มาลาลา ยูซาฟไซ (Malala Yousafzai)

โดย วัลลภา หะริตา

การศึกษาเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากที่จะช่วยพัฒนาองค์ความรู้และทักษะในการดำรงชีวิตของเรา ในปัจจุบันเด็กทุกคนควรที่จะได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นเด็กผู้หญิงหรือเด็กผู้ชาย เว้นแต่ในบางประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม ที่มีข้อห้ามอย่างเคร่งครัดว่าผู้หญิงไม่ควรเข้ารับการศึกษาเนื่องจากขัดต่อหลักศาสนา และนั้นคือที่มาของมาลาลา ยูซาฟไซ นักต่อสู้เพื่อสิทธิของการศึกษาเพื่อสตรี ในวัยเพียง 11 ปี และไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคที่ขวางกั้นของการเรียกร้องสิทธิในประเทศปากีสถานต่อกลุ่มผู้ก่อการร้ายตาลีบัน

ที่มา: https://feminisminindia.com//
มาลาลา ยูซาฟไซ (Malala Yousafzai) เกิดเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ 2540 ที่เมืองมินโกรา (Mingora) เขตสวัด (Swat) จังหวัดไคเบอร์ปัคตุนควา (Khyber Pakhtunkhwa) ในประเทศปากีสถานและได้เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนสตรีแห่งหนึ่งโดยนายไซอุดดิน (Ziauddin) ซึ่งเป็นพ่อของมาลาลา ยูซาฟไซเป็นเจ้าของสถานศึกษาแห่งนี้

ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2550 อิทธิพลของกลุ่มนักรบติดอาวุธตาลีบันได้ขยายอิทธิพลมากขึ้น มัวลานา ฟาสลูลลาห์ ใช้ประโยชน์จากช่วงเศรษฐกิจตกต่ำเพื่อขยายอำนาจการปกครองโดยทำการเผยแพร่การสอนกฎหมายของศาสนาอิสลามและผ่านทางวิทยุกระจายเสียง FM ซึ่งเป็นที่แพร่หลายอย่างมากในเวลานั้น และในช่วงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 กลุ่มตาลีบันได้เข้ามายึดครองพื้นที่เขตสวัด และได้ทำการล้มล้างสถานศึกษาสตรีของรัฐ โดยการเผาทำลายไปมากกว่าร้อยแห่ง

ในขณะเดียวกันสถานศึกษาสตรีที่มาลาลา ยูซาฟไซกำลังศึกษาในเวลานั้น ยังคงเปิดการเรียนการสอนเป็นปกติท่ามกลางการข่มขู่จากกลุ่มตาลีบันตลอด ช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2551 มาลาลา ยูซาฟไซอายุเพียง 11 ปีได้ปรากฏต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกเพื่อต่อต้านการโจมตีสถานศึกษาสตรี และได้กล่าวสุนทรพจน์ในหัวข้อเรื่อง “ตาลีบันอาจหาญอย่างไรในการระงับสิทธิขั้นพื้นฐานทางการศึกษาของฉัน” (How Dare the Taliban Take Away My Basic Right to an Education)

และต่อมาในปี พ.ศ. 2552 เธอได้เริ่มเขียนบทความในเว็บไซต์ให้แก่ BBC โดยใช้นามแฝงว่า “กุล มาไค” เล่าถึงประสบการณ์ที่ถูกกลุ่มตาลีบันควบคุมและจำกัดสิทธิเสรีภาพของสตรี ส่งผลให้เกิดเหตุการณ์สำคัญคือ การถูกลอบสังหารของมาลาลา ยูซาฟไซจากกลุ่มตาลีบัน

ที่มา: http://issue247.com/people/malala-yousafzai/
วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555 เมื่อครั้งมาลาลาอายุ 15 ปี ถูกลอบสังหารในขณะที่เธอและเพื่อนเดินทางกลับบ้านจากโรงเรียน โดยรถรับส่งนักเรียน ได้มีชายปิดบังใบหน้าซึ่งเป็นมือสังหารของกลุ่มตาลีบันขึ้นมาบนรถและเรียกชื่อ มาลาลา เพื่อนของเธอได้มองไปที่เธอและขณะนั้นเองมือปืนจึงยิงปืนเข้าที่ศีรษะด้านซ้ายทะลุด้านหลังคอ มาลาลา ยูซาฟไซได้รับบาดเจ็บอาการสาหัส และถูกนำตัวส่งโรงพยายามบาลของรัฐ

และวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555 ผู้นำทางศาสนามากกว่า 50 คนในปากีสถานได้ออกมาแถลงการณ์ถึงการไม่เห็นด้วยกับการลอบยิงครั้งนี้ของกลุ่มตาลีบัน ต่อมาในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2555 มาลาลาได้ย้ายไปรับผ่าตัดสมองและรักษาตัว ที่สหราชอาณาจักร หลังจากเหตุการณ์ลอบสังหารครอบครัวของมาลาลา ยูซาฟไซย้ายไปอาศัยอยู่ที่ เมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษและเธอเข้ารับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่นั่น

I am Malala
ที่มา: http://issue247.com/people/malala-yousafzai/
เหตุการณ์รุนแรงครั้งนี้ไม่สามารถขัดขวางความพยามของมาลายา ยูซาฟไซในการเรียกร้องสิทธิของการศึกษาเพื่อสตรีได้ นายกอร์ดอน บราวน์ (Gordon Brown) อดีตนายกรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักร และปัจจุบันเป็นทูตพิเศษสหประชาชาติเพื่อส่งเสริมการศึกษาของโลก ได้เล็งเห็นถึงความมุ่งมั่นและกล้าหาญขอมาลาลาได้ยกย่องเธอ ได้รณรงค์ส่งเสริมการศึกษาเพื่อเป็นเกียรติแก่เธอในหนังสือหัวข้อที่ชื่อว่า  “I am Malala: The Girl Who Stood Up for Education and Was Shot by the Taliban”ได้วางจำหน่ายในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2556 นอกจากนั้นได้มีการส่งเสริมการศึกษาในประเทศปากีสถานด้วยกองทุนสากลและเป็นการริเริ่มโครงการภายในประเทศอีกด้วย

มาลาลา ยูซาฟไซได้จัดตั้งสถานศึกษาเพื่อเด็กหญิงผู้ลี้ภัยชาวซีเรียในประเทศเลบานอนติดกับชายแดนประเทศซีเรีย (Malala Yousafzai All-Girls School) งบประมาณในการจัดตั้งสถานศึกษามาจากกองทุนมาลาลา องค์กร Vital Voices Global Partnershipซึ่งก่อตั้งโดยนาง Hilary Clinton ได้จัดตั้งกองทุนมาลาลาขึ้น ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อสนับสนุนโครงการด้านการศึกษา

ในวันคล้ายวันเกิดอายุ 16 ปี ของมาลาลา ยูซาฟไซ ได้ขึ้นกล่าวสุนทรพจน์ที่สหประชาชาตินอกจากนั้นองค์การสหประชาชาติและองค์กรอื่นๆ นอกจากนั้นเลขาธิการสหประชาชาติ นายบันคีมุน ได้ประกาศให้วันที่12 กรกฎาคมของทุกปีเป็นวันเฉลิมฉลองของมาลาลา ยูซาฟไซ (Malala Day)

ที่มา: http://issue247.com/people/malala-yousafzai/
นอกจากนั้น มาลาลา ยูซาฟไซได้รับการเสนอชื่อรับรางวัลมากมาย อาทิ รางวัลสิทธิมนุษยชนเพื่ออิสรภาพของผู้หญิงนานาชาติ ( Simone de Beauvoir Prize, International Human Rights Prize for Women's Freedom, 2013) รางวัลเยาวชนเพื่อสันติภาพแห่งชาติ (National Youth Peace Prize,2011) ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้รับคัดเลือกจากนิตยาสารไทม์ว่าเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดของโลกประจำปี 2013

ในวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2557 มาลาลา ยูซาฟไซยังได้เสนอชื่อขึ้นรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพจากสหภาพยุโรปถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดในการเข้ารับรางวัลนี้ ในเดือน เมษายน ปี พ.ศ. 2560 สหประชาชาติได้แต่งตั้งให้มาลาลา ยูซาฟไซ เป็น “ผู้ส่งสารสันติภาพ” (Messenger of Peace) ของสหประชาชาติอย่างเป็นทางการ นอกจากนั้น มาลาลา ยูซาฟไซในปัจจุบันอายุ 20 ปีได้รับคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยในสาขาปรัชญา การเมืองและเศรษฐศาสตร์ โดยมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด 
                          
การที่มาลาลา ยูซาฟไซ นักเรียกร้องสิทธิของการศึกษาเพื่อสตรีได้รับรางวัลมากมายเพื่อยกย่องและเป็นเกียรตินั้น หากแต่ไม่สามารถที่จะได้มาอย่างง่ายต้องต่อสู้กับอุปสรรคมากมาย หลังการลอบสังหารของกลุ่มตาลีบันในครั้งนั้นส่งผล มาลาลา ยูซาฟไซไม่สามารถเดินทางกลับเข้าสู้ประเทศปากีสถานได้อีก เนื่องจากกลุ่มผู้ก่อการร้ายตลีบันขู่ที่จะปลิดชีวิตของเธอตลอดเวลา มาลาลา ยูซาฟไซเริ่มเรียกร้องสิทธิให้แก่สตรีตั้งแต่อายุเพียง 11 ปี จนกระทั้งปัจจุบันอายุ 20 ปี อย่างไรก็ตามเธอยังคงให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาของสตรีต่อไป


อ้างอิง 

กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา. ๒๕๖o. มาลาลา ยูซาฟไซ. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: http://sameaf.mfa.go.th/th/important_person/detail.php?ID=4382. วันที่ค้นข้อมูล ๒๒ กันยายน ๒๕๖o

Indy Hyena. ๒๕๖o. มาละละห์ ยูซัฟซัย อายุ 17 ปีกับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ. (ออนไนล์). แหล่งที่มา: http://issue247.com/people/malala-yousafzai/. วันที่ค้นข้อมูล ๒๒ กันยายน ๒๕๖o

Malala Yousafzai Biography.com Women's Rights Activist, Children's Activist, Activist (1997–). ๒๕๖o. (ออนไลน์). แหล่งที่มา: https://www.biography.com/people/malala-yousafzai-21362253. วันที่ค้นข้อมูล ๒๒ กันยายน ๒๕๖o



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น