โดย ภนิตา คูณทวีลาภผล
พีระมิดแห่งอียิปต์หนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลกซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ยากจะให้เหตุผลในการก่อสร้าง และยากที่จะอธิบายถึงวิธีการสร้างพีระมิดเหล่านี้ขึ้นมา เนื่องด้วยในยุคสมัยนั้นๆไม่มีวิทยาการทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยเหมือนในปัจจุบัน เป็นที่กังขาของคนทั่วไป ทำให้นักวิทยาศาสตร์ นักโบราณคดี นักฟิสิกส์ นักวิชาการที่สนใจเรื่องการสร้างพีระมิด ได้ทำการศึกษาและทดลองวิธีการสร้างพีระมิดอย่างจริงจัง แต่ก็ยังไม่มีทฤษฏีหรือข้อยืนยันที่แน่นอนว่าพีระมิดสร้างเพื่ออะไร และสร้างอย่างไร
ด้วยความเชื่อในชีวิตหลังความตายจึงมีการสร้างพีระมิดสำหรับไว้เป็นที่เก็บพระศพของฟาโรห์เพื่อรอการกลับมาของพระองค์ตามความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ ราว 2,570 ปีก่อนศริสตกาลในแผ่นดินอียิปต์ได้เกิดสถาปัตยกรรมล้ำโลกขึ้นมา นั้นคือ มหาพีระมิดของฟาโรห์คูฟู หรือคีออปส์ แห่งราชวงศ์ที่ 4 ซึ่งมีฐานยาวด้านละ 236 เมตร สูง 146 เมตร และมีเนื้อที่ในการก่อสร้างประมาณ 33 ไร่ โดยยกแท่งศิลาสกัดมาเชื่อมต่อกันจำนวนประมาณ 2,500,000 ก้อน แต่ละก้อนหนักประมาณ 2-16 ตัน การก่อสร้างนี้ดำเนินการสร้างทั้งกลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 20 ปี
จากข้อสันนิษฐานของ ดร.มาร์ค เลเนอร์ นักโบราณคดีจากสถาบันชิคาโก สันนิษฐานว่า ในการสร้างพีระมิดองค์นี้ ใช้คนงานประมาณ 1,000 คน แบ่งเป็นทีม ทีมละ10คน ผูกแท่งหินปูนกับเชือกและราดน้ำบนแผ่นไม้เพื่อลดแรงเสียดทานลง ก่อนลากตามทางลาดขนาดใหญ่เพื่อนำหินเหล่านี้ขึ้นไป
นอกจากนี้ ดร.มาร์ค เลเนอร์ ยังสันนิษฐานอีกว่า หินปูนที่นำมาสร้างอยู่ไม่ไกลจากพีระมิดเพียง 300 หลาเท่านั้น และเมื่อมองจากพีระมิดไปรอบๆ พื้นผิว จะพบพื้นผิวที่กร่อน ซึ่งถ้านับแล้วจะเท่ากับหินที่อยู่ในพีระมิดขนาดใหญ่ ทำให้ทราบว่ามีคนงานหลายพันคนสร้างพีระมิดองค์ขึ้นมา
จากภาพเป็นการอธิบายแนวคิดการสร้างพีระมิดของ AndrzejBochnacki วิศวกรชาวโปแลนด์ได้กล่าวถึงการสร้างพีระมิดไว้ว่า คนอียิปต์อาจใช้ปั้นจั่น ที่คล้ายกับปั้นจั่นที่ใช้ในการสร้างตึกสูงเพื่อยกก้อนหินขึ้นโดยอีกฝั่งหนึ่งถ่วงด้วยก้อนหินหนักๆ แต่เนื่องจากอียิปต์โบราณไม่น่าจะมีไม้ที่แข็งแรงพอที่สามารถรับน้ำหนักของหินแต่ละก้อนได้ จึงเป็นแนวคิดที่ยากจะเชื่อของนักวิชาการในปัจจุบัน
ต่อมา ฌอง ปิแอร์ อูแดง (JeanPierreHoudin) สถาปนิกชาวฝรั่งเศส ได้ใช้เวลากว่า 10 ปี ศึกษาทฤษฎีการสร้างพีระมิดดังกล่าว โดยให้สัมภาษณ์ทางทฤษฎีกับสำนักข่าวบีบีซีว่า พีระมิดถูกสร้างจากข้างในออกมาข้างนอกซึ่งเป็นการใช้ทางลาดภายในพีระมิดเพื่อชะลอหินขึ้นไปวางในตำแหน่งที่คำนวณไว้ไม่ใช่ทางลาดนอกพีระมิดตามทฤษฎีเดิมๆ ที่เคยได้ตั้งสมมติฐานไว้
เขาได้จำลองภาพกราฟิก 3 มิติให้เห็นกระบวนการทำงานอย่างแท้จริงโดยอธิบายว่าฐานพีระมิดระยะ 43 เมตรใช้วิธีการก่อสร้างทางลาดภายนอกพีระมิดแต่เมื่อถึงสูงขึ้นจนถึงระยะ 137 เมตรจะใช้ทางลาดภายในพีระมิดแทน
โดยให้เหตุผลว่า การสร้างทางลาดภายนอกจะบดบังการมองเห็นและมีช่องเล็กๆเหลือทิ้งไว้ทำให้ต้องใช้หินก่อสร้างมากเกินไปฌอง ปิแอร์ อูแดง อธิบายทฤษฎีว่าหากใช้เทคนิคการก่อสร้างจากภายในจะใช้แรงงานเพียง 4,000 คนต่างจากทฤษฎีก่อนๆที่อ้างว่าใช้แรงงานนับ 100,000 คน
ดังนั้นทฤษฎีของฌอง ปิแอร์ อูแดง (JeanPierreHoudin) สถาปนิกชาวฝรั่งเศส นับเป็นเรื่องมีที่เหตุผลที่สมเหตุสมผลมากที่สุด สำหรับการก่อสร้างสิ่งของขนาดมหึมาอย่างพีระมิด ในสมัยที่ไม่มีเทคโนโลยีหรือเครื่องทุ่นแรงมาช่วย
แต่อย่างไรก็ตามเรายังไม่สามารถหาข้อสรุปที่แน่ชัดได้ว่าทางอียิปต์มีวิธีการสร้างอย่างไร ใช้ผู้คนจริงหรือไม่ หรือมีปัจจัยอะไรมาช่วย แต่สถานที่แห่งนี้ก็ยังมีสิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่ยังหลงเหลืออยู่จากยุคโบราณ และรอคอยให้ผู้ที่สนใจเข้ามาชมความน่าอัศจรรย์ ศึกษาหาข้อมูล และค้นหาความจริงกันต่อไป
อ้างอิง
VCD อียิปต์ดินแดนแห่งฟาโรห์ .(โดยฝ่ายโสตทัศนศึกษา สำนักวิทยาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น)
มหาพีระมิด กีซ่า สิ่งมหัศจรรย์ของโลก. (ออนไลน์)10. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2557, จาก http://www.oceansmile.com/Egypt/Gisa.htm..
ณัฐพล เดชขจร. (2553). ผ่าปมปริศนามหาไอยคุปต์. กรุงเทพมหานคร:ฐานบุ๊ค
ธวัชชัย ดุลยสุจริต. 2543). เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก. กรุงเทพฯ :ศยาม
มหาพีระมิดกีซ่า. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2557, จาก http://wowboom.blogspot.com/2009/07/great-pyramid-of-giza.html.
พีระมิดแห่งอียิปต์หนึ่งในสิ่งมหัศจรรย์ของโลกซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่ยากจะให้เหตุผลในการก่อสร้าง และยากที่จะอธิบายถึงวิธีการสร้างพีระมิดเหล่านี้ขึ้นมา เนื่องด้วยในยุคสมัยนั้นๆไม่มีวิทยาการทางเทคโนโลยีที่ทันสมัยเหมือนในปัจจุบัน เป็นที่กังขาของคนทั่วไป ทำให้นักวิทยาศาสตร์ นักโบราณคดี นักฟิสิกส์ นักวิชาการที่สนใจเรื่องการสร้างพีระมิด ได้ทำการศึกษาและทดลองวิธีการสร้างพีระมิดอย่างจริงจัง แต่ก็ยังไม่มีทฤษฏีหรือข้อยืนยันที่แน่นอนว่าพีระมิดสร้างเพื่ออะไร และสร้างอย่างไร
ด้วยความเชื่อในชีวิตหลังความตายจึงมีการสร้างพีระมิดสำหรับไว้เป็นที่เก็บพระศพของฟาโรห์เพื่อรอการกลับมาของพระองค์ตามความเชื่อของชาวอียิปต์โบราณ ราว 2,570 ปีก่อนศริสตกาลในแผ่นดินอียิปต์ได้เกิดสถาปัตยกรรมล้ำโลกขึ้นมา นั้นคือ มหาพีระมิดของฟาโรห์คูฟู หรือคีออปส์ แห่งราชวงศ์ที่ 4 ซึ่งมีฐานยาวด้านละ 236 เมตร สูง 146 เมตร และมีเนื้อที่ในการก่อสร้างประมาณ 33 ไร่ โดยยกแท่งศิลาสกัดมาเชื่อมต่อกันจำนวนประมาณ 2,500,000 ก้อน แต่ละก้อนหนักประมาณ 2-16 ตัน การก่อสร้างนี้ดำเนินการสร้างทั้งกลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกันเป็นระยะเวลา 20 ปี
จากข้อสันนิษฐานของ ดร.มาร์ค เลเนอร์ นักโบราณคดีจากสถาบันชิคาโก สันนิษฐานว่า ในการสร้างพีระมิดองค์นี้ ใช้คนงานประมาณ 1,000 คน แบ่งเป็นทีม ทีมละ10คน ผูกแท่งหินปูนกับเชือกและราดน้ำบนแผ่นไม้เพื่อลดแรงเสียดทานลง ก่อนลากตามทางลาดขนาดใหญ่เพื่อนำหินเหล่านี้ขึ้นไป
นอกจากนี้ ดร.มาร์ค เลเนอร์ ยังสันนิษฐานอีกว่า หินปูนที่นำมาสร้างอยู่ไม่ไกลจากพีระมิดเพียง 300 หลาเท่านั้น และเมื่อมองจากพีระมิดไปรอบๆ พื้นผิว จะพบพื้นผิวที่กร่อน ซึ่งถ้านับแล้วจะเท่ากับหินที่อยู่ในพีระมิดขนาดใหญ่ ทำให้ทราบว่ามีคนงานหลายพันคนสร้างพีระมิดองค์ขึ้นมา
จากภาพเป็นการอธิบายแนวคิดการสร้างพีระมิดของ AndrzejBochnacki วิศวกรชาวโปแลนด์ได้กล่าวถึงการสร้างพีระมิดไว้ว่า คนอียิปต์อาจใช้ปั้นจั่น ที่คล้ายกับปั้นจั่นที่ใช้ในการสร้างตึกสูงเพื่อยกก้อนหินขึ้นโดยอีกฝั่งหนึ่งถ่วงด้วยก้อนหินหนักๆ แต่เนื่องจากอียิปต์โบราณไม่น่าจะมีไม้ที่แข็งแรงพอที่สามารถรับน้ำหนักของหินแต่ละก้อนได้ จึงเป็นแนวคิดที่ยากจะเชื่อของนักวิชาการในปัจจุบัน
ต่อมา ฌอง ปิแอร์ อูแดง (JeanPierreHoudin) สถาปนิกชาวฝรั่งเศส ได้ใช้เวลากว่า 10 ปี ศึกษาทฤษฎีการสร้างพีระมิดดังกล่าว โดยให้สัมภาษณ์ทางทฤษฎีกับสำนักข่าวบีบีซีว่า พีระมิดถูกสร้างจากข้างในออกมาข้างนอกซึ่งเป็นการใช้ทางลาดภายในพีระมิดเพื่อชะลอหินขึ้นไปวางในตำแหน่งที่คำนวณไว้ไม่ใช่ทางลาดนอกพีระมิดตามทฤษฎีเดิมๆ ที่เคยได้ตั้งสมมติฐานไว้
เขาได้จำลองภาพกราฟิก 3 มิติให้เห็นกระบวนการทำงานอย่างแท้จริงโดยอธิบายว่าฐานพีระมิดระยะ 43 เมตรใช้วิธีการก่อสร้างทางลาดภายนอกพีระมิดแต่เมื่อถึงสูงขึ้นจนถึงระยะ 137 เมตรจะใช้ทางลาดภายในพีระมิดแทน
โดยให้เหตุผลว่า การสร้างทางลาดภายนอกจะบดบังการมองเห็นและมีช่องเล็กๆเหลือทิ้งไว้ทำให้ต้องใช้หินก่อสร้างมากเกินไปฌอง ปิแอร์ อูแดง อธิบายทฤษฎีว่าหากใช้เทคนิคการก่อสร้างจากภายในจะใช้แรงงานเพียง 4,000 คนต่างจากทฤษฎีก่อนๆที่อ้างว่าใช้แรงงานนับ 100,000 คน
ดังนั้นทฤษฎีของฌอง ปิแอร์ อูแดง (JeanPierreHoudin) สถาปนิกชาวฝรั่งเศส นับเป็นเรื่องมีที่เหตุผลที่สมเหตุสมผลมากที่สุด สำหรับการก่อสร้างสิ่งของขนาดมหึมาอย่างพีระมิด ในสมัยที่ไม่มีเทคโนโลยีหรือเครื่องทุ่นแรงมาช่วย
แต่อย่างไรก็ตามเรายังไม่สามารถหาข้อสรุปที่แน่ชัดได้ว่าทางอียิปต์มีวิธีการสร้างอย่างไร ใช้ผู้คนจริงหรือไม่ หรือมีปัจจัยอะไรมาช่วย แต่สถานที่แห่งนี้ก็ยังมีสิ่งมหัศจรรย์ของโลกที่ยังหลงเหลืออยู่จากยุคโบราณ และรอคอยให้ผู้ที่สนใจเข้ามาชมความน่าอัศจรรย์ ศึกษาหาข้อมูล และค้นหาความจริงกันต่อไป
อ้างอิง
VCD อียิปต์ดินแดนแห่งฟาโรห์ .(โดยฝ่ายโสตทัศนศึกษา สำนักวิทยาการมหาวิทยาลัยขอนแก่น)
มหาพีระมิด กีซ่า สิ่งมหัศจรรย์ของโลก. (ออนไลน์)10. สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2557, จาก http://www.oceansmile.com/Egypt/Gisa.htm..
ณัฐพล เดชขจร. (2553). ผ่าปมปริศนามหาไอยคุปต์. กรุงเทพมหานคร:ฐานบุ๊ค
ธวัชชัย ดุลยสุจริต. 2543). เจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลก. กรุงเทพฯ :ศยาม
มหาพีระมิดกีซ่า. (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2557, จาก http://wowboom.blogspot.com/2009/07/great-pyramid-of-giza.html.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น