หุบเขาษัตริย์ สุสานฝังศพฟาร์โรแห่งอียิปต์

โดย ศรัณพร ไกยะโส

อารยธรรมแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์เมื่อ 3000 ปีก่อนคริสตกาล  ชาวอียิปต์โบราณกลุ่มหนึ่งได้เริ่มต้นตั้งถิ่นฐานดินฝั่งแม่น้ำ ทำการเพาะปลูกเก็บเกี่ยว บูชาเทพเจ้าเพื่อให้พืชพันธุ์อุดมสมบูรณ์ เมื่อกษัตริย์แห่งอียิปต์บนผู้มีพระนามว่านาร์เมอร์ (Narmer) ทรงกรีฑาทัพมาตีอียิปต์ล่างเพื่อร่วมให้เป็นหนึ่งเดียวและสถาปนาราชวงศ์ที่ 1 ( บ้างก็ว่าราชวงศ์ที่ 0) แห่งอียิปต์โบราณขึ้น ประวัติศาสตร์แห่งดินแดนไอยคุปต์ก็เข้าสู่ยุคที่นักอียิปต์วิทยาให้ชื่อว่ายุคเริ่มราชวงศ์  (Early Dynastic Period) ซึ่งมีกษัตริย์หรือที่พวกเราเรียกกันว่า “ฟาโรห์”ปกครองดูแลบ้านเมืองสืบต่อกันมาเป็นระยะเวลาอีกกว่า 3000 ปี

ถ้าดูตามลำดับราชวงศ์ของฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณ สุสานของฟาโรห์ในราชวงศ์แรกๆรวมทั้ง ฟาโรห์แห่งราชอาณาจักรเก่า (Old Kingdom) เดิมจะฝังร่างของพระองค์ไว้ใต้กองหินอันยิ่งใหญ่ที่เราเรียกกันว่า “พีระมิด” ต่อมาการสร้างพีระมิดฝังศพของฟาโรห์เดิมนั้นได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากพีระมิดที่มีความยิ่งใหญ่ตระการตา ได้กลายมาเป็นที่ฝังศพที่อยู่ตามหุบเขาโดยใช้วิธีการเจาะลึกเข้าไปในภูเขาเพื่อใช้เป็นที่ฝังศพแทนพีระมิดเรียกว่า “สุสานสกัดหน้าผา” เป็นที่ฝังศพโดยการเจาะหินหรือดินที่เป็นอุโมงค์ลึกลงไปเมื่อนำศพไปฝัง ศพที่ฝังส่วนใหญ่เป็นศพของฟาโรห์  การฝังศพใต้ดินแบบนี้จึงเรียกเรียกว่า ฮิโปเจียม (Hypogeum) และบริเวณที่ฝังศพนี้จึงถูกเรียกว่า “หุบเขากษัตริย์ (Vally of Kings)” เนื่องจากใช้เป็นที่ฝังศพของฟาโรห์และเชื้อพระวงศ์ ในยุคราชวงศ์ใหม่ของอียิปต์โบราณ (ราชวงศ์ที่ 18-20)



โดยหุบเขาแห่งนี้ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำไนล์ของเมืองลักซอร์ (Luxor)ในปัจจุบัน ในอดีตเมืองนี้มีชื่อว่าเมืองธีปส์ (Thebes) ชื่อที่พวกกรีกโบราณเรียกเมืองที่เคยเป็นนครหลวงทางศาสนาและจิตรวิญญาณของอียิปต์โบราณในยุคราชอาณาจักรใหม่ เป็นสถานที่ที่รายล้อมไปด้วยทะเลทรายอันร้อนระอุ หุบเขาที่ซับซ้อนทำให้เหมาะสำหรับการสร้างสุสานเพื่อให้รอดพ้นจากการถูกทำลาย

จากการค้นพบสุสานที่หุบเขากษัตริย์แห่งนี้ นักโบราณคดีขุดพบหลุมศพมากถึง 63 แห่ง ลึกลงไปในหลุมศพยังแบ่งออกเป็นห้องเล็กๆ บางสุสานมีห้องที่ซับซ้อนเป็นอย่างมาก แถมยังมีการสร้างหลุมพรางเพื่อป้องกันพวกโจรที่จะมาขโมยทรัพย์สมบัติภายในสุสาน ในบรรดาสุสานทั้งหมด มีห้องมากที่สุดถึง 120 ห้อง ซึ่งเป็นของฟาโรห์รามเซสที่ 2 (Ramses ll) ตอนที่นักโบราณคดีค้นพบสุสานแห่งนี้ภายในก็เหลือเพียงร่างอันไร้วิญญาณของรามเซสที่ 2 เท่านั้น ส่วนทรัพย์สมบัติอื่นๆไม่มีเหลือไว้แล้ว บางสุสานที่ค้นพบจะเหลือเพียงรูปปั้นขนาดเล็ก  ซึ่งแทบทุกสุสานของฟาโรห์จะต้องมี เพื่อเป็นตัวแทนของข้าทาสที่จะตามรับใช้ฟาโรห์ในโลกหน้า บางสุสานร่างมัมมี่ก็ถูกทำลายไปอย่างน่าเสียดาย และนอกจากจะถูกทำลายโดยมนุษย์แล้ว ภัยธรรมชาติ เช่น น้ำท่วม ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่มาทำลายสุสาน ซึ่งทำให้ยากมากขึ้นในการปะติดปะต่อเรื่องราวต่างๆ ทางประวัติศาสตร์  เมื่อมีการขุดค้นพบสุสานขึ้น เพื่อให้ง่ายในการจดจำนักโบราณคดีจะทำการตั้งชื่อสุสานว่า KV และตามด้วยลำดับในการขุดค้นพบ เช่น KV1, KV25 เป็นต้น

สำหรับนักโบราณคดีแล้วหุบเขาแห่งนี้ถือว่าเป็นที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะหลังจากมีการขุดค้นพบสุสานไปแล้วมากมาย จนหลายๆคนคิดว่าคงไม่มีสุสานเหลือให้ค้นพบอีกแล้ว ก็มีข่าวโด่งดังไปทั่วโลกอีกครั้งช่วงที่มีการค้นพบสุสานของฟาโรห์ตุตันคามุน (Tutankhamun) ซึ่งถือเป็นสุสานที่มีความสมบูรณ์แบบมากๆ ทรัพย์สมบัติทุกชิ้นของพระองค์ยังคงวางอยู่ที่เดิม เป็นสุสานที่รอดพ้นจากสายตาโจรขโมยมาได้เป็นพันๆปี อย่างไม่น่าเชื่อทั้งๆที่สุสานของพระองค์ไม่ได้มีความซับซ้อนอะไรมากมาย สมบัติเกือบทุกชิ้นทำขึ้นจากทองคำแท้ๆ ในปีแรกของการขุดพบ เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า “คำสาปมัมมี่” เพราะเอิร์ลแห่งคาร์นาวอนเสียชีวิตกะทันหัน “คาร์นาวอน” เป็นขุนนางอังกฤษที่ออกเงินทุนให้นักโบราณคดีชื่อโฮเวิร์ด คาร์เตอร์ (Howard Carter) ขุดหาจนพบสุสานตุตันคามุน หนังสือพิมพ์ทั่วโลกรายงานข่าวว่า การตายของคาร์นาวอนเกิดขึ้นเพราะไปลบหลู่สุสานตุตันคามุน รวมไปถึงผู้ที่มีส่วนในการขุดครั้งนั้นก็เสียชีวิตอย่างปริศนา


ที่มา: http://www.bloggang.com/

ส่วนสาเหตุที่ชาวอียิปต์ฝังศพฟาโรห์ไว้ที่หุบเขาแห่งนี้ อาจมาจากเดิมที่เคยมีการฝั่งศพไว้ในที่โล่งแจ้ง หรือฝังไว้ใต้พีระมิดนั้น ทำให้ง่ายต่อการโจรกรรมสมบัติ และการสร้างพีรามิดนั้นยังสิ้นเปลืองแรงงานและค่าใช้จ่ายมาก ซ้ำยังไม่สามารถจะป้องกันทรัพย์สินที่มีค่าภายในพีรามิดได้  จนในยุคของฟาโรห์ธุตโมซิสที่ 1 (Thutmose I) ฟาโรห์องค์ที่สามแห่งราชวงศ์ที่ 18 ได้สร้างสุสานของพระองค์ไว้ที่หุบเขากษัตริย์ และสั่งให้ย้ายมัมมี่ของฟาโรห์ยุคก่อนๆ ไปไว้ที่หุบเขาแห่งนี้ด้วย เพื่อให้รอดพ้นจากสายตาของพวกหัวขโมย ภายหลังจากนั้นที่แห่งนี้จึงกลายเป็นแหล่งรวมของสุสานของฟาโรห์และราชวงศ์มากมาย และด้วยความแออัดของสุสานในยุคแรกๆที่มีการฝังศพไว้ที่นี่ คนงานจะทำการขุดลึกลงไปในหุบเขา เป็นขันบันได ตรงๆ เข้าไป ไม่มีความซับซ้อนมากนัก จนเกิดปัญหาขึ้นเมื่อทำการสร้างสุสานใหม่ เพราะขุดไปทะลุกันบ้าง ขุดแล้วทำให้สุสานหล่นทับกันบ้าง วิศวกรยุคโบราณจึงได้มีการสร้างสุสานใหม่เป็นรูปตัว L เพื่อหลีกเลี้ยงปัญหาดังกล่าว แถมยังมีการสร้างสุสานให้มีหลายๆ ห้องซับซ้อนมากยิ่งขึ้นด้วย

ถึงแม้ในว่าปัจจุบันจะมีการค้นพบมันมี่ของฟาโรห์องค์ต่างๆในหุบเข้ากษัตริย์แห่งนี้หลายพระองค์ แต่ก็ยังเชื่อว่ายังมีมัมมี่ของเหล่าฟาโรห์อีกหลายๆพระองค์ ที่ยังรอการค้นพบจากนักอียิปต์ และยังรอการกลับมามีชีวิตอีกครั้งในหุบเขาแห่งนี้ เพื่อเปิดประตูแห่งความยิ่งใหญ่และเป็นกุญแจสำคัญในการไขความลับของอารยธรรมอียิปต์ในอนาคตต่อไป


อ้างอิง

กำจร สุนพงษ์ศรี.(2524). ประวัตติศาสตร์ศิลปตะวันตก.กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฐพล เดชขจร .(2553). ผ่าปมปริศนามหา ไอยคุปต์.กรุงเทพฯ: ฐานบุ๊คส์.

นิพนธ์  ทวีกาญจ์.(2529). ประวิติศาสตร์ศิลป์.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

ปรีดี บุญซื่อ .(2559). ความลับสุดท้ายของตุตันคามุน ประตูลับสู่สุสานเนเฟอร์ติติ. สืบค้น 19 มกราคม 2560, จาก http://thaipublica.org/2016/08/pridi5/

หุบเขากษัตริย์. (ม.ป.ป.) ). สืบค้น 19 มกราคม 2560, จาก http://www.oceansmile.com/Egypt/King.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น