โดย กชมน ศรีนรคุตร
หากจะพูดถึงทวีปอเมริกาใต้ ก็คงจะเป็น 1 ในดินแดนที่ไกลตัวคนไทยเป็นอย่างมาก เพราะนอกเหนือจากระยะทางที่ห่างไกลกันสุดขอบโลกแล้ว ก็ยังเป็นดินแดนที่ค่อนข้างลึกลับ เฉกเช่นเดียวกับ มาชูปิกชู เมืองโบราณ ณ ประเทศเปรู 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดย UNESCO เมื่อปี พ.ศ. 2526 เมืองลี้ลับแห่งนี้มีความเป็นมาอย่างไร เหตุใดยังคงสภาพไว้ได้อย่างสวยงาม เราจะมาหาคำตอบกัน
มาชูปิกชู (Machu Picchu) ตั้งอยู่ที่ประเทศเปรู อยู่ห่างจากเมืองกุสโกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 70 กิโลเมตรบนยอดของทิวเขามาชูปิกชู ที่ระดับ 2,350 เมตรจากระดับน้ำทะเล นับเป็นศูนย์กลางที่มีความสำคัญยิ่งทางโบราณคดีของอเมริกาใต้ และเป็นสถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเกือบทุกคนที่มาเยือนประเทศเปรู และนอกจากองค์กรยูเนสโกได้จดทะเบียนให้ มาชูปิกชู เป็นมรดกโลกแล้ว มาชูปิกชูยังได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ ในปี พ.ศ. 2550 จากการลงคะแนนทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือทั่วโลก
ลักษณะของมาชูปิคชูคือซากอาคารโบราณเป็นหมู่เหล่า สร้างด้วยหินก้อนโตๆเรียงก่อกันเป็นกำแพง จากมุมสูงจะเห็นได้ว่าเป็นห้องสี่เหลี่ยมเรียงรายเป็นแถวเป็นแนวอย่างเป็นระเบียบ ด้านบนมีหน้าจั่วแหลมเป็นยอดๆ หมู่อาคารถูกวางผังไว้อย่างดี วางตัวอยู่บนพื้นหญ้าของภูเขาที่พุ่งชันสูง ล้อมขนาบด้วยนาขั้นบันไดที่ใช้หินแบบเดียวกันก่อเป็นกำแพงทอดตัวเรียงต่ำลงไปเป็นขั้นๆ ด้านหลังก็มีทิวเขาวางเรียงตัวกัน ราวกับซ่อนเมืองนี้เอาไว้
คาดกันว่า มาชูปิกชู ก่อสร้างขึ้นในยุคที่อินคารุ่งเรือง ราวปี ค.ศ. 1440-1450 (พ.ศ.1993) และถูกปล่อยทิ้งไว้นับร้อยปี เพราะชาวสเปนได้เข้ามาล่าอาณานิคม และสังหารชาวเปรูและชาวอินคา เมืองอินคาเลยถูกปล่อยร้างไว้ มีข้อสันนิษฐานมากมายเกี่ยวกับความลึกลับของเมืองนี้ ไม่ว่าจะเป็น วัตถุประสงค์ในการสร้างมาชูปิกชู? ชาวสเปนค้นพบเมืองนี้หรือไม่? และมาชูปิกชูล่มสลายไปได้อย่างไร?
วัตถุประสงค์ในการสร้างมาชูปิกชูคืออะไร? มีข้อสัญนิษฐานหลายประการ ดังนี้ (1)บ้างก็ว่าที่นี่ไม่ใช่ชุมชนที่อยู่อาศัยหรือเมือง แต่น่าจะเป็นการก่อสร้างเพื่อพักอาศัยของคนมีฐานะของชาวอินคาในยุคนั้น (2) บ้างก็ว่านี่คือศาสนสถาน หรือสุสานอันยิ่งใหญ่ของผู้สร้างอาณาจักอินคา ดูได้จากสิ่งก่อสร้างต่างๆ ทั้ง อาคารที่อยู่อาศัย อุโมงค์ อ่างเก็บน้ำ ระบบชลประทานการปล่อยน้ำตามคลองเล็กๆเพื่อการเกษตร รูปแบบการทำเกษตรหรือการทำนาแบบขั้นบันได หอคอยสำหรับการเฝ้ามองดูผู้รุกราน การสร้างถนน สิ่งก่อสร้างตามไหล่เขา ที่ไล่ระดับเป็นขั้นๆ ซากกำแพงหินแกรนิตสีขาว ร่องรอยของสถาปัตยกรรมทั้งหลาย และ (3) ที่แท้แล้วมาชูปิกชูไม่ใช่นครใหญ่แต่เป็นเพียงพระราชวังฤดูร้อนของกษัตริย์อินคา เพราะค้นพบพื้นที่ที่น่าจะเป็นที่อยู่อาศัยของหญิงชาววัง โดยตามคติความเชื่อของชาวอินคา เด็กสาวที่มีบุคคลิกดีจะได้รับการคัดเลือกจากแต่ละท้องที่ บ้างมาเป็นสนมนางกำนัน และเป็นราชินีของพระเจ้าเหมือนเด็กหญิงฮวนนิต้า ซึ่งโครงกระดูกของเธอนั้นถูกค้นพบใกล้ปากปล่องภูเขาไฟ
ชาวสเปนค้นพบเมืองนี้หรือไม่? หลายๆคนคงได้รับรู้มาเพียงว่าที่มาชูปิคชูไม่ถูกทำลายนั้นน่าจะมากจากการที่มาชูปิคชูตั้งอยู่ในระดับต่ำกว่าทางเดิน รวมทั้งยังถูกซ่อนบังลึกลงไปในหุบเขา หากไม่ได้ใช้เส้นทางของชาวอินคานั้น เป็นไปได้ที่ชาวสเปนจะไม่สามารถค้นพบสถานที่แห่งนี้ และถูกซ่อนตัวจนกระทั่งฮิราม บิงแฮมเดินทางมาค้นพบ แต่ก็ยังมีอีกข้อสันนิษฐานนึงที่ว่าจริงๆแล้วชาวสเปนค้นพบมาชูปิคชู ก็คือมีการค้นพบบันทึกของบาทหลวงที่เขียนไว้ถึงที่นี่ว่า “ยังมีดวงวิญญาณที่มิได้รับการปลดปล่อยอยู่ที่นี่อีก 200 ดวงวิญญาณ” ซึ่งนั่นอาจจะหมายถึงคนนอกรีตที่บาทหลวงคาทอลิกมาพบ จึงเข้าไปปลดปล่อย ดวงวิญญาณเหล่านั้นตามวิถีคาทอลิกของสเปน
ซึ่งข้อมูลข้างต้นนี่ก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้เช่นกัน เฉกเช่นเดียวกับข้อมูลที่ว่าแล้ว มาชูปิกชูถูกลืมหรือล่มสลายไปได้อย่างไรก่อนที่ฮิราม บิงฮามจะมาพบ? (1) ข้อสันนิษฐานแรกคือในสมัยนั้นชาวอินคาไม่มีตัวอักษารใช้ จึงไม่มีการจดบันทึกใดๆ เกิดขึ้น การจะเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์นั้นทำได้เพียงการเล่าปากต่อปาก ข้อมูลจึงอาจจะเลือนหายไป (2)บ้างก็ว่าเกิดโรคระบาดที่มาชูปิกชู คนที่รอดตายก็ย้ายหนีออกมาและไม่มีใครกลับไปอยู่อีก (3) อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งคือ มาชูปิกชูเป็นเพียงวังฤดูร้อนของเจ้าแห่งอินคาซึ่งไม่ได้อยู่ถาวร พอหมดยุคสมัยรุ่นถัดไปก็อาจไม่ได้เข้ามาใช้ประโยชน์ นานเข้าก็ถูกทิ้งร้าง ท้ายสุดจักรวรรดิอินคา ที่เคยรุ่งเรืองมานานนับพันๆปีก็ล่มสลายไปในปี ค.ศ. 1572
มาชูปิกชูนั้นไม่ได้มีเพียงความสวยงามที่ดึงดูผู้คนจนทั่วทุกมุมโลกเข้ามายังที่แห่งนี้เท่านั้น แต่ยังเต็มไปด้วยสเน่ห์ และมนต์ขลัง แม้เราจะยังไม่สามารถไขปริศนาความลี้ลับของที่แห่งนี้ได้ก็ตาม ที่นี่ก็ยังคงเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ทรงคุณค่าแห่งหนึ่งของโลก
อ้างอิง :
ฟ้า บุณยะรัตเวช. 2553. เปรู ดินแดนแห่งความลับและมนตร์ขลัง Mystery and magic of Peru. กรุงเทพ: พิมพ์คำ.
น.พ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล และพ.ญ.ลลิตา ธีระสิริ. 2552. อินคา-เปรู The one place to see before you die. กรุงเทพ: มติชน.
มาชูปิกชู. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2557,จาก: http://th.wikipedia.org/.
บัวอื่น. 2552. มาชู ปิกชู (Machu Picchu) เมืองสาบสูญแห่งอินคา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2557, จาก: http://www.vcharkarn.com/varticle/38566.
หากจะพูดถึงทวีปอเมริกาใต้ ก็คงจะเป็น 1 ในดินแดนที่ไกลตัวคนไทยเป็นอย่างมาก เพราะนอกเหนือจากระยะทางที่ห่างไกลกันสุดขอบโลกแล้ว ก็ยังเป็นดินแดนที่ค่อนข้างลึกลับ เฉกเช่นเดียวกับ มาชูปิกชู เมืองโบราณ ณ ประเทศเปรู 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก โดย UNESCO เมื่อปี พ.ศ. 2526 เมืองลี้ลับแห่งนี้มีความเป็นมาอย่างไร เหตุใดยังคงสภาพไว้ได้อย่างสวยงาม เราจะมาหาคำตอบกัน
มาชูปิกชู (Machu Picchu) ตั้งอยู่ที่ประเทศเปรู อยู่ห่างจากเมืองกุสโกไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 70 กิโลเมตรบนยอดของทิวเขามาชูปิกชู ที่ระดับ 2,350 เมตรจากระดับน้ำทะเล นับเป็นศูนย์กลางที่มีความสำคัญยิ่งทางโบราณคดีของอเมริกาใต้ และเป็นสถานที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเกือบทุกคนที่มาเยือนประเทศเปรู และนอกจากองค์กรยูเนสโกได้จดทะเบียนให้ มาชูปิกชู เป็นมรดกโลกแล้ว มาชูปิกชูยังได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ ในปี พ.ศ. 2550 จากการลงคะแนนทั้งทางอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือทั่วโลก
ชื่อของ Machu Picchu นั้นหมายถึง ภูเขาโบราณ (old mountain) ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ. 1911 โดยนักวิชาการชาวอเมริกันชื่อ ศาสตราจารย์ฮิราม บิงฮาม (Hiram Bingham) เดิมทีเขามีความตั้งใจที่จะค้นหาเมือง Vivambamba เมืองซึ่งชาวสเปนได้บันทึกว่า เป็นเมืองที่กษัตริย์แห่งอาณาจักรอินคาใช้ในการหลบซ่อนเมื่อครั้งที่พ่ายแพ้ให้แก่กองทัพสเปน แต่สุดท้ายก็มาค้นพบมาชูปิคชูแทน ในวันที่เขาค้นพบนั้น เขายังไม่ค่อยสนใจที่นี่มากนัก ด้วยสภาพที่รกของป่าที่ขึ้นปกคลุมนครลี้ลับแห่งนี้อยู่ ทำให้เขาเห็นอาคารเพียงไม่กี่หลัง ภายหลังต่อมาอีก 3 ปีนี้เขาจึงกลับมาทำการขุดค้นนครลี้ลับนี้อีกครั้ง จึงได้พบกับความยิ่งใหญ่ของที่นี่ และเปิดเผยสู่แก่สายตาของชาวโลก
ลักษณะของมาชูปิคชูคือซากอาคารโบราณเป็นหมู่เหล่า สร้างด้วยหินก้อนโตๆเรียงก่อกันเป็นกำแพง จากมุมสูงจะเห็นได้ว่าเป็นห้องสี่เหลี่ยมเรียงรายเป็นแถวเป็นแนวอย่างเป็นระเบียบ ด้านบนมีหน้าจั่วแหลมเป็นยอดๆ หมู่อาคารถูกวางผังไว้อย่างดี วางตัวอยู่บนพื้นหญ้าของภูเขาที่พุ่งชันสูง ล้อมขนาบด้วยนาขั้นบันไดที่ใช้หินแบบเดียวกันก่อเป็นกำแพงทอดตัวเรียงต่ำลงไปเป็นขั้นๆ ด้านหลังก็มีทิวเขาวางเรียงตัวกัน ราวกับซ่อนเมืองนี้เอาไว้
คาดกันว่า มาชูปิกชู ก่อสร้างขึ้นในยุคที่อินคารุ่งเรือง ราวปี ค.ศ. 1440-1450 (พ.ศ.1993) และถูกปล่อยทิ้งไว้นับร้อยปี เพราะชาวสเปนได้เข้ามาล่าอาณานิคม และสังหารชาวเปรูและชาวอินคา เมืองอินคาเลยถูกปล่อยร้างไว้ มีข้อสันนิษฐานมากมายเกี่ยวกับความลึกลับของเมืองนี้ ไม่ว่าจะเป็น วัตถุประสงค์ในการสร้างมาชูปิกชู? ชาวสเปนค้นพบเมืองนี้หรือไม่? และมาชูปิกชูล่มสลายไปได้อย่างไร?
วัตถุประสงค์ในการสร้างมาชูปิกชูคืออะไร? มีข้อสัญนิษฐานหลายประการ ดังนี้ (1)บ้างก็ว่าที่นี่ไม่ใช่ชุมชนที่อยู่อาศัยหรือเมือง แต่น่าจะเป็นการก่อสร้างเพื่อพักอาศัยของคนมีฐานะของชาวอินคาในยุคนั้น (2) บ้างก็ว่านี่คือศาสนสถาน หรือสุสานอันยิ่งใหญ่ของผู้สร้างอาณาจักอินคา ดูได้จากสิ่งก่อสร้างต่างๆ ทั้ง อาคารที่อยู่อาศัย อุโมงค์ อ่างเก็บน้ำ ระบบชลประทานการปล่อยน้ำตามคลองเล็กๆเพื่อการเกษตร รูปแบบการทำเกษตรหรือการทำนาแบบขั้นบันได หอคอยสำหรับการเฝ้ามองดูผู้รุกราน การสร้างถนน สิ่งก่อสร้างตามไหล่เขา ที่ไล่ระดับเป็นขั้นๆ ซากกำแพงหินแกรนิตสีขาว ร่องรอยของสถาปัตยกรรมทั้งหลาย และ (3) ที่แท้แล้วมาชูปิกชูไม่ใช่นครใหญ่แต่เป็นเพียงพระราชวังฤดูร้อนของกษัตริย์อินคา เพราะค้นพบพื้นที่ที่น่าจะเป็นที่อยู่อาศัยของหญิงชาววัง โดยตามคติความเชื่อของชาวอินคา เด็กสาวที่มีบุคคลิกดีจะได้รับการคัดเลือกจากแต่ละท้องที่ บ้างมาเป็นสนมนางกำนัน และเป็นราชินีของพระเจ้าเหมือนเด็กหญิงฮวนนิต้า ซึ่งโครงกระดูกของเธอนั้นถูกค้นพบใกล้ปากปล่องภูเขาไฟ
ชาวสเปนค้นพบเมืองนี้หรือไม่? หลายๆคนคงได้รับรู้มาเพียงว่าที่มาชูปิคชูไม่ถูกทำลายนั้นน่าจะมากจากการที่มาชูปิคชูตั้งอยู่ในระดับต่ำกว่าทางเดิน รวมทั้งยังถูกซ่อนบังลึกลงไปในหุบเขา หากไม่ได้ใช้เส้นทางของชาวอินคานั้น เป็นไปได้ที่ชาวสเปนจะไม่สามารถค้นพบสถานที่แห่งนี้ และถูกซ่อนตัวจนกระทั่งฮิราม บิงแฮมเดินทางมาค้นพบ แต่ก็ยังมีอีกข้อสันนิษฐานนึงที่ว่าจริงๆแล้วชาวสเปนค้นพบมาชูปิคชู ก็คือมีการค้นพบบันทึกของบาทหลวงที่เขียนไว้ถึงที่นี่ว่า “ยังมีดวงวิญญาณที่มิได้รับการปลดปล่อยอยู่ที่นี่อีก 200 ดวงวิญญาณ” ซึ่งนั่นอาจจะหมายถึงคนนอกรีตที่บาทหลวงคาทอลิกมาพบ จึงเข้าไปปลดปล่อย ดวงวิญญาณเหล่านั้นตามวิถีคาทอลิกของสเปน
ซึ่งข้อมูลข้างต้นนี่ก็ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้เช่นกัน เฉกเช่นเดียวกับข้อมูลที่ว่าแล้ว มาชูปิกชูถูกลืมหรือล่มสลายไปได้อย่างไรก่อนที่ฮิราม บิงฮามจะมาพบ? (1) ข้อสันนิษฐานแรกคือในสมัยนั้นชาวอินคาไม่มีตัวอักษารใช้ จึงไม่มีการจดบันทึกใดๆ เกิดขึ้น การจะเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์นั้นทำได้เพียงการเล่าปากต่อปาก ข้อมูลจึงอาจจะเลือนหายไป (2)บ้างก็ว่าเกิดโรคระบาดที่มาชูปิกชู คนที่รอดตายก็ย้ายหนีออกมาและไม่มีใครกลับไปอยู่อีก (3) อีกข้อสันนิษฐานหนึ่งคือ มาชูปิกชูเป็นเพียงวังฤดูร้อนของเจ้าแห่งอินคาซึ่งไม่ได้อยู่ถาวร พอหมดยุคสมัยรุ่นถัดไปก็อาจไม่ได้เข้ามาใช้ประโยชน์ นานเข้าก็ถูกทิ้งร้าง ท้ายสุดจักรวรรดิอินคา ที่เคยรุ่งเรืองมานานนับพันๆปีก็ล่มสลายไปในปี ค.ศ. 1572
มาชูปิกชูนั้นไม่ได้มีเพียงความสวยงามที่ดึงดูผู้คนจนทั่วทุกมุมโลกเข้ามายังที่แห่งนี้เท่านั้น แต่ยังเต็มไปด้วยสเน่ห์ และมนต์ขลัง แม้เราจะยังไม่สามารถไขปริศนาความลี้ลับของที่แห่งนี้ได้ก็ตาม ที่นี่ก็ยังคงเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่ทรงคุณค่าแห่งหนึ่งของโลก
อ้างอิง :
ฟ้า บุณยะรัตเวช. 2553. เปรู ดินแดนแห่งความลับและมนตร์ขลัง Mystery and magic of Peru. กรุงเทพ: พิมพ์คำ.
น.พ.บรรจบ ชุณหสวัสดิกุล และพ.ญ.ลลิตา ธีระสิริ. 2552. อินคา-เปรู The one place to see before you die. กรุงเทพ: มติชน.
มาชูปิกชู. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2557,จาก: http://th.wikipedia.org/.
บัวอื่น. 2552. มาชู ปิกชู (Machu Picchu) เมืองสาบสูญแห่งอินคา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 12 กันยายน 2557, จาก: http://www.vcharkarn.com/varticle/38566.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น