สมเด็จพระจักรพรรดิถังไท่จง

โดย อาชวิน   นิสสัยกล้า

สมเด็จพระจักรพรรดิถังไท่จง (唐太宗) หรืออีกชื่อหนึ่ง หลี่ซื่อหมิน (李世民)จักรพรรดิองค์ที่สองแห่งราชวงศ์ถังของประเทศจีน (ราว 1,600 ปี) ต่อจากจักรพรรดิถังเกาจู่ฮ่องเต้  พระองค์ทรงทำให้ประเทศจีนเป็นยุคที่รุ่งเรืองที่สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ เป็นประเทศมหาอำนาจของโลกในยุคสมัยของพระองค์ ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ ทั้งด้านการเมืองการปกครอง และการทหาร เป็นต้น ฉะนั้นราชวงศ์ถังในการปกครองของพระองค์นั้นจึงมีความยิ่งใหญ่เกรียงไกร

หลี่ซื่อหมิน หรือ ที่เรารู้จักกันในนาม ถังไท่จง (唐太宗;ค.ศ.599-649) ประสูติเมื่อ วันที่ 23 มกราคม ค.ศ. 599 ที่หมู่บ้านอู่กง อำเภอซีอาน ซึ่งปัจจุบันคือมณฑลชานซี  ประเทศจีน หลี่ซื่อหมินขณะที่พระชนมายุเพียง 16 ปีเท่านั้นเริ่มแสดงความสามารถในสนามรบเมื่อ ค.ศ.615 ขณะที่พระชนมายุเพียง 16 ปีเท่านั้น โดยออกศึกในการปราบปรามกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบเรียบร้อย



ในการขึ้นครองบัลลังก์ของสมเด็จพระจักรพรรดิถังไท่จงนั้น ไม่ค่อยจะราบรื่นซักเท่าไหร่ เนื่องจากพระบิดาของพระองค์หรือพระเจ้าถังเกาจู่  ซึ่งพระเจ้าถังเกาจู่นั้นมีทายาทที่เกิดจากพระมเหสี 4 คน  คนแรกมีชื่อว่า หลี่เจี้ยนเฉิง (李建成),คนที่ชื่อว่า หลี่ซื่อหมิน (李世民),คนที่ชื่อว่า หลี่เสวียนป้า (李玄霸) เสียชีวิตตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 20 ปี  คนที่สี่ชื่อว่า หลี่หยวนจี๋ (李元吉)   ซึ่งพราะเจ้าถังเกาจู่นั้นบัญชาการให้ หลี่เจี้ยนเฉิงเป็นผู้คุมทัพซ้าย ให้หลี่ซื่อหมิน เป็นผู้คุมทัพขวา แล้วพระเจ้าถังเกาจู่นั้นก็ยังพระราชทานตำแหน่งให้บุตรทั้งสาม โดยแต่งตั้ง หลี่เจี้ยนเฉิงเป็นรัชทายาท หลี่ซื่อหมินเป็น ฉินอ๋อง และหลี่หยวนจี๋เป็นฉีอ๋อง และด้วนความที่ หลี่เจี้ยนเฉิง  และ หลี่ซื่อหมิน ทั้งคู่ต่างเป็นผู้มีปรีชาความสามารถ มักใหญ่ใฝ่สูงด้วยกันทั้งคู่ ต่างคนต่างต้องการขึ้นครอบครองบัลลังก์ ทำให้เกิดการขัดแย้งกันขึ้นมาระหว่างพี่น้อง จนทั้งให้ทั้งสองผ่ายเกิดการแย่งชิงบัลลังก์และกลายเป็นศึกสายเลือด

โดยที่ทั้ง 3 คนแบ่งออกเป็น 2ฝ่ายคือ ฝ่ายแรกนั้นคือหลี่เจิ้งเฉิง ซึ่งมีหลี่หยวนจี๋ผู้เป็นน้องคนที่ 3 เข้าร่วมในฝ่ายเดียวกัน และอีกฝ่ายนั้นมี หลี่ซื่อหมินเพียงผู้เดียว และในเดือน 6 ค.ศ.626  ที่ประตูเสวียนอู่เหมิน เกิดเหตุการณ์ที่สำคัญเหตุการหนึ่งนั้นก็คือ  ศึกสายเลือดแห่งราชวงศ์ถังที่ประตูเสวียนอู่เหมิน  (玄武门之变)    ในวันนั้นหลี่เจิ้งเฉิงและ หลี่หยวนจี๋ได้นำทัพเดินทางกลับเข้าในพระราชวัง แล้วในขณะนั้นหลี่ซื่อหมินได้โอกาสวางกำลังพลและมือสังหารซุ่มไว้ เพื่อจัดการกองทัพของพี่และน้องของตน และหลังจากนั้นจึงลงมือกระทำขั้นเด็ดขาด โดยบุกโจมตีและสังหารทั้งสองคน โดยที่หลี่ซื่อหมินได้ใช้ธนูยิงสังหารพี่ชายด้วยตนเอง ส่วนน้องเล็กนั้นถูกเว่ยฉือจิ้งเต๋อขุนพลคนสนิทของหลี่ซื่อหมินปลิดชีพ  จากนั้นให้เว่ยฉือจิ้งเต๋อไปเข้ากราบทูลกับองค์ฮ่องเต้ ถังเกาจู่ ว่ารัชทายาทหลี่เจี้ยนเฉิง กับองค์ชายหลี่หยวนจี๋นั้นคิดการก่อกบฎ  แต่ทั้งสองได้ถูกฉินอ๋อง หลี่ซื่อหมินจึงจัดการไปเรียบร้อย และด้วยเหตุการณ์ที่ประตูเสวียนอู่เหมินและแรงกดดันอีกหลายอย่างจากหลี่ซื่อหมินนั้นส่งผลให้ฮ่องเต้ถังเกาจู่ต้องสละราชสมบัติให้หลี่ซื่อหมินในที่สุดฮ่องเต้ถังเกาจู่ได้สละราชสมบัติ และหลี่ซื่อหมินก็ขึ้นเป็นฮ่องเต้องค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์ถัง ในปี ค.ศ.627 ในขณะนั้นหลี่ซื่อหมินมี  พระชนมายุได้ 27 ปี และพระองค์ก็ได้นามว่า ถังไท่จง และเรียกรัชสมัยนั้นว่า เจินกวน (贞观)


ที่มา: http://baike.baidu.com/


เมื่อหลี่ซื่อหมินทรงเสวยราชสมบัติเป็นถังไท่จงฮ่องเต้  พระองค์ทรงมีมีพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งเพราะเก่งทั้งบุ๋นและบู๊  พระองค์ได้ยึดถือหลักคำสอนเรื่องนี้ของบรมครูขงจื่อในการปกครองบ้านเมืองให้ ร่มเย็น พระองค์ทรงปกครองแผ่นดินโดยธรรม มีพระบรมราโชบายแบบธรรมานุภาพ  มีน้ำพระทัยเมตตากว้างขวาง  ในพระราชกรณียกิจที่พระได้มอบหมายให้ขุนนาง  ข้าราชสำนักหรือข้าราชการให้ไปปฏิบัติงานนั้นพระองค์ก็ทรงติดตามควบคุมความประพฤติและการปฏิบัติงานของอย่างใกล้ชิด  และยังทำนุบำรุงศาสนาทั้งศาสนาพุทธและเต๋า  ซึ่งเป็นศาสนาที่สำคัญของประเทศจีน โดยในสมัยราชการของพระองค์ได้มีส่งทูต นั้นก็คือพระเสวียนจั้ง หรือที่เรารู้จักกันว่า พระถังซัมจั๋ง (唐三藏) ไปอันเชิญพระไตรปิฎก ทำให้ศาสนาพุทธในรัชการของพระองค์นั้นรุ่งเรื่องเป็นอย่างมาก  และในการปกครองบ้านเมืองนั้นในยังมีน้ำพระทัยเปิดกว้างให้โอกาสผู้ที่เคยเป็นศัตรูกลับมาร่วมงานกันโดยไม่คิดอาฆาตแค้นเคืองเรื่องในอดีต   ด้วยเหตุนี้ในสมัยที่พระองค์ปกครองบ้านเมืองได้นำประเทศจีนไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็ว

ในรัชสมัย เจินกวนปีที่ 23 ของพระองค์ ประเทศจีนได้นับว่า มีความรุ่งเรืองก้าวหน้ามากขึ้นถึงจุดสูงสุด รุ่งเรืองอย่างมหาศาลทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม และด้วยการปกครองแผ่นดินโดยธรรม ใช้พระบรมราโชบายแบบธรรมานุภาพ  มีพระทัยเมตตาในการปกครองแผ่นดิน  จึงทำให้สมเด็จพระจักรพรรดิถังไท่จงได้รับการยกย่องให้เป็นมหาจักรพรรดิของประเทศจีน
         

อ้างอิง

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี.2557.จักรพรรดิถังไท่จง. สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม  2558, จาก: http://th.wikipedia.org/

วริษฐ์ ลิ้มทองกุล.2548.ถังไท่จง กับ กระจกสามบาน (3). สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม  2558, จาก: http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9480000143171

Baidu.2015. 李世民 .สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม  2558, จาก: http://baike.baidu.com/



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น