หน้าเว็บ

หัวข้อย่อย

ยุคสมัยของอารยธรรม

23 ก.พ. 2557

กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei)

โดย สุธากรณ์ สิโนรักษ์

หากจะกล่าวถึงนักวิทยาศาสตร์ที่เป็นคนประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ทุกคนคงรู้ว่าเขาคนนั้นคือ กาลิเลโอ กาลิเลอี   และเขายังมีผลงานอีกมากมายที่เขาเป็นคนคิดค้นและค้นพบ เช่น "กฎแห่งการแกว่งของลูกตุ้ม" และ "กฎการตกของวัตถุ"

กาลิเลโอ เกิดเมื่อ 15 ก.พ. 1564 เขามีผลงานมากมาย ดังนี้

- ค.ศ. 1584 ตั้งกฎเพนดูลัม (Pendulum) หรือกฎการแกว่างของนาฬิกาลูกตุ้ม
- ค.ศ. 1585 ตีพิมพ์หนังสือชื่อว่า Kydrostatic Balance และ Centre of Gravity
- ค.ศ. 1591 พิสูจน์ทฤษฎีของอาริสโตเติลที่ว่าวัตถุที่มีน้ำหนักเบาว่าผิด อันที่จริงวัตถุจะตกถึงพื้นพร้อมกันเสมอ
- พัฒนากล้องโทรทรรศน์ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถส่องดูดาวบนจักรวาลได้
- พบลักษณะพื้นผิวของดวงจันทร์
- พบว่าดาวมีหลายประเภท ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน ได้แก่ ดาวเคราะห์ และดาวฤกษ์
- พบทางช้างเผือก (Milky Way)
- พบบริวารของดาวพฤหัสบดี ว่ามีมากถึง 4 ดวง
- พบวงแหวนของดาวเสาร์ ซึ่งปากฎว่ามีสีถึง 3 สี
- พบว่าพื้นผิวของดาวศุกร์มีลักษณะคล้ายกับดวงจันทร์
- พบจุดดับบนดวงอาทิตย์ (Sun Spot)
- พบดาวหาง 3 ดวง

จากผลงานดังกล่าวทำให้เขาได้รับขนานนามเป็นบิดาแห่งดาราศาสตร์สมัยใหม่ บิดาแห่งฟิสิกส์สมัยใหม่ บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ เหตุที่กาลิเลโอได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ เพราะเขาและโยฮันส์เคปเลอร์ เป็นผู้ที่ก่อให้เกิด การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ (Scientific revolution) ขึ้น แต่หากเรามองอีกแง่มุมหนึ่งของประวัติศาสตร์ที่ชัดเจนกว่าคือจากมุมของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ โดยนับการตีพิมพ์หนังสือ Philosophiae Naturalis Principia Mathematica ของนิวตันก็ถือเป็นการสิ้นสุดการปฏิวัติ

กาลิเลโอก็นับว่าเป็นบิดาของวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริงเพราะงานในยุคนั้นหลายๆชิ้นที่มีส่วนสำคัญต่อ การปฏิวัติวิทยาศาสตร์มีเพียงงานของกาลิเลโอเพียงคนเดียวที่โดดเด่นที่สุดในแง่ของการใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

จากประวัติและความเป็นมาของกาลิเลโอจะทำให้เราเป็นถึงความเป็นอัจฉริยะในด้านต่างๆมากมายของเขาและเห็นว่าเค้ามีส่วสำคัญมากที่ทำให้เกิดการปฏิวัติทยาศาสตร์ทำให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆในปัจจุบัน

อ้างอิง

Singer, Charles (1941), A Short History of Science to the Nineteenth Century, Clarendon Press, (page 217) สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2557, จาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%AD_%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B5#cite_ref-6

คาร์ล ฟอน เกเบลอร์ (1879). Galileo Galilei and the Roman Curia.ลอนดอน: ซี. เค. พอล และคณะ.สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2557, จาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%82%E0%B8%AD_%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%B5#cite_ref-6

กาลิเลโอ (1954)สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2557 จาก http://siweb.dss.go.th/Scientist/scientist/Galileo%20Galilei.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น