โคลอสเซียม (Colosseum)

โดย สิบสกุล โพธิ์พันธุ์กระจ่าง

หากย้อนเวลากลับไปค้นหาอาณาจักรที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักมากที่สุดในประวัติศาสตร์ คงจะหนีไม่พ้น อาณาจักรโรมัน  อาณาจักรโรมันหรือจักรวรรดิโรมันนั้น ได้ก่อให้เกิดอารยธรรมหลายอย่างขึ้นมาที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางวัฒณธรรมและเป็นแบบแผนในการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบัน ทั้งด้าน กฎหมาย ด้านการเมือง การปกครอง สาธารณูปโภค ด้านชลประทาน และอื่นๆอีกหลายๆด้าน รวมถึง ด้านกีฬา  ในสมัยกรีกนั้นได้เกิดกีฬาขึ้นมาหลายอย่าง อาทิ เช่น กีฬาโอลิมปิก และมาราธอน แต่ต่อมาในสมัยโรมันนั้นได้นิยมจัดการเล่นกีฬากลางแจ้ง เช่น การสู้รับ โดยจัดการแข่งขันในสนามกีฬาที่ถูกจัดสร้างขึ้นมาให้มีขนาดใหญ่พอที่จะจุผู้ชมให้ได้ราว 50,000 คน สนามกีฬาที่มีขนาดใหญ่มหึมาแห่งนี้ มีชื่อว่า “โคลอสเซียม”

โคลอสเซียม หรือ โคลอสโซ  ถือว่าเป็นสนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ ที่มีลักษณะเป็นรูปวงกลมคล้ายอัฒจันทร์ก่อสร้างด้วยอิฐและหินทรายทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่มีความแข็งแรงและขนาดมหึมามีอายุเฉลี่ยมากกว่า 1,900ปี โดยสามารถวัดโดยรอบตัวสนามได้ประมาณ 527 เมตร สูงประมาณ 57 เมตร และสามารถจุผู้ชมได้ถึง 50,000คน ถึงแม้ว่าสนามกีฬาจะมีรูปร่างวงกลม แต่ภายในตัวสนามกีฬาจริงๆนั้นกลับมีรูปร่างเป็นวงรี ถือว่านับเป็นการก่อสร้างที่ชาญฉลาดของคนในสมัยนั้น ก็เพื่อไม่ให้มีจุดอับและให้ผู้ชมได้รู้สึกว่าตนได้เข้าใกล้นักกีฬามากขึ้นนั่นเอง อีกทั้งภายในสนามยังมีระบบระบายน้ำที่ถูกทำขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดน้ำขังในสนามเวลาที่ฝนตกอีกด้วย

โดยปัจจุบัน โคลอสเซียมนั้นได้ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม ประเทศอิตาลี ภายใต้การควบคุมดูแลของรัฐบาลอิตาลี


     
โดยแต่เดิมทีโคลอสเซียมนั้นถูกก่อตั้งในสมัยพระเจ้าจักรพรรดิเวสปาเซียน (Vespasian) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฟลาเวียน (Flavian) เมื่อพระองค์เสด็จขึ้นครองราชย์ใน ค.ศ. 69  ทำให้มีการสันนิษฐานว่าโคลอสเซียมนั้นถูกสร้างใน ค.ศ.72 แล้วเสร็จในสมัยของพระเจ้าจักรพรรดิไททัส ในคริสต์ศตวรรษที่ 1 หรือประมาณปี ค.ศ. 80 โดยใช้ระยะเวลาสร้างประมาณ 8ปี เป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อว่าจะสามราถสร้างเสร็จในระยะเวลาอันสั้นด้วยเทคโนโลยีที่มีในขณะนั้น



โคลอสเซียมนั้นเป็นสนามกีฬาที่เปิดให้ชาวโรมันได้เข้าชมสัตว์ป่าต่อสู้กัน รวมถึงคนต่อสู้กับสัตว์ป่า เช่น เปิดให้คนสู้กับสิงโต หรือหมูป่าดุร้าย เมื่อคนต่อสู้สัตว์ร้ายได้จะถือว่าคนนั้นเป็นผู้ชนะและจุดเด่นของโคลอสเซียมนั้น ยังมีไว้เพื่อนชมการแข่งขันของการต่อสู้ระหว่างคนกับคน หรือที่เรียกกันว่า กลาดิเอเตอร์

กลาดิเอเตอร์ส่วนมากนั้นคือ เชลยจากสงครามหรือทาส โดยเชลยสงครามจะถูกจับมาเป็นนักกีฬาเพื่อต่อสู้ให้ผู้ชมกว่า 50,000คนได้ชมและได้พนันกันอย่างสนุกสนาน  โดยกลาดิเอเตอร์ผู้ที่ชนะก็จะต่อสู้     และสังหารผู้แพ้เพื่อที่จะไปต่อสู้กับกลาดิเอเตอร์ผู้ที่เก่งกว่าไปเรื่อยๆ  จนกว่าจะเป็นสุดยอดแห่งกลาดิเอเตอร์  เพราะเขาเหล่านั้นเชื่อว่าถ้าเป็นที่หนึ่ง ก็จะมีอิสรภาพและหลุดพ้นจากการเป็นทาสสงครามได้ สำหรับผู้ที่ตายในการต่อสู้นั้น ก็จะได้รับเงินค่าฌาปณกิจจากผู้คนที่มารับชมการแสดง  ต่อมาเมื่อยุครุ่งเรืองเริ่มจางหายไป การต่อสู้ก็เริ่มลดจำนวนน้อยลง เชื่อกันว่าการต่อสู้ครั้งสุดท้าย ของกลาดิเอเตอร์นั้นสิ้นสุดลงเมื่อ ค.ศ.404 สันนิษฐานว่าเกิดจากเหตุแผ่นดินไหวจึงไม่สามารถจัดการแข่งขันต่อไปได้

ต่อมาภายหลังจากที่อาณาจักรโรมันเสื่อมสภาพลง ก็ถูกข้าศึกเข้าทำลายหลายครั้งจนที่สุด โคลอสเซียมหรือสนามกีฬากลางแจ้งอันรุ่งโรจน์ของโรมันก็ถูกทำลายลง เหลือแต่เพียงเศษซากของสถาปัตยกรรมขนาดมหึมาดำรงไว้ถึงปัจจุบันไว้ให้ได้ชมกัน

นับได้ว่าโคลอสเซียมคือ 1 ใน 7สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ จากการจัดอันดับของการลงคะแนนทั่วโลกถือว่าเป็นสถาปัตยกรรมโบราณอย่างหนึ่งที่มีให้เห็นจวบจนปัจจุบันและควรค่าแก่การอณุรักษ์ไว้ โดยปัจจุบันนั้นโคลอสเซียมได้อยู่ภายใต้อำนาจกำกับดูแลของรัฐบาลอิตาลีซึ่งเปิดให้คนทั่วไปเข้าชมโดยมีค่าใช้จ่าย ปัจจุบันโคลอสเซียมตั้งอยู่บริเวณด้านข้างของประตูชัยคอนสแตนติน ซึ่งถือได้ว่าเป็นประตูชัยต้นแบบของประเทศฝรั่งเศส โดยในวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 โคลอสเซียมได้ถูกจัดอำดับให้เป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกจากการโหวดโดยประชาชนทั่วไป

อ้างอิง

สมเจตน์ เจตนสุนทรเวทิน.2559. สนามกีฬากลางแจ้งขนาดใหญ่ที่มีโครงสร้างเกือบสมบูรณ์ตั้งอยู่ใจกลางกรุงโรม ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 10 ปี โดยเริ่มต้นสมัยจักรพรรดิเวสปาเซียน (ราวปี ค.ศ. 72)(ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2559, จาก:  http://www.sahavicha.com/?name=knowledge&file=readknowledge&id=3004

Abroad-Tour.com.2559. โคลอสเซียม(ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2559, จาก:  http://www.abroad-tour.com/italy/world_heritage/colosseum.html.

วิกิพีเดีย.2559. โคลอสเซียม. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2559, จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/โคลอสเซียม(ออนไลน์).


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น