ญี่ปุ่นในยุคเอโดะ

โดย ธัญชนก บุญประคม

ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีอารยธรรมและวัฒนธรรมหลากหลายที่มีชื่อเสียง มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนสูง มีพัฒนาการตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ตามยุคสมัยต่างๆ จนกลายเป็นประเทศที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากในปัจจุบัน สามารถทัดเทียมประเทศตะวันตกได้และเป็นที่ชื่นชมกันทั่วโลก ซึ่งการพัฒนาในด้านต่างๆ ในแต่ละยุคสมัยมีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันออกไปตามผู้ปกครองหรือปัจจัยอื่นๆ ซึ่งในบทความนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับยุคสมัยเอโดะ เป็นยุคที่มีการเกิดขึ้นของหลายสิ่งหลายอย่าง และมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง


โทะกุงะวะ อิเอะยะซุ โชกุนคนแรกของตระกลูโทกุงะวะ 

1. ประวัติศาสตร์และการเมืองการปกครอง

ยุคเอโดะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ยุคโทกุงาวะ ซึ่งปกครองด้วยไดเมียวโทกุงาวะเป็นโชกุน ได้รวบอำนาจและตั้งรัฐบาลโชกุนขึ้นที่เอโดะ (ปัจจุบันคือโตเกียว) ใน ค.ศ. 1603 รัฐบาลเอโดะได้ลิดรอนอำนาจจากจักรพรรดิ เชื้อพระวงศ์ และพระสงฆ์จนหมดสิ้น และปกครองเกษตรกรไปทีละเล็กละน้อย ส่งต่ออำนาจต่อเนื่องเป็นเวลานานกว่าสองร้อยปี ซึ่งตลอดระยะเวลานั้นองค์จักรพรรดิยังคงประทับอยู่ที่เมืองหลวงที่เกียวโตแต่ไม่มีพระราชอำนาจใดๆ

ในช่วงยุคสมัยเอโดะ  เป็นช่วงที่ญี่ปุ่นได้หยุดพักสงครามภายในประเทศที่มีมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน ต้องยกให้เป็นความดีความชอบของตระกูลโทะกุงะวะ ที่ออกกฏ สันคินโคไท ตามกฎนี้ไดเมียวของแต่ละเมืองจะต้องมาประจำการอยู่ที่เอโดะปีเว้นปี โดยครอบครัว ภรรยาและบุตรจะต้องอยู่ในเอโดะตลอดเวลา นั่นทำให้ไดเมียวของแต่ละเมืองไม่กล้าคิดต่อต้านรัฐบาลกลาง การที่ไดเมียวของทุกเมืองต้องมาประจำที่เมืองเอโดะ ทำให้ไดเมียวแต่ละเมืองต้องนำซามูไรและคนของตนเองติดตามมาอยู่ด้วย ทำให้ช่วงเวลาดังกล่าวเอโดะกลายเป็นเมืองที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประมาณถึงหนึ่งล้านคน

2. สภาพสังคม

สังคมญี่ปุ่นในยุคเอโดะแตกต่างจากสังคมญี่ปุ่นในยุคอื่น ๆ เนื่องจากลัทธิขงจื๊อใหม่เข้ามามีอิทธิพล สังคมยุคเอโดะแบ่งออกเป็นสี่ชนชั้นเรียกว่าชิโนโกโช ประกอบด้วย ชนชั้นซามูไร ชนชั้นชาวนา ชนชั้นช่างฝีมือ และชนชั้นพ่อค้า แต่ละชนชั้นมีบทบาทและหน้าที่ของตนเองอย่างชัดเจนเคร่งครัด และการเปลี่ยนแปลงทางชนชั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยาก

การแบ่งชนชั้นในยุคเอโดะ เรียกกันว่า "มิบุงเซ" ประกอบด้วย
1. นักรบ หรือ ซามูไร (ประมาณร้อยละ 5 ของประชากรทั้งหมด)
2. ชาวไร่ชาวนา (ประมาณร้อยละ 80 ของประชากรทั้งหมด)
3. ช่างฝีมือ
4. พ่อค้า

ภาพ การครองแผ่นดินของตระกูลโทกุงาวาในยุคเอโดะ

ในช่วงเวลานี้มีการหลั่งไหลเข้ามาของชาวยุโรป ซึ่งมีผลกระทบต่อญี่ปุ่นอย่างมาก คณะผู้สอนศาสนาทำให้ชาวญี่ปุ่นเปลี่ยนศาสนากันมาก โดยเฉพาะทางตอนใต้ของญี่ปุ่น โชกุนตระหนักดีว่าศาสนาคริสต์อาจจะมีอานุภาพในการทำลายทัดเทียมกับอาวุธปืนที่เข้ามาในญี่ปุ่น ในที่สุดได้มีการสั่งห้ามเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในญี่ปุ่น และโชกุนโทะกุงะวะได้ออกคำสั่งห้ามชาวต่างชาติทุกคนเข้าประเทศญี่ปุ่น ปิดประเทศญี่ปุ่นอนุญาตให้เฉพาะพวกดัทช์ (ฮอลันดา) เข้ามาค้าขายได้แค่บนเกาะเล็กๆ ชื่อเดจิมะ ซึ่งอยู่ริมฝั่งท่าเรือนะงะซะกิห้ามออกจากเกาะมาเหยียบแผ่นดินใหญ่เด็ดขาด ส่วนคนญี่ปุ่นก็ห้ามข้ามไปเกาะนี้เช่นกันยกเว้นช่างหรือล่าม เป็นต้น

แต่กฎนี้ผ่อนปรนสมัยโชกุนโยะชิมุเนะเปิดทางให้พวกปัญญาชนข้ามไปเรียนวิชาฝรั่งแบบชั่วคราว ตลอดจนชาวจีนจำนวนหนึ่งที่อาศัยอยู่ที่ นะงะซะกิ และทูตจากราชวงศ์ลีของประเทศเกาหลีที่เดินทางมาญี่ปุ่นเป็นครั้งคราว เป็นเวลา 250 ปีที่ญี่ปุ่นได้ติดต่อกับโลกภายนอกผ่านกลุ่มคนเหล่านี้เท่านั้น นักวิชาการญี่ปุ่นได้รับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการแพทย์ตะวันตกและวิทยาศาสตร์แขนงอื่นๆ

การศึกษาและวิชาการก็เจริญรุ่งเรือง ชนชั้นนักรบเล่าเรียนปรัชญาของขงจื๊อและหลักคำสอนจูจื่อ ซึ่งเป็นปรัชญาพื้นฐานที่ค้ำจุนการปกครองของรัฐบาลเอโดะ การศึกษาเกี่ยวกับญี่ปุ่นและดัทช์ เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา มีการเปิดโรงเรียนตามหัวเมืองต่างๆ เพื่อลูกหลานของชนชั้นนักรบ ราษฎรสามัญเองก็นิยมส่งลูกหลานเรียนหนังสือเช่นกัน

3.ภูมิปัญญา

ผู้คนจากหลากหลายที่มาอยู่ร่วมกันจึงทำให้เกิดการสร้างภูมิปัญญาในด้านต่างๆ วัฒนธรรมการบริโภคในรูปแบบต่างๆ ทำให้ยุคเอโดะเป็นยุคที่วัฒนธรรมราษฏรสามัญเจริญรุ่งเรืองที่สุด และกลายเป็นวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ชาวต่างชาติรู้จักและคุ้นเคยกันดี เช่น ซูชิ ละครคาบูกิ และภาพพิมพ์แกะไม้ที่เรียกว่าภาพอุกิโยะ มีการต่อเรือตามแบบตะวันตกเพื่อใช้ในการค้าขาย เป็นต้น

4.การเปลี่ยนผ่านยุคสมัย

ปลายสมัยเอโดะสภาพเศรษฐกิจและสังคมเริ่มเห็นถึงการล่มสลาย ของระบอบโชกุนตระกูลโทะกุงะวะ  โดยชาวนาเสียภาษีให้กับรัฐบาลบะกุฟุมากแต่ได้รับส่วนแบ่งที่น้อย เกิดความไม่เท่าเทียมกันระหว่างชนชั้น  ทำให้เกิดกบฏชาวนาที่โอซากะและเอโดะ ในปี ค.ศ.1788 ชนชั้นซามูไรเองก็เกิดความขัดสนโดยหันไปประกอบอาชีพอื่น  ในยุคนี้เป็นช่วงที่เกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ทั่วญี่ปุ่น เรียกว่า “ทุพพิกขภัยแห่งปีเท็นโป” การเกิดภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ในปีเท็นโป  ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจตามมา

ต่อมาญี่ปุ่นถูกบังคับให้เปิดประเทศเพื่อให้ชาติตะวันตกเข้าไปค้าขายได้มากขึ้น โดยสหรัฐอเมริกาได้ส่งได้นายพลเพอรี่ พร้อมเรือรบเหล็กเพื่อเข้ามากดดันให้ญี่ปุ่นทำการเปิดประเทศ  ในที่สุดรัฐบาลบะกุฟุก็ยอมทำสนธิสัญญาคะนะกะวะ ขึ้นในปี ค.ศ.1854  จึงถือเป็นการเปิดประเทศของญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ

หลังจากการทำสนธิสัญญากับชาติตะวันตก  ทำให้เกิดความขัดแย้งทางความคิดของบรรดาข้าราชการอย่างรุนแรงตามมา  ความคิดเห็นแตกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ ฝ่ายที่เห็นว่าจำเป็นต้องทำตามข้อเรียกร้องของชาติตะวันตกและฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้อง  ต่อมาไม่นานจึงเกิดกระแสต่อต้านรัฐบาล  โดยรัฐบาลได้ทำการกวาดล้างอย่างรุนแรง  เรียกว่า “การกวาดล้างในปีอันเซ” ในปีค.ศ.1858-1859  โดยทำการปลดข้าราชการออกจากตำแหน่งหลายคน และเกิดการปะทะกันหลายครั้งระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่นกับชาติตะวันตก แต่อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นก็ไม่อาจต้านทานแสนยานุภาพจากชาติตะวันตกได้  ในปี ค.ศ.1865 เกิดการต่อต้านรัฐบาล รัฐบาลบะกุฟุทำให้โชกุน

โทะกุงะวะ โยชิโนบุ ได้ลาออกจากตำแหน่งในปี ค.ศ.1867  แต่การลาออกของโชกุนก็ไม่สามารถทำให้ความขัดแย้งลดลงได้ จนลุกลามทำให้เกิดสงครามกลางเมืองครั้งใหม่ เรียกว่า “สงครามโบชิน” ในปี ค.ศ.1868-1869  ฝ่ายโชกุนโยชิโนบุพ่ายแพ้ จึงต้องถอยร่นกองกำลังของตนมาทางใต้ แต่ในที่สุดจึงยอมสละตำแหน่ง ต่อมามีเคลื่อนไหวของบรรดาผู้นำจากแคว้นทางใต้มีเป้าหมายเพื่อการสร้างชาติให้มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และมีความเข้มแข็งทางทหารและนำไปสู่การปฏิรูปยุคใหม่ หรือ “การฟื้นฟูเมจิ” เป็นยุคสมัยต่อมา

ญี่ปุ่นในยุคเอโดะได้มีการเกิดขึ้นของวัฒนธรรมและวิทยาการใหม่ ๆ มากมาย ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิทยาการจากชาวตะวันตก และการหันมาให้ความสำคัญกับการศึกษา รวมถึงอิทธิพลของศาสนาที่มีต่อแนวคิดของชาวญี่ปุ่น ถือได้ว่ายุคเอโดะเป็นยุคที่สร้างความเจริญความเป็นปึกแผ่นไว้ให้ญุี่ปุ่นอย่างมาก  และได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย จนได้กลายเป็นโตเกียวเมืองที่โด่งดังในปัจจุบัน


อ้างอิง

วันอาทิตย์.(2560).ย้อนอดีตไปยุคเอโดะสู่โตเกียว ผ่านพิพิธภัณฑ์เอโดะ-โตเกียว,สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2560, จาก: www.iurban.in.th/travel/edo_tokyo/

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.(2561).ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น,สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561, จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/ประวัติศาสตร์ญี่ปุ่น

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.(2561).ยุคเอโดะ,สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561, จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/ยุคเอโดะ#ประวัติศาสตร์

Pasadon Wittaya-udom.(2556). 100 ปีสุดท้ายของยุคเอโดะ และการล่มสลายของรัฐบาล"บะกุฟุ", สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2561, จาก: https://th-th.facebook.com/notes/pasadon-wittaya-udom/100-ปีสุดท้ายของยุคเอโดะ-และการล่มสลายของรัฐบาลบะกุฟุ/657125654308037/

1 ความคิดเห็น:

  1. pg betflix auto ทางเข้ามือถือ สุดยอดความสนุกสุดแห่งเกมสล็อตออนไลน์ที่ไม่ควรพลาด PG Betflix Autoหากคุณเป็นคนที่หลงใหลในความสนุกของเกมสล็อตออนไลน์ และกำลังมองหาประสบการณ์ที่น่าตื่นเต้น

    ตอบลบ