โดย อัศวิน โคสาสุ
หากเราจะกล่าวถึงนักรบที่เป็นที่รู้จักและมีความโด่งดังไปทั่วโลก หนึ่งในนั้นย่อมไม่พ้นนักรบชาวญี่ปุ่นที่เราเรียกกันว่า “ซามูไร” (Samurai) นักรบซามูไรนั้นมีองค์ประกอบหลายอย่างที่ทำให้ตัวนักรบซามูไรเองนั้นมีความโดดเด่น และมีสิ่งหนึ่งที่เหล่าซามูไรนั้นยึดถือปฏิบัติเป็นแนวทางหลักใหญ่สำคัญอย่างเคร่งครัด ใช่แล้วครับ สิ่งที่เราจะกล่าวถึงหลักๆในบทความนี้นั้นก็คือหลักปฏิบัติของเหล่านักรบซามูไร ที่มีชื่อเรียกว่า “บูชิโด”(Bushido) นั่นเองครับ
คำว่า “บูชิโด” นั้น หากแยกคำว่า “บูชิ” และ “โด” ออกมาถอดความนั้น “บูชิ” แปลว่า นักรบคือซามูไร ส่วนคำว่า “โด” นั้นแปลว่า ทางหรือวิถีทาง ฉะนั้น คำว่า “บูชิโด” จึงแปลความได้ว่า ทางหรือวิถีทางแห่งนักรบ
ซึ่งหากจะมองในส่วนของต้นกำเนิดบูชิโดนั้น มิได้มีความแน่ชัดนักว่ากำเนิดขึ้นเมื่อใด หากแต่มีการสืบทอดสืบต่อกันมาเป็นจารีตวิถีปฏิบัติของซามูไรสืบต่อกันมา บ้างก็ว่ามีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า “ฮะงะกุเระ” เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นจากคำบอกเล่าของสึเนะโดะโมะ ยะมะโมะโตะ อดีตซามูไรแห่งแคว้นซะงะ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นต้นสายความคิดแห่งยุทธจริยานี้ นั่นก็เป็นอีกมุมมองหนึ่ง
การก่อกำเนิดของบูชิโดนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่ประกอบกันจนเกิดแนวความคิดนี้ขึ้น ซึ่งปัจจัยหลักๆนั้นได้แก่ 1. ลัทธิเจ้าผู้ครองนคร,ระบบมูลนาย หรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) ก่อกำเนิดไดเมียวผู้ครองแคว้นต่างๆในประเทศญี่ปุ่น และสร้างระบบสังกัดของนักรบซามูไรที่ต้องขึ้นตรงต่อแคว้น ต่อไดเมียวผู้ครองแคว้น 2. ศาสนาชินโตซึ่งเป็นศาสนาดั้งเดิมของประเทศญี่ปุ่น 3. ศาสนาพุทธนิกายเซน และ 4. ลัทธิขงจื้อซึ่งได้เผยแพร่เข้ามาในญี่ปุ่น ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ได้ก่อร่างสร้างฐานความคิดให้กับบูชิโด
ซึ่งหลักการสำคัญๆที่ปรากฏในบูชิโดนั้นมีทั้งหมด 7 ประการ คือ
ที่ได้กล่าวไปนั้นเป็นหลักสำคัญๆของบูชิโด ซึ่งหลักคำสอนของบูชิโดนั้นยังมีอีกหลายเรื่องที่ครอบคลุมถึงวิถีชีวิตของซามูไรในทุกๆด้าน
จากหลักคำสอนของบูชิโดนั้น เป็นรากฐานของวัฒนธรรมของญี่ปุ่นในหลายๆด้าน หลักคำสอนนี้ได้ซึมลึกลงไปในลักษณะนิสัยของคนญี่ปุ่นจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างที่เห็นชัดว่าบูชิโดนั้นได้ซึมลึกอยู่ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น เช่น กรณีฝูงบินพลีชีพที่ขับเครื่องบินรบพุ่งชนเรือรบของสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ที่เราเรียกฝูงบินนี้ว่า ฝูงบินกามิกาเซ่ (Kamikaze) ซึ่งได้รับอิทธิพลจากเรื่องการรักษาเกียรติของตนด้วยความตาย อันคล้ายคลึงกับการกระทำฮาราคีรี (Harakiri) หรือเซปปุกุ (Seppuku) และเหตุการณ์นี้ยังสื่อให้เห็นถึงความจงรักภักดีต่อองค์จักรพรรดิ ต่อชาติ ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าจะรักษาซึ่งเกียรติแห่งปิตุภูมิมาตุภูมิ
ในปัจจุบัน แม้ซามูไรจะมิได้มีบทบาทสำคัญในสังคมญี่ปุ่นแล้วก็ตาม แต่ลักษณะนิสัยต่างๆ เรื่องการทำงานอย่างเต็มศักยภาพ ความสุภาพอ่อนน้อม การรักษาไว้ซึ่งเกียรติ ที่ยังปรากฏชัดในสังคมญี่ปุ่น แสดงให้เห็นว่า แม้ซามูไรจะหมดไป แต่หลักปฏิบัติของซามูไรคือบูชิโด ยังมีส่วนช่วยพัฒนาญี่ปุ่นอยู่ตราบจนถึงปัจจุบัน
อ้างอิง
วิกิพีเดีย. (2556). บุชิโด. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/บุชิโด
สึเนะโตะโมะ ยะมะโมะโตะ. (2558). บูชิโด วิถีแห่งนักรบซามูไร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ก้าวแรก.
เสฐียร พันธรังษี. (2508). บูชิโด จรรยาของทหาร ดวงวิญญาณของญี่ปุ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา.
UNLOCKMEN. (2558). “บูชิโด” วิถีแห่งนักรบซามูไร กับความเชื่อที่สามารถนำมาใช้ได้ในปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://www.unlockmen.com/bushido/
หากเราจะกล่าวถึงนักรบที่เป็นที่รู้จักและมีความโด่งดังไปทั่วโลก หนึ่งในนั้นย่อมไม่พ้นนักรบชาวญี่ปุ่นที่เราเรียกกันว่า “ซามูไร” (Samurai) นักรบซามูไรนั้นมีองค์ประกอบหลายอย่างที่ทำให้ตัวนักรบซามูไรเองนั้นมีความโดดเด่น และมีสิ่งหนึ่งที่เหล่าซามูไรนั้นยึดถือปฏิบัติเป็นแนวทางหลักใหญ่สำคัญอย่างเคร่งครัด ใช่แล้วครับ สิ่งที่เราจะกล่าวถึงหลักๆในบทความนี้นั้นก็คือหลักปฏิบัติของเหล่านักรบซามูไร ที่มีชื่อเรียกว่า “บูชิโด”(Bushido) นั่นเองครับ
ที่มารูปภาพ http://eigaflex.com/108/s108_28i.html
คำว่า “บูชิโด” นั้น หากแยกคำว่า “บูชิ” และ “โด” ออกมาถอดความนั้น “บูชิ” แปลว่า นักรบคือซามูไร ส่วนคำว่า “โด” นั้นแปลว่า ทางหรือวิถีทาง ฉะนั้น คำว่า “บูชิโด” จึงแปลความได้ว่า ทางหรือวิถีทางแห่งนักรบ
ซึ่งหากจะมองในส่วนของต้นกำเนิดบูชิโดนั้น มิได้มีความแน่ชัดนักว่ากำเนิดขึ้นเมื่อใด หากแต่มีการสืบทอดสืบต่อกันมาเป็นจารีตวิถีปฏิบัติของซามูไรสืบต่อกันมา บ้างก็ว่ามีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า “ฮะงะกุเระ” เป็นหนังสือที่เขียนขึ้นจากคำบอกเล่าของสึเนะโดะโมะ ยะมะโมะโตะ อดีตซามูไรแห่งแคว้นซะงะ ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นต้นสายความคิดแห่งยุทธจริยานี้ นั่นก็เป็นอีกมุมมองหนึ่ง
การก่อกำเนิดของบูชิโดนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่ประกอบกันจนเกิดแนวความคิดนี้ขึ้น ซึ่งปัจจัยหลักๆนั้นได้แก่ 1. ลัทธิเจ้าผู้ครองนคร,ระบบมูลนาย หรือระบบศักดินาสวามิภักดิ์ (Feudalism) ก่อกำเนิดไดเมียวผู้ครองแคว้นต่างๆในประเทศญี่ปุ่น และสร้างระบบสังกัดของนักรบซามูไรที่ต้องขึ้นตรงต่อแคว้น ต่อไดเมียวผู้ครองแคว้น 2. ศาสนาชินโตซึ่งเป็นศาสนาดั้งเดิมของประเทศญี่ปุ่น 3. ศาสนาพุทธนิกายเซน และ 4. ลัทธิขงจื้อซึ่งได้เผยแพร่เข้ามาในญี่ปุ่น ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ได้ก่อร่างสร้างฐานความคิดให้กับบูชิโด
ซึ่งหลักการสำคัญๆที่ปรากฏในบูชิโดนั้นมีทั้งหมด 7 ประการ คือ
1. ความยุติธรรม คือ ยุติธรรมในการต่อสู้ ไม่เอาเปรียบผู้ที่อ่อนแอกว่า และสอนให้ในใจบังเกิดความยุติธรรมเสมอ
2. ความกล้าหาญ คือ กล้าหาญที่จะเผชิญหน้ากับความตาย ไม่แสดงความขลาดกลัวออกมาเมื่อต้องเผชิญหน้ากับความตาย
3. ความเมตตากรุณา คือ เมตตาต่อผู้คนรอบข้าง หรือแม้แต่ศัตรู ก็ควรเมตตา ไม่เหยียดหยามเกียรติแห่งซามูไรด้วยกัน
4. นับถือซึ่งกันและกัน คือ เคารพนับถือเกียรติและศักดิ์ศรีของซามูไรด้วยกัน รวมถึงการนับถือในเรื่องฝีมือการรบซึ่งกันและกัน
5. ความซื่อตรง คือ มีความซื่อสัตย์ ไม่ปลิ้นปล้อน หลอกหลวง อันนำมาซึ่งความไร้เกียรติแห่งซามูไร ทำให้ซามูไรต้องมัวหมอง
6. ความมีเกียรติ คือ ยึดถือเรื่องเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งซามูไรเป็นที่ตั้ง ไม่กระทำการสิ่งที่ทำลายเกียรติแห่งตน ยอมทำทุกอย่างแม้กระทั้งยอมที่จะตายเพื่อรักษาเกียรติแห่งตนมิให้เกิดความมัวหมอง
7. ความจงรักภักดี คือ ความจงรักภักดีต่อผู้เป็นนาย ทำทุกอย่างเพื่อเป็นการสนับสนุน ส่งเสริมผู้ที่เป็นเจ้านาย ทำงานต่างๆอย่างเต็มความสามารถเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีที่สุดแก่ผู้ที่เป็นเจ้านาย นอกจากนี้ยังรวมถึงความจงรักภักดีต่อองค์จักรพรรดิซึ่งเป็นศูนย์รวมของชาติ ต่อวงศ์ตระกูล ต่อครอบครัว และต่อบรรพชน
ที่ได้กล่าวไปนั้นเป็นหลักสำคัญๆของบูชิโด ซึ่งหลักคำสอนของบูชิโดนั้นยังมีอีกหลายเรื่องที่ครอบคลุมถึงวิถีชีวิตของซามูไรในทุกๆด้าน
จากหลักคำสอนของบูชิโดนั้น เป็นรากฐานของวัฒนธรรมของญี่ปุ่นในหลายๆด้าน หลักคำสอนนี้ได้ซึมลึกลงไปในลักษณะนิสัยของคนญี่ปุ่นจนถึงปัจจุบัน ตัวอย่างที่เห็นชัดว่าบูชิโดนั้นได้ซึมลึกอยู่ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น เช่น กรณีฝูงบินพลีชีพที่ขับเครื่องบินรบพุ่งชนเรือรบของสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่สอง ที่เราเรียกฝูงบินนี้ว่า ฝูงบินกามิกาเซ่ (Kamikaze) ซึ่งได้รับอิทธิพลจากเรื่องการรักษาเกียรติของตนด้วยความตาย อันคล้ายคลึงกับการกระทำฮาราคีรี (Harakiri) หรือเซปปุกุ (Seppuku) และเหตุการณ์นี้ยังสื่อให้เห็นถึงความจงรักภักดีต่อองค์จักรพรรดิ ต่อชาติ ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าจะรักษาซึ่งเกียรติแห่งปิตุภูมิมาตุภูมิ
ในปัจจุบัน แม้ซามูไรจะมิได้มีบทบาทสำคัญในสังคมญี่ปุ่นแล้วก็ตาม แต่ลักษณะนิสัยต่างๆ เรื่องการทำงานอย่างเต็มศักยภาพ ความสุภาพอ่อนน้อม การรักษาไว้ซึ่งเกียรติ ที่ยังปรากฏชัดในสังคมญี่ปุ่น แสดงให้เห็นว่า แม้ซามูไรจะหมดไป แต่หลักปฏิบัติของซามูไรคือบูชิโด ยังมีส่วนช่วยพัฒนาญี่ปุ่นอยู่ตราบจนถึงปัจจุบัน
อ้างอิง
วิกิพีเดีย. (2556). บุชิโด. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2560, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/บุชิโด
สึเนะโตะโมะ ยะมะโมะโตะ. (2558). บูชิโด วิถีแห่งนักรบซามูไร. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ก้าวแรก.
เสฐียร พันธรังษี. (2508). บูชิโด จรรยาของทหาร ดวงวิญญาณของญี่ปุ่น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา.
UNLOCKMEN. (2558). “บูชิโด” วิถีแห่งนักรบซามูไร กับความเชื่อที่สามารถนำมาใช้ได้ในปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2560, จาก http://www.unlockmen.com/bushido/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น