากเด็กสาวที่น่ารักใสซื่อบริสุทธิ์เป็นราชินีผู้เย็นชาเนื่องจากเธอไม่ได้ต้องการที่จะอยู่ในยมโลกที่มีแต่ความมืดมิดและคนตาย
ฮาเดสจึงมักนำอัญมณีของมีค่ามาประจบเอาใจเธอ เพอร์เซโฟนีจึงมีความรู้สึกรักฮาเดสอยู่บ้าง
และฮาเดสเองก็เป็นสามีที่ซื่อสัตย์ ไม่ค่อยมีพฤติกรรมเชิงชู้สาวเหมือนเทพผู้น้ององค์อื่นๆ
ทำให้เพอร์เซโฟนีนั้นค่อนข้างหวงฮาเดสอยู่พอสมควรคล้ายคำพูดในปัจจุบันที่ว่า
รักนะแต่ไม่แสดงออก เมื่อมีเหตุการณ์ที่ทำให้ฮาเดสนอกลู่นอกทาง เช่น มีพรายสาวมายั่วยวน
ก็ถูกแม่ยายหรือเทพีดีมิเทอร์และเพอร์เซโฟนีไล่กระทืบจนตาย
และสาปให้กลายเป็นต้นมิ้นต์ มีพรายน้ำที่ชื่อว่าเลอซีที่ฮาเดสชอบพอ
แต่โชคร้ายที่อายุสั้นเพราะป่วยตายทั้งๆ ที่พรายน้ำเป็นอมตะ อาจกล่าวได้ว่าการป่วยตายนี้เป็นฝีมือของดีมิเทอร์แม่ยายที่หวงลูกเขยอีกก็เป็นได้...
และแน่นอนว่าตัวของเพอร์เซโฟนีเองแม้จะกลายเป็นราชินีแห่งยมโลกอยู่ใต้พื้นพิภพไปแล้ว
กิตติศัพท์ความน่ารักงดงามของเธอก็ยังคงทำให้ชายหนุ่มเพ้อฝัน
ถึงขั้นลงทุนเดินทางมายังยมโลก เพื่อมาขอเพอร์เซโฟนีจากฮาเดส
แน่นอนว่าล้วนเจออิทธิฤทธิ์ของราชาแห่งยมโลกผู้หวงราชินียิ่งกว่าอะไร
กลั่นแกล้งจนกลับพื้นดินโลกไม่ถูกกันเลยทีเดียว
อ้างอิง
เพอร์เซฟะนี Persephone. (2560). ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2560, จาก http://storylegendsth.blogspot.com/2017/03/Persephone.html
จาตุรันต์ เสียงดี. (2555). ต านานกรีกโบราณกับฤดูกาลที่เปลี่ยนแปลง "Persephone". ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2560, จาก https://www.gotoknow.org/posts/83595
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น