เมื่อพูดถึงซีเรียผู้คนมักนึกถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ คงไม่มีสงครามใดได้รับความสนใจจากทั่วโลกมากไปกว่าสงครามกลางเมือง ประเทศซีเรีย ที่เมือง “อเลปโป (Aleppo) ภูมิภาคตะวันออกกลาง กลายเป็นเป็นสมรภูมิสงครามความขัดแย้งที่ ก่อความเสียหาย สภาพความเป็นอยู่ของผู้คนที่ได้รับผลกระทบจากสงครามการเมืองและความเสียหายที่มาจากสงคราม หลายเมืองที่เป็นพื้นที่มรดกโลก ถูกทำลายเหลือเพียงซากปรักหักพัง สงครามที่เกิดขึ้นจากกลุ่มคนผู้มีอำนาจ ทำไม ถึงได้สร้างความเสียหายความรุนแรงและความน่าหดหู่ของสงครามกลางเมืองที่เกิดขึ้นได้มากขนาดนี้ ?
อเลปโป (Aleppo) หรือ ฮะลับ เป็นเมืองที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศซีเรีย และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ซึ่งเป็นเขตผู้ว่าราชการที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศ มีจำนวนประชากรอย่างเป็นทางการ 2,132,100 คน (ค.ศ. 2004) เป็นหนึ่งในเมืองที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเลแวนต์ ร่วมหลายศตวรรษที่เมืองที่ใหญ่ที่สุดในเกรตเตอร์ซีเรีย และเป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 3 ของอาณาจักรออตโตมัน รองจากอิสตันบูลและไคโร
เมืองอเลปโปก่อนสงครามกลางเมือง
ที่มา: https://mic.com/articles/
อเลปโปเป็นหนึ่งในเมืองที่เก่ามีคนอาศัยอยู่อย่างต่อเนื่องยาวนาน มีคนอาศัยอยู่ตั้งแต่ช่วงต้นของ 6 สหัสวรรษก่อนคริสต์ศักราช ได้รับการกล่าวถึงในหินคูนิฟอร์มในเอบลาและเมโสโปเตเมียที่กล่าวถึง ความช่ำชองในการค้าและการทหาร และด้วยประวัติอันยาวนาน อาจเป็นสาเหตุให้เป็นจุดยุทธศาสตร์ เป็นจุดกึ่งกลางระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับเมโสโปเตเมีย
ก่อนสงครามในซีเรียจะเกิดขึ้น ชาวซีเรียได้เผชิญกับปัญหาการว่างงาน คอร์รัปชัน การขาดเสรีภาพทางการเมือง ตลอดจนการปราบปรามอย่างเข้มงวดโดยรัฐ จนกระทั่งกลางเดือนมีนาคม ปี 2554 การลุกฮือของประชาชนเพื่อต่อต้านรัฐในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง หรือ อาหรับสปริง (Arab Spring) ก็ได้จุดชนวนการประท้วงต่อต้านระบบการปกครอง ภายใต้การนำของประธานาธิบดี บาชาร์ อัล อัสซาด และรัฐบาลซีเรีย ที่กดขี่พวกเขามากว่า 40 ปี
ในช่วงเริ่มแรก กลุ่มกบฏผู้ต่อต้านรัฐบาล ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเป็นชาวมุสลิมนิกายซุนนี มีเพียงแค่ป้ายและเพลงเป็นเครื่องมือในการเรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตยในครั้งนั้น แต่หลังจากที่รัฐบาลซีเรีย ซึ่งอยู่ภายใต้อิทธิพลของชาวมุสลิมนิกายชีอะห์ ได้มีกำลังปราบปรามต่อกลุ่มกบฏอย่างรุนแรง เช่น การใช้กำลังทหารจับกุม และการบังคับให้สูญหาย (forced disappearance) กลุ่มกบฏจึงหันมาจับอาวุธ ในขณะที่ ทหารซีเรียส่วนหนึ่งซึ่งไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลก็จัดตั้งกองกำลังปลดปล่อยซีเรีย (Free Syrian Army: FSA) ขึ้น เพื่อเป็นปีกทางการทหารให้แก่กลุ่มกบฏ ทำให้การต่อสู้เพื่อปกป้องตนเองของกลุ่มกบฏ ได้ถูกยกระดับไปสู่การต่อสู้เพื่อขับไล่กองกำลังรักษาความปลอดภัยของรัฐ และกลายเป็นสงครามกลางเมืองในที่สุด
ที่มา : https://www.cnn.com/
ความพยายามของประธานาธิบดีอัสซาดที่จะปราบปรามกลุ่มกบฏ ซึ่งนำไปสู่การใช้กำลังและความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งการทรมานและสังหาร การใช้อาวุธเคมี ตลอดจนการปล่อยตัวนักโทษกลุ่มซาลาฟีญิฮาด (Salafist-Jihadists) ซึ่งเป็นชาวมุสลิมนิกายซุนนีที่มีแนวคิดสุดโต่ง เพื่อให้เข้าร่วมกับกลุ่มกบฏ และทำให้พวกเขาสูญเสียความชอบธรรมในการต่อสู้กับรัฐบาล
สถานที่สำคัญที่ทำให้เกิดสมรภูมิสงครามทางการเมืองคือ “อเลปโป”ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรีย และเป็นเมืองเก่าแก่ที่มีคนอยู่อาศัยเป็นเวลานาน ตั้งอยู่ซึ่งระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียนและดินแดนตะวันออก ทำให้อเลปโปเป็นศูนย์กลางการค้าของภูมิภาค ที่มีความสำคัญทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ตั้งแต่ซีเรียได้รับอิสรภาพจากฝรั่งเศสในปี 2489 อเลปโปก็ได้พัฒนาเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของประเทศ ในขณะเดียวกัน ประชากรในอเลปโปก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จากประมาณ 3 แสนคนในช่วงที่ได้รับอิสรภาพ เป็นประมาณ 2.3 ล้านคนในปี 2547 อเลปโปจึงเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของซีเรีย และมีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์มาก แม้จะไม่ใช่เมืองหลวงของประเทศก็ตาม
นับตั้งแต่นั้น การสู้รบในอเลปโปก็ทวีความรุนแรงและขยายวงกว้างไปจนถึงเขตเมืองเก่า (Old City) ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยยูเนสโก (UNESCO) โดยตั้งแต่ปลายปี 2013 เป็นต้นมา กองกำลังฝ่ายรัฐบาลได้หันมาต่อสู้โดยการทิ้งระเบิดถัง (barrel bomb) ทางอากาศ ผลจากการสู้รบทำให้สถานที่สำคัญหลายแห่งในอเลปโปถูกทำลาย ทั้งตลาดนัดกลางแจ้ง มัสยิดอุมัยยะห์ (Umayyad Mosques) และป้อมปราการแห่งอเลปโป (Citadel of Aleppo) ซึ่งเป็นปราสาทที่ใหญ่และเก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ด้านสภาพความเป็นอยู่ องค์กรสิทธิมนุษยชน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล (Amnesty International) ถึงกับออกโรงเตือนเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2558 ว่า การใช้ชีวิตในอเลปโปนั้น “increasingly unbearable” หรือ “ย่ำแย่เหลือทนลงไปทุกขณะ”
เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2559 สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นภาพสะท้อนของผลพวงจากสงคราม ความขัดแย้ง และ ความรุนแรงที่เกิดขึ้นซึ่งคนที่เดือดร้อนที่สุดและได้รับผลกระทบก็ไม่พ้นประชาชน ที่ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใครเพื่อเอาชีวิตรอด ไม่มีใครและสถานที่ไหนที่ปลอดภัย ปืนใหญ่ยังคงยิงถล่มอย่างต่อเนื่องซึ่งบ้านเรือนประชาชน โรงเรียนและโรงพยาบาลล้วนอยู่ในแนววิถีกระสุน ประชาชนตกอยู่ท่ามกลางความหวาดกลัว เด็กๆได้รับความบอบช้ำทางจิตใจ ความเสียหายไม่สามารถประเมินได้ สี่ปีมาแล้วที่ประชาชนในเมืองอเลปโปต้องตกอยู่ท่ามกลางสงครามที่โหดร้ายและสถานการณ์ก็มีแต่จะเลวร้ายลงเรื่อยๆสำหรับพวกเขา ไม่ต้องสงสัยเลยว่านี่คือความขัดแย้งที่เลวร้ายที่สุดอีกครั้งหนึ่งในโลกยุคปัจจุบัน
ประชาชนหลายหมื่นถูกบังคับให้ต้องอพยพออกจากบ้านเรือนของพวกเขาและจำนวนไม่น้อยที่ต้องหลบหนีออกจากที่พักชั่วคราวที่พวกเขาใช้พักพิงระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานของเมืองถูกทำลายจนย่อยยับ น้ำและไฟฟ้าถูกตัดขาดและในบางพื้นที่ก็แทบจะไม่มีทั้งน้ำและไฟฟ้าให้ใช้ ประชาชนต้องเสี่ยงดื่มน้ำที่ไม่สะอาดถูกสุขอนามัย ซึ่งไอซีอาร์ซีและสภาเสี้ยววงเดือนแดงอาหรับแห่งประเทศซีเรียได้เริ่มขนส่งน้ำดื่มเข้าไปในพื้นที่เพื่อแจกจ่ายให้กับประชาชนตามมาตรการฉุกเฉิน
ที่มา: https://www.aljazeera.com/
ต่อมา ไอซีอาร์ซีเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอนุญาติให้องค์กรด้านมนุษยธรรมสามารถเข้าถึงประชาชนที่กำลังต้องการความช่วยเหลือในพื้นที่ทุกแห่งของเมืองเช่นเดียวกับพื้นที่ห่างไกลที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว การยุติการสู้รบด้วยเหตุผลด้านมนุษยธรรมเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อเปิดทางให้ความช่วยเหลือถูกส่งเข้าไปในพื้นที่และมีเวลาพอที่จะซ่อมแซมบริการพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับประชาชน
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาสมรภูมิสงครามใน ซีเรีย - อเลปโป กลายเป็นเป็นสมรภูมิสงครามความขัดแย้งที่ สร้างความเสียหาย ที่มาจากกลุ่มผู้มีอำนาจ ได้ทำลายสิ่งที่มีความสำคัญ ในพื้นที่มรดกโลกเป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์ไว้กลับถูกทำลายโดยผู้มีอำนาจ ประชาชนผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับต้องถูกลูกหลงล้มตายเป็นจำนวนมาก กลายเป็นเหตุการณ์ที่ผู้คนทั่วโลกได้จดจำในความสูญเสียครั้งนี้ในประเทศซีเรีย
อ้างอิง
พลอย ธรรมาภิรานนท์(2560).ซีเรีย 101: จากสงครามกลางเมือง สู่สงครามตัวแทน(ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2561, จาก: https://www.the101.world/thoughts/syria-101/
ซีเรีย-อเลปโป ความขัดแย้งที่เลวร้ายที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน.(2559). สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2561, จาก : http://blogs.icrc.org/th/2016/08/22/1321-peter-maurer-syria-aleppo/
สงครามซีเรีย ย้อนปมความขัดแย้งสู้สมรภูมิเลือด.(2556). สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2561, จาก: https://hilight.kapook.com/view/90189
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น