สมัยโบราณมนุษย์ยังไม่ทราบถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่าง ๆ เช่น พายุฝนฟ้าคะนอง น้ำท่วม หรือแผ่นดินไหว เป็นต้น ปรากฏการณ์เหล่านี้ทำให้เกิดความกลัว และสร้างความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก จึงมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องราวของเหล่าเทพเจ้าเกิดขึ้น เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจของตน โดยเชื่อว่าเทพเจ้าควรได้รับการสักการะบูชา และเทพเจ้าจะเฝ้ามอง ปกป้อง และคอยช่วยเหลือพวกตน อีกทั้งยังคอยลงโทษผู้ที่พระพฤติตนไม่ดีอีกด้วย ชาวกรีกโบราณก็คิดเช่นกัน อีกทั้งพวกเขายังมีความเชื่อในของเรื่องเทพเจ้าเป็นอย่างมากเช่น การเกษตร การทำศึกสงคราม การแพทย์ หรือการดนตรี เป็นต้น ไม่ว่าสิ่งใดก็ล้วนเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของเหล่าเทพเจ้าทั้งสิ้น
Apollo Belvedere
เทพอพอลโลเป็น 1 ใน 12 มหาเทพแห่งโอลิมปัส บุตรของซุส มหาเทพแห่งท้องฟ้าและนางเลโต
โดยอพอลโลเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ แสงสว่าง การดนตรี สัจจะ และการแพทย์อีกด้วย อพอลโลถือได้ว่าเป็นเทพเจ้าหนุ่มรูปงาม มีน้องสาวฝาแฝดคือ เทพีอาร์เทมีส (โรมันคือไดอาน่า) ซึ่งเป็นเทพีแห่งดวงจันทร์และการล่าสัตว์อีกด้วย
เดิมสุริยเทพของกรีกคือ ฮีลิออส บุตรของไฮเพอร์เรียน ซึ่งเป็นเทพไทแทน เมื่อเหล่าเทพไทแทนสิ้นอำนาจ และเหล่าเทพเจ้าขึ้นปกครองแทน ชาวกรีกจึงหันมานับถือเทพอพอลโลแทนฮีลิออส
เมื่อนางเลโตมารดาของอพอลโลตั้งครรภ์ นางถูกทำร้ายโดยเทพีเฮร่า เหตุเพราะนางเป็นที่ต้องตาต้องใจของเทพซุส ทำให้นางเลโตต้องอุ้มครรถ์หนีงูไพธอน งูยักษ์ของเทพีเฮร่าที่ส่งมาทำร้ายนางและด้วยคำกล่าวของเทพีเฮร่าที่ว่า ห้ามทุกพื้นที่บนแผ่นดินนี้ให้พี่พักแก่เลโตในการคลอดบุตร ทำให้นางต้องเร่ร่อนไปมาเพื่อหนีงูไพธอน ทั้งยังไม่สามารถหาที่พักพิงในการคลอดบุตรได้ เมื่อนางเลโตได้เดินทางไปถึงเกาะดีลอส เทพโพไซดอนเกิดความสงสารจึงบันดาลให้เกิดเกาะน้องผุดขึ้นในทะเล ซึ่งไม่ได้อยู่ในพื้นที่คำกล่าวของเทพีเฮร่า นางเลโตจึงสามารถให้กำเนิดบุตรได้ เป็นคู่แฝดชายหญิงคือ เทพอพอลโลและเทพีอาร์เทมีสนั่นเอง
เมื่ออพอลโลถือกำเนิดได้ไม่นาน อพอลโลก็ได้ทำการฆ่างูไพธอน เพราะเหตุนี้บางครั้งเทพอพอลโลก็ถูกเรียกว่า ไพธูส แปลว่า ผู้ประหารไพธอน นอกจากนี้อพอลโลยังมีชื่อเรียกอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น ชื่อตามสถาณที่เกิดว่า ดีเลียน หรือฟีบัส ที่แปลว่า แสงสว่าง โดยฟีบัสมักใช้รวมกันกับชื่อของเทพอพอลโล รวมเป็น ฟีบัส อพอลโล
อพอลโลเป็นเทพผู้เก่งกาจ และได้ทำการสังหารศัตรูและสัตว์ดุร้ายต่าง ๆ มากมาย เช่น งูยักษ์ไพธอน ,ยักษ์อโลอาดีและอีฟิอัลทิส ผู้สืบเชื้อสายจากราชวงศ์ไทแทน ที่หวังจะฟื้นคืนราชวงศ์ไทแทนกลับมา ก็ล้วนถูกจัดการด้วยฝีมือของเทพอพอลโลทั้งสิ้น
นอกจากสังหารเหล่าศัตรูและสัตว์ดุร้ายแล้ว เทพอพอลโลยังถือเป็นนักขับกล่อมดนตรีให้แก่เหล่าเทพโอลิมปัสอีกด้วย เทพอพอลโลมักจะถือพิณด้วยมือข้างหนึ่ง และอีกข้างหนึ่งถือคันธนู ซึ่งธนูของเทพอพอลโลนั้นสามารถยิงได้ไกลและแม่นยำเป็นอย่างมาก ทำให้ได้รับสมญานามว่า เทพแห่งธนู อีกทั้งอพอลโลยังเป็นเทพผู้ถ่ายทอดวิชาศิลป์ให้แก่เหล่ามนุษย์
เทพอพอลโลชื่นชอบการเล่นเล่นพิณเป็นอย่างมาก โดยอพอลได้รับพิณมาจากเฮอร์เมสเทพแห่งการสื่อสาร การเดินทาง และหัวขโมย สาเหตุมาจากเฮอร์เมสได้ทำการขโมยวัวของเทพอพอลโลไปซ่อน ทำให้อพอลโลโกรธเป็นอย่างมาก แต่เฮอร์เมสไถ่โทษด้วยการประดิษฐ์พิณชิ้นแรกของโลกให้แก่อพอลโล พิณนี้มีเสียงบรรเลงที่ไพเราะและถูกใจอพอลโลเป็นอย่างมาก จึงยอมคืนดีกับเฮอร์เมสเพื่อแลกกับพิณ
อพอลโลเป็นเทพหนุ่มที่มีรูปโฉมงดงามที่สุด เรียกได้ว่าเป็นตัวแทนของเพศชายชาวกรีกที่งดงามที่สุดเลยก็ว่าได้ โดยอพอลโลได้มีความรักมายมากไม่แพ้ซุสพ่อของตน ไม่ว่าจะทั้งเทพ เทพี มนุษย์ชายหรือหญิง อีกทั้งยังมีบุตรธิดาไม่น้อยกับความสัมพันธ์เหล่านี้
ตำนานของอพอลโลและสนมนางโคโรนิส ธิดาแห่งฟลีจีอัส ราชาแห่งเธสซาลี ในขณะที่นางตั้งครรภ์นางได้เล่นชู้กับชายนามว่าอิสคีส ซึ่งอพอลโลได้ให้อีกา (บางตำนานกล่าวว่าเป็นนกดุเหว่า) เฝ้านางเอาไว้ เมื่ออีกามาบอกข่าว อพอลโลโกรธเป็นอย่างมาก จึงได้ทำการสาปอีกาจากสีขาวเป็นสีดำ และทำการฆ่าโคโรนิส อีกทั้งยังเอาทารกออกมาก่อนเผาศพของนาง นั่นคือเอสคิวเลปิอัส โดยนำเขาไปให้ไครอน ซึ่งเป็นเซนทอร์ที่เชี่ยวชาญในเรื่องวิชาต่าง ๆ เลี้ยงดู
เอสคิวเลปิอัสเป็นคนฉลาด อีกทั้งยังเก่งเรื่องของการเยียวยารักษาโรคต่าง ๆ ไม่มีโรคใดที่เขารักษาไม่ได้ ทั้งยังสามารถทำให้คนตายกลับมามีชีวิตได้อีกครั้ง ชื่อเสียงของเขาแพร่กระจายไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ฮาเดสเทพเจ้าแห่งความตายและใต้พิภพจึงได้ปรึกษาซุสว่า การฟื้นคืนชีพผู้คนของคิวเลปิอัสจะทำให้โลกรวน และมีผลกระทบกับจัดการเหล่าวิญญาณคนตาย ซุสได้ฟังดังนั้นจึงทำการฆ่าคิวเลปิอัส ด้วยสายฟ้าอาวุธของตน และได้ทำการเปลี่ยนคิวเลปิอัสเป็นกลุ่มดาว เมื่ออพอลโลรู้ถึงการตายของคิวเลปิอัสเขาโกรธเป็นอย่างมาก แต่เพราะไม่สามารถทำอะไรซุส ผู้เป็นพ่อได้ จึงทำการยิงธนูฆ่ายักษ์ไซคลอปส์ที่ประดิษฐ์สายฟ้าของซุสแทน ซุสได้ลงโทษอพอลโลด้วยการเนรเทศให้มาอยู่โลกมนุษย์และเป็นทาสรับใช้มนุษย์เป็นเวลา1ปี
ตำนานความรักของอพอลโลที่เป็นที่น่าจดจำอีกตำนานหนึ่งคือ เรื่องราวความรักของอพอลโลและนิมพ์ดาฟนี (นิมพ์คือสตรีที่เป็นตัวแทนสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ) เล่ากันว่าดาฟนีเป็นธิดาของเพอนีอัส เทพแห่งแม่น้ำ อพอลโลเมื่อได้เนนางก็ตกหลุมรักแต่แรกพบ อพอลโลได้เดินไปหาดาฟนีแต่นางหันมาพบเขาก่อน ดาฟนีรู้ทันจึงได้หนีอพอลโลขึ้นไปบนภูเขา อพอลโลได้ไล่ตามนางไปอย่างไม่ลดละ เมื่อเขาจวนจะขว้าตัวนาง ดาฟนีได้องขอให้เพอนีอัสพ่อของนางช่วย เพอนีอัสรับรู้คำขอของนางด้วยญาณ จึงได้ทำการเสกนางให้กลายเป็นต้นลอเรล เปลือกไม้เริ่มงอกปกคลุมผิวกาย แขนและมือกลายเป็นกิ่งและใบ นิ้วเท้ากลายเป็นราก ดวงหน้าอันงดงามของดาฟนีถูกฝังไว้กับยอดไม้ ทันทีที่อพอลโลคว้านาง เขาก็สัมผัสได้ถึงเปลือกไม้ นางกลายเป็นต้นไม้ไปต่อหน้าต่อตา เมื่อความรักของเขาไม่สมหวัง อพอลโลจึงได้ทำการรับต้นลอเรลเป็นต้นไม้ประจำตัวและเป็นสัญลักษณ์ของตน อีกทั้งมงกุฏลอเรลยังเป็นสัญลัษณ์แห่งชัยชนะอีกด้วย
อพอลโลรักไฮยาซินธัส เจ้าชายจากลาเคไดโมเนีย แต่เซฟีรัส เทพแห่งลมตะวันตกเกิดความอิจฉา ในขณะที่อพอลโลและไฮยาซินทัสเล่นขว้างจักรกัน เซฟีรัสจึงให้ให้จักรของอพอลโลไปโดนศรีษะของไฮยาซินทัสจนเสียชีวิต อพอลโลเสียใจมากจึงเปลี่ยนให้ไฮยาซินทัสเป็นดอกไม้ หรือดอกไฮยาซิน
อพอลโลเป็น1ใน 12 เทพแห่งโอลิมปัส โดยเป็นบุตรชายของมหาเทพซุส เทพแห่งท้องฟ้า และนางเลโต อพอลโลเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ แสงสว่าง การดนตรี สัจจะ และการแพทย์ โดยทั่วไป รูปปั้นอะพอลโล จะถือเครื่องดนตรีคล้ายพิณและมีลูกบอลทองคำ ที่เป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ ปัจจุบัน อพอลโลเป็นชื่อที่ถูกอ้างอิงบ่อย ๆ ในทางที่เกี่ยวกับแสงสว่างหรือความสำเร็จ เช่น เป็นชื่อปฏิบัติการ ทางอวกาศ ของนาซาที่เรียกว่า โครงการอพอลโล เป็นต้น
อ้างอิง
12 เทวสภาเเห่งยอดเขาโอลิมปัส. (2557). อพอลโล (Apollo). สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2562. จาก: https://sites.google.com/site/12thewsphaehengyxdkheaxolimpas/12-the-wsph-aeheng-yxd-khea-xo-limpas/4-x-phxllo-apollo
ตำนานดีๆ. (2558). เทพอพอลโล (Apollo) แทพแห่งดวงอาทิตย์. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2562. จาก: https://www.tumnandd.com/
ADMIN. (2553). อพอลโล (Apollo) เทพแห่งแสงสว่าง หรือ เทพแห่งดวงอาทิตย์. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2562. จาก: http://variety.phuketindex.com/faith/
สำนักงานบริหาร สภากาชาดไทย. (2563)..เทพเจ้ากรีก. สืบค้นเมื่อ 13 เมษายน 2563. จาก: https://adminis.redcross.or.th/
ADMIN. (2562).ตำนานอพอลโล (Apollo) เทพแห่งแสงอาทิตย์ และดวงอาทิตย์ ตอนที่ 2. สืบค้นเมื่อ 13 เมยายน 2562. จาก: https://trvsdjam.com/2019/10/05/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น