โดย กิตติญา จิตระบอบ
ท่ามกลางทะเลทรายกว้างอันใหญ่แห่งกีซ่า มหาพีระมิดที่ยิ่งใหญ่สามองค์ตั้งตระหง่านอยู่เหนือพื้นทรายห่างจากกรุงไคโรนครหลวงของประเทศอียิปต์ออกไปประมาณ 8 กม. รายล้อมไปด้วยพีระมิดและสุสานอื่นๆอีกมากมาย เมืองกีซ่าตั้งอยู่ปลายสันดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยใช้เป็นเครื่องกำหนดเขตแดนของอาณาจักรอียิปต์บนและล่าง ต่อมาเมื่ออาณาจักรทั้งสองรวมกันเป็นหนึ่งเดียวเมื่อ 2,925 ปีก่อนคริสต์กาล เมืองนี้จึงเป็นที่ประทับของฟาโรห์แห่งราชวงศ์ต่าง ๆ 30 ราชวงศ์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 3,000 ปี
มหาพีรามิดแห่งนี้เป็นหนึ่งในบรรดาสิ่งมหัศจรรย์ทั้งเจ็ดของโลกยุคโบราณที่ก่อสร้างขึ้นด้วยฝีมือมนุษย์ เรียกได้ว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่ยิ่งใหญ่และมีอายุเก่าแก่ที่สุด ซึ่งมีอายุราว 5,000 ปีมาแล้ว ได้รับการสร้างให้เป็นสุสานฝังศพมัมมี่ของฟาโรห์ในราชวงศ์ที่ 4 ได้แก่ ฟาโรห์คูฟู ฟาร์โรห์คาเฟร และฟาโรห์เมนเคอเร โดยพีระมิดที่ฝังพระศพของฟาโรห์คูฟูเป็นพีรามิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และเป็นองค์แรกที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้
มหาพีระมิดคูฟู หรือเรียกกันว่า “The Great Pyramid of Khufu” ถูกสร้างเป็นอันดับแรกในสมัยฟาโรห์คูฟู (2589-2566 ปีก่อนคริสตกาล) ให้เป็นอนุสรณ์สถานของกษัตริย์คูฟู หรือที่ชาวกรีกเรียกว่า “คีออปส์” ฟาโรห์คูฟูเป็นกษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ที่ 4 เป็นโอรสในฟาโรห์สเนฟรู โดยมหาพีระมิดคูฟูเป็นพีระมิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด สร้างเสร็จสมบูรณ์โดยใช้เวลาในการก่อสร้างยาวนานถึง 20 ปี
มหาพีระมิดคูฟูเดิมสูง 146 เมตร แต่สึกกร่อนไปมาก จึงเหลือส่วนสูงแค่ 137 เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ละด้านยาว 230 เมตร ต้องใช้ก้อนหินกว่าสองล้านห้าแสนก้อน ก้อนหนึ่งเฉลี่ยหนัก 1-2 ตัน บางก้อนมีขนาดใหญ่หนักกว่า 15 ตัน สันนิษฐานว่าผู้สร้างพีระมิดนี้อาศัยดวงดาวเป็นหลักในการก่อสร้าง นอกจากความใหญ่โตอันน่ามหัศจรรย์ของพีรามิดแล้ว การสร้างให้สำเร็จยังเป็นสิ่งน่ามหัศจรรย์ยิ่งกว่าหลายเท่า หินเหล่านี้สกัดมาจากภูเขาที่อยู่ไกล แล้วลากมาสู่ฝั่งแม่น้ำไนล์ ล่องลงมาเป็นระยะทางนับร้อยไมล์ จึงมาถึงจุดใกล้ที่ก่อสร้าง แล้วชักลากผ่านทะเลทรายไปถึงที่ก่อสร้างต้องแต่งสลักเป็นแท่งสี่เหลี่ยม แล้วยกวางซ้อนขึ้นไปจนถึง 432 ฟุต ใจกลางพีรามิดมีห้องเก็บพระศพของพระเจ้าคีออปส์ข้างในทำจากหินแกรนิต กว้าง 34 ฟุต ยาว 17 ฟุต และสูง 19 ฟุต ส่วนหีบพระศพของพระเจ้าคีออปส์ทำด้วยหินแกรนิตตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของห้องพีระมิดของพระเจ้าคีออปส์ ล้อมรอบด้วยหลุมศพ และพีระมิดเล็ก ๆ อีก 3 แห่ง ซึ่งเป็นของสมาชิกในราชวงศ์และในราชสำนักชั้นสูง
พีระมิดองค์กลาง คือพีระมิดคาเฟร “The pyramid of Khafre” เป็นพีระมิดของพระโอรสผู้สืบทอดตำแหน่งของกษัตริย์คูฟู หรือที่ชาวกรีกเรียก “คีเฟรน” ฟาโรห์คาเฟรเป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ที่ 4 เป็นโอรสของฟาโรห์คูฟู พีระมิดของพระองค์มีขนาดเล็กกว่ามหาพีระมิดเพียงหนึ่งเมตร ความโดดเด่นแปลกตาอยู่ตรงปลายพีระมิดที่สร้างขึ้นด้วยปูนขาว และมีตัวสฟิงซ์ อสุรกายครึ่งมนุษย์ครึ่งสิงโตขนาดใหญ่มหึมาที่หมอบเพื่อทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ผู้ใดกล้ำกลายเข้าใกล้พีระมิด ส่วนหัวของสฟิงซ์เป็นรูปหน้าของฟาโรห์ แต่ลำตัวเป็นสิงโต มีความสูง 66 ฟุต ยาว 240 ฟุต
และพีระมิดองค์สุดท้าย คือ พีระมิดเมนเคอเร “The pyramid of Menkaure” หรือที่ชาวกรีกเรียก “ไมเซอรินัส” ฟาโรห์เมนเคอเรเป็นกษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ที่ 4 เป็นพีระมิดที่มีขนาดเล็กที่สุด สูงเพียง 66 เมตร และที่ตั้งอยู่ใกล้กันมีพีระมิดราชินีทั้ง 3 ซึ่งเป็นพีระมิดเล็กๆ เรียงรายใกล้กัน
ด้วยความที่ชาวอียิปต์ในยุคโบราณเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย ดังนั้น พระศพของฟาโรห์จึงได้รับการฝังพร้อมข้าวของเครื่องใช้และทรัพย์สมบัติทุกอย่างที่พระองค์มีภายในสุสานขนาดใหญ่ที่เรียกว่า พีระมิด ถึงแม้เครื่องใช้และสมบัติต่างๆ จะไม่มีอยู่แล้ว แต่ความยิ่งใหญ่และน่าค้นหาของมหาพีระมิดยังคงเหลืออยู่ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมกันต่อไปตราบนานเท่านาน
อ้างอิง
กาญจนา หงส์ทอง. (2550). จิบไนล์ ไต่พีระมิด. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งพับลิชชิ่ง จำกัด.
ไบรอัน เฟแกน. (2549) . อียิปต์ปฐพีแห่งฟาโรห์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งพับลิชชิ่ง จำกัด.
ภูวดี ตู้จินดา. (2546). อียิปต์บันทึกฝันจากรอยทราย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แสงอาทิตย์.
วีณา รุธิพงศ์. (2544). อียิปต์ดินแดนแห่งฟาโรห์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอทิตตาพริ้นติ้ง จำกัด.
ศักดิ์ บวร. (2548).ตำนานความมหัศจรรย์ของอียิปต์. นนทบุรี: สำนักพิมพ์สมิต.
ศักดิ์ บวร. (2548). พลิกปมอาณาจักรอียิปต์โบราณ. นนทบุรี: สำนักพิมพ์สมิต.
ศักดิ์ บวร. (2548). สำรวจอาณาจักรอียิปต์โบราณ. นนทบุรี: สำนักพิมพ์สมิต.
สจวร์ต รอส. (2549). เรื่องหลังความตายดินแดนอียิปต์โบราณ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง
พับลิชชิ่ง จำกัด.
ท่ามกลางทะเลทรายกว้างอันใหญ่แห่งกีซ่า มหาพีระมิดที่ยิ่งใหญ่สามองค์ตั้งตระหง่านอยู่เหนือพื้นทรายห่างจากกรุงไคโรนครหลวงของประเทศอียิปต์ออกไปประมาณ 8 กม. รายล้อมไปด้วยพีระมิดและสุสานอื่นๆอีกมากมาย เมืองกีซ่าตั้งอยู่ปลายสันดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยใช้เป็นเครื่องกำหนดเขตแดนของอาณาจักรอียิปต์บนและล่าง ต่อมาเมื่ออาณาจักรทั้งสองรวมกันเป็นหนึ่งเดียวเมื่อ 2,925 ปีก่อนคริสต์กาล เมืองนี้จึงเป็นที่ประทับของฟาโรห์แห่งราชวงศ์ต่าง ๆ 30 ราชวงศ์อย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 3,000 ปี
ที่มา : http://pangpond007.wordpress.com/
มหาพีระมิดคูฟู หรือเรียกกันว่า “The Great Pyramid of Khufu” ถูกสร้างเป็นอันดับแรกในสมัยฟาโรห์คูฟู (2589-2566 ปีก่อนคริสตกาล) ให้เป็นอนุสรณ์สถานของกษัตริย์คูฟู หรือที่ชาวกรีกเรียกว่า “คีออปส์” ฟาโรห์คูฟูเป็นกษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ที่ 4 เป็นโอรสในฟาโรห์สเนฟรู โดยมหาพีระมิดคูฟูเป็นพีระมิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด สร้างเสร็จสมบูรณ์โดยใช้เวลาในการก่อสร้างยาวนานถึง 20 ปี
มหาพีระมิดคูฟูเดิมสูง 146 เมตร แต่สึกกร่อนไปมาก จึงเหลือส่วนสูงแค่ 137 เมตร ฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส แต่ละด้านยาว 230 เมตร ต้องใช้ก้อนหินกว่าสองล้านห้าแสนก้อน ก้อนหนึ่งเฉลี่ยหนัก 1-2 ตัน บางก้อนมีขนาดใหญ่หนักกว่า 15 ตัน สันนิษฐานว่าผู้สร้างพีระมิดนี้อาศัยดวงดาวเป็นหลักในการก่อสร้าง นอกจากความใหญ่โตอันน่ามหัศจรรย์ของพีรามิดแล้ว การสร้างให้สำเร็จยังเป็นสิ่งน่ามหัศจรรย์ยิ่งกว่าหลายเท่า หินเหล่านี้สกัดมาจากภูเขาที่อยู่ไกล แล้วลากมาสู่ฝั่งแม่น้ำไนล์ ล่องลงมาเป็นระยะทางนับร้อยไมล์ จึงมาถึงจุดใกล้ที่ก่อสร้าง แล้วชักลากผ่านทะเลทรายไปถึงที่ก่อสร้างต้องแต่งสลักเป็นแท่งสี่เหลี่ยม แล้วยกวางซ้อนขึ้นไปจนถึง 432 ฟุต ใจกลางพีรามิดมีห้องเก็บพระศพของพระเจ้าคีออปส์ข้างในทำจากหินแกรนิต กว้าง 34 ฟุต ยาว 17 ฟุต และสูง 19 ฟุต ส่วนหีบพระศพของพระเจ้าคีออปส์ทำด้วยหินแกรนิตตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของห้องพีระมิดของพระเจ้าคีออปส์ ล้อมรอบด้วยหลุมศพ และพีระมิดเล็ก ๆ อีก 3 แห่ง ซึ่งเป็นของสมาชิกในราชวงศ์และในราชสำนักชั้นสูง
พีระมิดองค์กลาง คือพีระมิดคาเฟร “The pyramid of Khafre” เป็นพีระมิดของพระโอรสผู้สืบทอดตำแหน่งของกษัตริย์คูฟู หรือที่ชาวกรีกเรียก “คีเฟรน” ฟาโรห์คาเฟรเป็นกษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์ที่ 4 เป็นโอรสของฟาโรห์คูฟู พีระมิดของพระองค์มีขนาดเล็กกว่ามหาพีระมิดเพียงหนึ่งเมตร ความโดดเด่นแปลกตาอยู่ตรงปลายพีระมิดที่สร้างขึ้นด้วยปูนขาว และมีตัวสฟิงซ์ อสุรกายครึ่งมนุษย์ครึ่งสิงโตขนาดใหญ่มหึมาที่หมอบเพื่อทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ผู้ใดกล้ำกลายเข้าใกล้พีระมิด ส่วนหัวของสฟิงซ์เป็นรูปหน้าของฟาโรห์ แต่ลำตัวเป็นสิงโต มีความสูง 66 ฟุต ยาว 240 ฟุต
และพีระมิดองค์สุดท้าย คือ พีระมิดเมนเคอเร “The pyramid of Menkaure” หรือที่ชาวกรีกเรียก “ไมเซอรินัส” ฟาโรห์เมนเคอเรเป็นกษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์ที่ 4 เป็นพีระมิดที่มีขนาดเล็กที่สุด สูงเพียง 66 เมตร และที่ตั้งอยู่ใกล้กันมีพีระมิดราชินีทั้ง 3 ซึ่งเป็นพีระมิดเล็กๆ เรียงรายใกล้กัน
ด้วยความที่ชาวอียิปต์ในยุคโบราณเชื่อเรื่องชีวิตหลังความตาย ดังนั้น พระศพของฟาโรห์จึงได้รับการฝังพร้อมข้าวของเครื่องใช้และทรัพย์สมบัติทุกอย่างที่พระองค์มีภายในสุสานขนาดใหญ่ที่เรียกว่า พีระมิด ถึงแม้เครื่องใช้และสมบัติต่างๆ จะไม่มีอยู่แล้ว แต่ความยิ่งใหญ่และน่าค้นหาของมหาพีระมิดยังคงเหลืออยู่ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมกันต่อไปตราบนานเท่านาน
อ้างอิง
กาญจนา หงส์ทอง. (2550). จิบไนล์ ไต่พีระมิด. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งพับลิชชิ่ง จำกัด.
ไบรอัน เฟแกน. (2549) . อียิปต์ปฐพีแห่งฟาโรห์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งพับลิชชิ่ง จำกัด.
ภูวดี ตู้จินดา. (2546). อียิปต์บันทึกฝันจากรอยทราย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แสงอาทิตย์.
วีณา รุธิพงศ์. (2544). อียิปต์ดินแดนแห่งฟาโรห์. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอทิตตาพริ้นติ้ง จำกัด.
ศักดิ์ บวร. (2548).ตำนานความมหัศจรรย์ของอียิปต์. นนทบุรี: สำนักพิมพ์สมิต.
ศักดิ์ บวร. (2548). พลิกปมอาณาจักรอียิปต์โบราณ. นนทบุรี: สำนักพิมพ์สมิต.
ศักดิ์ บวร. (2548). สำรวจอาณาจักรอียิปต์โบราณ. นนทบุรี: สำนักพิมพ์สมิต.
สจวร์ต รอส. (2549). เรื่องหลังความตายดินแดนอียิปต์โบราณ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้ง
พับลิชชิ่ง จำกัด.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น