ชนชั้นในตะวันตกยุคกลาง

โดย ปิยาภรณ์ เหล่าเกียรติชัย

ชนชั้นในตะวันตกยุคกลางนั้น กำเนิดขึ้นจากระบบฟิวดัน ระบบฟิวดันคือระบบอุปถัมภ์ โดยมีที่ดินเป็นตัวกำหนดความสัมพันธ์ของคนในสังคม

โดยผู้ที่มีความสัมพันธ์คือ เจ้า (Lord) หรือผู้ที่มีที่ดินจำนวนมากกับข้า (Vassal) หรือผู้ทำประโยชน์ในที่ดิน โดยมีที่ดิน (Land Fief หรือ Feuda) เป็นสาระสำคัญของความผูกพัน โดยชนชั้นในยุคกลางถูกแบ่งได้ดังนี้

1. ซุเซอเรน ลอร์ดคนที่ 1 หรือกษัตริย์ คือผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินทั้งประเทศโดยสมบูรณ์และไม่ชึ้นกับผู้ใด

2. ลอร์ดหรือเจ้า คือ ขุนนางชั้นสูงที่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยขุนนางที่ถือครองที่ดินโดยตรงจากกษัตริย์ เรียกว่า “เทนเนน อิน ชีฟ” โดยเจ้าจะให้กรรมสิทธิ์ในที่ดินแก่ข้าเพื่อทำประโยชน์ในที่ดินนั้น รวมทั้งให้ความคุ้มครองดูแลเมื่อเกิดภัยสงคราม ส่วนข้าต้องสาบานว่าจะจงรักภักดีต่อเจ้า รวมทั้งส่งเงินและกองทัพไปร่วมรบในสงครามด้วย

3. วัสซาล คือ ข้าที่ได้ทำพิธีรับมอบที่ดินจากเจ้าเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ และต้องแบ่งประโยชน์ให้เจ้า

4. อัศวินหรือซับวัสซาล คือขุนนางระดับต่ำที่ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินต่อจากขุนนางชั้นสูงอีกทอดหนึ่ง

5. ชาวไร่ชาวนาและทาสติดที่ดิน สามัญชนที่ทำมาหากินบนที่ดินของขุนนางและอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของเจ้าของที่ดิน เมื่อเป็นอิสระเจ้าของที่ดินจะขายพวกเขาให้ผู้อื่นมิได้

ชนชั้นในยุคนี้มีความเกี่ยวข้องกันแบบเจ้าหรือขุนนางกับข้า ซึ่งเป็นการที่เจ้าเป็นผู้ให้ที่ดินแก่ข้าเพื่อทำประโยชน์โดยผู้ที่ได้ประโยนช์สูงสุดคือเจ้า เพราะผลผลิตที่ได้ข้าจะต้องแบ่งให้แก่เจ้าด้วย เหมือนเป็นค่าตอบแทนสำหรับการให้กรรมสิทธิ์ที่ดินทำกิน

อ้างอิง : 

ณัฐชยา นันตา, (2556). ระบบฟิวดัลในสมัยกลาง. สืบค้นเมื่อ 07 มกราคม 57, จาก http://metricsyst.wordpress.com/2013/02/11

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น