เกาะลังกาวี เกาะแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวมาเลย์ ว่ามีตำนานที่เล่าขานกันมา ถึงเจ้าหญิงชายารัชทายาท ซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อ 200 กว่าปีมาแล้วนามว่ามัสสุหรี ซึ่งเป็นหญิงคนไทย ลูกหลานชาวภูเก็ต
พ่อกับแม่พระนางมัสสุหรี มีอาชีพค้าขายทางเรือระหว่าง ภูเก็ตกับเกาะปีนัง จนกระทั่ง วันหนึ่งได้ตั้งท้อง และซินแซได้ทำนายทายทักว่า เด็กในท้องจะเป็นผู้หญิง ที่มีบุญญาธิการสูง พ่อและแม่ของพระนางมัสสุหรี เชื่อในคำทำนายของซินแซ ประกอบกับการค้าขายที่ผ่านมาที่ไม่สามารถสร้างความร่ำรวยเหมือนคนอื่นๆเขา สาเหตุเพราะไม่มีเรือสำเภาเป็นของตนเองต้องอาศัยเช่าเรือคนอื่น ทำให้มีผลกำไรน้อยจนไม่สามารถทำให้ร่ำรวยขึ้นมาได้ อีกทั้งเด็กหญิงมัสสุหรีที่เกิดมาก็น่ารักน่าชัง พ่อและแม่ของพระนางมัสสุหรี จึงขายข้าวของทั้งบ้านและที่ดินจนหมดเพื่อลงทุนซื้อเรือ และสินค้าไปขายที่เกาะปีนัง
ขณะที่พระนางมัสสุหรี อายุได้ 7 ขวบ ระหว่างเดินเรือเกิดพายุใหญ่ขึ้น ด้วยความเป็นห่วงลูก พ่อและแม่ได้เข้ามาโอบกอดกลัวลูกตกทะเล ทำให้ทิ้งการควบคุมใบเรือและหางเสือ ทำให้เรือล่มกลางทะเล ทุกคนตกลงสู่ทะเล จึงอธิฐานว่า หากเด็กคนนี้มีบุญญาธิการจริงก็ขอให้รอดพ้นจากภัยอันตราย ทั้งสามแม่ลูกจึงรอดชีวิตอย่างปาฏิหาริย์ ไปติดที่เกาะแห่งหนึ่ง เกาะนั้นคือ ลังกาวี ที่แปลว่า นกอินทรีย์สีน้ำตาล
บนเกาะลังกาวีนั้น มีคนมาเลย์พื้นเมืองเดิม มีสุลต่านปกครองชาวประชาเหมือนรัฐอื่นๆในแถบคาบสมุทรมาลายู สามพ่อแม่ลูกจึงเดินทางเข้าไปก็ไม่ได้รับการต้อนรับจากชนพื้นเมืองนัก จึงเดินทางไปยังใจกลางเกาะซึ่งเป็นป่ารกทึบ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของเรือนใกล้สุสานของพระนางมัสสุหรี) พ่อของพระนางมัสสุหรีจึงได้ตัดไม้สร้างกระท่อมเล็กๆ เพื่ออยู่อาศัย จนกระทั้งเกิดวิกฤติ ภัยแล้งอย่างหนัก ทั่วทั้งเกาะ ไม่มีน้ำแม้แต่หยดเดียวบนเกาะแห่งนี้ ผู้คนเดือดร้อนไปทั่ว บ้างก็อพยพหนีไปที่อื่น เทือกสวนไร่นา สัตว์เลี้ยง เสียหายหมด ด้วยความเป็นเด็กฉลาด และได้ยินพ่อแม่เล่าให้ฟังอยู่เสมอว่า ตนเองเป็นเด็กที่มีบุญญาธิการ เด็กหญิงมัสสุรี จึงอธิฐานจากพระเจ้าว่า ได้โปรดเถิดพระเจ้า หากข้าพเจ้ามีบุญญาธิการจริงขอพระเจ้าได้ประธานแหล่งน้ำให้ข้าพเจ้าด้วย เถิดระหว่างอธิฐานก็ไปสะกิดก้อนกรวดหิน ทำให้พบตาน้ำไหลออกมา จึงรีบไปบอกพ่อและแม่ พ่อจึงลงมือขุดเป็นบ่อน้ำ และ เด็กหญิงมัสสุหรี ขอให้พ่อไปแจ้งให้ชาวบ้านทราบและ กล่าวว่าทุกคนในเกาะนี้ สามารถมาตักน้ำไปดื่มกินได้เลย ข่าวแพร่สะพัดไปทั่วเกาะ มีผู้คนมากมายเข้า ดื่มกินน้ำและนำกลับบ้าน โดยคุณสมบัติพิเศษของน้ำในบ่อแห่งนี้ เมื่อคนป่วยนำไปดื่มกินก็จะหายจากโรคร้าย จึงลือกันว่าเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ
พระนางมัสสุรีนั้น เป็นเด็กที่ขยัน เด็กที่ดีของพ่อแม่ ช่วยเหลืองานบ้านงานเรือน ซื่อสัตย์ เชื่อฟังพ่อแม่ และที่สำคัญไม่เคยพูดโกหก ทุกวันเมื่อพ่อแม่กลับมาถึงบ้าน มัสสุรีจะถือขันน้ำสำหรับพ่อ และแม่ดื่มเพื่อแก้กระหายในมือข้างขวา ส่วนมือข้างซ้ายมัสสุหรีจะถือไม้เรียวสำหรับค่อยรายงานว่าตนเองทำผิดอะไร หรือพ่อจะลงโทษหากพ่อไปได้ยินใครเขาฟ้องอะไรพ่อ ซึ่งเป็นที่ร่ำลือของชาวบ้าน ยามใดที่มีคนยาก หรือขอทานผ่านมา มักจะชวนเข้าบ้าน พูดคุยด้วยโอภาปราสัยให้ทานเป็นน้ำ ข้าวปลาอาหารสม่ำเสมอ จนกระทั่งโตเป็นสาว ก็มีรูปสวย งามที่สุดบนเกาะลังกาวี จนในที่สุดความงามและความมีน้ำใจของหญิงไทยผู้นี้ ดังกระฉ่อนไปถึงหูของ "วันดารุส" โอรสของสุลต่านผู้ซึ่งปกครองเกาะลังกาวีแห่งนี้
ด้วยความสนพระทัย วันดารุสจึงปลอมตัวเป็นขอทานมาขอข้าวขอน้ำที่หน้าบ้านของพระนางมัสสุรี พระนางมัสสุหรีก็ต้อนรับ เอาน้ำเอาข้าวปลามาให้สุลต่านในคราบขอทานจึงเป็นที่พอพระทัยอย่างยิ่ง วันดารุสทำอย่างนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า จนทั้งสองเกิดความรักซึ่งกันและกันโดยที่พระนางมัสสุรีไม่ล่วงรู้เลยว่า ผู้ชายที่ตนกำลังหลงรักอยู่นั้นคือรัชทายาทผู้ปกครองเกาะลังกาวี วันดารุสจึงตัดสินใจบอกกับพระมารดา ว่าพบหญิงที่รัก หญิงที่ชอบและคิดว่าเหมาะสมกับตนแล้ว อยากแต่งงานมีครอบครัวเสียทีจึงอ้อนวอนให้พระมารดาช่วยไปสู่ขอ พระมารดาดีใจมาก เพราะอยากให้ลูกเป็นฝั่งเป็นฝาเสียทีและพระมารดาได้ถามว่า "เธอคนนั้นเป็นลูกเต้าหรือเชื้อพระวงศ์ที่ไหน" วันดารุสเล่าความตามที่เตรียมไว้และเมื่อพระมารดาทราบว่า เธอเป็นหญิงสาวลูกชาวบ้าน และยังเป็นคนไทยที่อพยพมาจากภูเก็ตไม่มีหัวนอนปลายเท้า พระมารดาก็ออกปากปฏิเสธทันทีเพราะเธอเป็นคนไทย
ในที่สุดเจ้าชายวันดารุส จึงใช้วิธี ยื่นคำขาดกับพระมารดา โดยหากพระมารดาไม่ดำเนินการไปสู่ขอพระนางมัสสุหรีตามความต้องการของตน (หลักศาสนาอิสลามผู้ปกครองต้องเป็นผู้สู่ขอให้) มิเช่นนั้น ตนจะปลิดชีพตนเอง พระมารดาด้วยความรักลูกกลัวลูกชายจะฆ่าตัวตายจึงยินยอมไปสู่ขอพระนางมัสสุรีแต่โดยดี แต่ในใจนั้น ผูกพยาบาทโกรธพระนางมัสสุหรียิ่งนักจึงคิดหวังจะกำจัดพระนางมัสสุหรีเมื่อสบโอกาส พิธีอภิเษกสมรสเกิดขึ้นท่ามกลางความชื่นชมของชาวเกาะลังกาวี เพราะมีว่าที่พระมเหสีที่สวยและมีน้ำใจ เป็นที่รักของคนทั่วไป ยกเว้นพระมารดาที่คอยกลั่นแกล้งเสมอ เมื่อวันดารุสไม่อยู่ในวังจะใช้ทำงานสารพัดเพื่อให้สาสมกลับที่แย่งความรักจากวันดารุสไปจากตน
จนกระทั่งพระนางมัสสุรีตั้งครรค์ และคลอดบุตรเป็นชาย วันดารุสดีใจมากที่มีราชทายาทกับพระนางมัสสุหรี พร้อมตั้งชื่อว่า วันฮาเก็ม เมื่อวันฮาเก็มคลอดได้เพียง 3 วัน วันดารุสก็ต้องลาไปออกศึก เพราะขณะนั้นเกิดศึกสงครามจากการขยายอำนาจของสยาม เพราะเกาะลังกาวีส่วนหนึ่งของของไทรบุรีประเทศราชของสยาม วันดารุสจึงต้องจัดทัพไปออกศึกในครั้งนั้น ก่อนไปด้วยความความรักและห่วงใยภรรยาที่กำลังตั้งท้อง วันดารุสจึงได้มอบหมายให้องค์รักษ์คู่ใจ มีฝีมือและเติบโตมาด้วยกันตั้งแต่เด็กให้มาช่วยรับใช้ พระนางมัสสุหรีระหว่างที่ตนไม่อยู่ โดยประกาศไว้ว่าหากใครกล้าแตะต้องพระนางมัสสุหรีกับุตรชาย หรือขัดขวางการทำหน้าที่ขององครักษ์ ผู้นั้นมี โทษประหารสถานเดียวไม่มีข้อยกเว้นแล้วจึงออกเรือเดินทัพไปร่วมศึกในครั้งนั้น
ด้วยความเกลียดชังและอิจฉาริษยาของพระมารดา ทันทีที่วันดารุส ออกเรือ พระมารดาจึงประกาศสั่งให้ข้าทาสบริวารในวังทั้งหมด หยุดทำงานและสั่งให้พระนางมัสสุหรีทำแต่ผู้เดียวทั้งหมด ทางด้านพระนางมัสสุหรี แทนที่จะต่อต้านเพราะเป็นถึงพระมเหสีด้วยความรักในสามี จึงยอมทำตามคำสั่งของพระมารดาแต่โดยดี แม้องครักษ์จะทัดทานหรือขออาสาทำงานทุกอย่างแทน ด้วยใจหวังไว้ว่าสักวันความดีจะชนะใจแม่สามีได้ จนกระทั่งฝ่ายองครักษ์ทนดูไม่ได้จึงก้มลงกราบแทบเท้าพระนาง จะไม่ยอมลุกขึ้น หากพระนางมัสสุรีไม่ยอมให้ช่วยทำงานแทน และจึงยินยอมในที่สุด ฝ่ายพระมารดาโกรธมากเมื่อทราบถึงการเข้าช่วยเหลือขององครักษ์ จึงเห็นต้องกำจักทั้งสองคนโดยได้สั่งให้บริวารไปเฝ้าดูเพื่อจับผิด และหาเรื่องใส่ร้ายพระนามมัสสุหรีให้จงได้
จนกระทั่ง วันหนึ่งก็มาถึง พระนางมัสสุหรีเอาผ้าคลุมฮิญาบหรือผ้าคลุมศรีษะ ยื่นให้องครักษ์เช็ดหน้าเช็ดตา ในขณะที่กำลังตรากตรำทำงานหนักและบริวารสายสืบของพระมารดาเห็นเข้า จึงนำเรื่องนี้ไปรายงานพระมารดาซึ่งดีใจมาก พร้อมสั่งให้ทหารไปจับคนทั้งสองและป่าวประกาศไปทั่วเกาะว่า พระนามมัสสุรีมีชู้กับองครักษ์ ทำให้เสื่อมเสียงพระเกียรติแก่ราชวงศ์มีโทษประหารด้วยกริช ห้ามใครพูดเข้าข้างพระนางมัสสุรี มิเช่นนั้นจะประหารทันที ส่วนองครักษ์นั้นได้ถูกสั่งประหารด้วยการขุดหลุม แล้วให้ลงไปนอน เอาก้อนหินกระหน่ำปาลงไปจนตาย พระนางมัสสุหรีถูกนำตัวมามัดไว้กับต้นไม้ต้นหนึ่ง เพชฌฆาตนั้นเมื่อเริ่มลงมือเอากริชแทงพระนางหลายครั้งด้วยน้ำตา แต่กริชไม่สามารถระคายผิว พระนางฯได้เลย พระนางฯจึงกล่าวว่า "กริชประจำตระกูลของเท่านั้นถึงจะฆ่าพระนางได้ และกริชนั่นก็อยู่ที่ บ้านพ่อแม่ของข้าเอง" พระมารดาได้ยินดังนั้นจึงสั่งให้เพชฌฆาตไปเอากริช ประจำตระกูลของพระนางฯ ตามที่พระนางฯบอก ทางด้านพ่อและแม่ของพระนางฯ เมื่อมีคนของพระมารดาไปขอกริชประจำตระกูล ก็ให้แต่โดยดี ด้วยเพราะทราบดีว่า คงเป็นความประสงค์ของพระนางมัสสุรีที่จะกู้ศักดิศรีและแสดงความบริสุทธิ์ แม้จะแลกด้วยชีวิตก็ตาม ก่อนที่เพชฌฆาตจะลงมือประหาร
พระนางมัสสุหรีจึงกล่าวดังไว้ว่า ฟ้าดินเป็นพยานข้านี้ถูกใส่ร้าย ข้ามิเคยคบชู้สู่ชายแต่อย่างใด หากข้าไม่ผิด ของให้โลหิตเป็นสีขาว และอย่าให้หิตข้าหลั่งลงพื้นดิน ฟ้าดินเป็นพยาน สิ้นคำกล่าวของพระนางฯ เพชฌฆาตก็ลงมือปักกริช ลงตรงคอ เสียงร้องของพระนางดังไปทั่วบริเวณ เลือดสีขาวพระนางฯพุ่งขึ้น เหมือนร่ม โดยไม่ตกลงพื้นแม้แต่หยดเดียว หันไปมองบุตรตัวน้อยวัยสามเดือนที่ร้องเสียงดัง เหมือนรับรู้ความเจ็บปวดของแม่ก่อนสิ้นใจพระนางฯได้อ้อนวอนขอกอดลูก และขอให้นมบุตรเป็นครั้งสุดท้ายต่อพระมารดาแม่ผัวผู้ใจดำ แต่พระมารดาไม่ยินยอม พระนางมัสสุหรีจึงสาปแช่งว่าหากนางเป็นผู้บริสุทธิ์ มันผู้ใดที่อยู่บนเกาะลังกาวีจงประสบทุกข์เข็ญนานตราบ 7 ชั่วอายุคน และบอกพ่อกับแม่ของตนให้เอากล้วยน้ำหว้าป้อนลูกของตนแทนนม แล้วจึงสิ้นใจทาง
วันดารุส ขณะอยู่กลางท้องทะเลก็นิมิตเห็นภาพพระนางมัสสุหรีเหมือนมาลา จึงประกาศ หากใครทำอันตรายพระนางมัสสุหรีจะฆ่าตายให้หมด " พร้อมกับเดินทางกลับทันที เมื่อมาถึงเกาะสภาพเกาะเหมือนเกาะร้างแทนที่จะมีเสียงประชาชนเข้ามาล้อม โฮ่ร้องต้อนรับเหมือนวีรบุรุษ เช่นทุกครั้ง แต่กลับเงียบเชียบเหมือนเมืองร้างผู้คนไม่รู้หายไปไหนหมด เมื่อกลับไปที่วัง ร้องหาแม่นางมัสสุรีและลูกไม่พบก็ใจหาย จึงไปหาที่บ้านพ่อตาแม่ยาย เมื่อย่างก้าวเข้าบริเวณบ้านความรู้สึกเศร้าระงมไปทั่ว แต่ก็กลับดีใจที่ได้ยินร้องของเด็ก เมื่อขึ้นไปดูจึงเห็นแต่ลูก และทราบข่าวการตายของพระแม่นางมัสสุรีจากพ่อตาและแม่ยาย
หาดทรายสีดำ
วันดารุสเสียใจมาก เพราะคิดไม่ถึงว่า พระมารดาจะฆ่าและทำลายพระนางมัสสุหรี คนที่ตนรักได้อย่างโหดเหี้ยมได้ลงคอ พระองค์จึงตัดสินใจสละสิทธิ์รัชทายาทราชบันลังก์ แล้วหอบลูกและกริชกลับไปยังบ้านเกิดของพระนางมัสสุหรี คือภูเก็ต หาดทรายเปลี่ยนเป็นสีดำ หลังจากนำศพของพระนางมัสสุหรีไปฝัง ส่วนพระมารดาเมื่อสิ้นชีวิต พระศพก็ไม่สามารถฝังที่ใดได้เลย บนเกาะลังกาวี ฝังที่ใดทรายก็จะดันขึ้นมาเสมอ จนกระทั่งต้องไปกลับทำพิธีบนบานที่สุสานพระนางมัสสุหรี จึงสามารถนำพระศพไปฝังไว้ที่บริเวณหาดทราย และสีของหาดทรายกลายเป็นสีดำในทันที
จากเรื่องราวของเด็กหญิงมัสสุหรีและครอบครัว นับเป็นโศกนาฏกรรมสำคัญ ที่ให้แง่คิดโดยเฉพาะในเรื่องการเรียนรู้จักตัวตนของผู้อื่นก่อน อย่าตัดสินคนจากลักษณะภายนอกเท่านั้น เพราะมันอาจก่อให้เกิดจากเกลียดชังและการใส่ร้าย และนำมาซึ่งความเดือนร้อน และจบลงอย่างน่าเศร้า โดยไม่ทำให้ใครมีความสุขจากเรื่องที่เกิดขึันนี้เลย
อ้างอิง
เกาะต้องคำสาป.สืบค้นข้อมูลเมื่อ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2559, จาก: https://sites.google.com/site/prawlangkawi/tanan-nang-leuxd-khaw-massu-h-ri
เกาะต้องคำสาป. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2559, จาก: http://board.postjung.com/461385.html
เกาะต้องคำสาป. สืบค้นข้อมูลเมื่อ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2559, จาก: http://www.dekd.com/board/view/1488816/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น