โดย ธีระศักดิ์ ทองบุ
ในยุคปัจจุบันนอกจากเราจะได้ยินคำว่า "การปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย" ซึ่งหมายถึงการยึดมหาชนเป็นเจ้าของอำนาจในการปกครอง แต่การปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยจะถือว่าไม่สมบูรณ์แบบถ้าไม่ยึดหลักนิติรัฐหรือหลักนิติธรรม สองคำนี้ยังเป็นที่สับสนในปัจจุบันว่า แท้จริงแล้วมันมีความหมายว่าอย่างไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง และมีความแตกต่างกันอย่างไร บทความนี้มุ่งที่จะสื่อให้เข้าใจเบื้องต้นของความหมาย องค์ประกอบ และความแตกต่าง ตลอดจนสองหลักนี้นำไปใช้กับระบบกฎหมายระบบใดในสังคม/รัฐ ระหว่าง civil law และ common law
หลักนิติรัฐ
1.ความหมาย
นิติรัฐ เป็นคำที่แปลมาจากภาษาเยอรมันว่า Rechtsstaat ความหมายจากคำนี้สาระสำคัญคือ การปกครองแบบนิติรัฐ คือการปกครองที่กฎหมายจะต้องไม่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองใช้อำนาจตามอำเภอใจ และภายใต้กฎหมายเดียวกันทุกคนต้องเสมอภาคกัน ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย และใช้กฎหมายตามอำเภอใจได้
2.องค์ประกอบของหลักนิติรัฐ
ณ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า หลักนิติรัฐมีองค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญหลักๆ คือ องค์ประกอบในทางรูปแบบ และองค์ประกอบในทางเนื้อหา
1) องค์ประกอบในทางรูปแบบของหลักนิติรัฐ คือ การปกครองที่รัฐยอมผูกพันตนเองไว้กับกฎหมายที่องค์กรของรัฐสภาตราขึ้นตามกระบวนการที่รัฐธรรมนูญกำหนดขึ้นหรือที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจไว้ เพื่อจำกัดอำนาจของรัฐลง ทั้งนี้ถ้าพิจารณาในทางรูปแบบยังมีหลักย่อย อาทิ หลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำขององค์กรของรัฐ หลักประกันสิทธิในกระบวนการพิจารณาคดี และหลักประกันสิทธิของปัจเจกบุคคลในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม
2) องค์ประกอบในทางเนื้อหาของนิติรัฐ คือการที่รัฐประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน โดยมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดเป็นการเรียกร้องให้รัฐต้องกระทำการโดยถูกต้องและยุติธรรม ทั้งนี้เห็นว่าองค์ประกอบในแง่เนื้อหาของนิติรัฐต้องถูกต้องและยุติธรรม
กล่าวโดยสรุป การปกครองโดยหลักนิติรัฐคือการปกครองที่รัฐยอมตนอยู่ภายใต้กฎหมาย (State under the rule of law) ประชาชนในรัฐได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพไว้ในรัฐธรรมนูญ มีองค์กรตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญคือองค์กรตุลาการหรือศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวคือรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐ/ฝ่ายปกครอง จะใช้อำนาจตามอำเภอใจมิได้
หลักนิติธรรม
1) ความหมาย
The Rule of Law เป็นหลักพื้นฐานในระบบกฎหมายแบบ Common Law อาทิประเทศอังกฤษ ในวงการกฎหมายไทยแปลคำนี้ว่า "หลักนิติธรรม" ใจความสำคัญของหลักนิติธรรมเห็นว่ามนุษย์ไม่ควรที่จะปกครองมนุษย์ด้วยกันเอง ควรถูกปกครองด้วยกฎหมายที่ยินยอมพร้อมใจกันของคนในสังคม
2) เนื้อหาของหลักนิติธรรม
A.V.Dicey เป็นนักกฎหมายรัฐธรรมนูญของอังกฤษ เป็นนักกฎหมายที่มีบทบาทที่สุดคนหนึ่งในการพัฒนาหลักนิติธรรม Dicey เห็นว่าหลักนิติธรรมต้องสัมพันธ์กับความมีอำนาจสูงสุดในรัฐสภา กล่าวคือ บุคคลทุกคนต้องเสมอภาคกันภายใต้กฎหมายเดียวกัน ไม่มีการแบ่งชนชั้นเพื่ออยู่เหนือกฎหมาย ซึ่งศาลจะเป็นผู้รักษาไว้ซึ่งกฎหมาย (ในประเทศด้วยระบบกฎหมายแบบ Common Law ศาลพิพากษาคดีใดจะถือว่าเป็นกฎหมายให้ยึดถือต่อไป ในคดีต่างๆในอนาคต) ประชาชนในรัฐจะต้องไม่ถูกลงโทษ หากไม่ได้ทำผิดกฎหมาย
กล่าวโดยสรุป หลักนิติธรรม คือบรรดาการกระทำทั้งหลายของรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับกฎหมาย จะต้องไม่กระทำก้าวล่วงสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามอำเภอใจ หากว่ารัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐกระทำการขัดต่อกฎหมาย การกระทำดังกล่าวย่อมต้องถูกฟ้องที่ศาลยุติธรรม (ประเทศที่ยึดระบบ Common Law จะไม่มีการแบ่งแยกระหว่างกฎหมายมหาชนและเอกชน อาทิอังกฤษ จึงไม่มีศาลปกครอง มีแต่ศาลยุติธรรม เพราะหลักนิติธรรมถือว่าทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและศาลเดียวกัน)
ความแตกต่างระหว่างหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม
1) ความแตกต่างในแง่ของบ่อเกิดของกฎหมาย ในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายแบบ Common Law อาทิ ประเทศอังกฤษ ซึ่งยึดหลักนิติธรรมในการปกครองประเทศ กฎหมายจะเกิดจากการที่ศาลตัดสินคดีหนึ่งคดีใด คดีนั้นก็จะตกทอดต่อมาเป็นลำดับ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายที่ใช้ยังคับและตัดสินคดีต่อไป ส่วนประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายแบบ Civil Law ศาลไม่ใช่ผู้ออกกฎหมาย แต่ศาลมีหน้าที่ตัดสินตามตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายที่กำหนดไว้โดยชัดเจน คำพิพากษาต่างๆจะเป็นแค่แนวทางพิพากษาเท่านั้น ไม่ถือว่าการตัดสินคดีหลังจะต้องเป็นไปตามแนวเดียวกันแต่อย่างใด
2) ความแตกต่างในแง่ของการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน ในระบบกฎหมายแบบ Common Law อาทิประเทศอังกฤษ จะไม่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร การประกันสิทธิขั้นพื้นฐานจึงไม่ได้เป็นการประกันไว้ในระดับรัฐธรรมนูญ ส่วนในประเทศที่ยึดระบบกฎหมายแบบ Civil Law อาทิ เยอรมนี ไทย ฝรั่งเศส เป็นต้น จะมีการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในระดับรัฐธรรมนูญ
3) ความแตกต่างในแง่ของการควบคุมตรวจสอบการตรากฎหมาย ในประเทศที่ปกครองด้วยหลักนิติรัฐ จะมีองค์กรควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ที่ตราขึ้นจากฝ่ายนิติบัญญัติ คือองค์กรตุลาการหรือศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนประเทศที่ยึดหลักนิติธรรม จะไม่มีศาลรัฐธรรมนูญในการควบคุมตรวจสอบ จะถือให้รัฐสภาเป็นการควบคุมกันในทางการเมืองไม่ใช่ในทางกฎหมาย อาทิ ประเทศอังกฤษ
4) ความแตกต่างในแง่ของการมีศาลปกครองและระบบวิธีพิจารณาคดี ในระบบกฎหมาย Common Law อย่างประเทศอังกฤษ จะไม่มีการแบ่งแยกระหว่างกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชน อังกฤษจึงไม่มีศาลปกครอง ในการฟ้องร้องตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำฝ่ายปกครอง แต่สำหรับประเทศอังกฤษจะฟ้องร้องความไม่ชอบธรรมของการกระทำฝ่ายปกครองได้ที่ศาลยุติธรรม เพราะประเทศที่ยึดหลักนิติธรรมจะถือว่าประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ/ฝ่ายปกครองทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและศาลเดียวกันส่วนประเทศที่ปกครองด้วยระบบกฎหมายแบบ Civil Law จะมีการแยกกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชนออกจากกัน ทำให้มีแบบวิธีพิจารณาคดีต่างกันกล่าวคือมีศาลปกครอง ซึ่งศาลปกครองมีอำนาจสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการได้ แต่หากเจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติศาลปกครองก็ไม่มีอำนาจลงโทษเจ้าหน้าที่โดยถือว่าเจ้าหน้าที่ละเมิดอำนาจศาลได้
5) ความแตกต่างในแนวความคิดเรื่องการแบ่งแยกอำนาจ ในการปกครองโดยหลักนิติรัฐ การแบ่งแยกอำนาจเป็นองค์ประกอบสำคัญของนิติรัฐจะขาดเสียมิได้ ส่วนในหลักนิติธรรมจะไม่พบว่ามีการแบ่งแยกอำนาจแต่อย่างใด แต่ทั้งสองหลักมีจุดคล้ายกันคือจะยอมรับความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการ
บทสรุป
เนื้อหาสาระจากบทความข้างต้น ได้แสดงให้เห็นถึงความหมาย องค์ประกอบ สาระสำคัญ และข้อแตกต่างระหว่างหลักนิติรัฐกับหลักนิติธรรม แม้ทั้งสองหลักจะยังมีความแตกต่างกันอยู่ แต่ทั้งสองหลักการก็มุ่งที่จะสรรสร้างความยุติธรรมและสันติสุขให้เกิดในสังคมมนุษย์ตามบริบทของแต่ละสังคม
อ้างอิง
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ:โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2557.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. ด้วยกฎหมายและอุดมการณ์. กรุงเทพ:ไซน์พับลิชซิ่งเฮ้าส์.2558.
สิทธิกร ศักดิ์แสง. การปกครองแบบนิติรัฐที่ยึดหลักนิติธรรมกับปรัชญากฎหมายที่มีอิทธิพลต่อการจัดทำและการแก้ไขเพิ่มเติมทำรัฐธรรมนูญไทย. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์เดือนตุลา.2553.
ในยุคปัจจุบันนอกจากเราจะได้ยินคำว่า "การปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย" ซึ่งหมายถึงการยึดมหาชนเป็นเจ้าของอำนาจในการปกครอง แต่การปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยจะถือว่าไม่สมบูรณ์แบบถ้าไม่ยึดหลักนิติรัฐหรือหลักนิติธรรม สองคำนี้ยังเป็นที่สับสนในปัจจุบันว่า แท้จริงแล้วมันมีความหมายว่าอย่างไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง และมีความแตกต่างกันอย่างไร บทความนี้มุ่งที่จะสื่อให้เข้าใจเบื้องต้นของความหมาย องค์ประกอบ และความแตกต่าง ตลอดจนสองหลักนี้นำไปใช้กับระบบกฎหมายระบบใดในสังคม/รัฐ ระหว่าง civil law และ common law
ที่มา: https://www.google.co.th/
หลักนิติรัฐ
1.ความหมาย
นิติรัฐ เป็นคำที่แปลมาจากภาษาเยอรมันว่า Rechtsstaat ความหมายจากคำนี้สาระสำคัญคือ การปกครองแบบนิติรัฐ คือการปกครองที่กฎหมายจะต้องไม่เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองใช้อำนาจตามอำเภอใจ และภายใต้กฎหมายเดียวกันทุกคนต้องเสมอภาคกัน ไม่มีใครอยู่เหนือกฎหมาย และใช้กฎหมายตามอำเภอใจได้
2.องค์ประกอบของหลักนิติรัฐ
ณ ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า หลักนิติรัฐมีองค์ประกอบที่เป็นสาระสำคัญหลักๆ คือ องค์ประกอบในทางรูปแบบ และองค์ประกอบในทางเนื้อหา
1) องค์ประกอบในทางรูปแบบของหลักนิติรัฐ คือ การปกครองที่รัฐยอมผูกพันตนเองไว้กับกฎหมายที่องค์กรของรัฐสภาตราขึ้นตามกระบวนการที่รัฐธรรมนูญกำหนดขึ้นหรือที่รัฐธรรมนูญมอบอำนาจไว้ เพื่อจำกัดอำนาจของรัฐลง ทั้งนี้ถ้าพิจารณาในทางรูปแบบยังมีหลักย่อย อาทิ หลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำขององค์กรของรัฐ หลักประกันสิทธิในกระบวนการพิจารณาคดี และหลักประกันสิทธิของปัจเจกบุคคลในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม
2) องค์ประกอบในทางเนื้อหาของนิติรัฐ คือการที่รัฐประกันสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน โดยมีการกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดเป็นการเรียกร้องให้รัฐต้องกระทำการโดยถูกต้องและยุติธรรม ทั้งนี้เห็นว่าองค์ประกอบในแง่เนื้อหาของนิติรัฐต้องถูกต้องและยุติธรรม
กล่าวโดยสรุป การปกครองโดยหลักนิติรัฐคือการปกครองที่รัฐยอมตนอยู่ภายใต้กฎหมาย (State under the rule of law) ประชาชนในรัฐได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพไว้ในรัฐธรรมนูญ มีองค์กรตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญคือองค์กรตุลาการหรือศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวคือรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐ/ฝ่ายปกครอง จะใช้อำนาจตามอำเภอใจมิได้
หลักนิติธรรม
1) ความหมาย
The Rule of Law เป็นหลักพื้นฐานในระบบกฎหมายแบบ Common Law อาทิประเทศอังกฤษ ในวงการกฎหมายไทยแปลคำนี้ว่า "หลักนิติธรรม" ใจความสำคัญของหลักนิติธรรมเห็นว่ามนุษย์ไม่ควรที่จะปกครองมนุษย์ด้วยกันเอง ควรถูกปกครองด้วยกฎหมายที่ยินยอมพร้อมใจกันของคนในสังคม
2) เนื้อหาของหลักนิติธรรม
A.V.Dicey เป็นนักกฎหมายรัฐธรรมนูญของอังกฤษ เป็นนักกฎหมายที่มีบทบาทที่สุดคนหนึ่งในการพัฒนาหลักนิติธรรม Dicey เห็นว่าหลักนิติธรรมต้องสัมพันธ์กับความมีอำนาจสูงสุดในรัฐสภา กล่าวคือ บุคคลทุกคนต้องเสมอภาคกันภายใต้กฎหมายเดียวกัน ไม่มีการแบ่งชนชั้นเพื่ออยู่เหนือกฎหมาย ซึ่งศาลจะเป็นผู้รักษาไว้ซึ่งกฎหมาย (ในประเทศด้วยระบบกฎหมายแบบ Common Law ศาลพิพากษาคดีใดจะถือว่าเป็นกฎหมายให้ยึดถือต่อไป ในคดีต่างๆในอนาคต) ประชาชนในรัฐจะต้องไม่ถูกลงโทษ หากไม่ได้ทำผิดกฎหมาย
กล่าวโดยสรุป หลักนิติธรรม คือบรรดาการกระทำทั้งหลายของรัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐจะต้องอยู่ภายใต้ข้อบังคับกฎหมาย จะต้องไม่กระทำก้าวล่วงสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามอำเภอใจ หากว่ารัฐหรือเจ้าหน้าที่รัฐกระทำการขัดต่อกฎหมาย การกระทำดังกล่าวย่อมต้องถูกฟ้องที่ศาลยุติธรรม (ประเทศที่ยึดระบบ Common Law จะไม่มีการแบ่งแยกระหว่างกฎหมายมหาชนและเอกชน อาทิอังกฤษ จึงไม่มีศาลปกครอง มีแต่ศาลยุติธรรม เพราะหลักนิติธรรมถือว่าทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและศาลเดียวกัน)
ความแตกต่างระหว่างหลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม
1) ความแตกต่างในแง่ของบ่อเกิดของกฎหมาย ในประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายแบบ Common Law อาทิ ประเทศอังกฤษ ซึ่งยึดหลักนิติธรรมในการปกครองประเทศ กฎหมายจะเกิดจากการที่ศาลตัดสินคดีหนึ่งคดีใด คดีนั้นก็จะตกทอดต่อมาเป็นลำดับ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายที่ใช้ยังคับและตัดสินคดีต่อไป ส่วนประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายแบบ Civil Law ศาลไม่ใช่ผู้ออกกฎหมาย แต่ศาลมีหน้าที่ตัดสินตามตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายที่กำหนดไว้โดยชัดเจน คำพิพากษาต่างๆจะเป็นแค่แนวทางพิพากษาเท่านั้น ไม่ถือว่าการตัดสินคดีหลังจะต้องเป็นไปตามแนวเดียวกันแต่อย่างใด
2) ความแตกต่างในแง่ของการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน ในระบบกฎหมายแบบ Common Law อาทิประเทศอังกฤษ จะไม่มีรัฐธรรมนูญที่เป็นลายลักษณ์อักษร การประกันสิทธิขั้นพื้นฐานจึงไม่ได้เป็นการประกันไว้ในระดับรัฐธรรมนูญ ส่วนในประเทศที่ยึดระบบกฎหมายแบบ Civil Law อาทิ เยอรมนี ไทย ฝรั่งเศส เป็นต้น จะมีการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนในระดับรัฐธรรมนูญ
3) ความแตกต่างในแง่ของการควบคุมตรวจสอบการตรากฎหมาย ในประเทศที่ปกครองด้วยหลักนิติรัฐ จะมีองค์กรควบคุมตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ที่ตราขึ้นจากฝ่ายนิติบัญญัติ คือองค์กรตุลาการหรือศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนประเทศที่ยึดหลักนิติธรรม จะไม่มีศาลรัฐธรรมนูญในการควบคุมตรวจสอบ จะถือให้รัฐสภาเป็นการควบคุมกันในทางการเมืองไม่ใช่ในทางกฎหมาย อาทิ ประเทศอังกฤษ
4) ความแตกต่างในแง่ของการมีศาลปกครองและระบบวิธีพิจารณาคดี ในระบบกฎหมาย Common Law อย่างประเทศอังกฤษ จะไม่มีการแบ่งแยกระหว่างกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชน อังกฤษจึงไม่มีศาลปกครอง ในการฟ้องร้องตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำฝ่ายปกครอง แต่สำหรับประเทศอังกฤษจะฟ้องร้องความไม่ชอบธรรมของการกระทำฝ่ายปกครองได้ที่ศาลยุติธรรม เพราะประเทศที่ยึดหลักนิติธรรมจะถือว่าประชาชนและเจ้าหน้าที่รัฐ/ฝ่ายปกครองทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้กฎหมายและศาลเดียวกันส่วนประเทศที่ปกครองด้วยระบบกฎหมายแบบ Civil Law จะมีการแยกกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชนออกจากกัน ทำให้มีแบบวิธีพิจารณาคดีต่างกันกล่าวคือมีศาลปกครอง ซึ่งศาลปกครองมีอำนาจสั่งให้เจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการได้ แต่หากเจ้าหน้าที่ไม่ปฏิบัติศาลปกครองก็ไม่มีอำนาจลงโทษเจ้าหน้าที่โดยถือว่าเจ้าหน้าที่ละเมิดอำนาจศาลได้
5) ความแตกต่างในแนวความคิดเรื่องการแบ่งแยกอำนาจ ในการปกครองโดยหลักนิติรัฐ การแบ่งแยกอำนาจเป็นองค์ประกอบสำคัญของนิติรัฐจะขาดเสียมิได้ ส่วนในหลักนิติธรรมจะไม่พบว่ามีการแบ่งแยกอำนาจแต่อย่างใด แต่ทั้งสองหลักมีจุดคล้ายกันคือจะยอมรับความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการ
บทสรุป
เนื้อหาสาระจากบทความข้างต้น ได้แสดงให้เห็นถึงความหมาย องค์ประกอบ สาระสำคัญ และข้อแตกต่างระหว่างหลักนิติรัฐกับหลักนิติธรรม แม้ทั้งสองหลักจะยังมีความแตกต่างกันอยู่ แต่ทั้งสองหลักการก็มุ่งที่จะสรรสร้างความยุติธรรมและสันติสุขให้เกิดในสังคมมนุษย์ตามบริบทของแต่ละสังคม
อ้างอิง
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. คำสอนว่าด้วยรัฐและหลักกฎหมายมหาชน. กรุงเทพฯ:โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. 2557.
วรเจตน์ ภาคีรัตน์. ด้วยกฎหมายและอุดมการณ์. กรุงเทพ:ไซน์พับลิชซิ่งเฮ้าส์.2558.
สิทธิกร ศักดิ์แสง. การปกครองแบบนิติรัฐที่ยึดหลักนิติธรรมกับปรัชญากฎหมายที่มีอิทธิพลต่อการจัดทำและการแก้ไขเพิ่มเติมทำรัฐธรรมนูญไทย. กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์เดือนตุลา.2553.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น