โดย ภัทรนิศวร์ จันทราธนสิทธิ์
โธมัส เจฟเฟอร์สัน เป็นประธานาธิบดีคนที่ 3 ของอเมริกา และเป็นประธานาธิบดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คนหนึ่ง ในฐานะประธานาธิบดี เจฟเฟอร์สันทำให้อำนาจของรัฐบาลเข้มแข็ง เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง และใช้อำนาจผ่านพรรคการเมืองในการควบคุมรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา
เจฟเฟอร์สันอายุเกือบ 58 ปีแล้วเมื่อเขาเป็นประธานาธิบดี ปฏิบัติหน้าที่อยู่ 2 วาระ เขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกซึ่งได้รับการแนะนำในวอชิงตัน ดี.ซี เขาศรัทธาในประชาชนและนับถือควาปรารถนาของพวกเขา เขาลดภาษีต่างๆ ยกเลิกสำนักงานซึ่งเขาคิดว่าไม่จำเป็นและพยายามจะปล่อยให้ทุกคนมีเสรีภาพเท่าที่จะเป็นไปได้ เขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกซึ่งเป็นผู้นำพรรคการเมือง
เหตุผลสำคัญประการหนึ่งสำหรับการจดจำการเป็นประธานาธิบดีของเจฟเฟอร์สันคือ การที่เขาซื้อเขตแดนหลุยเซียน่าจากฝรั่งเศสในปี 1803 ทำให้อเมริกามีขนาดเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เจฟเฟอร์สัน เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นผู้เขียนคำประกาศเอกราชและเป็นประธานาธิบดีคนที่ 3 ของอเมริกา เขายังเป็นนักการทูต สถาปนิก นักดนตรี นักวิทยาศาสตร์ และนักประดิษฐ์ เป็นทนาย ผู้บุกเบิกโรงเรียนของรัฐ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียในปี 1819 และเป็นผู้อุปถัมภ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเรื่องการเรียนรู้และอักษรศาสตร์ เขามีชื่อเสียงมากในฐานะผู้ต่อสู้เพื่ออิสรภาพและประชาธิปไตยในยุคของเขา และมีชื่อเสียงมากขึ้นในศตวรรษที่ 20 ซึ่งเกิดผู้เผด็จการมากมายหลายคนในโลก
โธมัส เจฟเฟอร์สันเป็นผู้นำในแนวคิดประชาธิปไตยแนวเจฟเฟอร์สันที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการเมืองอเมริกันระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1800 จนถึงทศวรรษ 1820 และเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับประชาธิปไตยแนวแจ็คสันที่มามีอิทธิพลต่อจากแนวเจฟเฟอร์สัน นอกจากนั้นแล้วโธมัส เจฟเฟอร์สันเป็น 1 ใน 4 ประธานาธิบดีสหรัฐที่รูปใบหน้าได้รับการสลักไว้ที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมานต์รัชมอร์ (Mount Rushmore) ใบหน้าของเขาปรากฏบนธนบัตรราคา 2 ดอลลาร์สหรัฐ และเหรียญนิกเกิล (5 เซนต์)
อ้างอิง
Thomas Jefferson. (หนังสืออิเล็กทรอนิกส์). (ม.ป.ป.). โธมัส เจฟเฟอร์สัน. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2557, จาก http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/suprawee/suprawee_web2/Contents/psd3.htm
ประกอบ คุปรัตน์. (2009). โธมัส เจฟเฟอร์สัน. ค้นข้อมูลเมื่อ 31 มกราคม 2557, จาก http://pracob.blogspot.com/2009/04/blog-post_719.html
โธมัส เจฟเฟอร์สัน เป็นประธานาธิบดีคนที่ 3 ของอเมริกา และเป็นประธานาธิบดีที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คนหนึ่ง ในฐานะประธานาธิบดี เจฟเฟอร์สันทำให้อำนาจของรัฐบาลเข้มแข็ง เป็นประธานาธิบดีคนแรกที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมือง และใช้อำนาจผ่านพรรคการเมืองในการควบคุมรัฐสภาของสหรัฐอเมริกา
เจฟเฟอร์สันอายุเกือบ 58 ปีแล้วเมื่อเขาเป็นประธานาธิบดี ปฏิบัติหน้าที่อยู่ 2 วาระ เขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกซึ่งได้รับการแนะนำในวอชิงตัน ดี.ซี เขาศรัทธาในประชาชนและนับถือควาปรารถนาของพวกเขา เขาลดภาษีต่างๆ ยกเลิกสำนักงานซึ่งเขาคิดว่าไม่จำเป็นและพยายามจะปล่อยให้ทุกคนมีเสรีภาพเท่าที่จะเป็นไปได้ เขาเป็นประธานาธิบดีคนแรกซึ่งเป็นผู้นำพรรคการเมือง
เหตุผลสำคัญประการหนึ่งสำหรับการจดจำการเป็นประธานาธิบดีของเจฟเฟอร์สันคือ การที่เขาซื้อเขตแดนหลุยเซียน่าจากฝรั่งเศสในปี 1803 ทำให้อเมริกามีขนาดเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เจฟเฟอร์สัน เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะเป็นผู้เขียนคำประกาศเอกราชและเป็นประธานาธิบดีคนที่ 3 ของอเมริกา เขายังเป็นนักการทูต สถาปนิก นักดนตรี นักวิทยาศาสตร์ และนักประดิษฐ์ เป็นทนาย ผู้บุกเบิกโรงเรียนของรัฐ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนียในปี 1819 และเป็นผู้อุปถัมภ์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเรื่องการเรียนรู้และอักษรศาสตร์ เขามีชื่อเสียงมากในฐานะผู้ต่อสู้เพื่ออิสรภาพและประชาธิปไตยในยุคของเขา และมีชื่อเสียงมากขึ้นในศตวรรษที่ 20 ซึ่งเกิดผู้เผด็จการมากมายหลายคนในโลก
โธมัส เจฟเฟอร์สันเป็นผู้นำในแนวคิดประชาธิปไตยแนวเจฟเฟอร์สันที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการเมืองอเมริกันระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1800 จนถึงทศวรรษ 1820 และเป็นแนวคิดที่ตรงกันข้ามกับประชาธิปไตยแนวแจ็คสันที่มามีอิทธิพลต่อจากแนวเจฟเฟอร์สัน นอกจากนั้นแล้วโธมัส เจฟเฟอร์สันเป็น 1 ใน 4 ประธานาธิบดีสหรัฐที่รูปใบหน้าได้รับการสลักไว้ที่อนุสรณ์สถานแห่งชาติ เมานต์รัชมอร์ (Mount Rushmore) ใบหน้าของเขาปรากฏบนธนบัตรราคา 2 ดอลลาร์สหรัฐ และเหรียญนิกเกิล (5 เซนต์)
อ้างอิง
Thomas Jefferson. (หนังสืออิเล็กทรอนิกส์). (ม.ป.ป.). โธมัส เจฟเฟอร์สัน. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2557, จาก http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/suprawee/suprawee_web2/Contents/psd3.htm
ประกอบ คุปรัตน์. (2009). โธมัส เจฟเฟอร์สัน. ค้นข้อมูลเมื่อ 31 มกราคม 2557, จาก http://pracob.blogspot.com/2009/04/blog-post_719.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น