โดย ณัฐวรรธน์ ชีพประสานสุข
ถ้าเอ่ยถึงแวนโก๊ะแล้ว เราคงจะนึกภาพออกทันทีว่า ศิลปะแบบโพสต์ อิมเพรสชั่นนิสม์ มีหน้าตาเป็นอย่างไร ลักษณะของงานจะมุ่งไปที่การแสดงออกทางความรู้สึก อารมณ์ และจิตวิญญาณมากกว่ามุ่งนำเสนอความเป็นจริงทางวัตถุ สื่อผ่านการใช้สีที่รุนแรงและเกินความเป็นจริง โดยเน้นความพอใจของศิลปินเป็นหลัก ไม่ยึดถือกฎเกณฑ์ และธรรมเนียมใด ๆ ในอดีตเลย สีที่ใช้นั้นจะสื่อถึงพลังที่ถูกบีบคั้นบังคับกดดันที่อยู่ในความรู้สึกนึก คิดของจิตใจคน เป็นการปดปล่อยอารมณ์ผ่านสี และฝีแปรงที่ให้ความรู้สึกที่รุนแรงกดดัน ฝีแปรงที่อิสระ
“โพสต์-อิมเพรสชันนิสม์” ค.ศ.1880-1893 คือกระแสศิลปะที่เกิดขึ้นในประเทศฝรั่งเศส โดยมีศิลปินที่เป็นผู้นำทั้งหมด 4 คน ดังนี้ พอล เซซาน (Paul Cezanne) พอล โกแกง (Paul Gauguin) วินเซนต์ แวนโก๊ะ (Vincent van Gogh) และ จอร์จ เซอราต์ (Georges Seurat)
ชื่อ “โพสต์-อิมเพรสชันนิสม์” เกิดขึ้นเมื่อปี 1910 โดยนักวิจารณ์ ฟอร์มอลลิสม์ ชาวอังกฤษชื่อ โรเจอร์ ฟราย (Roger Fry) จัดงานชื่อ “มาเนต์ แอนด์ เดอะ โพสต์-อิมเพรสชันนิสต์” (Manet and the Post-Impressionist) ที่ ลอนดอน กราฟตัน แกลเลอรีส์ (London’s Grafton Galleries) แต่ว่าชื่อลัทธิเกิดขึ้นหลังจากที่ศิลปินในกลุ่มนี้ตายหมดแล้ว (ไม่ใครมีชีวิตอยู่เกินปี1906)
จิตรกรในแนวโพสต์-อิมเพรสชันนิสต์ ทั้ง 4 คนนี้ ต่างมีความไม่พอใจแนวทางการเขียนรูปของ อิมเพรสชันนิสม์ ที่ไม่ค่อยจะมีรูปทรงชัดเจนเท่าไร เพราะพยายามถ่ายทอดบรรยากาศของสีและแสงด้วยฝีแปรง จนทำให้รูปทรงไม่กระจ่างชัด แต่อย่างไรก็ตามทั้งสี่คนนี้ (ยกเว้น เซอราต์ ที่คิดค้น “นีโอ-อิมเพรสชันนิสม์”) ได้เคยทดลองเทคนิคแบบ อิมเพรสชันนิสม์ มาแล้วทั้งสิ้น การแสดงทางอารมณ์และความรู้สึกในงานของ โกแกง และ แวน โก๊ะ มีลักษณะที่เป็นสัญลักษณ์ส่วนตัว มีการใช้สีที่บิดเบือนผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติ เช่น มีการใช้สีที่สดดิบมากเกินของจริง ได้เป็นแรงบันดาลใจให้แก่ ลัทธิ เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ (Expressionism) และ ซิมโบลิสม์ (Symbolism) เทคนิคการสร้างจุดจนคล้ายการเรียงหินโมเสคของ เซอราต์ ได้ให้อิทธิพลแก่ อาร์ต นูโว (Art Nouveau) และ โฟวิสม์ (Fauvism) เซซาน ทดลองเขียนภาพทิวทัศน์และหุ่นนิ่ง โดยการสังเคราะห์ให้เป็นโครงสร้าง ซึ่งต่อมาได้เป็นแรงบันดาลใจให้แก่ “คิวบิสม์” (Cubism) ในการสร้างภาพธรรมชาติให้เป็นโครงสร้างแบบเรขาคณิต
ศิลปินคนสำคัญของลัทธิโพสต์-อิมเพรสชันนิสต์ ได้แก่ พอล เซซาน (Paul Cezanne, 1839-1906) พอล โกแกง (Paul Gauguin, 1848-1903) วินเซนต์ แวน โก๊ะ (Vincent van Gogh, 1853-1890) และจอร์จ เซอราต์ (Georges Seurat, 1859-1891)
อ้างอิง
ศิลปกรรมลัทธิโพสท์อิมเพรสชั่นนิมส์. (กันยายน 2556). สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2557 จาก http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=tlemovie&group=5
ถ้าเอ่ยถึงแวนโก๊ะแล้ว เราคงจะนึกภาพออกทันทีว่า ศิลปะแบบโพสต์ อิมเพรสชั่นนิสม์ มีหน้าตาเป็นอย่างไร ลักษณะของงานจะมุ่งไปที่การแสดงออกทางความรู้สึก อารมณ์ และจิตวิญญาณมากกว่ามุ่งนำเสนอความเป็นจริงทางวัตถุ สื่อผ่านการใช้สีที่รุนแรงและเกินความเป็นจริง โดยเน้นความพอใจของศิลปินเป็นหลัก ไม่ยึดถือกฎเกณฑ์ และธรรมเนียมใด ๆ ในอดีตเลย สีที่ใช้นั้นจะสื่อถึงพลังที่ถูกบีบคั้นบังคับกดดันที่อยู่ในความรู้สึกนึก คิดของจิตใจคน เป็นการปดปล่อยอารมณ์ผ่านสี และฝีแปรงที่ให้ความรู้สึกที่รุนแรงกดดัน ฝีแปรงที่อิสระ
“โพสต์-อิมเพรสชันนิสม์” ค.ศ.1880-1893 คือกระแสศิลปะที่เกิดขึ้นในประเทศฝรั่งเศส โดยมีศิลปินที่เป็นผู้นำทั้งหมด 4 คน ดังนี้ พอล เซซาน (Paul Cezanne) พอล โกแกง (Paul Gauguin) วินเซนต์ แวนโก๊ะ (Vincent van Gogh) และ จอร์จ เซอราต์ (Georges Seurat)
ชื่อ “โพสต์-อิมเพรสชันนิสม์” เกิดขึ้นเมื่อปี 1910 โดยนักวิจารณ์ ฟอร์มอลลิสม์ ชาวอังกฤษชื่อ โรเจอร์ ฟราย (Roger Fry) จัดงานชื่อ “มาเนต์ แอนด์ เดอะ โพสต์-อิมเพรสชันนิสต์” (Manet and the Post-Impressionist) ที่ ลอนดอน กราฟตัน แกลเลอรีส์ (London’s Grafton Galleries) แต่ว่าชื่อลัทธิเกิดขึ้นหลังจากที่ศิลปินในกลุ่มนี้ตายหมดแล้ว (ไม่ใครมีชีวิตอยู่เกินปี1906)
จิตรกรในแนวโพสต์-อิมเพรสชันนิสต์ ทั้ง 4 คนนี้ ต่างมีความไม่พอใจแนวทางการเขียนรูปของ อิมเพรสชันนิสม์ ที่ไม่ค่อยจะมีรูปทรงชัดเจนเท่าไร เพราะพยายามถ่ายทอดบรรยากาศของสีและแสงด้วยฝีแปรง จนทำให้รูปทรงไม่กระจ่างชัด แต่อย่างไรก็ตามทั้งสี่คนนี้ (ยกเว้น เซอราต์ ที่คิดค้น “นีโอ-อิมเพรสชันนิสม์”) ได้เคยทดลองเทคนิคแบบ อิมเพรสชันนิสม์ มาแล้วทั้งสิ้น การแสดงทางอารมณ์และความรู้สึกในงานของ โกแกง และ แวน โก๊ะ มีลักษณะที่เป็นสัญลักษณ์ส่วนตัว มีการใช้สีที่บิดเบือนผิดเพี้ยนไปจากธรรมชาติ เช่น มีการใช้สีที่สดดิบมากเกินของจริง ได้เป็นแรงบันดาลใจให้แก่ ลัทธิ เอ็กซ์เพรสชันนิสม์ (Expressionism) และ ซิมโบลิสม์ (Symbolism) เทคนิคการสร้างจุดจนคล้ายการเรียงหินโมเสคของ เซอราต์ ได้ให้อิทธิพลแก่ อาร์ต นูโว (Art Nouveau) และ โฟวิสม์ (Fauvism) เซซาน ทดลองเขียนภาพทิวทัศน์และหุ่นนิ่ง โดยการสังเคราะห์ให้เป็นโครงสร้าง ซึ่งต่อมาได้เป็นแรงบันดาลใจให้แก่ “คิวบิสม์” (Cubism) ในการสร้างภาพธรรมชาติให้เป็นโครงสร้างแบบเรขาคณิต
ศิลปินคนสำคัญของลัทธิโพสต์-อิมเพรสชันนิสต์ ได้แก่ พอล เซซาน (Paul Cezanne, 1839-1906) พอล โกแกง (Paul Gauguin, 1848-1903) วินเซนต์ แวน โก๊ะ (Vincent van Gogh, 1853-1890) และจอร์จ เซอราต์ (Georges Seurat, 1859-1891)
อ้างอิง
ศิลปกรรมลัทธิโพสท์อิมเพรสชั่นนิมส์. (กันยายน 2556). สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2557 จาก http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=tlemovie&group=5
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น