ห้องสมุดดินเหนียวเมืองนิเนเวห์ (Nineveh)

โดย อภินันท์ วิชัย

การศึกษาเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของมนุษยชาตินั้นเป็นเรื่องที่คนรุ่นหลังให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้ทราบประวัติความเป็นมาของบรรพบุรุษตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การค้นพบทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่ทำให้เราได้ทราบว่ามนุษย์ได้เริ่มประดิษฐ์อักษรขึ้นใช้เป็นครั้งแรกของโลกคือการรู้จักประดิษฐ์อักษรลิ่มหรืออักษรคูนิฟอร์มของชาวสุเมเรียนที่ได้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ลงแผ่นเดินเหนียวเก็บไว้ในห้องสมุดดินเหนียวตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งห้องสมุดดินเหนียวที่ใหญ่ที่สุดและมีความสำคัญที่สุด คือ ห้องสมุดดินเหนียวเมืองนิเนเวห์ (Nineveh Library)

ที่มา: https://allmesopotamia.wordpress.com/
ห้องสมุดดินเหนียวเมืองนิเนเวห์เป็นภูมิปัญญาของอารายธรรมเมโสโปเตเมีย ซึ่งตั้งอยู่แถบลุ่มแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส ปัจจุบัน คือ ประเทศอิรักและบางส่วนของประเทศอิหร่าน ที่ในอดีตเคยเป็นที่อยู่อาศัยของชาวสุเมเรียน บาบิโลเนียน และอัสซีเรียน ห้องสมุดดินเหนียวแห่งนี้เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ที่เก็บแผ่นดินเหนียวที่มีการบันทึกเรื่องราวต่างๆ ของอารยธรรมเมโสโปเตเมีย

เริ่มตั้งแต่ชาวสุเมเรียนเป็นชนชาติแรกที่ประดิษฐ์อักษรลิ่มหรืออักษรคูนิฟอร์มขึ้นมา โดยการใช้ไม้ตัดปลายให้แหลมกดลงแผ่นดินเหนียวที่เปียกแล้วนำไปเผาไฟหรือตากแดดให้แห้งเกิดเป็นตัวอักษรลิ่มบนแผ่นดินเหนียวบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้และมีการจัดเก็บแผ่นเดินเหนียวที่บันทึกข้อความเป็นห้องสมุดตามสถานที่ต่างๆ ทั้งห้องสมุดส่วนตัว ห้องสมุดของวัด และห้องสมุดของรัฐบาล

ที่มา: http://www.ancient-origins.net/
จากการค้นพบของนักโบราณคดีชาวอังกฤษในปี พ.ศ. 2303 - พ.ศ. 2306 ทำให้ทราบว่าห้องสมุดดินเหนียวเมืองนิเนเวห์ถูกสร้างขึ้นในสมัยของพระเจ้าอัสเซอร์บา นิปาล กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งอัสซีเรียพระองค์ได้รับสั่งให้รวบรวมแผ่นอักษรลิ่มหรือคิวนิฟอร์มมาไว้ที่ห้องสมุดแห่งนี้และมีการทำนุบำรุงจนได้รับการยกย่องเป็นที่รู้จักกันมาก

จากการค้นพบนักโบราณคดีได้พบบันทึกแผ่นดินเหนียวเป็นจำนวนมากประมาณ 25,000 แผ่น ซึ่งได้บันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้  ได้แก่ ศาสนา วรรณกรรม การเมืองการปกครอง เช่น พบบันทึกประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราบี กษัตริย์แห่งบาบิโลนที่ได้ทรงรับสั่งให้จัดทำประมวลกฎหมายขึ้นเป็นประมวลกฎหมายฉบับแรกของโลกและเป็นต้นแบบของกฎหมายลายลักษณ์อักษรในปัจจุบัน มีลักษณะเป็นประมวลกฎหมายอาญาที่ยึดหลักตาต่อตา ฟันต่อฟัน ที่ใครทำผิดอย่างไรก็จะได้รับการลงโทษอย่างนั้น

นอกจากนั้นยังพบวรรณกรรมต่างๆ เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับเทพพระเจ้า บดสวดต่างๆ และนิยายที่มีชื่อเสียงอย่างมหากาพย์กิลลาเมซเป็นหนึ่งในงานวรรณกรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เขียนลงบนแผ่นดินเหนียวขนาดใหญ่ 12 แผ่น รวมทั้งสิ้น 3,000 บรรทัดกล่าวถึงอุทกภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ในอาณาจักรบาบิโลเนีย

จารึกมหากาพย์กิลกาเมช ที่มา: http://www.komkid.com/
หลังจากอาณาจักรอัสซีเรียถูกรุกรานห้องสมุดดินเหนียวต่างๆ จึงถูกทำลายไปด้วย ความนิยมการบันทึกข้อความลงบนแผ่นเดินเหนียวก็ไม่เป็นที่นิยมเพราะระยะต่อมามีวัสดุอื่นๆ ที่คงทนมากกว่าแผ่นดินเหนียวทำให้การบันทึกข้อความลงบนแผ่นดินเหนียวนั้นเริ่มหายไป เหลือเพียงแต่ห้องสมุดเมืองนิเนเวห์ที่ยังคงมีบันทึกแผ่นดินเหนียวหลายหมื่นแผ่นให้เราได้ศึกษา จึงถือได้ว่าเป็นห้องสมุดดินเหนียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก

นับว่าห้องสมุดดินเหนียวเมืองนิเนเวห์ป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญคัญของโลกที่ทำให้เราสามารถค้บพบเรื่องราวความเป็นอยู่ของผู้คนในอดีตแสดงถึงภูมิปัญญาของคนสมัยก่อนที่ต้องการบันทึกเรื่องราวต่างๆ ไว้ จึงได้ประดิษฐ์อักษรเขียนลงแผ่นดินเหนียวเก็บไว้ในห้องสมุดจนเกิดเป็นห้องสมุดดินเหนียวและเป็นต้นแบบของห้องสมุดในการจัดเก็บเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ถ่ายทอดความรู้ ศิลปะ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมต่างๆ จนกลายเป็นรากฐานของอารยธรรมโลกในยุคปัจจุบัน

อ้างอิง

จุมพล  วนิชกุล. (2546). พัฒนาการของสารนิเทศ. ค้นเมื่อ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2560, จาก  http://wachum.com/eBook/1631101/doc1-4.html

ภัทราพร   เตชวาณิชย์. (2556). ห้องสมุดดินเหนียว. ค้นเมื่อ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2560, จาก   https://pattraporn093.wordpress.com/2013/12/23/ห้องสมุดดินเหนียว/

April Holloway. (2556). Sip Like a Sumerian: Ancient Beer Recipe Recreated from Millennia-Old

Cuneiform Tablets. ค้นเมื่อ วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2560, จาก http://www.ancient-origins.net/news-history-archaeology


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น