ประวัติศาสตร์จีนยุคใหม่เมื่อสถาปนาเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ถือเป็นการเปลี่ยนบทบาทสำคัญของจีนต่อโลก มีเหตุการณ์สำคัญของช่วงเปลี่ยนผ่านหลายเหตุการณ์ การปฏิวัติวัฒนธรรมถือเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ที่ส่งผลต่อ การเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของจีนเป็นอย่างมาก
“การปฏิวัติวัฒนธรรม” (Cultural Revolution) หรือเรียกให้เต็มว่า “การปฏิวัติวัฒนธรรมครั้งใหญ่ของชนชั้นกรรมมาชีพ” (Great Proletarian Cultural Revolution) เกิดขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2509 – 2519 เป็นเหตุการณ์ที่สร้างผลกระทบต่อประวัติศาสตร์จีนสมัยใหม่อย่างมาก แม้เหตุการณ์จะผ่านมานานแต่ยังมีผลปรากฏถึงปัจจุบัน
ต้นเหตุของการปฏิวัติวัฒนธรรมของจีนนั้นถ้ายึดตามคำประกาศของมติพรรคคอมมิวนิสต์จีน สามารถอธิบายได้ว่าเกิดขึ้นโดย เหมา เจ๋อตุง (Mao Tse-tung) โดยเหมา เจ๋อตุงได้กล่าวไว้ว่ามีบุคคลที่เป็นตัวแทนของชนชั้นนายทุน เป็นผู้ฝักใฝ่ศักดินาและเป็นฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองเข้ามาปะปนอยู่ในพรรคคอมมิวนิสต์จีนเป็นจำนวนมาก การปฏิวัติจีนที่มีมาก่อนหน้าไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ ต้องต้องปฏิวัติวัฒนธรรมเท่านั้น โดยมีการปลุกระดมมวลชน สามารถอธิบายพอสรุปได้ดังนี้
1. เป็นการปฏิวัติด้านอุดมการณ์เพื่อทำลายข้อผูกมัดซึ่งเรียกว่า สี่เก่า ได้แก้ ประเพณีเก่า วัฒนธรรมเก่า ความคิดเก่า และนิสัยเก่า เพื่อสร้างเยาวชนใหม่ให้เป็นนักสังคมนิยม
2. เป็นการต่อสู้เพื่ออำนาจของเหมา เจ๋อตุงที่ต้องการกวาดล้างศัตรูทางการเมืองคือกลุ่มของประธานาธิบดีหลิว เซ่าฉี (Lin Shaoqi) และเติ้ง เสี่ยวผิง (Deng Xioping) ผู้ที่เหมา เจ๋อตุง กล่าวว่าเป็นผู้นำสายทุนนิยม
จากซ้าย โจว เอิ้นไหล(นายกรัฐมนตรี) เฉิน ยุ่น(นักวางแผนเศรษฐกิจ) หลิว เซ่าฉี(ประธานประเทศ) เหมา เจ๋อตุง(ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน) เติ้ง เสี่ยวผิง(เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์) ที่มา : https://68.media.tumblr.com/ |
ระยะเวลาในการปฏิวัติวัฒนธรรมนี้เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ.2509 – 2519 เป็นเวลากว่า10ปี ส่งผลให้ผู้คนราว 2 ล้านคนที่ถูกสังหาร หรือถูกบีบให้ฆ่าตัวตาย ในจำนวนนี้มีทั้งผู้นำระดับสูงในพรรคคอมมิวนิสต์จีน ครูอาจารย์ นักวิชาการ ปัญญาชน 2 ล้านคนในชนบทต้องอดอาหารเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ อีก 20 ล้านคนถูกกวาดล้างและถูกส่งไปใช้แรงงานในเขตชนบทยากจนแร้นแค้น ไม่นับรวมไปถึงการทำลายสี่เก่า เช่น เผาวัดโบราณ รูปปั้นพระพุทธรูป โบราณสถาน โบราณวัตถุ อายุนับพันๆ ปี เผาห้องสมุด เผาตำราและวรรณกรรมที่มีเนื้อหาไม่สอดคล้องกับหลักสังคมนิยม
ใบปิดประกาศโฆษณาชวนเชื่อ คำบรรยายเขียนว่า "ทำลายโลกเก่า สร้างโลกใหม่" ยุวชนแดงทุบกางเขน พระพุทธรูปและอักษรจีนเดิมด้วยค้อน ที่มา : https://upload.wikimedia.org/ |
หลิว เซ่าฉีถูกถอดจากตำแหน่งและทำร้ายจนเสียชีวิต เติ้ง เสี่ยวผิงถูกถอดจากตำแหน่งและส่งไปเป็นคนงาน
ผลของการปฏิวัตินี้ มีผลต่อด้านศิลปวัฒนธรรม และการศึกษามาก พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้กล่าวไว้ว่า ทำให้พรรค ประเทศชาติและประชาชน อยู่ในภาวะถอยหลัง และสูญเสียอย่างใหญ่หลวงตั้งแต่สถาปนาสาธารณรัฐประชาชนขึ้นมา ยังเรียกช่วงสิบปีที่ของการปฏิวัติวัฒนธรรมว่า “สิบปีที่สูญเสีย” (Ten Lost Years ) และเรียกเยาวชนในช่วงเวลานี้ว่า “คนรุ่นที่ถูกลืม” (Lost Generation) เพราะเต็มไปด้วยความรุนแรงและขาดการศึกษาเนื่องจากโรงเรียนและมหาวิทยาลัยถูกปิดเพื่อให้นักเรียน นักศึกษาเข้าร่วมการปฏิวัติ พวกยุวชนแดงถูกส่งไปเรียนรู้การทำงานในชนบทจึงไม่ได้รับการศึกษา ถูกสอนให้เชื่อฟังพรรคคอมมิวนิสต์ยิ่งกว่าบิดามารดา มีการฟ้องร้องบิดามารดา มีการทำลายสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ พระพุทธรูป แท่นศิลารึกถูกทำลายเป็นจำนวนมาก ทำลายวรรณกรรม ประนามสิ่งต่างๆข้องกับ “สี่เก่า” เช่นประณามขงจื๊อ นักปรัชญาคนสำคัญของจีน
จะเห็นได้ว่าการปฏิวัติวัฒนธรรมส่งผลตั้งแต่บุคคลระดับผู้นำประเทศไปจนถึงประชาชนทั่วไป ทั้งด้านชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน จิตใจ ความรู้สึก จนถึงในปัจจุบันนี้ผลของการปฏิวัติวัฒนธรรมก็ยังคงหลงเหลือให้เห็นในรูปของความทรงจำ ความรู้สึกที่ต้องเสียคนใกล้ชิดจากเหตุการณ์การปฏิวัติวัฒนธรรม หรือ เป็น“คนรุ่นที่ถูกลืม”ซึ่งก็คืออดีตยุวชนแดงที่ถูกสังคมหลงลืม และรัฐบาลจีนก็ไม่ต้องการที่จะกล่าวถึงเหตุการณ์การปฏิวัติวัฒนธรรมนี้
กลุ่มยุวชนแดงกำลังทุบป้ายจารึกที่ทำด้วยหินอ่อนที่บ้านทายาทของจื๊อ ที่มา : http://www.chinaheritagequarterly.org/ |
อ้างอิง
วุฒิชัย มูลศิลป์.(2541). การปฏิวัติวัฒนธรรม : ข้อพิจารณาบางประการ . วารสารประวัติศาสตร์, 2541, 97-110.
Nattachai Tantirapan. (2557). คำขอโทษใน 'การปฏิวัติวัฒนธรรม' ยังไม่พอ!. ค้นเมื่อ 16 กันยายน
2560, จาก https://shows.voicetv.co.th/world-update/97788.html
คม ชัด ลึก. (2559). 50ปีปฏิวัติวัฒนธรรมจีน:จะฝังหรือจะขุดประวัติศาสตร์อัปยศ. ค้นเมื่อ 16 กันยายน 2560, จาก http://www.komchadluek.net/news/foreign/228096
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น