หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

25 ก.พ. 2557

การปฏิวัติเกษตรกรรม

โดย ศุภนิดา วัฒนานนท์

พัฒนาการของยุโรปสมัยใหม่นั้นได้มีการพัฒนาด้านต่างๆไปหลายด้านด้วยกัน เนื่องจากมีวิทยาการใหม่เข้ามา จึงก่อให้เกิดการปฏิวัติทั้งทางด้านอุตสาหกรรม ด้านวิทยาศาสตร์ รวมถึงด้านเกษตรกรรมด้วย  ประเทศแรกที่มีการปฏิวัติเกษตรกรรม คือ ประเทศอังกฤษ

เส้นทางสายไหม (Silk Road)

โดย รัฏฐาธิปัตย์ ปุ้ยธนาวัฒน์

เส้นทางสายไหมเป็นเส้นทางที่ใช้ในการติดต่อในด้านเศรษฐกิจจากเอเชียไปยังยุโรปรวมทั้งเป็นเส้นทางที่แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมไปในตัวที่เริ่มต้นจากจีนไปสู่ตะวันตก

อ็อพ อาร์ต (Op Art) หรือ ศิลปะลวงตา

โดย รัฏฐาธิปัตย์ ปุ้ยธนาวัฒน์

จิตรกรรมแบบ อ็อพ อาร์ต (Op Art) เริ่มต้นตั้งแต่ ค.ศ. 1960 เป็นศิลปะลวงตาเป็นวิธีการเขียนที่คำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างความลวงตาและพื้นผิวของภาพ ระหว่างความเข้าใจและการมองเห็น

23 ก.พ. 2557

ฌอง ฌาค รุสโซ (Jean Jacques Rousseau)

โดย อติคุณ มูลป้อม

ถ้าจะพูดถึง ฌอง ฌาค รุสโซ นั้นหลายคนได้ยินชื่อนี้คงคุ้นหูเป็นอย่างดีว่าเป็นผู้คิดค้นทฤษฎีอำนาจอธิปไตยชื่อดัง แต่ชีวิตของรุสโซนั้นไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ โดยรุสโซนั้นเป็นชาวฝรั่งเศสแต่ได้เกิดและไปเติบโตที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิสแลนด์ เพราะพ่อของรุสโซอพยพมาทำงานซ่อมนาฬิกา รุสโซได้ฝึกหัดอ่านหนังสือและเรียนรู้ด้วยตนเองมาโดยตลอด  และรุสโซได้ร่อนเร่หาทำงานเพื่อให้มีรายได้พอประทังชีวิตตั้งแต่ลูกจ้างของนักกฎหมายไปจนถึงลูกจ้างของช่างแกะสลักกับได้ท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆในสวิสแลนด์ จนในที่สุดรุสโซก็ได้ทำงานในตำแหน่งเลขานุการของท่านอัครราชทูตฝร่งเศสประจำเวนิช

กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei)

โดย สุธากรณ์ สิโนรักษ์

หากจะกล่าวถึงนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นคนประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ทุกคนคงรู้ว่าเขาคนนั้นคือ กาลิเลโอ กาลิเลอี   และเขายังมีผลงานอีกมากมายที่เขาเป็นคนคิดค้นและค้นพบ เช่น "กฎแห่งการแกว่งของลูกตุ้ม" และ "กฎการตกของวัตถุ"

เจมส์ วัตต์ (James Watt)

โดย พชร สุภศักดิพัฒน์

ถ้าถามถึงบุคคลสำคัญในยุคสมัยใหม่ จะขาดท่านผู้นี้ไปไม่ได้ ท่านคือ บุคคลที่คิดค้น ผู้ปรับปรุงเครื่องจักรไอน้ำ จนนำสหราชอาณาจักรไปสู่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรมกระผมขอเล่าประวัติท่านคร่าวๆ ดังนี้

เจมส์ วัตต์ เกิดใน กรีนนอค (Greenock) เมืองท่าของ อ่าวไคลด์ (Firth of Clyde) พ่อชื่อ โทมัส วัตต์ เป็นช่างไม้และช่างต่อเรือผู้เป็นเจ้าของเรือและรับเหมางานช่าง มารดาเป็นผู้มีการศึกษาจากตระกูลผู้ดี ทั้งคู่เป็นคริสเตียนที่เคร่งครัด แต่ฐานะทางครอบครัวค่อนข้างยากจน เขาจึงต้องเรียนแบบโฮมสคูลโดยมีมารดาเป็นผู้สอน เขาถนัดคณิตศาสตร์ และสนใจเทววิทยาของสกอตแลนด์ แต่อ่อนวิชาภาษาละตินและภาษากรีกโบราณ แต่เขาก็ได้รับพื้นฐานงานช่างจากการช่วยงานของบิดา

ท่านเป็นวิศวกรและนักประดิษฐ์ ชาวสกอตแลนด์ ผู้ปรับปรุงเครื่องจักรไอน้ำ จนนำสหราชอาณาจักรไปสู่ยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตและการต่อเรือ และทำให้สหราชอาณาจักรเป็นเจ้าอาณานิคมในเวลาต่อมา เครื่องจักรของวัตต์เป็นต้นแบบของเครื่องจักรที่ใช้น้ำมันในปัจจุบัน เขาเป็นผู้บัญญัติศัพท์ แรงม้า เป็นวิธีคำนวณประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร และชื่อของเขาได้รับไปตั้งเป็น หน่วยกำลังไฟฟ้า ในระบบหน่วยเอสไอ

ในด้านผลงาน หลังจากที่ เจมส์ วัตต์ เปิดร้าน 4 ปี วัตต์เริ่มทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรไอน้ำด้วยการแนะนำของเพื่อนของวัตต์เองคือศาสตราจารย์จอห์น โรบินสัน (John Robison) ขณะนั้นเขายังไม่เคยรู้จักกลไกเครื่องจักรไอน้ำเลย แต่ก็มีความสนใจมาก และได้พยายามลองสร้างจากเครื่องจักรต้นแบบ ซึ่งผลไม่น่าพอใช้ แต่ก็ยังมุทำงานต่อไปและเริ่มศึกษาทุกอย่างที่เกี่ยวข้องเท่าที่จะทำได้ และก็ได้ค้นพบด้วยตนเองเกี่ยวกับ นัยสัมพันธ์ของ ความร้อนแฝง (latent heat) ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของเครื่องจักร

ตลอดกว่า6 ปีต่อมาเจมส์ วัตต์ ปรับปรุงและประยุกต์สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้กับเครื่องจักรไอน้ำและอุปกรณ์เสริมอีกจำนวนหนึ่ง เช่น

1.) เครื่องจักรสองทาง (double acting engine) ที่ไอน้ำเข้ากระบอกสูบสองข้างในเครื่องเดียว
2.) ลิ้นควบคุมพลังงานไอน้ำ
3.)อุปกรณ์ควบคุมฝีจักรเหวี่ยงจากศูนย์กลาง (centrifugal governor) ที่ป้องกันไม่ให้มันหลุดออกจากกัน ซึ่งสำคัญมากฯลฯ

วัตต์เป็นนักประดิษฐ์ที่กระตือรือร้น พร้อมกับจินตนาการเปี่ยมล้นซึ่งนำทางให้สำเร็จ เพราะเขาสามารถพบการปรับปรุงที่มากกว่าหนึ่งเสมอ เขาทำงานด้วยมืออย่างคล่องแคล่ว และยังสามารถใช้เครื่องวัดทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบเพื่อตรวจผลการสร้างและปรับปรุงของเขา และเข้าใจอย่างถ่องแท้ถึงกลไกที่กำลังทำงานด้วยอยู่ วัตต์เป็นสุภาพบุรุษที่ได้รับการนับถือจากผู้มีชื่อเสียงท่านอื่นในวงการปฏิวัติอุตสาหกรรม

มาที่ส่วนสุดท้าย คือการใช้ชีวิตในบั่นปลายของ “เจมส์ วัตต์”วัตต์เกษียณตัวเองเมื่อ พ.ศ. 2343 (1800) ปีเดียวกับที่สิทธิบัตรของเขาและทะเบียนห้างหุ้นส่วนที่ร่วมกับโบลตันหมดอายุ เขาโอนหุ้นของห้างหุ้นส่วนให้บุตร

อ้างอิง

Wikipedia.เจมส์ วัตต์. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2557, จาก http://th.wikipedia.org/wiki/เจมส์_วัตต์

wigittra.นักวิทยาศาสตร์ของโลก.เจมส์ วัตต์. สืบค้นเมื่อ 31 มกราคม 2557, จาก http://wigittra.blogspot.com/p/blog-page_28.html

อารยธรรมมายา (Maya)

โดย ณัฐรณ ชาวบ้านตาด

ทุกทวีปบนโลกล้วนเป็นต้นกำเนิดของแหล่งอารยธรรมอารยธรรมเหล่านี้ล้วนมีแหล่งที่มา แตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ สิ่งที่เป็นมรดกตกทอกมาจนถึงปัจจุบัน และหากจะกล่าวถึงอารยธรรมแห่งหนึ่งในทวีปอเมริกากลาง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของ วัฒนธรรม  ความรู้ ความเชื่อ และ ความเป็นปริศนา คงจะไม่พ้น อารยธรรมมายาเป็นแน่นอน

ศิลปะแบบโฟวิสม์ (Fauvism)

โดย วัชรากร คำสระคู          

คำว่า “โฟวิสม์” (Fauvism) เป็นภาษาฝรั่งเศส แปลว่า “สัตว์ป่า”  ลักษณะงานศิลปะแบบโฟวิสม์นี้ สร้างงานจิตรกรรมแนวใหม่  ใช้รูปทรงอิสระ  ใช้สีสดใสตัดกันอย่างรุนแรง  เน้นการสร้างงานตามสัญชาตญาณแห่งการแสดงออกอย่างเต็มที่  ผลงานที่เกิดขึ้นจะแสดงให้เห็นถึงความสนุกสนาน  อันเกิดจากลีลาของรอยแปรงและจังหวะของสิ่งต่าง ๆ   นอกจากนี้ จะนำลีลาของเส้นมาใช้ใหม่ เช่น การตัดเส้นรอบนอกของสิ่งต่าง ๆ เพื่อสร้างความโดดเด่น

อาวุธที่ใช้ในสงครามโลกครั้งที่ 1

โดย อนุกูล ชำนาญสิงห์

ถ้าจะกล่าวถึงอาวุธในสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็ต้องย้อนไปถึงการเกิดสงครามตั้งแต่อดีตมาจนถึงในปัจจุบัน ซึ่งได้มีการพัฒนาอาวุธให้มีความก้าวหน้าขึ้นเรื่อยๆ ให้มีความรุนแรง และสร้างความเสียหายให้กับฝ่ายศัตรูได้เป็นอย่างมาก

ศิลปะบารอก (Baroque)

โดย ชฎารัตน์ อุ่นอบ

งานศิลปะนั้น ได้มีการเริ่มสร้างกันมาตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งในแต่ละยุคสมัย ล้วนแต่มีศิลปะแบบต่างๆเกิดขึ้นตามยุคและสมัยนั้น อย่างในช่วงประวัติศาสตร์ยุโรปสมัยใหม่ ก็ได้มีการเกิดศิลปะบารอกขึ้นมา

การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)

โดย วชิรวิทย์ งานไว

ในการปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้น สืบเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงพัฒนา ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นสมัยของการสำรวจ ค้นพบโลกใหม่และสมัยของการขยายตัวทางการค้า ทำให้เกิดความต้องการที่จะเพิ่มปริมาณสินค้าเพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์โลก ซึ่งส่งผลกระทบในชีวิตประจำวันไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง

ศิลปะป็อปอาร์ต (Pop Art)

โดย พิชชา ขาวสะอาด

ป๊อปอาร์ต เป็นขบวนการทางศิลปะอย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้น ณ สหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ประมาณราว พ.ศ.2498 ซึ่งล้อไปกับรากฐานบริบทของสังคม ศิลปินกลุ่มนี้มีความเชื่อที่ว่าศิลปะจะต้องสร้างความตื่นเต้นอย่างฉับพลันให้แก่ผู้พบเห็น ซึ่งนับว่าเป็นผลจากการต่อยอดของการเปลี่ยนแปลงทิศทางศิลปะมาตั้งแต่ แนวศิลปะแบบเรียลลิสม์ (Realism) ในช่วงกลางพุทธศตวรรษที่ 25 ซึ่งจะเห็นได้ว่าเนื้อหาของศิลปะแนวป๊อปอาร์ตนั้นไม่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ ศาสนา หรือ เทพนิยาย เหมือนกับยุคก่อน

ปอลโกแก็ง (Guaguin)

โดย ปุญญิศา กาญจนศร

เออแฌนอ็องรี ปอลโกแก็ง เป็นจิตรกรสมัยอิมเพรสชันนิสม์ (Impressionism)สมัยหลังชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนภาพเขียนสีน้ำมัน

กรุงคอนสแตนติโนเปิล (Constantinople)

โดย ชยพล แพงศรี

กรุงคอนสแตนติโนเปิลนั้นมีชื่อมาจาก "คอนแสตนติน" ซึ่งเป็นชื่อของจักรพรรดิผู้ที่ก่อตั้งเมืองแห่งนี้ขึ้น กรุงคอนสแตนติโนเปิลเป็นเมืองหลวงอาณาจักรโรมันตะวันออก เดิมเป็นพื้นที่ร้างอันกว้างใหญ่และเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการตั้งเมืองหลวงโดยมีพื้นที่อยู่กึ่งกลางระหว่างยุโรปและเอเชีย เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปกครองโรมันตะวันออกทั้งด้านการค้าทางบกและทางทะเล นับเป็นอีกเมืองหนึ่งซึ่งมีความมั่งคั่งมากที่สุดในยุคนั้น ปัจจุบันคือเมืองอิสตันบูลอยู่ในประเทศตุรกี

การปฏิวัติอเมริกา ค.ศ.1776

โดย ชยพล แพงศรี

ประเทศสหรัฐอเมริกาเดิมเป็นอาณานิคมของประเทศอังกฤษ ซึ่งประเทศอาณานิคมนั้นตามปกติแล้วจะต้องจ่ายภาษีต่างๆ ให้แก่ประเทศอังกฤษ ซึ่งชนวนของการปฏิวัตินั้นเกิดจากการที่ประเทศอังกฤษเรียกเก็บภาษีจากประชาชนชาวอาณานิคมมากเสียจนประชาชนทนไม่ได้ ทำให้เกิดความไม่พอใจจนเกิดการปฏิวัติ

ศิลปะซูพรีมาตีสม์ (Suprematism)

โดย รัชนีกร เวียงวิเศษ        

ยุคสมัยต่างๆนั้นมีการเปลี่ยนหลายอย่างและหลายด้าน โดยเฉพาะยุคสมัยอารยธรรมยุคกลางนั้นมีการพัฒนาการและสร้างสรรค์ผลงานทางด้านศิลปะและวัฒนธรรมออกมามากมายและหลายรูปแบบ และศิลปะซูพรีมาตีสม์ (Suprematism) นั้นก็เป็นหนึ่งในการพัฒนาและสร้างสรรค์ของผู้คนในยุคนั้นด้วย

มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ หรือ มหาวิหารนักบุญเปโตร (Basilica di San Pietro)

โดย สุพิรญาณ์ พสิษฐ์ธุวานนท์

นครรัฐวาติกัน ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี เป็นรัฐอิสระ มีประชากรประมาณ 900 คน และมีพื้นที่เพียง 0.44 ตารางกิโลเมตร แต่กลับเป็นที่ตั้งของหนึ่งในสถานที่สำคัญที่สุดของโลก มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ หรือ มหาวิหารนักบุญเปโตร (Basilica di San Pietro) ในภาษาอิตาลี

โมนาลิซา (Monalisa)

โดย ภัทรธร ฉันทวรภาพ

ถ้าจะกล่าวถึงภาพวาดบนโลกใบนี้นั้นมีอยู่มากมาย แต่ภาพไหนจะมีคุณค่านั้นต้องมีองค์ประกอบที่เหมาะสมสะท้อนอารมณ์ของศิลปินได้เป็นอย่างดีว่าขณะนั้น เขาได้คิดอะไรอยู่ จึงวาดภาพนี้ขึ้นมา มีจุดประสงค์เพื่ออะไร ต้องการที่จะสื่อให้ผู้สนใจได้แง่คิดอะไรในภาพวาดที่ตนได้ถ่ายทอดออกมา

ศิลปะเซอร์เรียลลีสม์ (Surrealism)

โดย จารุวัฒน์ จันทะวงศ์

ศิลปะเซอร์เรียลลิสม์ เป็นรูปแบบศิลปะที่ไม่มีกฎเกณฑ์ไม่มีหลักเหตุผลไม่มีการจำกัดรูปแบบ มาจากความฝัน จิตสำนึก สามารถสื่อความรู้สึกได้อย่างแท้จริงต่อความรู้สึกของมนุษย์ โดยเกิดขึ้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อเตือนให้รู้สำนึกถึงผลของสงคราม

22 ก.พ. 2557

สงครามเย็น (Cold War)

โดย สุภารัตน์ ราชวัง

สงครามเย็นเป็นสงครามทางด้านอุดมการณ์หรือแนวคิดทางการเมืองที่แตกต่างกันระหว่างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยและการปกครองรูปแบบคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีประเทศที่เป็นมหาอำนาจของแต่ละฝ่าย ได้แก่ สหภาพโซเวียตหรือรัสเซียในปัจจุบัน (คอมมิวนิสต์) และสหรัฐอเมริกา (ฝ่ายประชาธิปไตยหรือฝ่ายเสรี)

โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart)

โดย  ทวีโชค พรมขันตี

โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart) นักประพันธ์ดนตรีคลาสสิกชาวออสเตรียที่มีชื่อเสียงก้องโลก มีงานประพันธ์เพลงกว่า 700 ชิ้นรวมทั้งโอเปร่าที่มีชื่อ เช่น ดอน โจวานนี (Don Giovanni) และ ขลุ่ยวิเศษ (Die Zauberflöte)

จอห์น ล็อค (John Lock)

โดย อานุภาพ ขาวกุญชร

ในยุคคริสต์ศตวรรษที่  17 ได้มีชายผู้หนึ่งที่มีแนวคิด ว่า  "ผู้ปกครองที่ได้รับการยอมรับจากผู้ใต้ปกครอง" และสิทธิธรรมชาติของมนุษย์ ประกอบไปด้วย ชีวิต เสรีภาพ และทรัพย์สิน  ซึ่งแนวคิดนี้ เป็นของบุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือ จอห์น ล็อค  ล็อค เกิดเมื่อ วันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2175

ศิลปะแบบดาด้า (Dada)

โดย มุกมณี  มุตต๊ะ

หากกล่าวถึงศิลปะที่เหมาะกับผู้ที่ชอบอะไรแปลกๆ สะท้อนความคิดในด้านใหม่ๆ ซึ่งอาจเป็นสิ่งที่สะท้อนความเลวร้ายในสังคม แต่ในบางมุมมองก็อาจทำให้เรายอมรับในโลกแห่งความเป็นจริงมากขึ้น เพราะในบางครั้งโลกแห่งความเป็นจริงก็หาได้สวยงามเหมือนโลกแห่งเทพนิยายหรือโลกแห่งศิลปะทั่วๆไปศิลปะแห่งความแปลกประหลาด ความแดกดัน ประชดประชันสังคมคือ ศิลปะแบบดาด้า(dada) ศิลปะแบบดาด้าเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1912 ซึ่งมีการก่อตั้งขึ้นอย่างเต็มรูปแบบที่เมืองชูริค ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ในปี 1916 แล้วแพร่ไปยังนิวยอร์ค บาร์เซโลน่า เบอร์ลิน โคโลจน์และปารีส

7 ก.พ. 2557

ผลงานการออกแบบของเลโอนาร์โด ดาวินซี

โดย ชนกนันท์  คงพิรุณ

กล่าวถึงยุคเรอเนซองส์สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นสิ่งแรกในยุคนี้ก็คือความก้าวหน้าทางวิทยากรด้านต่างๆซึ่งมีความโดดเด่นและขึ้นชื่ออย่างมาก โดยยุคนี้นำไปสู่การแนวทางการพัฒนาของโลกปัจจุบันอย่างยิ่ง อาทิเช่น ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ศิลปกรรมศาสตร์ เป็นต้น

เฟอร์ดินันด์ แมกเจลแลน (Ferdinand Magellan)

โดย ณัฐภัทร ไชยชาติ

ถ้าไม่เกิดการค้นหาคงไม่มีการค้นพบ คำพูดนี้อาจจะใช้กล่าวแทนตัวของนักเดินทางที่ชื่อว่า เฟอร์ดินันท์ แมกเจลแลน ได้เป็นอย่างดี การเดินทางของเขาทำให้เราค้นพบโลกใหม่ พบสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจให้แก่นักสำรวจในยุดต่อๆมา การค้นพบของเขาทำให้มีสิ่งที่เราต้องศึกษาดังต่อไปนี้

ปาโบล รุยซ์ ปิกัสโซ ( Pablo Ruiz Picasso)

โดย รณยุทธ โสภณ

ถ้าหากจะกล่าวถึงผลงานทางด้านศิลปะในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ศิลปินที่โดนเด่นและมีชื่อเสียงอีกคนหนึ่งก็คือปาโบล รุยซ์ ปิกัสโซ ( Pablo Ruiz Picasso) ซึ่งนับได้ว่าเป็นจิตกรเอกของโลกอีกคนหนึ่ง มีผลงานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของตนเอง

วินเซนต์ แวน โก๊ะ (Vincent Willem van Gogh)

โดย กฤษวัชร์ เจริญกิจสุพัฒน์

ทุกยุคทุกสมัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันสิ่งที่แสดงถึงเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของยุตนั้นๆ อย่างหนึ่งล่ะที่แน่นอนนั้นคือ ศิลปะ และในตอนนี้ผมจะพาไปรู้จักกับศิลปินในยุคสมัยใหม่ที่ได้รับการกล่าวถึงว่ามีผลงานอันทรงคุณค่าที่ได้รับการยกย่องจนถึงปัจจุบัน บุคคลที่พวกเรารู้จักเขาดีในชื่อ วินเซนต์ แวน โก๊ะ หรือ ฟินเซนต์ ฟาน ก็อกฮ์ (Vincent Willem van Gogh)

ศิลปะนามธรรม (Abstract Art)

โดย ณัฐภัทร สุขวิสูตร

ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาไปจนถึงช่วงยุคกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปะตะวันตกรับเอาทัศนคติและอิทธิพลของการสร้างงานศิลปะให้มีลักษณะการทำให้งานดูสมจริงมากที่สุด แต่ในที่สุดยุคฟื้นฟูก็สิ้นสุดลงเพราะการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของ วิทยาศาสตร์ ปรัชญา ตลอดจนการค้นพบดินแดนใหม่ๆ มนุษย์ได้รับการศึกษาและมีเสรีภาพมากขึ้น ความเปลี่ยนแปลงออย่างรวดเร็วนี้นำไปสู่การสร้างสรรค์งานศิลปะรูปแบบใหม่ๆ จำนวนมาก หนึ่งในนั้นก็คือ ศิลปะนามธรรม (Abstract art)

5 ก.พ. 2557

วัชกู ดา กามา (Vasco da Gama)

โดย สหรัฐ คุ้มภัย

วัชกู ดา กามานั้นเป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกสที่มีชื่อเสียงบุคคลหนึ่ง ซึ่งเขานั้นก็สามารถนำเรือและลูกเรือจำนวนหนึ่งของเขาไปผ่านแหลมกู้ดโฮปได้และเป็นเรือลำแรกที่พาชาวตะวันตกไปพบกับชาวตะวันออกได้ซึ่งสาเหตุที่เข้าต้องล่องเรือผ่านแหลมกู้ดโฮปคือ

4 ก.พ. 2557

ซัลวาดอร์ ดาลี (Salvador Dali)

โดย ปนิสา แย้มพราย

ในช่วงยุคต้นของสมัยใหม่ได้มีการสร้างสรรค์งานด้านศิลปะต่างๆมากมาย โดยมีแนวความคิดมากจากการที่ฝรั่งเศสต่อต้านระบอบศักดินา การแบ่งชนชั้น และมีการนำศิลปะแบบกรีกโรมันดั้งเดิมผสานแนวคิดสมัยใหม่ เป็นผลงานศิลปะล้ำค่าตามแนวคิดของศิลปินที่แตกต่างกันออกไป

ชาลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin)

โดย ปริญญ์ ซอศรีสาคร

“สมัยใหม่” เริ่มตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา สภาพสังคมยุโรปมีความเปลี่ยนแปลงไปมากเนื่องจากความต้องการแสวงหาความรู้และชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชน ส่งผลให้ในยุคนี้มีความพัฒนาไปในทุกๆด้าน ทั้งในด้านปรัชญา ความคิด สิ่งประดิษฐ์วิทยาการต่างๆ รวมถึงด้านวิทยาศาสตร์ ในที่นี้จึงจะกล่าวถึงนักธรรมชาติวิทยาคนสำคัญคนหนึ่งผู้เปลี่ยนแนวความคิดดั้งเดิมของสิ่งมีชีวิตและเสนอทฤษฎีวิวัฒนาการจนเป็นหลักในการศึกษาวิทยาศาสร์ด้านชีววิทยามาจนถึงปัจจุบัน

2 ก.พ. 2557

เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci)

โดย เบญจพร โคกแปะ

ในยุคสมัยฟื้นฟูศิลปะนั้น หากกล่าวถึงอัจฉริยะบุคคลที่มีความสามารถหลากหลาย คงไม่มีใครไม่รู้จัก เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo da Vinci) ที่มีความสามารถทั้งด้านสถาปนิกแบบเรอเนซองส์ นักดนตรี นักกายวิภาค นักประดิษฐ์ วิศวกร ประติมากร นักเรขาคณิต นักวาดภาพ ซึ่งความสามารถที่เก่งรอบดด้านของเขานั้นสามารถเป็นประโยชน์ต่อหลายๆศาสตร์ มีผลต่อวิวัฒน์การของแต่ศาสตร์จนถึงปัจจุบัน นับเป็นบุคคลสำคัญของโลก

ทฤษฎีมนุษยนิยม ( Humanism)

โดย สุนิศรา ภาคสุข

ในสมัยกลางมนุษย์ในยุคนั้นมีความเชื่อและใช้ชีวิตที่ยึดติดในตัวของศาสนามาก  จนบางครั้งก็กลายเป็นความเชื่อที่งมงาย ทำให้มองเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเองในแง่ร้ายจนเกินไป  แต่หลังจากนั้นความเชื่อเหล่านั้นก็เปลี่ยนไป เมื่อเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance)  มนุษย์ในยุคนี้ได้เปลี่ยนมุมมองความคิดใหม่ จากการที่เคยมองโลกในแง่ร้ายมาสู่การมองโลกในแง่ดี และมีความเชื่อว่ามนุษย์มีความสามารถ และคุณค่าในตัวเอง จึงยกย่องเชิดชูความสามารถเหล่านั้นของมนุษย์ ด้วยเหตุนี้เองจึงเป็นที่มาของลัทธิใหม่ที่เรียกว่า มนุษยนิยม (Humanism)